สาวรุ่นพม่าดับพร้อมลูกวัย 4 วัน หลังปิดห้องเช่าใน ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ไฟหลังคลอดด้วยวิธีโบราณ ญาติอีก 3 คนหมดสติอาการสาหัส เหตุปิดประตู-หน้าต่างมิดชิด ทั้งควันและความร้อนไม่มีช่องระบาย ทำให้ขาดอากาศหายใจ กรมแพทย์แผนไทยฯยัน อยู่ไฟเองไม่อันตราย แต่ต้องทำถูกวิธี
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (20 ก.ค.) ร.ต.ท.อามร เพชรด้วง พนักงานสอบสวน สภ.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ รับแจ้งมีผู้เสียชีวิตและหมดสติหลายคนในห้องเช่าเลขที่ 523/5 ซอยแสวงโชค ถนนคลองวาฬ-หว้ากอ หมู่ 1 ต.คลองวาฬ จึงประสานเจ้าหน้าที่มูลนิธิสว่างประจวบธรรมสถาน และหน่วยกู้ภัยเทศบาลตำบลคลองวาฬ ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ
พบเป็นห้องแถวปูนชั้นเดียว ห้องที่ 5 พบที่นอนและของใช้เด็กอ่อนวางอยู่บนพื้น ส่วนที่กลางห้องพบกะละมังสเตนเลสขนาดใหญ่ใส่ทรายใช้ก่อไฟ กลิ่นควันไฟตลบอบอวลไปทั้งห้อง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ทราบชื่อนางกีปาตอ อายุ 23 ปี แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า และทารกเพศชายอายุ 4 วัน ทั้งคู่เป็นแม่ลูกกัน คาดว่าเสียชีวิตมาประมาณ 3 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บหมดสติอีก 3 ราย ประกอบด้วย นางโม อายุ 37 ปี น.ส.ทุนเล็ก อายุ 15 ปี และด.ช.ทุน อายุ 7 ปี ทั้งหมดเป็นชาวพม่า จึงนำส่งห้องไอซียูโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งยังไม่ได้สติ แพทย์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บทั้งหมดเป็นเครือญาติ มาเช่าห้องอาศัยอยู่รวมกัน ก่อนเกิดเหตุนางกีปาตอ เพิ่งกลับมาจากโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ หลังจาไปคลอดบุตรชายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา และญาติได้ก่อไฟในกะละมัง จากนั้นจึงนำนางกีปาตอและบุตรเข้ามาไว้ในห้อง เพื่อให้ผู้ตายอยู่ไฟด้วยวิธีโบราณหลังคลอด ส่วนญาติอีก 3 คนนอนอยู่รวมกันในห้องด้วย
กระทั่งนายไทสามีของนางกีปาตอ ซึ่งเป็นลูกเรือประมงเดินทางกลับจากสะพานปลามาที่ห้อง พบว่าห้องปิดเงียบ ส่งเสียงเรียกก็ไม่มีใครเปิดประตู จึงได้งัดประตูเข้าไปดู ก็พบว่าภรรยาและลูกชายเสียชีวิตแล้ว ส่วนญาติอีก 3 คนหมดสติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าทั้งหมดน่าจะขาดอากาศหายใจ เนื่องจากการก่อไฟทำให้เกิดควันไฟและความร้อน ประกอบกับห้องทึบไม่มีช่องระบายอากาศ เพราะประตูหน้าต่างด้านหน้า และประตูหลังถูกปิด อากาศจึงไม่ไหลเวียน ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนจึงหมดสติและเสียชีวิต
ทั้งนี้ การ "อยู่ไฟ" เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณในการการดูแลมารดาหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วที่สุด โดยใช้ความร้อนช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณหลังและขา ที่เกิดจากการกดทับขณะตั้งครรภคลายตัว ลดอาการปวดเมื่อย นอกจากนี้ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้อาการหนาวสะท้านที่เกิดจากการเสียเลือดและน้ำหลังคลอดดีขึ้น ที่สำคัญช่วยให้มดลูกที่ขยายตัว ได้หดตัวหรือเข้าอู่เร็วขึ้น ปากมดลูกปิดได้ดี ป้องกันติดเชื้อในโพรงมดลูก น้ำคาวปลาแห้งเร็ว ลดการไหลย้อนกลับจนนำไปสู่ภาวะเป็นพิษได้
สำหรับวิธีการอยู่ไฟในสมัยก่อน มารดาหลังคลอดต้องเข้าเรือนไฟที่สร้างเป็นกระท่อมหลังคาจาก ซึ่งจะเปิดโล่ง หากเป็นในบ้านต้องระบายอากาศได้ดี โดยเข้าไปนอนผิงไฟบนกระดานไม้แผ่นเดียว พร้อมกับลูกที่จะเอาใส่กระด้ง ทุกวันต้องอาบน้ำร้อน ดื่มน้ำอุ่น งดอาหารแสลง กินข้าวกับเกลือเพื่อทดแทนเกลือแร่ที่ร่างกายต้องสูญเสียไปกับเหงื่อระหว่างอยู่ไฟ
โดยการอยู่ไฟสมัยโบราณมี 2 แบบ คือ 1.ไฟข้าง เป็นการก่อไฟอยู่ข้างลำตัวบริเวณท้อง และนอนบนไม้กระดานข้างกองไฟ และ 2.ไฟแคร่ ที่มารดาจะนอนบนแตร่ไม้ไผ่ เตาไฟอยู่ใต้แคร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบแรก โดยสามีหรือญาติจะคอยเติมฟืนหรือถ่าน ขณะที่มารดาจะต้องอยู่ในเรือนไฟ 7-15 วัน และห้ามออกจากเรือนไฟ เพราะจะทำให้ปรับอุณหภูมิของร่างกายไม่ทัน จนทำให้เจ็บป่วยได้
***กรมแพทย์แผนไทยฯ ชี้ผิดวิธี
นพ.วัฒนะ พันธุ์ม่วง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกรณีสาวพม่าทำการอยู่ไฟหลังคลอดลูกได้ 4 วัน โดยปิดบ้านเช่าที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งญาติได้ก่อไฟในกะละมัง แล้วนำมาวางไว้ในห้อง จากนั้นจึงนอนรวมกัน จนแม่และลูกเสียชีวิต ส่วนญาติอีก 3 รายหมดสติ จนต้องนำส่งโรงพยาบาล ว่า สาเหตุการเสียชีวิตของกรณีนี้น่าจะมาจากการอยู่ไฟในที่อากาศไม่ถ่ายเท เนื่องจากการสุมไฟเพื่ออยู่ไฟนั้นจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งหากทำการอยู่ไฟในที่ปิด อับ การไหลเวียนอากาศไม่ดี จะทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับกรณีนอนในรถยนต์ที่สตาร์ทเครื่องติดแอร์ไว้ แล้วควันท่อไอเสียย้อนกลับเข้ามาในรถ
"การอยู่ไฟซึ่งเป็นวิธีรักษาแบบโบราณนั้น ไม่อันตราย แต่จะต้องทำอย่างถูกวิธี ทำในที่มีอากาศถ่ายเท คือควรเปิดหน้าตา ประตู ให้เกิดการระบายอากาศ ซึ่งการอยู่ไฟจะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ขับน้ำคาวปลาดีขึ้น และฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยปกติการอยู่ไฟให้อยู่เป็นช่วง ช่วงละ 15 นาที แล้วพักดื่มน้ำ เนื่องจากการอยู่ไฟทำให้เสียเหงื่อมาก จากนั้นจึงเข้าไปอยู่ไฟต่อประมาณ 15 นาที ทำเช่นนี้ประมาณ 3-5 ครั้ง โดยจะต้องมีคนช่วยดูแลเรื่องการอยู่ไฟ เพื่อไม่ให้ร้อนมากจนเกินไป รวมถึงช่วยหาน้ำหาข้าวให้แม่หลังคลอดด้วยอีก 1 คน ซึ่งอาหารนั้นแนะนำว่าให้กินน้ำข้าวผสมเกลือ หรือข้าวต้มใส่เกลือ เพื่อคงความสมดุลของเกลือแร่ และระดับน้ำในร่างกายให้คงที่ ทั้งนี้ การทำอยู่ไฟนั้นจะต้องทำหลังจากคลอดประมาณ 2-3 อาทิตย์" ผอ.รพ.ยศเส กล่าว
