“วัชรพล” รรท.ผบ.ตร.หนุนประกาศ คสช.ปรับโครงสร้าง ก.ต.ช.-ก.ตร. เห็นดีเห็นงามมีปลัด กห.ร่วม เพิ่มมิติงานมั่นคง ให้อำนาจวุฒิสภาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเลือกตั้ง กต.-กอ. ส่วนให้อำนาจ ผบ.ตร.เสนอชื่อทายาทเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ เปิดชื่อ 5 แคนดิเดตคุมสีกากี แย้มมีคนอยู่ในใจแล้ว “บิ๊กอู๋” หลีกทางยกอำนาจ “บิ๊กกุ้ย” เลือก ผบ.คนใหม่ ด้าน “อรรถวิชช์” ห่วง ตร.ใหญ่คับฟ้ากลาย จี้ปฏิรูปองค์กรด้วย ชู ตร.ขึ้นตรงผู้ว่าฯ ส่วนอดีต ส.ว.โวไอเดีย “วัชรพล” ตั้งแต่สมัยร่วมเป็น สนช.ปี 49
วานนี้ (15 ก.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) กล่าวถึงคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 87-89/2557 ซึ่งเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และให้อำนาจ ผบ.ตร.เสนอชื่อ ผบ.ตร.คนต่อไปจากเดิมที่เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีว่า คำสั่ง คสช.ได้ปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการ ก.ต.ช.โดยให้มีระดับการเมืองเพียง 2 คน จากเดิมที่มีถึง 3 คน คือเหลือเพียงนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งคาดว่าจะเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลตำรวจ และเป็นประธาน ก.ตร. ส่วนกรรมการโดยตำแหน่งจะเพิ่มปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นเรื่องที่พิจารณาจากภารกิจ เพราะงานของตำรวจเป็นงานด้านความมั่นคง การให้ปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามา เพื่อให้มีมิติด้านความมั่นคง เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสำนักงบประมาณที่จะทำให้งานของ ก.ต.ช.ครบถ้วน เพราะเมื่อมีแผนก็จะมีเรื่องเงินด้วยให้เดินไปได้
“ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากเดิมมี 4 ก็เหลือ 2 ท่าน โดยการแต่งตั้งโดยวุฒิสภาสอดคล้องกับกรรมการตุลาการ กรรมการอัยการซึ่งจะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งโดยวุฒิสภา และเปลี่ยนให้ ผบ.ตร.เป็นกรรมการและเลขานุการ สรุปแล้วบอร์ด ก.ต.ช.ก็จะกะทัดรัดมีกรรมการเพียง 7 คน" รรท.ผบ.ตร. กล่าว
**เผย 5 แคนดิเดตเบียด ผบ.คนใหม่
พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวต่อว่า สำหรับการเสนอชื่อ ผบ.ตร.เดิมที พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ระบุว่านายกรัฐมนตรีจะเสนอรายชื่อนายตำรวจยศ พล.ต.อ.ให้ ก.ต.ช.เห็นชอบเลื่อนเป็น ผบ.ตร. ก็มีการแก้ไขว่าการเสนอ ผบ.ตร.คนต่อไปให้ ผบ.ตร.คนปัจจุบันเป็นคนเสนอ จากเดิมที่ให้นายกรัฐมนตรีเลือกนายตำรวจยศ พล.ต.อ. ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 14 ท่าน คือ จเรตำรวจแห่งชาติ รอง ผบ.ตร.จำนวน 7 นาย ที่ปรึกษา (สบ10) จำนวน 5 นาย และหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ10) อีก 1 นาย เปลี่ยนเป็นให้ ผบ.ตร.เลือก รองผบ.ตร.หรือจเรตำรวจแห่งชาติเท่านั้น จึงเหลือแค่ 8 นาย ขณะที่ปีนี้เมื่อหักผู้ที่เกษียณอายุราชการแล้วก็จะเหลือแคนดิเดตอยู่เพียง 5 คน ประกอบด้วย รอง ผบ.ตร. 4 ราย คือ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา และ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน จเรตำรวจแห่งชาติ โดยผบ.ตร.ก็จะเลือก 1 ใน 5 เสนอให้ ก.ต.ช.เห็นชอบ
"เมื่อ ผบ.ตรเสนอใครคนใดคนหนึ่งเข้าไปแล้ว ก.ต.ช.ไม่เห็นชอบก็เสนอคนใหม่ เป็นหลักการอยู่แล้ว ซึ่งการจะพิจารณาเสนอชื่อใครนั้น ตามกฏหมายตำรวจเราจะพิจารณาจากคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ รวมทั้งอาวุโสด้วย ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 57" พล.ต.อ.วัชรพล ระบุ
** “วัชรพล” เผยมีคนในดวงใจแล้ว
พล.ต.อ.วัชรพล เปิดเผยด้วยว่า กระบวนการสรรหา ผบ.ตร.คนต่อไป โดยหลัก คือ ปลายเดือน ก.ค.-ต้นเดือน ส.ค.ก็จะต้องพิจารณาแล้ว เพราะตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง การแต่งตั้งนายพลต้องเสร็จภายในเดือน ส.ค. ขณะนี้ก็ขึ้นอยู่กับ หัวหน้า คสช.ซึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีว่ามีความประสงค์จะนัดประชุมทันทีหรือไม่ หรือจะรอให้มีคณะรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหัวหน้า คสช.
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ใครมีอำนาจในการเสนอ ผบ.ตร.คนใหม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ตามกฎหมายขณะนี้ตนเองมีศักดิ์และสิทธิตามกฎหมายทำหน้าที่แทน ผบ.ตร.ได้ทุกประการ หากหัวหน้า คสช.ถอดตนเองออกจาก รรท.ผบ.ตร. ก็จะเป็น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผบ.ตร.กลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิม สำหรับชื่อคนที่จะเสนอนั้นตอนนี้ก็อยู่ในใจแล้ว ส่วนคุณสมบัติที่จะนำมาพิจารณาก็เป็นไปตามมาตรา 57
พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวอีกว่า การลดฝ่ายการเมืองลงในการเป็นคณะกรรมการก.ต.ช.และให้ ผบ.ตร.มีอำนาจเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนต่อไป ถือเป็นเรื่องที่ดีตามนโยบายของหัวหน้า คสช.ที่ต้องการให้ สตช.มีความเข้มแข็ง ทำให้เราได้พิจารณาผลงานของคนของเราเอง รวมทั้ง ก.ตร.ด้วย ทำให้ผู้บังคับบัญชานำผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชามาพืจารณาว่าใครจะเหมาะสมอย่างไร
** “เอก” ยก หน.คสช.สุดกล้าหาญ
ด้าน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.กล่าวว่า การให้ ผบ.ตร.เป็นคนเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนต่อไปนั้น ในหลักการตนเองเห็นด้วยเป็นเรื่องที่ดี เพราะ ผบ.ตร.เป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนทำงานอย่างไร และเป็นการป้องกันฝ่ายการเมืองเข้ามามีอิทธิพล เพราะตราบใดที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อ ผบ.ตร. ก็จะทำให้ สตช.ไม่พัฒนา
“ถือว่าหัวหน้า คสช.มีวิสัยทัศน์กล้าหาญให้ ผบ.ตร.เป็นคนเสนอ มั่นใจว่าองค์กรจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น มั่นใจว่าการปฏิรูปตำรวจจะประสบความสำเร็จ ตำรวจมีความสำคัญในการดูแลความสงบเรียบร้อยการดูแลทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาตำรวจถูกแทรกแซงจากอำนาจทางการเมือง คำสั่งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแต่งตั้ง และพิจารณาหลักอาวุโสอย่างชัดเจนเป็นการเริ่มต้นในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อเป็นตำรวจของประชาชน ดูแล ทุกข์สุขของประชาชน” พล.ต.อ.เอก ระบุ
** “บิ๊กอู๋” หลีกทางชู “บิ๊กกุ้ย” อำนาจเต็ม
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายกิจการพิเศษ กล่าวถึงอำนาจในการเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ว่า ขณะนี้ถือว่าตนพ้นจากตำแหน่งมาแล้ว ดังนั้น ผู้ที่มีอำนาจในการเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่คือ พล.ต.อ.วัชรพล ส่วนตัวมีความเห็นว่า โครงสร้างใหม่นี้ก็เป็นเรื่องดี เพราะหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน จะได้เป็นผู้เสนอว่า ใครเหมาะสมควรขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน และผู้ที่จะขึ้นมาเป็น ผบ.ตร.คนใหม่นั้น คือ ผู้ที่มีลำดับอาวุโสสูงสุด ทั้งรอง ผบ.ตร.และจเรตำรวจ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น
** อดีต ส.ส.ปชป.ห่วง ตร.ใหญ่คับฟ้า
ขณะที่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองใน 3 ประเด็น คือ 1.รัฐธรรมนูญใหม่น่าจะมีวุฒิสภาแน่นอน เพราะในประกาศใหม่ให้วุฒิสภาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คนใน ก.ต.ช. 2. ตำรวจจะใหญ่ขึ้นนักการเมืองจะเล็กลง เพราะรัฐมนตรีออกจาก ก.ต.ช. 2 คน และให้ปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามาแทน รวมถึงการเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่จากเดิมให้อำนาจนายกรัฐมนตรี เสนอชื่อ พล.ต.อ.คนใดก็ได้ แต่คราวนี้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจของ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน และ 3.การกำหนดให้ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน เสนอชื่อแทนถือว่า คสช.ปฏิรูปนักการเมืองแล้ว แต่การปฏิรูปตำรวจ ดูจะห่างไกลเพราะยิ่งแก้ ยิ่งผูกขาดอำนาจ
“ฝันของผมคือ อยากให้ตำรวจขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล หลีกเลี่ยงความเป็นรัฐตำรวจ หรือการถูกครอบงำจากรัฐบาลกลางครับ แต่โครงสร้างใหม่ที่ประกาศ เป็นการลดบทบาทรัฐบาลกลางจริง แต่มันจะกลายเป็นรัฐตำรวจครับ ผมเสนอแนะแบบประชาชนคนหนึ่งที่อยากเห็นประเทศที่ดีขึ้น" นายอรรถวิชช์ กล่าว
** เผยไอเดีย “วัชรพล” สมัยเป็น สนช.ปี49
ทางด้าน พล.ต.อ.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา กล่าวถึง เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการให้ ผบ.ตร.คนเดิมเลือกผบ.ตร.คนใหม่ เนื่องจากวงการตำรวจจำเป็นต้องปลอดการเมือง เหมือนแนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาของทหาร ซึ่งจะส่งผลให้ตำรวจมีความเป็นอิสระ ผู้บังคับบัญชาสามารถแต่งตั้งสายงานได้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่วิ่งเต้นกันฝ่ายการเมืองเหมือนที่ผ่านมา ประกาศฉบับนี้จะทำให้ ก.ตร. มีอำนาจบริหารงานบุคคลอย่างแท้จริง
พล.ต.อ.มาโนช เปิดเผยด้วยว่า การปรับโครงสร้างตำรวจคือ สิ่งที่ตนและ พล.ต.อ.วัชรพล เคยร่วมกันพยามกันผลักดันในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตั้งแต่เมื่อปี 49 แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้อำนาจ ผบ.ตร.คนเก่าเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ หรือการให้ฝ่ายปกครองและตำรวจมีอำนาจร่วมกัน และยังมีอีกหลายเรื่องที่ค้างอยู่ แต่ในครั้งนั้นการผลักดันไม่สำเร็จเนื่องจากหมดเวลาก่อน
วานนี้ (15 ก.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) กล่าวถึงคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 87-89/2557 ซึ่งเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และให้อำนาจ ผบ.ตร.เสนอชื่อ ผบ.ตร.คนต่อไปจากเดิมที่เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีว่า คำสั่ง คสช.ได้ปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการ ก.ต.ช.โดยให้มีระดับการเมืองเพียง 2 คน จากเดิมที่มีถึง 3 คน คือเหลือเพียงนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งคาดว่าจะเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลตำรวจ และเป็นประธาน ก.ตร. ส่วนกรรมการโดยตำแหน่งจะเพิ่มปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นเรื่องที่พิจารณาจากภารกิจ เพราะงานของตำรวจเป็นงานด้านความมั่นคง การให้ปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามา เพื่อให้มีมิติด้านความมั่นคง เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสำนักงบประมาณที่จะทำให้งานของ ก.ต.ช.ครบถ้วน เพราะเมื่อมีแผนก็จะมีเรื่องเงินด้วยให้เดินไปได้
“ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากเดิมมี 4 ก็เหลือ 2 ท่าน โดยการแต่งตั้งโดยวุฒิสภาสอดคล้องกับกรรมการตุลาการ กรรมการอัยการซึ่งจะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งโดยวุฒิสภา และเปลี่ยนให้ ผบ.ตร.เป็นกรรมการและเลขานุการ สรุปแล้วบอร์ด ก.ต.ช.ก็จะกะทัดรัดมีกรรมการเพียง 7 คน" รรท.ผบ.ตร. กล่าว
**เผย 5 แคนดิเดตเบียด ผบ.คนใหม่
พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวต่อว่า สำหรับการเสนอชื่อ ผบ.ตร.เดิมที พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ระบุว่านายกรัฐมนตรีจะเสนอรายชื่อนายตำรวจยศ พล.ต.อ.ให้ ก.ต.ช.เห็นชอบเลื่อนเป็น ผบ.ตร. ก็มีการแก้ไขว่าการเสนอ ผบ.ตร.คนต่อไปให้ ผบ.ตร.คนปัจจุบันเป็นคนเสนอ จากเดิมที่ให้นายกรัฐมนตรีเลือกนายตำรวจยศ พล.ต.อ. ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 14 ท่าน คือ จเรตำรวจแห่งชาติ รอง ผบ.ตร.จำนวน 7 นาย ที่ปรึกษา (สบ10) จำนวน 5 นาย และหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ10) อีก 1 นาย เปลี่ยนเป็นให้ ผบ.ตร.เลือก รองผบ.ตร.หรือจเรตำรวจแห่งชาติเท่านั้น จึงเหลือแค่ 8 นาย ขณะที่ปีนี้เมื่อหักผู้ที่เกษียณอายุราชการแล้วก็จะเหลือแคนดิเดตอยู่เพียง 5 คน ประกอบด้วย รอง ผบ.ตร. 4 ราย คือ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา และ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน จเรตำรวจแห่งชาติ โดยผบ.ตร.ก็จะเลือก 1 ใน 5 เสนอให้ ก.ต.ช.เห็นชอบ
"เมื่อ ผบ.ตรเสนอใครคนใดคนหนึ่งเข้าไปแล้ว ก.ต.ช.ไม่เห็นชอบก็เสนอคนใหม่ เป็นหลักการอยู่แล้ว ซึ่งการจะพิจารณาเสนอชื่อใครนั้น ตามกฏหมายตำรวจเราจะพิจารณาจากคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ รวมทั้งอาวุโสด้วย ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 57" พล.ต.อ.วัชรพล ระบุ
** “วัชรพล” เผยมีคนในดวงใจแล้ว
พล.ต.อ.วัชรพล เปิดเผยด้วยว่า กระบวนการสรรหา ผบ.ตร.คนต่อไป โดยหลัก คือ ปลายเดือน ก.ค.-ต้นเดือน ส.ค.ก็จะต้องพิจารณาแล้ว เพราะตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้ง การแต่งตั้งนายพลต้องเสร็จภายในเดือน ส.ค. ขณะนี้ก็ขึ้นอยู่กับ หัวหน้า คสช.ซึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีว่ามีความประสงค์จะนัดประชุมทันทีหรือไม่ หรือจะรอให้มีคณะรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหัวหน้า คสช.
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ใครมีอำนาจในการเสนอ ผบ.ตร.คนใหม่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ตามกฎหมายขณะนี้ตนเองมีศักดิ์และสิทธิตามกฎหมายทำหน้าที่แทน ผบ.ตร.ได้ทุกประการ หากหัวหน้า คสช.ถอดตนเองออกจาก รรท.ผบ.ตร. ก็จะเป็น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผบ.ตร.กลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิม สำหรับชื่อคนที่จะเสนอนั้นตอนนี้ก็อยู่ในใจแล้ว ส่วนคุณสมบัติที่จะนำมาพิจารณาก็เป็นไปตามมาตรา 57
พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวอีกว่า การลดฝ่ายการเมืองลงในการเป็นคณะกรรมการก.ต.ช.และให้ ผบ.ตร.มีอำนาจเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนต่อไป ถือเป็นเรื่องที่ดีตามนโยบายของหัวหน้า คสช.ที่ต้องการให้ สตช.มีความเข้มแข็ง ทำให้เราได้พิจารณาผลงานของคนของเราเอง รวมทั้ง ก.ตร.ด้วย ทำให้ผู้บังคับบัญชานำผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชามาพืจารณาว่าใครจะเหมาะสมอย่างไร
** “เอก” ยก หน.คสช.สุดกล้าหาญ
ด้าน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.กล่าวว่า การให้ ผบ.ตร.เป็นคนเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนต่อไปนั้น ในหลักการตนเองเห็นด้วยเป็นเรื่องที่ดี เพราะ ผบ.ตร.เป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนทำงานอย่างไร และเป็นการป้องกันฝ่ายการเมืองเข้ามามีอิทธิพล เพราะตราบใดที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อ ผบ.ตร. ก็จะทำให้ สตช.ไม่พัฒนา
“ถือว่าหัวหน้า คสช.มีวิสัยทัศน์กล้าหาญให้ ผบ.ตร.เป็นคนเสนอ มั่นใจว่าองค์กรจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น มั่นใจว่าการปฏิรูปตำรวจจะประสบความสำเร็จ ตำรวจมีความสำคัญในการดูแลความสงบเรียบร้อยการดูแลทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาตำรวจถูกแทรกแซงจากอำนาจทางการเมือง คำสั่งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแต่งตั้ง และพิจารณาหลักอาวุโสอย่างชัดเจนเป็นการเริ่มต้นในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อเป็นตำรวจของประชาชน ดูแล ทุกข์สุขของประชาชน” พล.ต.อ.เอก ระบุ
** “บิ๊กอู๋” หลีกทางชู “บิ๊กกุ้ย” อำนาจเต็ม
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายกิจการพิเศษ กล่าวถึงอำนาจในการเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ว่า ขณะนี้ถือว่าตนพ้นจากตำแหน่งมาแล้ว ดังนั้น ผู้ที่มีอำนาจในการเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่คือ พล.ต.อ.วัชรพล ส่วนตัวมีความเห็นว่า โครงสร้างใหม่นี้ก็เป็นเรื่องดี เพราะหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน จะได้เป็นผู้เสนอว่า ใครเหมาะสมควรขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน และผู้ที่จะขึ้นมาเป็น ผบ.ตร.คนใหม่นั้น คือ ผู้ที่มีลำดับอาวุโสสูงสุด ทั้งรอง ผบ.ตร.และจเรตำรวจ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น
** อดีต ส.ส.ปชป.ห่วง ตร.ใหญ่คับฟ้า
ขณะที่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองใน 3 ประเด็น คือ 1.รัฐธรรมนูญใหม่น่าจะมีวุฒิสภาแน่นอน เพราะในประกาศใหม่ให้วุฒิสภาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คนใน ก.ต.ช. 2. ตำรวจจะใหญ่ขึ้นนักการเมืองจะเล็กลง เพราะรัฐมนตรีออกจาก ก.ต.ช. 2 คน และให้ปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามาแทน รวมถึงการเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่จากเดิมให้อำนาจนายกรัฐมนตรี เสนอชื่อ พล.ต.อ.คนใดก็ได้ แต่คราวนี้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจของ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน และ 3.การกำหนดให้ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน เสนอชื่อแทนถือว่า คสช.ปฏิรูปนักการเมืองแล้ว แต่การปฏิรูปตำรวจ ดูจะห่างไกลเพราะยิ่งแก้ ยิ่งผูกขาดอำนาจ
“ฝันของผมคือ อยากให้ตำรวจขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล หลีกเลี่ยงความเป็นรัฐตำรวจ หรือการถูกครอบงำจากรัฐบาลกลางครับ แต่โครงสร้างใหม่ที่ประกาศ เป็นการลดบทบาทรัฐบาลกลางจริง แต่มันจะกลายเป็นรัฐตำรวจครับ ผมเสนอแนะแบบประชาชนคนหนึ่งที่อยากเห็นประเทศที่ดีขึ้น" นายอรรถวิชช์ กล่าว
** เผยไอเดีย “วัชรพล” สมัยเป็น สนช.ปี49
ทางด้าน พล.ต.อ.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา กล่าวถึง เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการให้ ผบ.ตร.คนเดิมเลือกผบ.ตร.คนใหม่ เนื่องจากวงการตำรวจจำเป็นต้องปลอดการเมือง เหมือนแนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาของทหาร ซึ่งจะส่งผลให้ตำรวจมีความเป็นอิสระ ผู้บังคับบัญชาสามารถแต่งตั้งสายงานได้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่วิ่งเต้นกันฝ่ายการเมืองเหมือนที่ผ่านมา ประกาศฉบับนี้จะทำให้ ก.ตร. มีอำนาจบริหารงานบุคคลอย่างแท้จริง
พล.ต.อ.มาโนช เปิดเผยด้วยว่า การปรับโครงสร้างตำรวจคือ สิ่งที่ตนและ พล.ต.อ.วัชรพล เคยร่วมกันพยามกันผลักดันในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตั้งแต่เมื่อปี 49 แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้อำนาจ ผบ.ตร.คนเก่าเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ หรือการให้ฝ่ายปกครองและตำรวจมีอำนาจร่วมกัน และยังมีอีกหลายเรื่องที่ค้างอยู่ แต่ในครั้งนั้นการผลักดันไม่สำเร็จเนื่องจากหมดเวลาก่อน