ถ้อยคำ-มีทั้งดี-ชั่ว-สร้างสรรค์-ทำลาย ดุจพฤติกรรมของ “คน!”
ดังนั้น ใครทำเพื่อตนและพวกพ้อง ใครทำเพื่อชาติและส่วนรวม ทั้งหมดต้องดูที่การกระทำอันเป็นจริง มิใช่ฟังแค่คำพูดสวยหรูเท่านั้น
ทุกชาติต้องมีผู้รู้ผู้กล้า คอยบอกเล่าความจริงให้ผู้คนรับรู้ มิใช่มีแต่ผู้เชลียร์เชียร์ส่งเดช ชนิด “ใช่ครับท่าน ดีครับนาย สบายครับผม” หรือคอยเสนอแนะในสิ่งผิดๆ จน “ผู้นำ” เสียชื่อและชาติเสียหาย ดังประวัติศาสตร์ไทยและโลกได้บันทึกตัวอย่างไว้
เรื่องราวของ “วานนี้-วันนี้-พรุ่งนี้” นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง “ระเบิดโลก” นาม “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” เชื่อว่า “คำถาม” ที่มากปัญญาทำให้ค้นพบ “คำตอบ” ทั้ง “โกหก” และ “จริง” ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ และโลกมนุษย์ก้าวรุดหน้า
“ไอน์สไตน์” บอกว่า “เรียนรู้จากเมื่อวานนี้ มีชีวิตอยู่ในวันนี้ ตั้งความหวังถึงวันพรุ่งนี้ สิ่งที่สำคัญคือ ไม่หยุดที่จะตั้งคำถาม”
แต่คนจำนวนไม่น้อย หลงทำในสิ่งที่ไม่รู้หรือรู้น้อย จนนำไปสู่ความ “ล้มเหลว” เรื่องนี้ “ไอน์สไตน์” เคยชี้ให้รู้ว่า
“ทุกคนมีความเป็นอัจฉริยะในตัว แต่คุณตัดสินความสามารถของปลา โดยให้มันปีนต้นไม้ ปลาก็จะคิดไปตลอดชีวิตว่า ตัวมันไร้ความสามารถ” อัจฉริยะผมกระเซิงยังขยายความต่อว่า “เมื่อเรายอมรับข้อจำกัดของเรา เราจะไปได้ไกลกว่าคนอื่นๆ”
“ขงเบ้ง” กุนซือใหญ่ของเล่าปี่ในศึก “สามก๊ก” ยกตัวอย่างง่ายๆ แต่ชัดเจนว่า “ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน” เรื่องนี้อยู่ที่ความคิดและใจ ถ้า “คิดไกล-ใจกว้าง” ก็ใช้คนอื่นบอกให้รู้ได้นี่นาว่า “คิ้วของเราเป็นเช่นไร” จริงไหม? “ขงเบ้ง” จึงบอกนัยแห่งความสำเร็จให้ว่า
“การบริหาร คือการทำงานให้สำเร็จ โดยอาศัยมือของคนอื่น” แต่ทั้งหมด “ขงเบ้ง” เน้นหนักเรื่องคนเป็นหลัก นั่นคือ ต้องดูคนให้ออก-ให้เป็น-ให้ทะลุ ดูให้รู้แจ้งถึงแก่นว่าเป็นเช่นไรให้ได้เสียก่อน
เพราะ“ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนใจคดใช้ทำอะไรไม่ได้” นั่นคือนิยาม “ขงเบ้ง” ที่เน้นว่า “คนต้องเก่งและดี” นั่นเอง
ขณะที่นักเขียนบทละครนามอุโฆษ “จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอร์” พูดถึงสิ่งที่มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงให้ได้ก่อน คือ “ผู้ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเขาเองได้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้สักอย่าง”
งานนี้..ผมนึกถึงคำบอกเล่าของ “พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” ที่ในชีวิตโดนจี้ถึง 3 ครั้ง ผมข้ามการจี้ครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 3 แต่ขอยกการโดนจี้ครั้งที่ 2 มาเอ่ยไว้ ณ ที่นี้
ในเดือนกันยายน 2515 เกิดเหตุ “กันยายนทมิฬ” โดยมีกองกำลังอาหรับบุกเข้ายึดสถานทูตอิสราเอลในไทย จับนักการทูตชาตินี้ไว้ได้ 6 คน พลจัตวาชาติชาย ชุณหะวัณ ในตอนนั้น ได้เสี่ยงตายเข้าไปเจรจากับกองกำลังอาหรับ โดยขอเอาตนเองเป็นตัวประกันแลกกับนักการทูตอิสราเอล 6 คนได้สำเร็จ
“น้าชาติ” กับกลุ่มกองกำลังอาหรับ ได้เดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่จอดรออยู่ ณ สนามบินดอนเมือง โดย “น้าชาติ” ได้ถามหัวหน้ากองกำลังอาหรับว่า “พวกคุณคิดจะไปลี้ภัยที่ประเทศไหน?” หัวหน้ากลุ่มกองกำลังอาหรับส่ายหัว เพราะยึดเครื่องบินพร้อมตัวประกัน โดยไม่มีแผนการใดๆ ไว้ในสมองเลย จึงทำอะไรไม่ถูกและไม่รู้จะไปไหนในโลกใบนี้
“น้าชาติ” จึงช่วยหาทางออกให้ว่า “เมื่อพวกคุณไม่มีแผนจะไปไหน เอางี้ไหม..ผมมีเพื่อนสนิทเป็นใหญ่อยู่ที่อียิปต์ คุณไปลี้ภัยที่โน่นไหมล่ะ...ผมจะขอให้...”
