กรมแพทย์แผนไทยฯยัน อยู่ไฟเองไม่อันตราย แต่ต้องทำถูกวิธี ห้ามทำในที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เสี่ยงขาดอากาศหายใจตายเช่นเคสสาวพม่า เผยอยู่ไฟต้องทำหลังคลอด 2 - 3 สัปดาห์ ทำเพียง 15 นาทีแล้วพัก ประมาณ 3 - 5 ครั้ง แนะดื่มน้ำ ซดข้าวต้มใส่เกลือ รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
นพ.วัฒนะ พันธุ์ม่วง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกรณีสาวพม่าทำการอยู่ไฟหลังคลอดลูกได้ 4 วัน โดยปิดบ้านเช่าที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งญาติได้ก่อไฟในกะละมัง แล้วนำมาวางไว้ในห้อง จากนั้นจึงนอนรวมกัน จนแม่และลูกเสียชีวิต ส่วนญาติอีก 3 รายหมดสติ จนต้องนำส่งโรงพยาบาล ว่า สาเหตุการเสียชีวิตของกรณีนี้น่าจะมาจากการอยู่ไฟในที่อากาศไม่ถ่ายเท เนื่องจากการสุมไฟเพื่ออยู่ไฟนั้นจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งหากทำการอยู่ไฟในที่ปิด อับ การไหลเวียนอากาศไม่ดี จะทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับกรณีนอนในรถยนต์ที่สตาร์ทเครื่องติดแอร์ไว้ แล้วควันท่อไอเสียย้อนกลับเข้ามาในรถ
“การอยู่ไฟซึ่งเป็นวิธีรักษาแบบโบราณนั้น ไม่อันตราย แต่จะต้องทำอย่างถูกวิธี ทำในที่มีอากาศถ่ายเท คือควรเปิดหน้าตา ประตู ให้เกิดการระบายอากาศ ซึ่งการอยู่ไฟจะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ขับน้ำคาวปลาดีขึ้น และฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยปกติการอยู่ไฟให้อยู่เป็นช่วง ช่วงละ 15 นาที แล้วพักดื่มน้ำ เนื่องจากการอยู่ไฟทำให้เสียเหงื่อมาก จากนั้นจึงเข้าไปอยู่ไฟต่อประมาณ 15 นาที ทำเช่นนี้ประมาณ 3 - 5 ครั้ง โดยจะต้องมีคนช่วยดูแลเรื่องการอยู่ไฟ เพื่อไม่ให้ร้อนมากจนเกินไป รวมถึงช่วยหาน้ำหาข้าวให้แม่หลังคลอดด้วยอีก 1 คน ซึ่งอาหารนั้นแนะนำว่าให้กินน้ำข้าวผสมเกลือ หรือข้าวต้มใส่เกลือ เพื่อคงความสมดุลของเกลือแร่ และระดับน้ำในร่างกายให้คงที่ ทั้งนี้ การทำอยู่ไฟนั้นจะต้องทำหลังจากคลอดประมาณ 2 - 3 อาทิตย์” ผอ.รพ.ยศเส กล่าว
นพ.วัฒนะ กล่าวอีกว่า การอยู่ไฟนั้นถ้าเป็นคนเมืองอย่าง กทม. จะนิยมตั้งกระโจม แล้วใช้เตา หรือหม้อไฟฟ้าใส่น้ำต้มยาสมุนไพร แล้วอบตัวอยู่ในกระโจม ซึ่งไอน้ำจะพายาสมุนไพรขึ้นมารักษาคนที่อยู่ไฟ แต่ถ้าเป็นชาวบ้านจะสุมไฟจากฟืนจากถ่าน ซึ่งทำให้เกิดควัน อย่างไรก็ตาม หลังจากการอยู่ไฟเสร็จแล้วจะต้องมีการทำหัตถการด้วยการทับหม้อเกลือด้วย ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านการแพทย์แผนไทยจะมีคอร์สอยู่ไฟและทับหม้อเกลือ โดยบรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับผู้ที่จะกลับไปทำเองที่บ้านก็จะมีการให้คำแนะนำ โดยให้มาดูวิธีในการทำก่อน เพราะจำเป็นต้องหาสมุนไพรสด ซึ่งคุณแม่หลังคลอดอาจไม่สะดวกหาซื้อเอง แต่เมื่อดูแล้วสามารถทำเองได้ก็จะให้คำแนะนำในการอยู่ไฟ รวมถึงการบำรุงน้ำนม เพื่อไม่ให้เต้านมคัด และการดูแลตนเองเรื่องอาหารหลังคลอดด้วย
