วานนี้ (10 ก.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งที่ กกต.เสนอให้คณะทำงานด้านการปฎิรูปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาโดยเฉพาะข้อเสนอจำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง ส.ส.ว่า การเสนอแนวทางดังกล่าวเป็นการเสนอในขั้นต้น เป็นหนึ่งจากความเห็นของหลายองค์กร ที่จะถูกประมวลผลและชั่งน้ำหนัก โดย คสช.และสภาปฏิรูปประเทศ (สปร.) ขณะที่ กกต.เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งที่นำเสนอจากประสบการณ์การเลือกตั้ง ที่มีบุคลากร ผู้บริหารทั้งหมดที่มีประสบการณ์เลือกตั้งกว่า 10 ปี บางคนจัดเลือกตั้ง ตั้งแต่อยู่กระทรวงมหาดไทย
“ยืนยันว่าไม่ใช่เพียงความคิดของ กกต.ทั้ง 5 คน ที่มีคนมองว่าเพิ่งเข้ามาทำงานเพียง 6 เดือน จะไปรู้อะไร ที่วิจารณ์กันเร็วเกินไป เพราะข้อสรุปไม่ได้จบตรงนี้ คสช.และ สปร.จะต้องนำไปพิจารณา ขณะนี้ถือเป็นเพียงข้อมูลในเบื้องต้น” นายสมชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ส.เพียง 2 สมัยเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพหรือไม่ นายสมชัยกล่าวว่า เป็นเพียงทางเลือก ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ
**เด็กพท.โวยปิดทางสภาผัวเมีย
ด้าน นายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอของ กกต.ที่ระบุว่า ไม่ให้สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือคู่สามีภรรยาที่ได้หย่าขาดจากกัน สามารถลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.ในวาระเดียวกันว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เพราะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน มองว่าให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินน่าจะดีกว่า หากมีการบังคับเช่นนี้จะเป็นระบบประชาธิปไตยได้อย่างไร แต่ตนเห็นด้วยในเรื่องไม่ให้ ส.ส.ที่เคยดำรงตำแหน่งติดกัน 2 วาระลงสมัครรับเลือกตั้งอีก เพราะมองว่า 2 วาระก็เพียงพอในการทำงานแล้ว และยังเป็นการให้โอกาสคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานทางด้านนี้ด้วย ส่วน ส.ส.ในพรรคเพื่อไทยจะเห็นเหมือนตนหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว
“ผมมองว่า กกต.คิดเรื่องสภาครอบครัวมากเกินไป มันมีก็จริง แต่มีไม่กี่ครอบครัว ไม่อยากให้ กกต.นำความเห็นตรงนี้ไปใส่ในข้อกฎหมาย เพื่อลงตัดสิทธิคนอื่น ผมไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ผมคิดว่าสภาครอบครัวทางฝั่งเพื่อไทย น่าจะมีน้อยกว่าอีกฝั่งด้วยซ้ำ ผมมองในภาพรวม อยากให้ กกต.คิดในแบบที่เป็นประชาธิปไตย ทุกอย่างควรเปิดกว้างในเรื่องการใช้สิทธิ ไม่อยากให้ กกต.วิตก เพราะกกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง อยากให้ กกต.จัดระบบการเลือกตั้งให้ดีกว่านี้จะดีกว่า” นายสมคิด กล่าว
** เล็งใช้ซอฟต์แวร์ ช่วยคุมเลือกตั้ง
วันเดียวกัน นายสมชัย พร้อมด้วย นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมรับฟัง การใช้ โปรแกรม บริหารความเสี่ยงในการเลือกตั้ง (ERM Tool) จาก นางลีน่า ริกคิล่า ทามัง (Leena Rikkila Tamang) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อประชาธิปไตยและสนับสนุนการเลือกตั้ง (IDEA) ที่นำมาเสนอต่อ กกต.เพื่อพัฒนาการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ
นายสมชัย แถลงภายหลังการรับฟังว่า ทางสถาบัน IDEA ได้เสนอซอฟแวร์ที่เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในการเลือกตั้ง โดยเครื่องมือนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งทั่วไปทั้งหมด โดยสถาบันได้จำแนกปัจจัยความเสี่ยงทั้งภายนอกและภายนอกรวม 36 ประเภท ลักษณะของโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ความเสี่ยงผ่านสีต่างๆ หากเสี่ยงมากสัญลักษณ์ก็จะขึ้นเป็นสีแดงแจ้งผลทันที ทำให้รู้ถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้สามารถป้องกันความเสี่ยง และหาทางแก้ไขได้ตรงกับสถานการณ์ โดยหลังจากนี้จะได้นำข้อมูลเสนอที่ประชุม กกต.ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อพิจารณาว่าจะนำมาใช้หรือไม่ ทั้งนี้การนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่จะคำนึงถึงว่าการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ว่าจะทำงานได้จริงหรือไม่ ซึ่งทาง IDEA ระบุว่าโปรแกรมดังกล่าวใช้และประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ เช่น บอสเนีย และเนปาล เป็นต้น