กลุ่มกองกำลังอาหรับจึงประชุมด่วนกันบนเครื่องบิน ก่อนจะตอบตกลงตามที่ “น้าชาติ” เสนอ งานนี้...จึงลงเอยกันแบบ “วิน-วิน” วินหนึ่ง-นักการทูตอิสราเอล 6 คนปลอดภัย วินสอง-กองกำลังอาหรับได้ลี้ภัยปลอดภัยที่อียิปต์ วินสาม-“น้าชาติ” ก็พลอยปลอดภัยไปด้วย เพราะไม่มีใครต้องบาดเจ็บล้มตาย วินสี่-ชาติไทยก็ปลอดภัยไม่เสียชื่อเสียงแม้แต่น้อย
เรื่องนี้ “น้าชาติ” เล่าเคล้ากลิ่นซิการ์ให้ผมกับเพื่อนฟัง ตอนตั้งพรรคชาติพัฒนาพร้อมข้อสรุปสั้นๆ ว่า
“รัฐประหารของ รสช.ก็เหมือนพวกอาหรับ จี้เครื่องบินแล้วทำอะไรไม่เป็น จนอั๊วต้องพาไปลี้ภัยที่อียิปต์โน่น รสช.รัฐประหารอั๊วสำเร็จ แต่ก็ทำอะไรใหม่ๆ ดีๆ ไม่เป็นเหมือนกัน สุดท้ายก็หนีไม่พ้นต้องเลือกตั้งอีก ถึงกับขอให้อั๊วช่วยกลับมาเลือกตั้งอีกหนไงล่ะ...”
ในเมื่อทุกชาติในโลกมีทั้งคนดีและคนชั่ว “ไอน์สไตน์” เคยสรุปว่า “โลกใบนี้จะไม่พินาศ ด้วยน้ำมือของคนชั่ว แต่มันจะพังพินาศด้วยน้ำมือของคนที่ได้แต่มอง แต่ไม่คิดจะทำอะไรเลยต่างหาก”
ชาติไทยยามนี้อยู่ในห้วง “โอกาสทอง” หากใช้วิธีการที่ถูกต้อง ก็จะแก้ต้นเหตุปัญหาของชาติได้ นั่นคือ ต้องกีดกันคนชั่วมิให้ยึดครองอำนาจรัฐได้อีกต่อไป ด้วยการปฏิรูปชาติทุกภาคส่วนอย่างจริงใจนั่นเอง
คนไทยกำลัง “รอคอย” ผลงานเด็ดๆ จาก คสช. ดัง “ขงเบ้ง” พูดถึงเรื่อง “รอคอย” กับ “ความหวัง” ไว้ดังนี้
“การรอคอยไม่ทำให้ใครต้องตาย แต่ถ้ารอแล้วมีจุดหมาย ถึงตายก็จะรอ” ถ้อยคำสุดท้าย ณ ที่นี้ คือ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครั้งหนึ่ง ซึ่งขออัญเชิญส่วนหนึ่งมาลงไว้ ดังนี้
“คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดีทำให้เกิดคนดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะทำให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี”
ขอเพียงอย่าไปหลงเล่ห์กลจนเชื่อว่า “คนชั่วบางคนจะเป็นมหาโจรกลับใจ” ก็แล้วกัน..จริงไหม?
