กสทช. ยอมตาม คสช. ที่สั่งให้นำเงินประมูลทีวีดิจิตอล 5หมื่นล้าน เข้าแผ่นดินทั้งหมด เตรียมทำเรื่องเสนอของบฯ 11,162 ล้านบาท เพื่อใช้ในการแจกคูปองทีวีดิจิตอลก้อนแรก จำนวน 11 ล้านครัวเรือน ภายในเดือนกันยายนนี้ ขณะที่ คสช. ส่งปลัดกลาโหม นั่งบอร์ดกองทุนกทปส.
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในตอนนี้เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวนวงเงิน 11,162 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิตอล ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ถือเป็นเงินงวดแรกที่ได้จากการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจที่ผ่านมา แต่หากไม่พอในการดำเนินการ ก็สามารถทำเรื่องเพื่อเสนอ งบประมาณเข้าไปใหม่ได้อีก โดยแผนที่ กสทช.เคยวางไว้ในการแจกคูปองทีวีดิจิตอลทั้งหมด 25 ล้านครัวเรือน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มแจกได้ภายในเดือนก.ย. นี้
ทั้งนี้ การเสนอของบประมาณดังกล่าวของ กสทช. เป็นไปตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมาย ว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวกับการนำเงินประมูลในกิจการวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิมที่กฎหมายระบุให้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จึงส่งผลให้ กสทช. ต้องเปลี่ยนการใช้เงินจากกองทุน กทปส. เป็นการตั้งประมาณ เพื่อแจกคูปองทีวีดิจิตอลแทน
“ในตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ราคาคูปองจะอยู่ที่ 1,000 บาท หรือ 690 บาท ต่อครัวเรือน เช่นเดียวกับการนำคูปองไปแลกเป็นกล่องทีวีดิจิตอล ทีวีเครื่องใหม่ กล่องดาวเทียม หรือ กล่องเคเบิลได้นั้น คงต้องรอการพิจารณาจากคสช.เท่านั้น”
สำหรับวงเงินจากการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง รวม 50,862 ล้านบาทนั้น ในตอนนี้ได้รับเงินงวดแรกแล้ว 11,162 ล้าน บาท ซึ่ง กสทช. จะนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินภายใน 15 วัน ส่วนที่เหลืออีก 39,700 ล้านบาท จะนำส่งหลังจากที่ผู้ประกอบการนำ มาจ่ายอีก 5 ปี แบ่งเป็นปีที่ 2 จำนวน 8,124 ล้านบาท ปีที่ 3 และปีที่ 4 ปีละ 8,653 ล้านบาท และ ปีที่ 5 และปีที่ 6 อีกปีละ 7,134 ล้านบาท
ส่วนประกาศ คสช. ดังกล่าวที่ กสทช. จะต้องส่งรายได้เข้ากระทรวงการคลังนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการการทำงานของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เนื่องจากกสทช. มีการแยกเงินบัญชีออกเป็น 5 บัญชีด้วยกัน ได้แก่
บัญชีที่ 1 เงินจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) เดิม จำนวน 3,000 ล้านบาท
บัญชีที่ 2รายได้จากค่าปรับ, ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จำนวน 1,000 ล้านบาท
บัญชีที่ 3 กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม (USO)จำนวน 8,400 ล้านบาท
บัญชีที่ 4 กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ซึ่งยังไม่มีรายได้เข้ามา
บัญชีที่ 5 เงินจากการประมูลทีวีดิจิตอล ที่หัก 2.5 หมื่นล้านบาท เป็นการสนับสนุนการแจกคูปอง และยังไม่มีโครงการใดๆ เพิ่มเติมอีก
ขณะที่ประเด็นการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน กทปส.ใหม่ นั้น จะมีปลัดกระทรวงกลาโหม เข้ามานั่งเป็นกรรมการด้วย ซึ่งถือเป็นการปรับโครงสร้าง กทปส. จำเป็นต้องมีการปรับนโยบาย หรือแผนการดำเนินงานในระยะยาว ขณะเดียวกัน โครงการวิจัยต่างๆ ของกองทุน กทปส.ในแต่ละปี จำนวน 500 ล้านบาท ในอนาคตที่จะต้องมีการสนับสนุน รวมทั้งทีวีชุมชน ก็ต้องมาหารือกันต่อไป ว่าจะนำเงินส่วนไหนมาใช้เพื่อสนับสนุนสำหรับทีวีชุมชน
นายฐากร กล่าวว่า ขณะที่เวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยน ผ่านสู่การรับชมทีวีดิจิตอลทั่วประเทศทั้ง 4 ภูมิภาคนั้น ซึ่งที่สุดท้ายเป็น ภาคกลางที่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. มีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 700 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับราคาคูปอง 1,000 บาท แต่ไม่ต้องการให้สามารถนำไปแลกเป็นกล่องดาวเทียมได้
