นายนริศ ขำนุรักษ์ อดีต ส.ส.พัทลุง และอดีตประธานคณะกรรมาการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าได้มีชาวบ้านเข้ามาร้องเรียน อันเนื่องจากเกิดผลกระทบจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช.) ฉบับที่ 160/2557 ที่แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยป่าไม้ ว่า ชาวบ้านเกิดความหวั่นเกรงว่าจะได้รับการเดือดร้อน เพราะคำสั่งดังกล่าวให้เพิ่มชนิดไม้สกุลพะยูง อีก16 ชนิด หรือ16 ชื่อเรียก นอกเหนือจากไม้สัก และไม้ยาง ให้การครอบครองแม้ต่ำกว่า 0.2 ลบ.เมตร ก็ถือเป็นความผิด จึงขอให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบตามคำสั่งนี้ ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย โดยให้มีการจดแจ้งขึ้นทะเบียนไม้ที่ครอบครองโดยชอบมาก่อนโดยเร็ว
นายนริศ กล่าวว่า ในฐานะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตประธานคณะกรรมาการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ต้องทำควบคู่กันไป ทั้งการป้องกันปราบปรามที่เด็ดขาด และการรณรงค์ปลูกป่าทั้งพื้นที่ของเอกชน และพื้นที่ป่าอย่างกว้างขวาง และการดำเนินการทุกอย่างต้อง ไม่ไปรอนสิทธิกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ประกาศของคสช. ดังกล่าวนี้ อาจทำให้การป้องกันปราบปราบการบุกรุกทำลายไม้สกุลพะยูง ได้ผลมากขึ้น เพราะได้เพิ่มโทษปรับขึ้นประมาณ 10 เท่า กับผู้กระทำผิด จากโทษเดิม แต่ก็ยังแปลกใจว่า ทำไมไม่เพิ่มโทษจำคุกขึ้นด้วย แต่การปลูกป่าโดยประชาชนและเอกชนจะมีปัญหาพอสมควรเพราะประชาชนที่ปลูกไม้ในพื้นที่เอกสารสิทธิของตนเอง แต่เมื่อจะตัดไปใช้ประโยชน์ต้องไปจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. สวนป่า ซึ่งเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้น และจะไม่มีคนสนใจปลูกไม้ชนิดนี้อีกต่อไป เพราะเหตุคำสั่งดังกล่าวนี้ทำให้ไม้ชนิดดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนควบของที่ดินอีกต่อไป
นายนริศ กล่าวต่อว่า การลักลอบตัดไม้พะยูง จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่เกิดจากการสมคบหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ เจ้าหน้าศุลกากร และมีการตรวจตราการเคลื่อนย้ายที่้เข้มข้น ตลอดจนต้องมีการเปิดเจรจากับประเทศที่สั่งไม้เข้าและประทศที่อนุญาตให้ไม้ผ่านทาง เช่น จีน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ถือเป็นอีกช่องทางที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่ง ในการอนุรักษ์ไม้ชนิดนี้ไว้
นายนริศ กล่าวว่า ในฐานะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตประธานคณะกรรมาการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ต้องทำควบคู่กันไป ทั้งการป้องกันปราบปรามที่เด็ดขาด และการรณรงค์ปลูกป่าทั้งพื้นที่ของเอกชน และพื้นที่ป่าอย่างกว้างขวาง และการดำเนินการทุกอย่างต้อง ไม่ไปรอนสิทธิกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ประกาศของคสช. ดังกล่าวนี้ อาจทำให้การป้องกันปราบปราบการบุกรุกทำลายไม้สกุลพะยูง ได้ผลมากขึ้น เพราะได้เพิ่มโทษปรับขึ้นประมาณ 10 เท่า กับผู้กระทำผิด จากโทษเดิม แต่ก็ยังแปลกใจว่า ทำไมไม่เพิ่มโทษจำคุกขึ้นด้วย แต่การปลูกป่าโดยประชาชนและเอกชนจะมีปัญหาพอสมควรเพราะประชาชนที่ปลูกไม้ในพื้นที่เอกสารสิทธิของตนเอง แต่เมื่อจะตัดไปใช้ประโยชน์ต้องไปจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. สวนป่า ซึ่งเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้น และจะไม่มีคนสนใจปลูกไม้ชนิดนี้อีกต่อไป เพราะเหตุคำสั่งดังกล่าวนี้ทำให้ไม้ชนิดดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนควบของที่ดินอีกต่อไป
นายนริศ กล่าวต่อว่า การลักลอบตัดไม้พะยูง จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่เกิดจากการสมคบหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ เจ้าหน้าศุลกากร และมีการตรวจตราการเคลื่อนย้ายที่้เข้มข้น ตลอดจนต้องมีการเปิดเจรจากับประเทศที่สั่งไม้เข้าและประทศที่อนุญาตให้ไม้ผ่านทาง เช่น จีน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ถือเป็นอีกช่องทางที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่ง ในการอนุรักษ์ไม้ชนิดนี้ไว้