ดังนั้น ใครทำเพื่อตนและพวกพ้อง ใครทำเพื่อชาติและส่วนรวม ทั้งหมดต้องดูที่การกระทำอันเป็นจริง มิใช่ฟังแค่คำพูดสวยหรูเท่านั้น
ทุกชาติต้องมีผู้รู้ผู้กล้า คอยบอกเล่าความจริงให้ผู้คนรับรู้ มิใช่มีแต่ผู้เชลียร์เชียร์ส่งเดช ชนิด “ใช่ครับท่าน ดีครับนาย สบายครับผม” หรือคอยเสนอแนะในสิ่งผิดๆ จน “ผู้นำ” เสียชื่อและชาติเสียหาย ดังประวัติศาสตร์ไทยและโลกได้บันทึกตัวอย่างไว้
เรื่องราวของ “วานนี้-วันนี้-พรุ่งนี้” นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง “ระเบิดโลก” นาม “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” เชื่อว่า “คำถาม” ที่มากปัญญาทำให้ค้นพบ “คำตอบ” ทั้ง “โกหก” และ “จริง” ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ และโลกมนุษย์ก้าวรุดหน้า
“ไอน์สไตน์” บอกว่า “เรียนรู้จากเมื่อวานนี้ มีชีวิตอยู่ในวันนี้ ตั้งความหวังถึงวันพรุ่งนี้ สิ่งที่สำคัญคือ ไม่หยุดที่จะตั้งคำถาม”
แต่คนจำนวนไม่น้อย หลงทำในสิ่งที่ไม่รู้หรือรู้น้อย จนนำไปสู่ความ “ล้มเหลว” เรื่องนี้ “ไอน์สไตน์” เคยชี้ให้รู้ว่า
“ทุกคนมีความเป็นอัจฉริยะในตัว แต่คุณตัดสินความสามารถของปลา โดยให้มันปีนต้นไม้ ปลาก็จะคิดไปตลอดชีวิตว่า ตัวมันไร้ความสามารถ” อัจฉริยะผมกระเซิงยังขยายความต่อว่า “เมื่อเรายอมรับข้อจำกัดของเรา เราจะไปได้ไกลกว่าคนอื่นๆ”
“ขงเบ้ง” กุนซือใหญ่ของเล่าปี่ในศึก “สามก๊ก” ยกตัวอย่างง่ายๆ แต่ชัดเจนว่า “ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน” เรื่องนี้อยู่ที่ความคิดและใจ ถ้า “คิดไกล-ใจกว้าง” ก็ใช้คนอื่นบอกให้รู้ได้นี่นาว่า “คิ้วของเราเป็นเช่นไร” จริงไหม? “ขงเบ้ง” จึงบอกนัยแห่งความสำเร็จให้ว่า
“การบริหาร คือการทำงานให้สำเร็จ โดยอาศัยมือของคนอื่น” แต่ทั้งหมด “ขงเบ้ง” เน้นหนักเรื่องคนเป็นหลัก นั่นคือ ต้องดูคนให้ออก-ให้เป็น-ให้ทะลุ ดูให้รู้แจ้งถึงแก่นว่าเป็นเช่นไรให้ได้เสียก่อน
เพราะ“ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนใจคดใช้ทำอะไรไม่ได้” นั่นคือนิยาม “ขงเบ้ง” ที่เน้นว่า “คนต้องเก่งและดี” นั่นเอง
ขณะที่นักเขียนบทละครนามอุโฆษ “จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอร์” พูดถึงสิ่งที่มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงให้ได้ก่อน คือ “ผู้ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเขาเองได้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้สักอย่าง”
งานนี้..ผมนึกถึงคำบอกเล่าของ “พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” ที่ในชีวิตโดนจี้ถึง 3 ครั้ง ผมข้ามการจี้ครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 3 แต่ขอยกการโดนจี้ครั้งที่ 2 มาเอ่ยไว้ ณ ที่นี้
ในเดือนกันยายน 2515 เกิดเหตุ “กันยายนทมิฬ” โดยมีกองกำลังอาหรับบุกเข้ายึดสถานทูตอิสราเอลในไทย จับนักการทูตชาตินี้ไว้ได้ 6 คน พลจัตวาชาติชาย ชุณหะวัณ ในตอนนั้น ได้เสี่ยงตายเข้าไปเจรจากับกองกำลังอาหรับ โดยขอเอาตนเองเป็นตัวประกันแลกกับนักการทูตอิสราเอล 6 คนได้สำเร็จ
“น้าชาติ” กับกลุ่มกองกำลังอาหรับ ได้เดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่จอดรออยู่ ณ สนามบินดอนเมือง โดย “น้าชาติ” ได้ถามหัวหน้ากองกำลังอาหรับว่า “พวกคุณคิดจะไปลี้ภัยที่ประเทศไหน?” หัวหน้ากลุ่มกองกำลังอาหรับส่ายหัว เพราะยึดเครื่องบินพร้อมตัวประกัน โดยไม่มีแผนการใดๆ ไว้ในสมองเลย จึงทำอะไรไม่ถูกและไม่รู้จะไปไหนในโลกใบนี้
“น้าชาติ” จึงช่วยหาทางออกให้ว่า “เมื่อพวกคุณไม่มีแผนจะไปไหน เอางี้ไหม..ผมมีเพื่อนสนิทเป็นใหญ่อยู่ที่อียิปต์ คุณไปลี้ภัยที่โน่นไหมล่ะ...ผมจะขอให้...”