** ผุดแอพฯให้ ปชช.แจ้งเบาะแสโกง ลต.
นายสมชัย กล่าวอีกว่า การนำเสนอดังกล่าว ไม่ได้มีการวิเคราะห์ หรือประเมินในส่วนของประเทศไทย ว่าทีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง เพียงแต่เป็นการนำเสนอโปรแกรม ซึ่งในอดีตการเลือกตั้งของไทยจะเน้นในเรื่องเสรีภาพ และความเป็นธรรม เชื่อว่าเครื่องมือบริหารความเสี่ยงดังกล่าวจะสามารถช่วยให้การเลือกตั้งเกิดความสำเร็จ น่าเชื่อถือและเกิดความสงบเรียบร้อย สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองภายในประเทศไทย และย้ำว่าไม่ได้เป็นการแทรกแซงการเลือกตั้ง เพียงแต่เป็นการนำเอาประสบการณ์ของต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับมาช่วยสนับสนุนการเลือกตั้งเท่านั้นและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
“หลังจากนี้ผมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประมวลเรื่องและสรุปข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กกต.พิจารณาภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ และหาก กกต.เห็นด้วย ก็จะเร่งพัฒนาระบบภายใน 6 เดือนทันที โดยอาจนำโปรแกรมดังกล่าวมาเสริมกับแนวคิดของ กกต. ที่จะมีการตั้งวอร์รูม และการที่ กกต.จะมีแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ที่จะให้ประชาชนช่วยถ่ายภาพ ติดตามการเลือกตั้ง โดยเฉพาะหากพบการทุจริต หรือการซื้อเสียง แล้วรายงาน หรือแจ้งเบาะแสเข้ามาให้ กกต.ทราบ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น” นายสมชัย ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโปรแกรม ERM Toolนี้ มีโครงสร้างโปรแกรม ประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการ 3 หน่วย คือ หน่วยฐานข้อมูลที่จะช่วยศึกษาปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง และหน่วยวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติ ที่จะสร้างวิธีปฏิบัติและแผนข้อมูลความเสี่ยงรวมถึงการแจ้งเตือนตลอดจนหน่วยป้องกันและบรรเทา เพื่อป้องกันความเสี่ยงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความความเสี่ยง ประกอบด้วย การที่ปรับขนาดความเชื่อถือการเลือกตั้ง ขาดการวางเตรียมการเลือกตั้ง ขาดกันให้คำปรึกษาหรือข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ข้อบกพร่องในการลงทะเบียนผู้ขอใช้สิทธิ์ รวมถึงการใช้ความรุนแรงในการหาเสียง และ ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง เป็นต้น
**ห่วงสุญญากาศ ลต.ท้องถิ่น
ด้าน นายถวิล ไพรสณฑ์ คณะทำงานกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ที่สมาขิกองค์กรท้องถิ่นที่กำลังทยอยหมดวาระและจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หลังครบวาระว่า ขอเรียกร้องให้ กกต.และกระทรวงมหาดไทย เร่งพิจารณาเรื่องนี้ เพราะในขณะนี้มีหลายพื้นที่หมดวาระแล้วไม่สามารถเลือกตั้งได้ เนื่องจากติดปัญหาการประกาศกฎอัยการศึกว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะจะส่งผลกระทบต่อการบริหารงานในท้องถิ่น โดยจะต้องมีการออกเป็นคำสั่งหรือประกาศของ คสช.ว่าจะดำเนินการอย่างไร
