ASTVผู้จัดการรายวัน- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันหรือกกร.เตรียมหารือแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะครึ่งปีหลัง 14 ก.ค.นี้หวังรวบรวมประเด็นต่างๆ เสนอ”ประยุทธ์”ในฐานะประธานกรอ. ที่จะประชุมนัดแรก 16 ก.ค. โดยจะรวมถึงประเด็นสหรัฐฯลดระดับความน่าเชื่อถือการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์มาอยู่ระดับเทียร์ 3 ด้านก.อุตฯรับลูกคสช.เล็งถกส.อ.ท.ทุกเดือนประเดิม 15 ก.ค.
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 14 ก.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย หรือ กกร. เพื่อหารือวาระการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแนวโน้มเศรษฐกิจ ส่งออก และการลงทุนครึ่งปีหลัง 2557 เพื่อนำไปสู่การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)
ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน
นอกจากนี้จะหารือถึงสถานการณ์กรณีประเทศสหรัฐ ฯ ลดระดับความน่าเชื่อถือการตอบสนองในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของประเทศไทย ในระดับเทียร์ 3 ว่า มีผลกระทบต่อภาคการค้าหรือไม่อย่างไร แต่ละหน่วยงานมีการเสนอข้อคิดเห็น หรือแนวทางการแก้ไขปัญหา ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง และเชื่อว่า นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท.จะมีการหารือถึงแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างเป็นรูปธรรม หลังจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ได้ยกให้การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นวาระแห่งชาติ
“สถานการณ์การค้าและการส่งออกยังไม่ได้รับผลกระทบชัดเจนนักต่อกรณีสหรัฐลดอันดับเรื่องการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ แต่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นจะต้องหาทางออกร่วมกันเพราะระยะยาวปล่อยไว้ย่อมกระทบแน่นอน สำหรับข้อเสนอของภาคเอกชนต้องการให้มีการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวร่วมกัน มีการนิรโทษกรรมให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายและจัดระเบียบการขึ้นทะเบียนเพื่อให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งส.อ.ท.ก็ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว”นายวัลลภกล่าว
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเชิญนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท. และผู้แทนประธานกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมประชุมหารือกับกระทรวงฯ ทุกเดือน เพื่อสนองนโยบายคสช. ให้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การขับเคลื่อน และกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุต ฯให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ โดยครั้งแรก จะจัดที่กระทรวงอุตฯ ในวันที่ 15 ก.ค. เวลา 16.30 - 18.30 น.
“การประชุมก็จะมีการทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือรง. 4 ที่ลดขั้นตอนจาก 90 วัน เหลือ 30 วัน นอกจากนี้จะหารือสนับสนุนนโยบายคสช. ที่เน้นให้โรงงานประกอบกิจการ คำนึงถึงความรับผิดชอบแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะอุตสาหกรรม และการอยู่ร่วมกับชุมชน เป็นต้น” นายวิฑูรย์กล่ว
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 14 ก.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย หรือ กกร. เพื่อหารือวาระการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแนวโน้มเศรษฐกิจ ส่งออก และการลงทุนครึ่งปีหลัง 2557 เพื่อนำไปสู่การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)
ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน
นอกจากนี้จะหารือถึงสถานการณ์กรณีประเทศสหรัฐ ฯ ลดระดับความน่าเชื่อถือการตอบสนองในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของประเทศไทย ในระดับเทียร์ 3 ว่า มีผลกระทบต่อภาคการค้าหรือไม่อย่างไร แต่ละหน่วยงานมีการเสนอข้อคิดเห็น หรือแนวทางการแก้ไขปัญหา ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง และเชื่อว่า นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท.จะมีการหารือถึงแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างเป็นรูปธรรม หลังจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ได้ยกให้การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นวาระแห่งชาติ
“สถานการณ์การค้าและการส่งออกยังไม่ได้รับผลกระทบชัดเจนนักต่อกรณีสหรัฐลดอันดับเรื่องการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ แต่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นจะต้องหาทางออกร่วมกันเพราะระยะยาวปล่อยไว้ย่อมกระทบแน่นอน สำหรับข้อเสนอของภาคเอกชนต้องการให้มีการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวร่วมกัน มีการนิรโทษกรรมให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายและจัดระเบียบการขึ้นทะเบียนเพื่อให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งส.อ.ท.ก็ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว”นายวัลลภกล่าว
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเชิญนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท. และผู้แทนประธานกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมประชุมหารือกับกระทรวงฯ ทุกเดือน เพื่อสนองนโยบายคสช. ให้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การขับเคลื่อน และกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุต ฯให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ โดยครั้งแรก จะจัดที่กระทรวงอุตฯ ในวันที่ 15 ก.ค. เวลา 16.30 - 18.30 น.
“การประชุมก็จะมีการทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือรง. 4 ที่ลดขั้นตอนจาก 90 วัน เหลือ 30 วัน นอกจากนี้จะหารือสนับสนุนนโยบายคสช. ที่เน้นให้โรงงานประกอบกิจการ คำนึงถึงความรับผิดชอบแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะอุตสาหกรรม และการอยู่ร่วมกับชุมชน เป็นต้น” นายวิฑูรย์กล่ว