นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว หัวข้อสู่ระยะที่ 2 ของคสช. : รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการนิรโทษกรรม ข้อความว่า อีกเพียง 1 วัน ก็จะครบ 2 เดือนนับตั้งแต่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ โดยคสช.ได้แบ่งขั้นตอนการบริหาร(Roadmap)ออกเป็น 3 ระยะ โดยขณะนี้เป็นที่คาดหมายว่า จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำ เนินการในระยะที่ 2
สองเดือนที่ผ่านมา ต้องถือว่า คสช.ประสบความสำเร็จในการนำบ้านเมืองกลับเข้าสู่ความสงบ มีการจับกุมดำเนินคดีกับผู้ก่อความรุนแรง ผู้ครอบครองอาวุธสงคราม มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่ค้างคา เช่น การจ่ายเงินในโครงการจำนำข้าว สิ่งเหล่านี้เป็นความแตกต่างที่ เป็นรูปธรรมจากสภาพบ้านเมืองก่อนการยึดอำนาจ ทำให้ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนบ่งบอกว่า สังคมมีความพึงพอใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเผชิญความจริงได้ว่า การทำให้ระบอบประชาธิปไตยสะดุดหยุดลง รวมถึงการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ แม้ว่าจะทำด้วยเจตนาให้เกิดความสงบ ทำให้คสช. ต้องพบกับแรงกดดันทั้งจากในและต่างประเทศ ให้มีความชัดเจนว่าจะกลับเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยในภาวะปกติเมื่อใด และอย่างไร หากไม่นับบางกลุ่มที่สูญเสียอำนาจ และเคลื่อนไหวแสดงการต่อต้านอย่างเปิดเผย ต้องถือว่า สังคมไทยให้โอกาสคสช. ในการทำงานอย่างเต็มที่ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะพึงพอใจให้ คสช. ใช้อำนาจอย่างเช่นในปัจจุบันตลอดไป
สิ่งที่สังคมไทยคาดหวังที่จะเห็นต่อไป คือ“การปฏิรูปประเทศ”เพื่อให้ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของไทยมีความโปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และนำไปสู่การคืนอำนาจให้แก่ประชาชน จึงมีความคาดหมายว่าสภาพการจำกัดสิทธิเสรีภาพต่างๆ จะค่อยๆถูกผ่อนคลายลง และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการมีรัฐบาล และสภานิติบัญญัติ รวมทั้งสภาปฏิรูป การแสดงความคิดเห็นต่างๆโดยสุจริต จะสามารถกระทำได้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนกระบวนการปฏิรูป โดยมองว่าหากจะต้องมีการใช้อำนาจโดยคสช. ก็น่าจะเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาความสงบ และชำระสะสางความไม่ถูกต้องทั้งหลาย ตั้งแต่ระดับเล็กๆ เช่น ปัญหาอิทธิพลรถตู้ วินมอเตอร์ไซค์ จนถึงการทุจริตระดับชาติ
สำหรับประเด็นการบริหารโดยทั่วไปก็ดี หรือการออกคำสั่ง หรือประกาศก็ดี ย่อมมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งคนที่ไม่เห็นด้วย ไม่ได้หมายความว่าต้องการสร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง หลายคนเป็นบุคคลที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจะเห็นการปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ ซึ่งคนเหล่านี้ควรมีสิทธิที่จะได้นำเสนอมุมมองอย่างตรงไปตรงมา ผมก็ตั้งใจทำหน้าที่นี้ และขณะนี้มีหลายประเด็นที่น่าห่วงใย โดยเฉพาะการดำเนินการของ คสช. ที่อาจจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน โดยจะทยอยนำเสนอเป็นประเด็นๆ ต่อไป โดยเฉพาะประกาศ และคำสั่งที่ออกมานั้นมีสถานะเป็นกฎหมาย หากไม่มีการแก้ไข หลายกรณีจะต้องไปใช้สภานิติบัญญัติ หรือ รัฐสภาในอนาคตเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นเรื่องยุ่งยาก