สำหรับกระบวนการต่อไป ภายหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้ว สำนักงานก สทช. จะรวบรวมความคิดทั้งหมดเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสท. และบอร์ด กสทช. ก่อนเสนอต่อ คสช. พิจารณา โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถแจกคูปองได้ภายในเดือนก.ย.นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในตอนนี้เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวนวงเงิน 11,162 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิตอล ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ถือเป็นเงินงวดแรกที่ได้จากการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจที่ผ่านมา แต่หากไม่พอในการดำเนินการ ก็สามารถทำเรื่องเพื่อเสนอ งบประมาณเข้าไปใหม่ได้อีก โดยแผนที่ กสทช.เคยวางไว้ในการแจกคูปองทีวีดิจิตอลทั้งหมด 25 ล้านครัวเรือน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มแจกได้ภายในเดือนก.ย. นี้
ทั้งนี้ การเสนอของบประมาณดังกล่าวของ กสทช. เป็นไปตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมาย ว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวกับการนำเงินประมูลในกิจการวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิมที่กฎหมายระบุให้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จึงส่งผลให้ กสทช. ต้องเปลี่ยนการใช้เงินจากกองทุน กทปส. เป็นการตั้งประมาณ เพื่อแจกคูปองทีวีดิจิตอลแทน
“ในตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ราคาคูปองจะอยู่ที่ 1,000 บาท หรือ 690 บาท ต่อครัวเรือน เช่นเดียวกับการนำคูปองไปแลกเป็นกล่องทีวีดิจิตอล ทีวีเครื่องใหม่ กล่องดาวเทียม หรือ กล่องเคเบิลได้นั้น คงต้องรอการพิจารณาจากคสช.เท่านั้น”
สำหรับวงเงินจากการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง รวม 50,862 ล้านบาทนั้น ในตอนนี้ได้รับเงินงวดแรกแล้ว 11,162 ล้าน บาท ซึ่ง กสทช. จะนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินภายใน 15 วัน ส่วนที่เหลืออีก 39,700 ล้านบาท จะนำส่งหลังจากที่ผู้ประกอบการนำ มาจ่ายอีก 5 ปี แบ่งเป็นปีที่ 2 จำนวน 8,124 ล้านบาท ปีที่ 3 และปีที่ 4 ปีละ 8,653 ล้านบาท และ ปีที่ 5 และปีที่ 6 อีกปีละ 7,134 ล้านบาท
ส่วนประกาศ คสช. ดังกล่าวที่ กสทช. จะต้องส่งรายได้เข้ากระทรวงการคลังนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการการทำงานของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เนื่องจากกสทช. มีการแยกเงินบัญชีออกเป็น 5 บัญชีด้วยกัน ได้แก่
บัญชีที่ 1 เงินจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) เดิม จำนวน 3,000 ล้านบาท
บัญชีที่ 2รายได้จากค่าปรับ, ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จำนวน 1,000 ล้านบาท
บัญชีที่ 3 กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม (USO)จำนวน 8,400 ล้านบาท
บัญชีที่ 4 กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ซึ่งยังไม่มีรายได้เข้ามา
บัญชีที่ 5 เงินจากการประมูลทีวีดิจิตอล ที่หัก 2.5 หมื่นล้านบาท เป็นการสนับสนุนการแจกคูปอง และยังไม่มีโครงการใดๆ เพิ่มเติมอีก
ขณะที่ประเด็นการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน กทปส.ใหม่ นั้น จะมีปลัดกระทรวงกลาโหม เข้ามานั่งเป็นกรรมการด้วย ซึ่งถือเป็นการปรับโครงสร้าง กทปส. จำเป็นต้องมีการปรับนโยบาย หรือแผนการดำเนินงานในระยะยาว ขณะเดียวกัน โครงการวิจัยต่างๆ ของกองทุน กทปส.ในแต่ละปี จำนวน 500 ล้านบาท ในอนาคตที่จะต้องมีการสนับสนุน รวมทั้งทีวีชุมชน ก็ต้องมาหารือกันต่อไป ว่าจะนำเงินส่วนไหนมาใช้เพื่อสนับสนุนสำหรับทีวีชุมชน
นายฐากร กล่าวว่า ขณะที่เวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยน ผ่านสู่การรับชมทีวีดิจิตอลทั่วประเทศทั้ง 4 ภูมิภาคนั้น ซึ่งที่สุดท้ายเป็น ภาคกลางที่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. มีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 700 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับราคาคูปอง 1,000 บาท แต่ไม่ต้องการให้สามารถนำไปแลกเป็นกล่องดาวเทียมได้
สำหรับกระบวนการต่อไป ภายหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้ว สำนักงานก สทช. จะรวบรวมความคิดทั้งหมดเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสท. และบอร์ด กสทช. ก่อนเสนอต่อ คสช. พิจารณา โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถแจกคูปองได้ภายในเดือนก.ย.นี้