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า กรณีนี้อาจเกิดจากอบหรืออยู่ไฟไม่ถูกวิธี ทำให้ขาดอากาศหายใจ หรืออุปกรณ์ไม่เป็นไปตามหลักการทางแพทย์แผนไทย จึงขอเตือนผู้ที่ต้องการอยู่ไฟเองหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งของรัฐ มีให้บริการและคำแนะนำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก่อนจะไปทำเองที่บ้านจะได้รับการตรวจด้วยว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นที่ไม่ควรอยู่ไฟด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วัฒนะ พันธุ์ม่วง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกรณีสาวพม่าทำการอยู่ไฟหลังคลอดลูกได้ 4 วัน โดยปิดบ้านเช่าที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งญาติได้ก่อไฟในกะละมัง แล้วนำมาวางไว้ในห้อง จากนั้นจึงนอนรวมกัน จนแม่และลูกเสียชีวิต ส่วนญาติอีก 3 รายหมดสติ จนต้องนำส่งโรงพยาบาล ว่า สาเหตุการเสียชีวิตของกรณีนี้น่าจะมาจากการอยู่ไฟในที่อากาศไม่ถ่ายเท เนื่องจากการสุมไฟเพื่ออยู่ไฟนั้นจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งหากทำการอยู่ไฟในที่ปิด อับ การไหลเวียนอากาศไม่ดี จะทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับกรณีนอนในรถยนต์ที่สตาร์ทเครื่องติดแอร์ไว้ แล้วควันท่อไอเสียย้อนกลับเข้ามาในรถ
“การอยู่ไฟซึ่งเป็นวิธีรักษาแบบโบราณนั้น ไม่อันตราย แต่จะต้องทำอย่างถูกวิธี ทำในที่มีอากาศถ่ายเท คือควรเปิดหน้าตา ประตู ให้เกิดการระบายอากาศ ซึ่งการอยู่ไฟจะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ขับน้ำคาวปลาดีขึ้น และฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยปกติการอยู่ไฟให้อยู่เป็นช่วง ช่วงละ 15 นาที แล้วพักดื่มน้ำ เนื่องจากการอยู่ไฟทำให้เสียเหงื่อมาก จากนั้นจึงเข้าไปอยู่ไฟต่อประมาณ 15 นาที ทำเช่นนี้ประมาณ 3 - 5 ครั้ง โดยจะต้องมีคนช่วยดูแลเรื่องการอยู่ไฟ เพื่อไม่ให้ร้อนมากจนเกินไป รวมถึงช่วยหาน้ำหาข้าวให้แม่หลังคลอดด้วยอีก 1 คน ซึ่งอาหารนั้นแนะนำว่าให้กินน้ำข้าวผสมเกลือ หรือข้าวต้มใส่เกลือ เพื่อคงความสมดุลของเกลือแร่ และระดับน้ำในร่างกายให้คงที่ ทั้งนี้ การทำอยู่ไฟนั้นจะต้องทำหลังจากคลอดประมาณ 2 - 3 อาทิตย์” ผอ.รพ.ยศเส กล่าว
นพ.วัฒนะ กล่าวอีกว่า การอยู่ไฟนั้นถ้าเป็นคนเมืองอย่าง กทม. จะนิยมตั้งกระโจม แล้วใช้เตา หรือหม้อไฟฟ้าใส่น้ำต้มยาสมุนไพร แล้วอบตัวอยู่ในกระโจม ซึ่งไอน้ำจะพายาสมุนไพรขึ้นมารักษาคนที่อยู่ไฟ แต่ถ้าเป็นชาวบ้านจะสุมไฟจากฟืนจากถ่าน ซึ่งทำให้เกิดควัน อย่างไรก็ตาม หลังจากการอยู่ไฟเสร็จแล้วจะต้องมีการทำหัตถการด้วยการทับหม้อเกลือด้วย ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านการแพทย์แผนไทยจะมีคอร์สอยู่ไฟและทับหม้อเกลือ โดยบรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับผู้ที่จะกลับไปทำเองที่บ้านก็จะมีการให้คำแนะนำ โดยให้มาดูวิธีในการทำก่อน เพราะจำเป็นต้องหาสมุนไพรสด ซึ่งคุณแม่หลังคลอดอาจไม่สะดวกหาซื้อเอง แต่เมื่อดูแล้วสามารถทำเองได้ก็จะให้คำแนะนำในการอยู่ไฟ รวมถึงการบำรุงน้ำนม เพื่อไม่ให้เต้านมคัด และการดูแลตนเองเรื่องอาหารหลังคลอดด้วย
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า กรณีนี้อาจเกิดจากอบหรืออยู่ไฟไม่ถูกวิธี ทำให้ขาดอากาศหายใจ หรืออุปกรณ์ไม่เป็นไปตามหลักการทางแพทย์แผนไทย จึงขอเตือนผู้ที่ต้องการอยู่ไฟเองหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งของรัฐ มีให้บริการและคำแนะนำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งก่อนจะไปทำเองที่บ้านจะได้รับการตรวจด้วยว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นที่ไม่ควรอยู่ไฟด้วยหรือไม่ เช่น ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่