“ส่วนตัวเห็นว่าแนวทางที่เป็นไปได้คือ อาจให้คนเดิมทำหน้าที่ต่อไป หรืออาจใช้วิธีการแต่งตั้งโดยกระบวนการสรรหาซึ่งต้องทำเป็นการชั่วคราว ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วย หากทำต้องมองต่อว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญถาวรแล้วก็ต้องมีการเลือกตั้ง” นายถวิล ระบุ
**สวด กกต.-มท.เกียร์ว่าง
นายถวิล กล่าวด้วยว่า อุปสรรคสำคัญที่เลือกตั้งไม่ได้คือการประกาศกฎอัยการศึก ห้ามชุมนุมการเมืองเกิน 5 คน ทำให้หาเสียงเลือกตั้งไม่ได้จะขัดกฎอัยการศึก แต่มีการแย้งว่าที่ผ่านมาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีกฎอัยการศึก แต่ยังมีการเลือกตั้งได้ ดังนั้น คสช.ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่า ต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นดำเนินการตามกฎหมาย หากเห็นว่าทำไม่ได้ควรพิจารณาเป็นเรื่องชั่วคราว เมื่อมีรัฐธรรมนูญถาวรก็ให้มีการเลือกตั้ง ถ้าจะไม่ให้มีการเลือกตั้งควรจะให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ครบวาระรักษาการต่อไปได้หรือไม่ โดยขณะนี้มีตำแหน่งว่างแล้วเกือบ 8,000 ตำแหน่ง และจะทยอยหมดวาระไปเรื่อยๆ คสช.จึงควรเร่งมีความชัดเจนในเรื่องนี้โดยออกคำสั่งโดยเร็ว
นายถวิล กล่าวด้วยว่า หากยังไม่เร่งดำเนินการจะมีผลกระทบต่อการบริหารในท้องถิ่นคือ กฎหมายท้องถิ่นเขียนชัดเจนว่าจะต้องมีการพิจารณางบประมาณ เช่น กทม.ต้องให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) อนุมัติงบประมาณ หากไม่ออกคำสั่งจะมีปัญหาทำให้ท้องถิ่นไม่มีงบประมาณในการบริหาร ซึ่ง กกต.กับกระทรวงมหาดไทย รู้ดีว่าที่ใดครบวาระบ้าง แต่กลับไม่ทำอะไรเลย โดยในส่วนของ กทม.มี ส.ข.หมดวาระไปแล้ว 14 เขต อีก 36 เขตจะหมดวาระในวันที่ 28 ส.ค.นี้ พร้อมกับ ส.ก.
**ชูเลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วปท.บริหารคล่องตัว
นายถวิล ยังได้กล่าวถึงกรณีที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้เหตุผลว่าจะไม่ยึดโยงกับรัฐบาลกลางว่า ในฐานะที่ตนทำงานเรื่องนี้มาตลอดชีวิต เห็นว่ากรณีการเลือกตั้งผู้ว่าฯจะไม่ทำให้ขาดจากการยึดโยงกับรัฐบาลกลาง เนื่องจากท้องถิ่นต้องขึ้นตรงกับรัฐ ความเป็นห่วงที่ว่าผู้ว่าฯจากการเลือกตั้งจะไม่ยึดโยงรัฐบาลกลางนั้นไม่เป็นปัญหา เพราะงานส่วนภูมิภาคจะโอนมาที่ผู้ว่าฯ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ ผู้บริหารเมืองก็มาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น โดยไม่มีปัญหาเรื่องการยึดโยงกับรัฐบาลกลางแต่อย่างใด
“ผมไม่ได้โต้แย้ง ม.ล.ปนัดดา แต่ต้องการให้รอบคอบเพราะหลายประเทศก็ไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค มีแต่ส่วนกลางและท้องถิ่น การยุบข้าราชการส่วนภูมิภาคจะทำให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้น เพราะขณะนี้มีขั้นตอนยุ่งยาก” นายถวิล กล่าว
** คสช.ปัดดึง ตปท.ร่วมวงสภาปฎิรูป
ขณะที่ พ.อ.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษก คสช.กล่าวถึงข้อเสนอของผู้ช่วยทูตทหารที่ให้องค์กรต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในสภาปฏิรูปประเทศว่า ตนขอยืนยันว่าไม่มีการเชิญองค์กรต่างประเทศเข้ามาในสภาปฏิรูปแต่อย่างใด ทว่าเป็นเพียงข้อเสนอจากทางผู้ช่วยทูตทหารที่เข้ามารับฟังการชี้แจงทำความเข้าใจของ คสช.เมื่อวันที่ 9 ก.ค.เท่านั้น
