โพลชี้หนี้ครัวเรือนพุ่ง 16% สูงสุดในรอบ 9 ปี หรือแต่ละบ้านมีหนี้เฉลี่ย 2.19 แสนบาท เผยคนถึง 83% มีปัญหาในการชำระหนี้ น่าห่วงกู้หนี้นอกระบบมาใช้หนี้และใช้จ่ายมากขึ้น แนะรัฐช่วยดึงหนี้เข้าสู่ระบบ และหาทางช่วยลดค่าครองชีพต่อเนื่อง ส่วนหนี้บอลโลกพบลดลง หลัง คสช. เข้ามาคุมเข้ม
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 คน ระหว่างวันที่ 14-20 ก.ค.2557 ว่า กลุ่มตัวอย่าง 74.8% ระบุว่า มีหนี้ ขณะที่ 25.2% ระบุว่าไม่มีหนี้ โดยหนี้สินต่อครัวเรือนอยู่ที่ 219,158 บาท เพิ่มขึ้น 16.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่หนี้สินต่อครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 188,774 บาท สูงสุดในรอบ 9 ปี และในจำนวนนี้เป็นหนี้ในระบบ 51% และหนี้นอกระบบ 49% โดยมีการผ่อนชำระเดือนละ 13,358 บาท
"หนี้ครัวเรือนถือว่าแย่ที่สุดตั้งแต่มีการสำรวจมา โดยมีถึง 83% ที่บอกว่ามีปัญหาในการชำระหนี้ และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น เนื่องจากคนเข้าถึงแหล่งเงินยาก จากการที่แบงก์เข้มงวดการปล่อยกู้ ทำให้ต้องหันไปกู้หนี้นอกระบบมาใช้หนี้ ขณะที่คนที่มีบัตรเครดิต ก็จะรูดจนเต็มวงเงิน ส่วนชาวนาที่ได้เงินค่าจำนำข้าวไป 9 หมื่นล้านบาท ก็นำไปใช้หนี้ และเหลือใช้บางส่วน ทำให้กำลังซื้อฟื้นตัวช้า"นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้ทำการสำรวจเพื่อต้องการดูว่าสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นอย่างไร โดยพบว่า สาเหตุที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า เพราะภาคครัวเรือนมีหนี้ในระดับสูง โดยหนี้ที่เกิดขึ้นมาจากผลกระทบจากโครงการรถคันแรก ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อถดถอยลงไป
นายธนวรรธน์กล่าวว่า การสำรวจถึงระยะเวลาที่คนเริ่มเป็นหนี้ พบว่า ช่วงปี 2555-2556 มีถึง 36.7% ช่วงปี 2553-2554 มี 20.8% และช่วงปี 2557 มี 18.5% โดยแหล่งเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นอันดับแรก คือ นายทุน เพิ่มขึ้น 45% รองลงมา ธนาคารของรัฐ 32.1% โรงรับจำนำ 31.1% ธนาคารประชาชน 28.6% ซึ่งพบว่าการก่อหนี้ 40% มีเฉพาะหนี้ในระบบ 37.2% มีเฉพาะหนี้นอกระบบ และ 22.8% ระบุว่าเป็นทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ
+++สำหรับวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงิน 40% ระบุว่าต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน แต่อันดับสอง 17.1% ระบุว่าต้องการนำไปชำระเงินกู้นอกระบบ แม้จะมีสัดส่วนลดลงจากปีก่อนที่อยู่ 19.7% แต่ถือว่ายังมีอัตราสูง
ส่วนแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น ภาครัฐควรมีการดึงลูกหนี้ให้มาอยู่ในระบบ เพื่อลดปัญหาสังคม พร้อมทั้งมีการเร่งอัดเร่งฉีดเม็ดเงินเข้ามาในระบบให้มากขึ้น โดยเฉพาะงบประมาณในโครงการต่างๆ ที่ยังไม่ได้มีการนำมาใช้จ่าย คาดว่าจะเริ่มผลผลชัดเจนในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้และภาครัฐต้องมีการดูแลค่าครองชีพให้ประชาชนอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อช่วยลดการก่อหนี้นอกระบบ เพราะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำมักมีการกู้เงินนอกระบบเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังได้ทำการสำรวจพฤติกรรมและผลกระทบจากมหกรรมฟุตบอลโลก โดยก่อนบอลโลก ผลสำรวจพบว่า 63% คนระบุว่า ไม่เล่นพนันเลย แต่หลังบอลโลก พบว่าที่ไม่เล่นพนันเลยมีถึง 70% ส่วนเม็ดเงินที่จะสะพัดก่อนบอลโลกจะมีถึง 43,530 ล้านบาท แต่หลังบอลโลกมีแค่ 30,501 ล้านบาท หรือลดลงไป 1.3 หมื่นล้านบาท จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เอาจริงกับการปราบการพนัน ทำให้พบว่า 99% ระบุว่าไม่มีหนี้เพิ่มขึ้นหลังบอลโลก มีแค่ 1% เท่านั้นที่บอกว่าหนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่หนี้เดิมที่มีอยู่ 8%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 คน ระหว่างวันที่ 14-20 ก.