"ผมมองว่า ปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งคือ คสช. ให้น้ำหนักกับประเด็นความแตกแยก ดังที่ประกาศไว้ในวันยึดอำนาจ โดยมองข้ามมิติปัญหาอื่นๆ จึงตกอยู่ในกับดักว่าจะไม่อนุญาตให้มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างเลย และหวังว่าสภาพการณ์แบบนี้จะสามารถนำไปสู่ความสามัคคีปรองดองในทุกระดับได้ โดยไม่ต้องสนใจประเด็นความถูกผิด ของการกระทำต่างๆที่นำบ้านเมืองมาสู่วิกฤต"
ความสงบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะมีความยั่งยืนหรือไม่ ต้องพิสูจน์กันในภาวะที่ไม่มีการจำกัดสิทธิ ในการแสดงความคิดเห็นและเคลื่อนไหว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป หากสังคมเห็นว่า การไม่ชำระสะสางปัญหาระบบนิติรัฐ นิติธรรม ให้เกิดขึ้น หรือการทำงานของคสช. ต้องอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์โดยสิ้นเชิง ก็จะเกิดการสะสมแรงกดดันและสุดท้าย ไม่อาจนำไปสู่ความสงบ หรือความปรองดองสมานฉันท์ได้
สำหรับรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่จะออกมานั้น ผมไม่ได้มีความคาดหวังอะไรมากนักเกี่ยวกับโครงสร้าง ครม. สภานิติบัญญัติ หรือ สภาปฏิรูป เพราะทางเลือกของคสช. คงมีไม่มากนัก แต่สิ่งที่จะต้องจับตามองคือ ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือกฎหมายที่จะออกต่อไป คงหนีไม่พ้นที่จะมีบทบัญญัตินิรโทษกรรมให้คสช. เอง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่เป็นสภาพความเป็นจริงที่สังคมไทยยอมรับมาโดยตลอด แต่ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การนิรโทษกรรมนี้ จะไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงการกระทำในความผิ ดอื่น ซึ่งจำเป็นต้องชำระสะสางในกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายต่อไป เพราะหากมีบทบัญญัติในลักษณะดังกล่าว ความยุ่งยาก วุ่นวายในประเทศ คงจะเริ่มต้นขึ้นอย่างแน่นอน เพราะต้องไม่ลืมว่า วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นครั้งหลังนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ประชาชนเกือบทั้งหมดของประเทศ ต่อต้านแนวความคิดการล้างผิดกับการกระทำ เช่น การทุจริต คอร์รัปชัน หรือการใช้ความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
สองเดือนที่ผ่านมา ต้องถือว่า คสช.ประสบความสำเร็จในการนำบ้านเมืองกลับเข้าสู่ความสงบ มีการจับกุมดำเนินคดีกับผู้ก่อความรุนแรง ผู้ครอบครองอาวุธสงคราม มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่ค้างคา เช่น การจ่ายเงินในโครงการจำนำข้าว สิ่งเหล่านี้เป็นความแตกต่างที่ เป็นรูปธรรมจากสภาพบ้านเมืองก่อนการยึดอำนาจ ทำให้ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนบ่งบอกว่า สังคมมีความพึงพอใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเผชิญความจริงได้ว่า การทำให้ระบอบประชาธิปไตยสะดุดหยุดลง รวมถึงการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ แม้ว่าจะทำด้วยเจตนาให้เกิดความสงบ ทำให้คสช. ต้องพบกับแรงกดดันทั้งจากในและต่างประเทศ ให้มีความชัดเจนว่าจะกลับเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยในภาวะปกติเมื่อใด และอย่างไร หากไม่นับบางกลุ่มที่สูญเสียอำนาจ และเคลื่อนไหวแสดงการต่อต้านอย่างเปิดเผย ต้องถือว่า สังคมไทยให้โอกาสคสช. ในการทำงานอย่างเต็มที่ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะพึงพอใจให้ คสช. ใช้อำนาจอย่างเช่นในปัจจุบันตลอดไป