กลุ่มกองกำลังอาหรับจึงประชุมด่วนกันบนเครื่องบิน ก่อนจะตอบตกลงตามที่ “น้าชาติ” เสนอ งานนี้...จึงลงเอยกันแบบ “วิน-วิน” วินหนึ่ง-นักการทูตอิสราเอล 6 คนปลอดภัย วินสอง-กองกำลังอาหรับได้ลี้ภัยปลอดภัยที่อียิปต์ วินสาม-“น้าชาติ” ก็พลอยปลอดภัยไปด้วย เพราะไม่มีใครต้องบาดเจ็บล้มตาย วินสี่-ชาติไทยก็ปลอดภัยไม่เสียชื่อเสียงแม้แต่น้อย
เรื่องนี้ “น้าชาติ” เล่าเคล้ากลิ่นซิการ์ให้ผมกับเพื่อนฟัง ตอนตั้งพรรคชาติพัฒนาพร้อมข้อสรุปสั้นๆ ว่า
“รัฐประหารของ รสช.ก็เหมือนพวกอาหรับ จี้เครื่องบินแล้วทำอะไรไม่เป็น จนอั๊วต้องพาไปลี้ภัยที่อียิปต์โน่น รสช.รัฐประหารอั๊วสำเร็จ แต่ก็ทำอะไรใหม่ๆ ดีๆ ไม่เป็นเหมือนกัน สุดท้ายก็หนีไม่พ้นต้องเลือกตั้งอีก ถึงกับขอให้อั๊วช่วยกลับมาเลือกตั้งอีกหนไงล่ะ...”
ในเมื่อทุกชาติในโลกมีทั้งคนดีและคนชั่ว “ไอน์สไตน์” เคยสรุปว่า “โลกใบนี้จะไม่พินาศ ด้วยน้ำมือของคนชั่ว แต่มันจะพังพินาศด้วยน้ำมือของคนที่ได้แต่มอง แต่ไม่คิดจะทำอะไรเลยต่างหาก”
ชาติไทยยามนี้อยู่ในห้วง “โอกาสทอง” หากใช้วิธีการที่ถูกต้อง ก็จะแก้ต้นเหตุปัญหาของชาติได้ นั่นคือ ต้องกีดกันคนชั่วมิให้ยึดครองอำนาจรัฐได้อีกต่อไป ด้วยการปฏิรูปชาติทุกภาคส่วนอย่างจริงใจนั่นเอง
คนไทยกำลัง “รอคอย” ผลงานเด็ดๆ จาก คสช. ดัง “ขงเบ้ง” พูดถึงเรื่อง “รอคอย” กับ “ความหวัง” ไว้ดังนี้
“การรอคอยไม่ทำให้ใครต้องตาย แต่ถ้ารอแล้วมีจุดหมาย ถึงตายก็จะรอ” ถ้อยคำสุดท้าย ณ ที่นี้ คือ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครั้งหนึ่ง ซึ่งขออัญเชิญส่วนหนึ่งมาลงไว้ ดังนี้
“คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดีทำให้เกิดคนดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะทำให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี”
ขอเพียงอย่าไปหลงเล่ห์กลจนเชื่อว่า “คนชั่วบางคนจะเป็นมหาโจรกลับใจ” ก็แล้วกัน..จริงไหม?