ค.2557 ว่า กลุ่มตัวอย่าง 74.8% ระบุว่า มีหนี้ ขณะที่ 25.2% ระบุว่าไม่มีหนี้ โดยหนี้สินต่อครัวเรือนอยู่ที่ 219,158 บาท เพิ่มขึ้น 16.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่หนี้สินต่อครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 188,774 บาท สูงสุดในรอบ 9 ปี และในจำนวนนี้เป็นหนี้ในระบบ 51% และหนี้นอกระบบ 49% โดยมีการผ่อนชำระเดือนละ 13,358 บาท
"หนี้ครัวเรือนถือว่าแย่ที่สุดตั้งแต่มีการสำรวจมา โดยมีถึง 83% ที่บอกว่ามีปัญหาในการชำระหนี้ และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น เนื่องจากคนเข้าถึงแหล่งเงินยาก จากการที่แบงก์เข้มงวดการปล่อยกู้ ทำให้ต้องหันไปกู้หนี้นอกระบบมาใช้หนี้ ขณะที่คนที่มีบัตรเครดิต ก็จะรูดจนเต็มวงเงิน ส่วนชาวนาที่ได้เงินค่าจำนำข้าวไป 9 หมื่นล้านบาท ก็นำไปใช้หนี้ และเหลือใช้บางส่วน ทำให้กำลังซื้อฟื้นตัวช้า"นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้ทำการสำรวจเพื่อต้องการดูว่าสถานการณ์เศรษฐกิจเป็นอย่างไร โดยพบว่า สาเหตุที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า เพราะภาคครัวเรือนมีหนี้ในระดับสูง โดยหนี้ที่เกิดขึ้นมาจากผลกระทบจากโครงการรถคันแรก ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อถดถอยลงไป
นายธนวรรธน์กล่าวว่า การสำรวจถึงระยะเวลาที่คนเริ่มเป็นหนี้ พบว่า ช่วงปี 2555-2556 มีถึง 36.7% ช่วงปี 2553-2554 มี 20.8% และช่วงปี 2557 มี 18.5% โดยแหล่งเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นอันดับแรก คือ นายทุน เพิ่มขึ้น 45% รองลงมา ธนาคารของรัฐ 32.1% โรงรับจำนำ 31.1% ธนาคารประชาชน 28.6% ซึ่งพบว่าการก่อหนี้ 40% มีเฉพาะหนี้ในระบบ 37.2% มีเฉพาะหนี้นอกระบบ และ 22.8% ระบุว่าเป็นทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ
+++สำหรับวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงิน 40% ระบุว่าต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน แต่อันดับสอง 17.1% ระบุว่าต้องการนำไปชำระเงินกู้นอกระบบ แม้จะมีสัดส่วนลดลงจากปีก่อนที่อยู่ 19.7% แต่ถือว่ายังมีอัตราสูง
ส่วนแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น ภาครัฐควรมีการดึงลูกหนี้ให้มาอยู่ในระบบ เพื่อลดปัญหาสังคม พร้อมทั้งมีการเร่งอัดเร่งฉีดเม็ดเงินเข้ามาในระบบให้มากขึ้น โดยเฉพาะงบประมาณในโครงการต่างๆ ที่ยังไม่ได้มีการนำมาใช้จ่าย คาดว่าจะเริ่มผลผลชัดเจนในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้และภาครัฐต้องมีการดูแลค่าครองชีพให้ประชาชนอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อช่วยลดการก่อหนี้นอกระบบ เพราะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำมักมีการกู้เงินนอกระบบเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังได้ทำการสำรวจพฤติกรรมและผลกระทบจากมหกรรมฟุตบอลโลก โดยก่อนบอลโลก ผลสำรวจพบว่า 63% คนระบุว่า ไม่เล่นพนันเลย แต่หลังบอลโลก พบว่าที่ไม่เล่นพนันเลยมีถึง 70% ส่วนเม็ดเงินที่จะสะพัดก่อนบอลโลกจะมีถึง 43,530 ล้านบาท แต่หลังบอลโลกมีแค่ 30,501 ล้านบาท หรือลดลงไป 1.3 หมื่นล้านบาท จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เอาจริงกับการปราบการพนัน ทำให้พบว่า 99% ระบุว่าไม่มีหนี้เพิ่มขึ้นหลังบอลโลก มีแค่ 1% เท่านั้นที่บอกว่าหนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่หนี้เดิมที่มีอยู่ 8%