นพ.วัฒนะ กล่าวอีกว่า การอยู่ไฟนั้นถ้าเป็นคนเมืองอย่าง กทม. จะนิยมตั้งกระโจม แล้วใช้เตาหรือหม้อไฟฟ้าใส่น้ำต้มยาสมุนไพร แล้วอบตัวอยู่ในกระโจม ซึ่งไอน้ำจะพายาสมุนไพรขึ้นมารักษาคนที่อยู่ไฟ แต่ถ้าเป็นชาวบ้านจะสุมไฟจากฟืนจากถ่าน ซึ่งทำให้เกิดควัน อย่างไรก็ตาม หลังจากการอยู่ไฟเสร็จแล้วจะต้องมีการทำหัตถการด้วยการทับหม้อเกลือด้วย ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านการแพทย์แผนไทยจะมีคอร์สอยู่ไฟและทับหม้อเกลือ โดยบรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับผู้ที่จะกลับไปทำเองที่บ้านก็จะมีการให้คำแนะนำ โดยให้มาดูวิธีในการทำก่อน เพราะจำเป็นต้องหาสมุนไพรสด ซึ่งคุณแม่หลังคลอดอาจไม่สะดวกหาซื้อเอง แต่เมื่อดูแล้วสามารถทำเองได้ก็จะให้คำแนะนำในการอยู่ไฟ รวมถึงการบำรุงน้ำนม เพื่อไม่ให้เต้านมคัด และการดูแลตนเองเรื่องอาหารหลังคลอดด้วย
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า กรณีนี้อาจเกิดจากอบหรืออยู่ไฟไม่ถูกวิธี ทำให้ขาดอากาศหายใจ หรืออุปกรณ์ไม่เป็นไปตามหลักการทางแพทย์แผนไทย จึงขอเตือนผู้ที่ต้องการอยู่ไฟเองหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งของรัฐ มีให้บริการและคำแนะนำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก่อนจะไปทำเองที่บ้านจะได้รับการตรวจด้วยว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นที่ไม่ควรอยู่ไฟด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น.
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (20 ก.ค.) ร.ต.ท.อามร เพชรด้วง พนักงานสอบสวน สภ.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ รับแจ้งมีผู้เสียชีวิตและหมดสติหลายคนในห้องเช่าเลขที่ 523/5 ซอยแสวงโชค ถนนคลองวาฬ-หว้ากอ หมู่ 1 ต.คลองวาฬ จึงประสานเจ้าหน้าที่มูลนิธิสว่างประจวบธรรมสถาน และหน่วยกู้ภัยเทศบาลตำบลคลองวาฬ ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ
พบเป็นห้องแถวปูนชั้นเดียว ห้องที่ 5 พบที่นอนและของใช้เด็กอ่อนวางอยู่บนพื้น ส่วนที่กลางห้องพบกะละมังสเตนเลสขนาดใหญ่ใส่ทรายใช้ก่อไฟ กลิ่นควันไฟตลบอบอวลไปทั้งห้อง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ทราบชื่อนางกีปาตอ อายุ 23 ปี แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า และทารกเพศชายอายุ 4 วัน ทั้งคู่เป็นแม่ลูกกัน คาดว่าเสียชีวิตมาประมาณ 3 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บหมดสติอีก 3 ราย ประกอบด้วย นางโม อายุ 37 ปี น.ส.ทุนเล็ก อายุ 15 ปี และด.ช.