สิ่งที่สังคมไทยคาดหวังที่จะเห็นต่อไป คือ“การปฏิรูปประเทศ”เพื่อให้ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของไทยมีความโปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และนำไปสู่การคืนอำนาจให้แก่ประชาชน จึงมีความคาดหมายว่าสภาพการจำกัดสิทธิเสรีภาพต่างๆ จะค่อยๆถูกผ่อนคลายลง และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการมีรัฐบาล และสภานิติบัญญัติ รวมทั้งสภาปฏิรูป การแสดงความคิดเห็นต่างๆโดยสุจริต จะสามารถกระทำได้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนกระบวนการปฏิรูป โดยมองว่าหากจะต้องมีการใช้อำนาจโดยคสช. ก็น่าจะเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาความสงบ และชำระสะสางความไม่ถูกต้องทั้งหลาย ตั้งแต่ระดับเล็กๆ เช่น ปัญหาอิทธิพลรถตู้ วินมอเตอร์ไซค์ จนถึงการทุจริตระดับชาติ
สำหรับประเด็นการบริหารโดยทั่วไปก็ดี หรือการออกคำสั่ง หรือประกาศก็ดี ย่อมมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งคนที่ไม่เห็นด้วย ไม่ได้หมายความว่าต้องการสร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง หลายคนเป็นบุคคลที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจะเห็นการปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ ซึ่งคนเหล่านี้ควรมีสิทธิที่จะได้นำเสนอมุมมองอย่างตรงไปตรงมา ผมก็ตั้งใจทำหน้าที่นี้ และขณะนี้มีหลายประเด็นที่น่าห่วงใย โดยเฉพาะการดำเนินการของ คสช. ที่อาจจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน โดยจะทยอยนำเสนอเป็นประเด็นๆ ต่อไป โดยเฉพาะประกาศ และคำสั่งที่ออกมานั้นมีสถานะเป็นกฎหมาย หากไม่มีการแก้ไข หลายกรณีจะต้องไปใช้สภานิติบัญญัติ หรือ รัฐสภาในอนาคตเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นเรื่องยุ่งยาก
"ผมมองว่า ปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งคือ คสช. ให้น้ำหนักกับประเด็นความแตกแยก ดังที่ประกาศไว้ในวันยึดอำนาจ โดยมองข้ามมิติปัญหาอื่นๆ จึงตกอยู่ในกับดักว่าจะไม่อนุญาตให้มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างเลย และหวังว่าสภาพการณ์แบบนี้จะสามารถนำไปสู่ความสามัคคีปรองดองในทุกระดับได้ โดยไม่ต้องสนใจประเด็นความถูกผิด ของการกระทำต่างๆที่นำบ้านเมืองมาสู่วิกฤต"
ความสงบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะมีความยั่งยืนหรือไม่ ต้องพิสูจน์กันในภาวะที่ไม่มีการจำกัดสิทธิ ในการแสดงความคิดเห็นและเคลื่อนไหว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป หากสังคมเห็นว่า การไม่ชำระสะสางปัญหาระบบนิติรัฐ นิติธรรม ให้เกิดขึ้น หรือการทำงานของคสช. ต้องอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์โดยสิ้นเชิง ก็จะเกิดการสะสมแรงกดดันและสุดท้าย ไม่อาจนำไปสู่ความสงบ หรือความปรองดองสมานฉันท์ได้
สำหรับรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่จะออกมานั้น ผมไม่ได้มีความคาดหวังอะไรมากนักเกี่ยวกับโครงสร้าง ครม. สภานิติบัญญัติ หรือ สภาปฏิรูป เพราะทางเลือกของคสช. คงมีไม่มากนัก แต่สิ่งที่จะต้องจับตามองคือ ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือกฎหมายที่จะออกต่อไป คงหนีไม่พ้นที่จะมีบทบัญญัตินิรโทษกรรมให้คสช. เอง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่เป็นสภาพความเป็นจริงที่สังคมไทยยอมรับมาโดยตลอด แต่ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การนิรโทษกรรมนี้ จะไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงการกระทำในความผิ ดอื่น ซึ่งจำเป็นต้องชำระสะสางในกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายต่อไป เพราะหากมีบทบัญญัติในลักษณะดังกล่าว ความยุ่งยาก วุ่นวายในประเทศ คงจะเริ่มต้นขึ้นอย่างแน่นอน เพราะต้องไม่ลืมว่า วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นครั้งหลังนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ประชาชนเกือบทั้งหมดของประเทศ ต่อต้านแนวความคิดการล้างผิดกับการกระทำ เช่น การทุจริต คอร์รัปชัน หรือการใช้ความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน