วานนี้ (14ก.ค.) นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา เปิดเผยว่า ในวันนี้ (15 ก.ค.) เวลา 14.00 น. จะมีการประชุมคณะทำงานร่วม 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และ คณะกรรมการประสานงานร่วม ที่มี นายพิทูร พุ่มหิรัญ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนายสุรพงษ์ มาศะวิสุทธุ์ อดีตที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นกรรมการ เพื่อพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนการทำงาน และเตรียมความพร้อมด้านระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ หลังจากที่รัฐธรรมนูญ มีผลบังคับใช้ในเร็วๆนี้
ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ที่คาดว่าจะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ฐานะฝ่ายเลขาธิการ สนช. ทำงานได้รวดเร็ว เบื้องต้นนั้น จะนำข้อบังคับการประชุม สนช. เมื่อปี 2550 และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา แต่ยังไม่ถือว่า ข้อบังคับดังกล่าวจะเป็นข้อสรุปเพื่อให้ สนช. ชุดใหม่เป็นกรอบการทำงาน เนื่องจากต้องพิจารณารายละเอียดของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อน ว่ามีบทบัญญัติเช่นไร เบื้องต้นอาจจะใช้ข้อบังคับการประชุม สนช. ปี 2550 อย่างอนุโลม ในการประชุมนัดแรก จากนั้น สนช. ต้องยกร่างข้อบังคับการประชุมขึ้นมา โดยพิจารณาเนื้อหาที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการกำหนดข้อบังคับการประชุม เพื่อป้องกันปัญหาการพิจารณา ร่าง กฎหมาย ที่ไม่ครบองค์ประชุมจนเป็นเหตุให้กฎหมายบางฉบับถูกโต้แย้ง เหมือนที่เคยเกิดใน สนช.ชุดที่ผ่านมา เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจว่า การทำงานของ สนช. ชุดที่ผ่านมาได้วางข้อบังคับการประชุมไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่สิ่งที่ถูกท้วงติงนั้น เป็นเพียงความเห็นที่แตกต่างกัน แต่กรณีที่กฎหมาย หรือพระราชบัญญัติฉบับใดที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม การทำงานของ สนช. เป็นเรื่องที่ต้องรอให้ สนช. ชุดใหม่ได้หารือเพื่อกำหนดข้อบังคับการประชุมอีกครั้ง
** รอตั้ง"วรวิทย์"เป็นตุลาการศาลรธน.
นางนรรัตน์ ยังกล่าวถึง ขั้นตอนการคัดเลือก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ แทน นายจรูญ อินทจาร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่เกษียณอายุราชการ โโยมีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ได้รับหนังสือจากศาลปกครอง กรณีแจ้งถึงการคัดเลือกให้ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ไปดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของศาลปกครอง แทนนายจรูญ แล้ว และสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ก็ได้ส่งเรื่องดังกล่าวแจ้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้รับทราบแล้ว แต่ขณะนี้สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ไม่ สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ เนื่องจากขณะนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงต้องรอให้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะร่างขึ้นมามีผลบังคับใช้ก่อน แล้วดูว่าจะเขียนถึงขั้นตอนการดำเนินการในกระบวนการดังกล่าวอย่างไร เพื่อสำนักเลขาวุฒิสภาจะได้ดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายจรูญ เกษียณอายุราชการไปเมื่อวันที่ 29 พ.ค. แล้ว และกระบวนการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ยังไม่แล้วเสร็จทำให้ขณะนี้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพียง 8 คนเท่านั้น
** เตรียมพร้อมรับสภาปฏิรูป
นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กำกับงานสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานประชุม และกลุ่มงานประธานรัฐสภา ในฐานะประธานคณะร่างข้อบังคับ เพื่อรองรับสภาปฏิรูป เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ ในการปรับแก้ เพราะฉบับร่าง ได้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยอ้างอิงจากข้อบังคับเดิมที่มีอยู่เดิม มาปรับแก้ และใส่หมวดหมู่ เช่น การเตรียมการประชุม การเลือกประธาน และการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ เท่านั้น เนื่องจากต้องรอให้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว และ ทราบถึงอำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปเสียก่อน จึงจะร่างข้อบังคับฉบับสมบูรณ์ ให้สอดคล้องกับอำนาจของสภาปฏิรูปได้
โดยในวันนี้ (15 ก.ค.) นายธงชัย และนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าร่วมการประชุมวางกรอบการทำหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูป ซึ่งจะนำแบบร่างข้อบังคับดังกล่าว เสนอเข้าที่ประชุมด้วย
ด้านม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง สัดส่วนของสมาชิกสภาปฏิรูป ในส่วนข้าราชการ ว่า ข้าราชการประจำไม่ได้เกี่ยวข้องในส่วนนี้ คงเป็นฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง และเรื่องสภาปฏิรูป เป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ที่จะกำหนด และแต่งตั้งว่าเป็นใคร
** สนช.ต้องเน้นความรู้ ความสามารถ
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า โครงสร้างของ สนช. ชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวมีผลบังคับใช้ ส่วนใหญ่จะมาจากเครือข่ายของฝ่ายทหาร และ คสช. ว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่คณะปฏิวัติต้องตั้งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ เพื่อควบคุมเสียงข้างมากในสภาฯ เอาไว้ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การพิจารณาร่างกฎหมายนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเข้ายึดอำนาจ
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าการทำงานที่มีเป้าหมายหลักเพื่อการปฏิรูปประเทศ หรือ ปฏิรูปการเมืองนั้น จำเป็นที่ต้องใช้บุคคลที่มีความหลากหลายเข้าไปทำงาน โดยเมื่อ สมัยสนช. ปี 50 พบว่ามีตัวแทนจากข้าราชการทหาร , ตำรวจ , ข้าราชการพลเรือน รวมถึงตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ นักวิชาการ , ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้พิการ ที่ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญ รู้ลึก และรู้จริงต่อสภาพปัญหาเข้าไปทำงาน แล้วให้เกิดประโยชน์ต่อการพิจารณาร่างกฎหมาย แต่หากการตั้งสภา สนช. โดยมีสมาชิกที่เป็นคนมีแนวคิดเดียวกันหรือกลุ่มก้อนเดียวกันอาจเสี่ยงที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมได้
" สนช.นอกจากเป็นคนที่ทำงานได้เต็มเวลาแล้ว ต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการออกกฎหมาย ไม่ใช่แค่เลือกคนเข้าไปยกมือสนับสนุนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าการทำงานในสนช. ต้องยึดความโปร่งใส แม้จะตั้งเป้าว่าต้องแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมสะท้อนประโยชน์ขอประชาชน หรือส่วนรวมด้วย" นายสมบัติ กล่าว
**"จาตุรนต์"เย้ยปฏิรูปสำเร็จยาก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง กรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการปฏิรูปประเทศไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ว่า ขณะนี้มีการพูดถึงเรื่องการปฏิรูปกันมาก ก่อนหน้านี้ก็มีความพยายามปฏิรูปในหลายๆด้าน คณะของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ทำไว้ค่อนข้างครอบคลุม แต่ไม่ค่อยเน้นเรื่องการเมืองที่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
หลังการรัฐประหารครั้งนี้ ก็มีความพยายามเสนอการปฏิรูปด้านต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่แม้ว่าหัวข้อจะคล้ายกัน แต่เนื้อหาการปฏิรูปที่คิดไว้ก่อนการรัฐประหาร กับระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมานั้น แตกต่างกันมาก อาทิ เรื่องการปฏิรูปพลังงาน ถือว่าฐานข้อมูลเป็นคนละชุดกัน เรื่องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ก่อนหน้านี้ปฏิเสธการแปรรูป ปฏิเสธเอกชน แต่ปัจจุบันกลับให้การส่งเสริมเอกชน ลดบทบาทรัฐวิสาหกิจลง เปรียบเทียบแล้ว จึงเห็นความแตกต่างอย่างมาก
ดังนั้นการปฏิรูปที่พูดกันอยู่นี้ จึงยากที่จะสำเร็จ จะต้องทำความเข้าใจปัญหาให้ตรงกัน ต้องมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของประเทศ ต้องมีกระบวนการที่ดี มีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย อีกทั้งยังต้องใช้เวลา ซึ่งตนมองว่าเบื้องต้นควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างจริงจังรอบหนึ่งก่อน
นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า แม้ว่าจะมีการปฏิรูปได้จริงในช่วงนี้ แต่เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ก็จะมีนโยบายที่แตกต่างไปอีก อาจจะกลายเป็นปัญหาข้อถกเถียงว่าจะเอาแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนเลือกเข้ามาหรือเอาแบบที่ทำกันไว้ในช่วงนี้ สำหรับการปฏิรูปการเมืองนั้น ความจริงแล้วควรปฏิรูปมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด แต่บนเงื่อนไขสถานการณ์ปัจจุบันนั้น น่าจะทำในส่วนที่จำเป็นจริงๆ และควรเปิดให้มีการหารืออย่างกว้างขวาง เพราะถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็น ทำกันแค่บางส่วน ก็อาจจะนำพาสังคมไปผิดทิศผิดทางได้
**กกต.เตรียมถกแก้กม.เลือกตั้งเพิ่ม
รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งว่า จากกรณีที่ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เปิดเผยว่าภายในสัปดาห์นี้ สำนักงานกกต. จะมีการหารือถึงแนวทางการแก้ไขกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 5 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกกต.นั้น ทราบว่าขณะนี้ กกต.แต่ละด้านได้เตรียมข้อมูลรายละเอียดข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ไว้เบื้องต้นแล้ว เช่น วิธีการรับสมัครผู้ลงสมัครเลือกตั้งระดับชาติ เรื่อง ส.ส.แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง ซึ่งมีโจทย์หลักที่ต้องแก้ไขว่า กกต.จะทำอย่างไรให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง การดำเนินกิจรรมของกรรมการบริหารพรรคเป็นไปด้วยความโปร่งใส พรรคการเมืองต้องเป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง โดยแต่ละด้าน ก็จะมีรายละเอียดที่ต้องนำเสนอจำนวนมากและต้องดูว่ากฎหมายข้อใดที่เป็นอุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ ก็คงต้องมาปรับแก้ เพราะต้องทำให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองเข้าใจในกติกา และคนคุมกติกาอย่างกกต. ก็ต้องมีกฎหมายที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่า วาระนี้จะเข้าที่ประชุมกกต.วันใด และต้องใช้ระยะเวลาพิจารณานาน หรือไม่
ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ที่คาดว่าจะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ฐานะฝ่ายเลขาธิการ สนช. ทำงานได้รวดเร็ว เบื้องต้นนั้น จะนำข้อบังคับการประชุม สนช. เมื่อปี 2550 และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา แต่ยังไม่ถือว่า ข้อบังคับดังกล่าวจะเป็นข้อสรุปเพื่อให้ สนช. ชุดใหม่เป็นกรอบการทำงาน เนื่องจากต้องพิจารณารายละเอียดของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อน ว่ามีบทบัญญัติเช่นไร เบื้องต้นอาจจะใช้ข้อบังคับการประชุม สนช. ปี 2550 อย่างอนุโลม ในการประชุมนัดแรก จากนั้น สนช. ต้องยกร่างข้อบังคับการประชุมขึ้นมา โดยพิจารณาเนื้อหาที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการกำหนดข้อบังคับการประชุม เพื่อป้องกันปัญหาการพิจารณา ร่าง กฎหมาย ที่ไม่ครบองค์ประชุมจนเป็นเหตุให้กฎหมายบางฉบับถูกโต้แย้ง เหมือนที่เคยเกิดใน สนช.ชุดที่ผ่านมา เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจว่า การทำงานของ สนช. ชุดที่ผ่านมาได้วางข้อบังคับการประชุมไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่สิ่งที่ถูกท้วงติงนั้น เป็นเพียงความเห็นที่แตกต่างกัน แต่กรณีที่กฎหมาย หรือพระราชบัญญัติฉบับใดที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม การทำงานของ สนช. เป็นเรื่องที่ต้องรอให้ สนช. ชุดใหม่ได้หารือเพื่อกำหนดข้อบังคับการประชุมอีกครั้ง