ทุน อายุ 7 ปี ทั้งหมดเป็นชาวพม่า จึงนำส่งห้องไอซียูโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งยังไม่ได้สติ แพทย์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บทั้งหมดเป็นเครือญาติ มาเช่าห้องอาศัยอยู่รวมกัน ก่อนเกิดเหตุนางกีปาตอ เพิ่งกลับมาจากโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ หลังจาไปคลอดบุตรชายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา และญาติได้ก่อไฟในกะละมัง จากนั้นจึงนำนางกีปาตอและบุตรเข้ามาไว้ในห้อง เพื่อให้ผู้ตายอยู่ไฟด้วยวิธีโบราณหลังคลอด ส่วนญาติอีก 3 คนนอนอยู่รวมกันในห้องด้วย
กระทั่งนายไทสามีของนางกีปาตอ ซึ่งเป็นลูกเรือประมงเดินทางกลับจากสะพานปลามาที่ห้อง พบว่าห้องปิดเงียบ ส่งเสียงเรียกก็ไม่มีใครเปิดประตู จึงได้งัดประตูเข้าไปดู ก็พบว่าภรรยาและลูกชายเสียชีวิตแล้ว ส่วนญาติอีก 3 คนหมดสติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าทั้งหมดน่าจะขาดอากาศหายใจ เนื่องจากการก่อไฟทำให้เกิดควันไฟและความร้อน ประกอบกับห้องทึบไม่มีช่องระบายอากาศ เพราะประตูหน้าต่างด้านหน้า และประตูหลังถูกปิด อากาศจึงไม่ไหลเวียน ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนจึงหมดสติและเสียชีวิต
ทั้งนี้ การ "อยู่ไฟ" เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณในการการดูแลมารดาหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วที่สุด โดยใช้ความร้อนช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณหลังและขา ที่เกิดจากการกดทับขณะตั้งครรภคลายตัว ลดอาการปวดเมื่อย นอกจากนี้ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้อาการหนาวสะท้านที่เกิดจากการเสียเลือดและน้ำหลังคลอดดีขึ้น ที่สำคัญช่วยให้มดลูกที่ขยายตัว ได้หดตัวหรือเข้าอู่เร็วขึ้น ปากมดลูกปิดได้ดี ป้องกันติดเชื้อในโพรงมดลูก น้ำคาวปลาแห้งเร็ว ลดการไหลย้อนกลับจนนำไปสู่ภาวะเป็นพิษได้
สำหรับวิธีการอยู่ไฟในสมัยก่อน มารดาหลังคลอดต้องเข้าเรือนไฟที่สร้างเป็นกระท่อมหลังคาจาก ซึ่งจะเปิดโล่ง หากเป็นในบ้านต้องระบายอากาศได้ดี โดยเข้าไปนอนผิงไฟบนกระดานไม้แผ่นเดียว พร้อมกับลูกที่จะเอาใส่กระด้ง ทุกวันต้องอาบน้ำร้อน ดื่มน้ำอุ่น งดอาหารแสลง กินข้าวกับเกลือเพื่อทดแทนเกลือแร่ที่ร่างกายต้องสูญเสียไปกับเหงื่อระหว่างอยู่ไฟ
โดยการอยู่ไฟสมัยโบราณมี 2 แบบ คือ 1.ไฟข้าง เป็นการก่อไฟอยู่ข้างลำตัวบริเวณท้อง และนอนบนไม้กระดานข้างกองไฟ และ 2.ไฟแคร่ ที่มารดาจะนอนบนแตร่ไม้ไผ่ เตาไฟอยู่ใต้แคร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบแรก โดยสามีหรือญาติจะคอยเติมฟืนหรือถ่าน ขณะที่มารดาจะต้องอยู่ในเรือนไฟ 7-15 วัน และห้ามออกจากเรือนไฟ เพราะจะทำให้ปรับอุณหภูมิของร่างกายไม่ทัน จนทำให้เจ็บป่วยได้
