สัปดาห์นี้น่าจะมีการประกาศรายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติจำนวนหรือสนช.จำนวนไม่เกิน 220 คน
เพราะตามตารางเวลาที่คสช.ประกาศออกมานานแล้ว สนช.จะต้องทำหน้าที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ทั้ง 3 วาระให้เสร็จสิ้นภายในช่วงเดือนกันยายน 2557 เมื่อคำนวณว่าการพิจารณาในวาระที่ 2 ชั้นกรรมาธิการนั้นใช้เวลาประมาณ 30 วันบวกลบ นับถอยหลังออกมาการพิจารณาวาระที่ 1 ก็น่าจะอยู่ในช่วงประมาณไม่เกินกลางเดือนสิงหาคม 2557 และการประกาศรายชื่อเพื่อให้มีเวลารายงานตัวและรัฐพิธีเปิดสภาทำให้คาดการณ์ได้ว่าน่าจะประกาศภายในสัปดาห์นี้
สนช.ชุดนี้งานหนักแน่นอน เพราะคสช.ท่านทำการบ้านไว้เยอะเตรียมร่างพ.ร.บ.ต่าง ๆ ไว้ให้พิจารณาหลายสิบฉบับ
แต่ผมว่านั่นยังไม่ใช่ภารกิจแรกสถานเดียว
หนึ่งในภารกิจแรกของสนช. 2557 คือการดำเนินกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 4 คดีสำคัญ
ที่ปปช.ชี้มูลความผิดส่งมาถึงวุฒิสภาชุดที่คสช.สั่งยุบไปเมื่อ 24 พฤษภาคม 2557
มาไล่ดูกันโดยสรุปนะครับว่า 4 คดีสำคัญที่นอนรออยู่ในสำนักเลขาธิการวุฒิสภา รอให้ท่านประธานสนช.คนใหม่สั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระมีอะไรบ้าง
1. คดี นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. คดี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. คดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและบทกฎหมายในเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว
4. คดีสมาชิกวุฒิสภา 36 คน จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.
และยังมีคดีเกี่ยวเนื่องที่จะตามมาอีก
อาจจะสงสัยว่าบุคคลเหล่านี้วันนี้ไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้ว จะต้องถอดถอนอะไรกันอีก ก็ขออธิบายสั้น ๆ ว่าถึงจะไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้ว แต่วุฒิสภาชุดที่แล้วก็ได้วางหลักสำคัญที่สุดไว้ว่าต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปให้จบ เพราะยังมีโทษห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีรออยู่ด้วย และก็ได้ดำเนินกระบวนการไปแล้ว 2 – 3 คดีสำคัญ แม้จะถอดถอนไม่ได้ เพราะเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 แต่หลักการที่ได้วางไว้ถือว่าสำคัญมาก และไม่มีผู้ใดคัดค่นเป็นคดีความ
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 6 วรรคสองจะเขียนให้สนช.ทำหน้าที่วุฒิสภาไว้ด้วยแล้ว “...ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา” ดังนั้นคิดง่าย ๆ ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนได้ว่าอะไรที่เป็นภารกิจของวุฒิสภาตามกฎหมายต่าง ๆ ก็ต้องเป็นภารกิจของสนช.ด้วย
แม้ในกรณีนี้จะมีผู้สงสัยและเห็นต่างว่าบทบัญญัติว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นขณะนี้ไม่มีอยู่แล้ว และรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้เขียนรับรองไว้โดยตรง แม้จะยังคงมีกฎหมายปปช.บทว่าด้วยการถอดถอนอยู่ก็ตาม แต่กฎหมายปปช.ก็เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับที่เลิกไปแล้ว
แต่ผมเห็นว่าสนช.ทำได้แ และเป็นเรื่องที่ต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน
เรื่องนี้สำคัญตรงไหนหรือ
สำคัญตรงที่ถ้าสนช.ดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไป และสามารถถอดถอนได้ ก็จะสามารถตัดทอนนักการเมืองที่ร่วมกระทำความผิดสำคัญออกจากระบบการเมืองไปได้มาก และนี่ไม่ใช่ความผิดธรรมดา แต่เป็นความผิดรัฐธรรมนูญหลายบทหลายมาตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใชัอำนาจอธิปไตยโดยขาดหลักนิติธรรมอันถือเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ หากอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 และอาจจะรวมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2557 เข้าไว้ด้วยให้ดีแล้วสรุปด้วยภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ก็คือ
ความพยายามชำเรารัฐธรรมนูญเพื่อปล้นอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่มีเหลืออยู่น้อยนิดไปเป็นของพรรคการเมืองสร้างระบอบเผด็จการรัฐสภาโคตรเบ็ดเสร็จขึ้นมา
การกันพวกเขาออกนอกระบบการเมืองหากโดนมติถอดถอนอาจไม่ใช่แค่ 5 ปีตามรัฐธรรมนูญ 2550 เท่านั้น แต่อาจถึงขั้นตลอดชีวิตด้วยซ้ำ
เพราะพวกเขายังจะต้องไปเจอรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 2558 ที่แม้จะยังไม่คลอดในวันนี้แต่ก็มีกรอบบังคับไว้แล้ว 10 ประการว่าต้องมีกลไกอย่างไรบ้าง ตามมาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จนผู้คนเริ่มเรียกกันว่าเป็นบัญญัติ 10 ประการ หรือ The Ten Commandments เหมือนชื่อหนังดังในอดีตสมัยผมยังเด็ก
หนึ่งในบัญญัติ 10 ประการปรากฏอยู่ใน มาตรา 35 (4) ว่ารัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่จะต้องมี
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด"
ข้อสงสัยทางกฎหมายมีแน่นอน ความเห็นต่างทางกฎหมายก็มีแน่นอน เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้เขียนรับรองภารกิจการถอดถอนไว้ให้สิ้นสงสัย แม้คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวท่านสำคัญสองสามท่านเห็นว่าทำได้
ก็อาจจะต้องมีการตีความอีกว่าทำได้หรือไม่
เรื่องนี้ผมไม่เห็นเป็นปัญหาถ้าสนช.เสียงข้างมากเห็นพ้องต้องกันว่าต้องทำ ซึ่งก็หมายความถึงว่าคสช.เห็นเป็นหลักการว่าต้องทำ เพราะสนช.นั้นมีที่มาจากคนที่เข้าใจในคสช. ตามคำของแกนนำสำคัญคสช.ท่านหนึ่ง
เพราะการตีความรัฐธรรมนูญชั่วคราวว่าจะเปิดโอกาสให้ดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปได้หรือไม่นั้น แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ขั้นตอนแรกให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยฯ
ขั้นตอนต่อมาเนื่องจากเรื่องนี้อยู่ในวงงานสนช. มาตรา 5 วรรคสองบัญญัติให้สนช.เป็นผู้วินิจฉัยเอง
ไม่ต้องลงมติวินิจฉัยกันในขั้นตอนที่สองหรอก แค่ขั้นตอนแรกก็จบแล้ว พอดีผมเป็นผู้สร้างประเพณีการปกครองประเทศไทยฯในยุครัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้ขึ้นมาเองเมื่อปี 2550 ในฐานะที่ได้รับเกียรติและความไว้วางใจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสนช.ชุดปี 2549 ด้วยคนหนึ่ง ผมเป็นคนริเริ่มยื่นญัตติให้มีถอดถอนนายจรัล ดิษฐาภิชัยออกจากกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฐานมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการ ประการสำคัญที่สุดคือเป็นหนึ่งในผู้นำม้อบไปปิดล้อมบ้านประธานองคมนตรี
ครั้งนั้นรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ให้ถอดถอนได้ บัญญัติแต่เพียงให้สนช.ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา เหมือนรัฐธรรมนูญ 2557 เป๊ะ แต่มีพ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบทว่าด้วยการถอดถอนอยู่ โดยให้เป็นอำนาจของวุฒิสภา
สนช. 2549 ในกรณีนั้นริเริ่มกระบวนการเองเลยนะ ผมยื่นญัตติ ท่านประธานสนช.รับแล้วก็บรรจุเข้าระเบียบวาระ ตั้งกรรมาธิการสอบสวน เมื่อครบเวลาก็นำเข้าสนช.ลงมติ และมีมติท่วมท้นถอดถอดท่านดังกล่าว
พอจะถือเป็น “ประเพณีการปกครองประเทศไทยฯ” ได้นะครับ
สนช. 2557 ในกรณีที่กำลังพูดถึงนี่ไม่ถึงขั้นริเริ่มเองเหมือนเมื่อ 7 ปีที่แล้ว แค่ดำเนินการกระบวนต่อจากปปช.ให้จบเท่านั้น
มี สนช. มีประธาน สนช.แล้ว ท่านประธาน สนช.ก็ดำเนินการบรรจุระเบียบวาระดำเนินกระบวนการถอดถอน 4 คดีสำคัญนั้นเสียเลย
ให้ถือเป็นหนึ่งในงานสำคัญชุดแรกของ สนช. 2557
เพราะตามตารางเวลาที่คสช.ประกาศออกมานานแล้ว สนช.จะต้องทำหน้าที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ทั้ง 3 วาระให้เสร็จสิ้นภายในช่วงเดือนกันยายน 2557 เมื่อคำนวณว่าการพิจารณาในวาระที่ 2 ชั้นกรรมาธิการนั้นใช้เวลาประมาณ 30 วันบวกลบ นับถอยหลังออกมาการพิจารณาวาระที่ 1 ก็น่าจะอยู่ในช่วงประมาณไม่เกินกลางเดือนสิงหาคม 2557 และการประกาศรายชื่อเพื่อให้มีเวลารายงานตัวและรัฐพิธีเปิดสภาทำให้คาดการณ์ได้ว่าน่าจะประกาศภายในสัปดาห์นี้
สนช.ชุดนี้งานหนักแน่นอน เพราะคสช.ท่านทำการบ้านไว้เยอะเตรียมร่างพ.ร.บ.ต่าง ๆ ไว้ให้พิจารณาหลายสิบฉบับ
แต่ผมว่านั่นยังไม่ใช่ภารกิจแรกสถานเดียว
หนึ่งในภารกิจแรกของสนช. 2557 คือการดำเนินกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 4 คดีสำคัญ
ที่ปปช.ชี้มูลความผิดส่งมาถึงวุฒิสภาชุดที่คสช.สั่งยุบไปเมื่อ 24 พฤษภาคม 2557
มาไล่ดูกันโดยสรุปนะครับว่า 4 คดีสำคัญที่นอนรออยู่ในสำนักเลขาธิการวุฒิสภา รอให้ท่านประธานสนช.คนใหม่สั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระมีอะไรบ้าง
1. คดี นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. คดี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. คดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและบทกฎหมายในเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว
4. คดีสมาชิกวุฒิสภา 36 คน จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.
และยังมีคดีเกี่ยวเนื่องที่จะตามมาอีก
อาจจะสงสัยว่าบุคคลเหล่านี้วันนี้ไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้ว จะต้องถอดถอนอะไรกันอีก ก็ขออธิบายสั้น ๆ ว่าถึงจะไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้ว แต่วุฒิสภาชุดที่แล้วก็ได้วางหลักสำคัญที่สุดไว้ว่าต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปให้จบ เพราะยังมีโทษห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีรออยู่ด้วย และก็ได้ดำเนินกระบวนการไปแล้ว 2 – 3 คดีสำคัญ แม้จะถอดถอนไม่ได้ เพราะเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 แต่หลักการที่ได้วางไว้ถือว่าสำคัญมาก และไม่มีผู้ใดคัดค่นเป็นคดีความ
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 6 วรรคสองจะเขียนให้สนช.ทำหน้าที่วุฒิสภาไว้ด้วยแล้ว “...ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา” ดังนั้นคิดง่าย ๆ ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนได้ว่าอะไรที่เป็นภารกิจของวุฒิสภาตามกฎหมายต่าง ๆ ก็ต้องเป็นภารกิจของสนช.ด้วย
แม้ในกรณีนี้จะมีผู้สงสัยและเห็นต่างว่าบทบัญญัติว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นขณะนี้ไม่มีอยู่แล้ว และรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้เขียนรับรองไว้โดยตรง แม้จะยังคงมีกฎหมายปปช.บทว่าด้วยการถอดถอนอยู่ก็ตาม แต่กฎหมายปปช.ก็เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับที่เลิกไปแล้ว
แต่ผมเห็นว่าสนช.ทำได้แ และเป็นเรื่องที่ต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน
เรื่องนี้สำคัญตรงไหนหรือ
สำคัญตรงที่ถ้าสนช.ดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไป และสามารถถอดถอนได้ ก็จะสามารถตัดทอนนักการเมืองที่ร่วมกระทำความผิดสำคัญออกจากระบบการเมืองไปได้มาก และนี่ไม่ใช่ความผิดธรรมดา แต่เป็นความผิดรัฐธรรมนูญหลายบทหลายมาตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใชัอำนาจอธิปไตยโดยขาดหลักนิติธรรมอันถือเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ หากอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 และอาจจะรวมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2557 เข้าไว้ด้วยให้ดีแล้วสรุปด้วยภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ก็คือ
ความพยายามชำเรารัฐธรรมนูญเพื่อปล้นอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่มีเหลืออยู่น้อยนิดไปเป็นของพรรคการเมืองสร้างระบอบเผด็จการรัฐสภาโคตรเบ็ดเสร็จขึ้นมา
การกันพวกเขาออกนอกระบบการเมืองหากโดนมติถอดถอนอาจไม่ใช่แค่ 5 ปีตามรัฐธรรมนูญ 2550 เท่านั้น แต่อาจถึงขั้นตลอดชีวิตด้วยซ้ำ
เพราะพวกเขายังจะต้องไปเจอรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 2558 ที่แม้จะยังไม่คลอดในวันนี้แต่ก็มีกรอบบังคับไว้แล้ว 10 ประการว่าต้องมีกลไกอย่างไรบ้าง ตามมาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จนผู้คนเริ่มเรียกกันว่าเป็นบัญญัติ 10 ประการ หรือ The Ten Commandments เหมือนชื่อหนังดังในอดีตสมัยผมยังเด็ก
หนึ่งในบัญญัติ 10 ประการปรากฏอยู่ใน มาตรา 35 (4) ว่ารัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่จะต้องมี
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด"
ข้อสงสัยทางกฎหมายมีแน่นอน ความเห็นต่างทางกฎหมายก็มีแน่นอน เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้เขียนรับรองภารกิจการถอดถอนไว้ให้สิ้นสงสัย แม้คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวท่านสำคัญสองสามท่านเห็นว่าทำได้
ก็อาจจะต้องมีการตีความอีกว่าทำได้หรือไม่
เรื่องนี้ผมไม่เห็นเป็นปัญหาถ้าสนช.เสียงข้างมากเห็นพ้องต้องกันว่าต้องทำ ซึ่งก็หมายความถึงว่าคสช.เห็นเป็นหลักการว่าต้องทำ เพราะสนช.นั้นมีที่มาจากคนที่เข้าใจในคสช. ตามคำของแกนนำสำคัญคสช.ท่านหนึ่ง
เพราะการตีความรัฐธรรมนูญชั่วคราวว่าจะเปิดโอกาสให้ดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปได้หรือไม่นั้น แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ขั้นตอนแรกให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยฯ
ขั้นตอนต่อมาเนื่องจากเรื่องนี้อยู่ในวงงานสนช. มาตรา 5 วรรคสองบัญญัติให้สนช.เป็นผู้วินิจฉัยเอง
ไม่ต้องลงมติวินิจฉัยกันในขั้นตอนที่สองหรอก แค่ขั้นตอนแรกก็จบแล้ว พอดีผมเป็นผู้สร้างประเพณีการปกครองประเทศไทยฯในยุครัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้ขึ้นมาเองเมื่อปี 2550 ในฐานะที่ได้รับเกียรติและความไว้วางใจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสนช.ชุดปี 2549 ด้วยคนหนึ่ง ผมเป็นคนริเริ่มยื่นญัตติให้มีถอดถอนนายจรัล ดิษฐาภิชัยออกจากกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฐานมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการ ประการสำคัญที่สุดคือเป็นหนึ่งในผู้นำม้อบไปปิดล้อมบ้านประธานองคมนตรี
ครั้งนั้นรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ให้ถอดถอนได้ บัญญัติแต่เพียงให้สนช.ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา เหมือนรัฐธรรมนูญ 2557 เป๊ะ แต่มีพ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนบทว่าด้วยการถอดถอนอยู่ โดยให้เป็นอำนาจของวุฒิสภา
สนช. 2549 ในกรณีนั้นริเริ่มกระบวนการเองเลยนะ ผมยื่นญัตติ ท่านประธานสนช.รับแล้วก็บรรจุเข้าระเบียบวาระ ตั้งกรรมาธิการสอบสวน เมื่อครบเวลาก็นำเข้าสนช.ลงมติ และมีมติท่วมท้นถอดถอดท่านดังกล่าว
พอจะถือเป็น “ประเพณีการปกครองประเทศไทยฯ” ได้นะครับ
สนช. 2557 ในกรณีที่กำลังพูดถึงนี่ไม่ถึงขั้นริเริ่มเองเหมือนเมื่อ 7 ปีที่แล้ว แค่ดำเนินการกระบวนต่อจากปปช.ให้จบเท่านั้น
มี สนช. มีประธาน สนช.แล้ว ท่านประธาน สนช.ก็ดำเนินการบรรจุระเบียบวาระดำเนินกระบวนการถอดถอน 4 คดีสำคัญนั้นเสียเลย
ให้ถือเป็นหนึ่งในงานสำคัญชุดแรกของ สนช. 2557