** รอตั้ง"วรวิทย์"เป็นตุลาการศาลรธน.
นางนรรัตน์ ยังกล่าวถึง ขั้นตอนการคัดเลือก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ แทน นายจรูญ อินทจาร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่เกษียณอายุราชการ โโยมีอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ได้รับหนังสือจากศาลปกครอง กรณีแจ้งถึงการคัดเลือกให้ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ไปดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของศาลปกครอง แทนนายจรูญ แล้ว และสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ก็ได้ส่งเรื่องดังกล่าวแจ้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้รับทราบแล้ว แต่ขณะนี้สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ไม่ สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ เนื่องจากขณะนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงต้องรอให้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะร่างขึ้นมามีผลบังคับใช้ก่อน แล้วดูว่าจะเขียนถึงขั้นตอนการดำเนินการในกระบวนการดังกล่าวอย่างไร เพื่อสำนักเลขาวุฒิสภาจะได้ดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อนายจรูญ เกษียณอายุราชการไปเมื่อวันที่ 29 พ.ค. แล้ว และกระบวนการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ยังไม่แล้วเสร็จทำให้ขณะนี้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพียง 8 คนเท่านั้น
** เตรียมพร้อมรับสภาปฏิรูป
นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กำกับงานสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานประชุม และกลุ่มงานประธานรัฐสภา ในฐานะประธานคณะร่างข้อบังคับ เพื่อรองรับสภาปฏิรูป เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ ในการปรับแก้ เพราะฉบับร่าง ได้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยอ้างอิงจากข้อบังคับเดิมที่มีอยู่เดิม มาปรับแก้ และใส่หมวดหมู่ เช่น การเตรียมการประชุม การเลือกประธาน และการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ เท่านั้น เนื่องจากต้องรอให้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว และ ทราบถึงอำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปเสียก่อน จึงจะร่างข้อบังคับฉบับสมบูรณ์ ให้สอดคล้องกับอำนาจของสภาปฏิรูปได้
โดยในวันนี้ (15 ก.ค.) นายธงชัย และนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าร่วมการประชุมวางกรอบการทำหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูป ซึ่งจะนำแบบร่างข้อบังคับดังกล่าว เสนอเข้าที่ประชุมด้วย
ด้านม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง สัดส่วนของสมาชิกสภาปฏิรูป ในส่วนข้าราชการ ว่า ข้าราชการประจำไม่ได้เกี่ยวข้องในส่วนนี้ คงเป็นฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง และเรื่องสภาปฏิรูป เป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ที่จะกำหนด และแต่งตั้งว่าเป็นใคร
** สนช.ต้องเน้นความรู้ ความสามารถ
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า โครงสร้างของ สนช. ชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวมีผลบังคับใช้ ส่วนใหญ่จะมาจากเครือข่ายของฝ่ายทหาร และ คสช. ว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่คณะปฏิวัติต้องตั้งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ เพื่อควบคุมเสียงข้างมากในสภาฯ เอาไว้ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การพิจารณาร่างกฎหมายนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเข้ายึดอำนาจ
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าการทำงานที่มีเป้าหมายหลักเพื่อการปฏิรูปประเทศ หรือ ปฏิรูปการเมืองนั้น จำเป็นที่ต้องใช้บุคคลที่มีความหลากหลายเข้าไปทำงาน โดยเมื่อ สมัยสนช. ปี 50 พบว่ามีตัวแทนจากข้าราชการทหาร , ตำรวจ , ข้าราชการพลเรือน รวมถึงตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ นักวิชาการ , ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้พิการ ที่ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญ รู้ลึก และรู้จริงต่อสภาพปัญหาเข้าไปทำงาน แล้วให้เกิดประโยชน์ต่อการพิจารณาร่างกฎหมาย แต่หากการตั้งสภา สนช. โดยมีสมาชิกที่เป็นคนมีแนวคิดเดียวกันหรือกลุ่มก้อนเดียวกันอาจเสี่ยงที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมได้
" สนช.นอกจากเป็นคนที่ทำงานได้เต็มเวลาแล้ว ต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการออกกฎหมาย ไม่ใช่แค่เลือกคนเข้าไปยกมือสนับสนุนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าการทำงานในสนช. ต้องยึดความโปร่งใส แม้จะตั้งเป้าว่าต้องแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมสะท้อนประโยชน์ขอประชาชน หรือส่วนรวมด้วย" นายสมบัติ กล่าว
**"จาตุรนต์"เย้ยปฏิรูปสำเร็จยาก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง กรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการปฏิรูปประเทศไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ว่า ขณะนี้มีการพูดถึงเรื่องการปฏิรูปกันมาก ก่อนหน้านี้ก็มีความพยายามปฏิรูปในหลายๆด้าน คณะของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ทำไว้ค่อนข้างครอบคลุม แต่ไม่ค่อยเน้นเรื่องการเมืองที่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
หลังการรัฐประหารครั้งนี้ ก็มีความพยายามเสนอการปฏิรูปด้านต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่แม้ว่าหัวข้อจะคล้ายกัน แต่เนื้อหาการปฏิรูปที่คิดไว้ก่อนการรัฐประหาร กับระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมานั้น แตกต่างกันมาก อาทิ เรื่องการปฏิรูปพลังงาน ถือว่าฐานข้อมูลเป็นคนละชุดกัน เรื่องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ก่อนหน้านี้ปฏิเสธการแปรรูป ปฏิเสธเอกชน แต่ปัจจุบันกลับให้การส่งเสริมเอกชน ลดบทบาทรัฐวิสาหกิจลง เปรียบเทียบแล้ว จึงเห็นความแตกต่างอย่างมาก
ดังนั้นการปฏิรูปที่พูดกันอยู่นี้ จึงยากที่จะสำเร็จ จะต้องทำความเข้าใจปัญหาให้ตรงกัน ต้องมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของประเทศ ต้องมีกระบวนการที่ดี มีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย อีกทั้งยังต้องใช้เวลา ซึ่งตนมองว่าเบื้องต้นควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างจริงจังรอบหนึ่งก่อน
นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า แม้ว่าจะมีการปฏิรูปได้จริงในช่วงนี้ แต่เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ก็จะมีนโยบายที่แตกต่างไปอีก อาจจะกลายเป็นปัญหาข้อถกเถียงว่าจะเอาแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนเลือกเข้ามาหรือเอาแบบที่ทำกันไว้ในช่วงนี้ สำหรับการปฏิรูปการเมืองนั้น ความจริงแล้วควรปฏิรูปมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด แต่บนเงื่อนไขสถานการณ์ปัจจุบันนั้น น่าจะทำในส่วนที่จำเป็นจริงๆ และควรเปิดให้มีการหารืออย่างกว้างขวาง เพราะถ้าปล่อยให้มีการแสดงความเห็น ทำกันแค่บางส่วน ก็อาจจะนำพาสังคมไปผิดทิศผิดทางได้
**กกต.เตรียมถกแก้กม.เลือกตั้งเพิ่ม
รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งว่า จากกรณีที่ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เปิดเผยว่าภายในสัปดาห์นี้ สำนักงานกกต. จะมีการหารือถึงแนวทางการแก้ไขกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 5 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกกต.นั้น ทราบว่าขณะนี้ กกต.แต่ละด้านได้เตรียมข้อมูลรายละเอียดข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ไว้เบื้องต้นแล้ว เช่น วิธีการรับสมัครผู้ลงสมัครเลือกตั้งระดับชาติ เรื่อง ส.ส.แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง ซึ่งมีโจทย์หลักที่ต้องแก้ไขว่า กกต.จะทำอย่างไรให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง การดำเนินกิจรรมของกรรมการบริหารพรรคเป็นไปด้วยความโปร่งใส พรรคการเมืองต้องเป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง โดยแต่ละด้าน ก็จะมีรายละเอียดที่ต้องนำเสนอจำนวนมากและต้องดูว่ากฎหมายข้อใดที่เป็นอุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ ก็คงต้องมาปรับแก้ เพราะต้องทำให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองเข้าใจในกติกา และคนคุมกติกาอย่างกกต. ก็ต้องมีกฎหมายที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่า วาระนี้จะเข้าที่ประชุมกกต.วันใด และต้องใช้ระยะเวลาพิจารณานาน หรือไม่