***กรมแพทย์แผนไทยฯ ชี้ผิดวิธี
นพ.วัฒนะ พันธุ์ม่วง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกรณีสาวพม่าทำการอยู่ไฟหลังคลอดลูกได้ 4 วัน โดยปิดบ้านเช่าที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งญาติได้ก่อไฟในกะละมัง แล้วนำมาวางไว้ในห้อง จากนั้นจึงนอนรวมกัน จนแม่และลูกเสียชีวิต ส่วนญาติอีก 3 รายหมดสติ จนต้องนำส่งโรงพยาบาล ว่า สาเหตุการเสียชีวิตของกรณีนี้น่าจะมาจากการอยู่ไฟในที่อากาศไม่ถ่ายเท เนื่องจากการสุมไฟเพื่ออยู่ไฟนั้นจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งหากทำการอยู่ไฟในที่ปิด อับ การไหลเวียนอากาศไม่ดี จะทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับกรณีนอนในรถยนต์ที่สตาร์ทเครื่องติดแอร์ไว้ แล้วควันท่อไอเสียย้อนกลับเข้ามาในรถ
"การอยู่ไฟซึ่งเป็นวิธีรักษาแบบโบราณนั้น ไม่อันตราย แต่จะต้องทำอย่างถูกวิธี ทำในที่มีอากาศถ่ายเท คือควรเปิดหน้าตา ประตู ให้เกิดการระบายอากาศ ซึ่งการอยู่ไฟจะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ขับน้ำคาวปลาดีขึ้น และฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยปกติการอยู่ไฟให้อยู่เป็นช่วง ช่วงละ 15 นาที แล้วพักดื่มน้ำ เนื่องจากการอยู่ไฟทำให้เสียเหงื่อมาก จากนั้นจึงเข้าไปอยู่ไฟต่อประมาณ 15 นาที ทำเช่นนี้ประมาณ 3-5 ครั้ง โดยจะต้องมีคนช่วยดูแลเรื่องการอยู่ไฟ เพื่อไม่ให้ร้อนมากจนเกินไป รวมถึงช่วยหาน้ำหาข้าวให้แม่หลังคลอดด้วยอีก 1 คน ซึ่งอาหารนั้นแนะนำว่าให้กินน้ำข้าวผสมเกลือ หรือข้าวต้มใส่เกลือ เพื่อคงความสมดุลของเกลือแร่ และระดับน้ำในร่างกายให้คงที่ ทั้งนี้ การทำอยู่ไฟนั้นจะต้องทำหลังจากคลอดประมาณ 2-3 อาทิตย์" ผอ.รพ.ยศเส กล่าว
นพ.วัฒนะ กล่าวอีกว่า การอยู่ไฟนั้นถ้าเป็นคนเมืองอย่าง กทม. จะนิยมตั้งกระโจม แล้วใช้เตาหรือหม้อไฟฟ้าใส่น้ำต้มยาสมุนไพร แล้วอบตัวอยู่ในกระโจม ซึ่งไอน้ำจะพายาสมุนไพรขึ้นมารักษาคนที่อยู่ไฟ แต่ถ้าเป็นชาวบ้านจะสุมไฟจากฟืนจากถ่าน ซึ่งทำให้เกิดควัน อย่างไรก็ตาม หลังจากการอยู่ไฟเสร็จแล้วจะต้องมีการทำหัตถการด้วยการทับหม้อเกลือด้วย ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านการแพทย์แผนไทยจะมีคอร์สอยู่ไฟและทับหม้อเกลือ โดยบรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับผู้ที่จะกลับไปทำเองที่บ้านก็จะมีการให้คำแนะนำ โดยให้มาดูวิธีในการทำก่อน เพราะจำเป็นต้องหาสมุนไพรสด ซึ่งคุณแม่หลังคลอดอาจไม่สะดวกหาซื้อเอง แต่เมื่อดูแล้วสามารถทำเองได้ก็จะให้คำแนะนำในการอยู่ไฟ รวมถึงการบำรุงน้ำนม เพื่อไม่ให้เต้านมคัด และการดูแลตนเองเรื่องอาหารหลังคลอดด้วย
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า กรณีนี้อาจเกิดจากอบหรืออยู่ไฟไม่ถูกวิธี ทำให้ขาดอากาศหายใจ หรืออุปกรณ์ไม่เป็นไปตามหลักการทางแพทย์แผนไทย จึงขอเตือนผู้ที่ต้องการอยู่ไฟเองหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งของรัฐ มีให้บริการและคำแนะนำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก่อนจะไปทำเองที่บ้านจะได้รับการตรวจด้วยว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นที่ไม่ควรอยู่ไฟด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น.