“ทาง คสช.ได้กล่าวขอบคุณในความหวังดี แต่ไม่ได้รับข้อเสนอไว้พิจารณา เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะเอาคนคนภายนอกประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องกับแก้ไขกิจการบริหารงานในประเทศเรา เนื่องจากเป็นเรื่องภายในประเทศที่คนไทยต้องจัดการกันเอง” พ.อ.วีรชน กล่าวยืนยัน
“ยืนยันว่าไม่ใช่เพียงความคิดของ กกต.ทั้ง 5 คน ที่มีคนมองว่าเพิ่งเข้ามาทำงานเพียง 6 เดือน จะไปรู้อะไร ที่วิจารณ์กันเร็วเกินไป เพราะข้อสรุปไม่ได้จบตรงนี้ คสช.และ สปร.จะต้องนำไปพิจารณา ขณะนี้ถือเป็นเพียงข้อมูลในเบื้องต้น” นายสมชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ส.เพียง 2 สมัยเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพหรือไม่ นายสมชัยกล่าวว่า เป็นเพียงทางเลือก ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ
**เด็กพท.โวยปิดทางสภาผัวเมีย
ด้าน นายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอของ กกต.ที่ระบุว่า ไม่ให้สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือคู่สามีภรรยาที่ได้หย่าขาดจากกัน สามารถลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.ในวาระเดียวกันว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เพราะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน มองว่าให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินน่าจะดีกว่า หากมีการบังคับเช่นนี้จะเป็นระบบประชาธิปไตยได้อย่างไร แต่ตนเห็นด้วยในเรื่องไม่ให้ ส.ส.ที่เคยดำรงตำแหน่งติดกัน 2 วาระลงสมัครรับเลือกตั้งอีก เพราะมองว่า 2 วาระก็เพียงพอในการทำงานแล้ว และยังเป็นการให้โอกาสคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานทางด้านนี้ด้วย ส่วน ส.ส.ในพรรคเพื่อไทยจะเห็นเหมือนตนหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว
“ผมมองว่า กกต.คิดเรื่องสภาครอบครัวมากเกินไป มันมีก็จริง แต่มีไม่กี่ครอบครัว ไม่อยากให้ กกต.นำความเห็นตรงนี้ไปใส่ในข้อกฎหมาย เพื่อลงตัดสิทธิคนอื่น ผมไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ผมคิดว่าสภาครอบครัวทางฝั่งเพื่อไทย น่าจะมีน้อยกว่าอีกฝั่งด้วยซ้ำ ผมมองในภาพรวม อยากให้ กกต.คิดในแบบที่เป็นประชาธิปไตย ทุกอย่างควรเปิดกว้างในเรื่องการใช้สิทธิ ไม่อยากให้ กกต.วิตก เพราะกกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง อยากให้ กกต.จัดระบบการเลือกตั้งให้ดีกว่านี้จะดีกว่า” นายสมคิด กล่าว
** เล็งใช้ซอฟต์แวร์ ช่วยคุมเลือกตั้ง
วันเดียวกัน นายสมชัย พร้อมด้วย นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมรับฟัง การใช้ โปรแกรม บริหารความเสี่ยงในการเลือกตั้ง (ERM Tool) จาก นางลีน่า ริกคิล่า ทามัง (Leena Rikkila Tamang) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อประชาธิปไตยและสนับสนุนการเลือกตั้ง (IDEA) ที่นำมาเสนอต่อ กกต.เพื่อพัฒนาการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ
นายสมชัย แถลงภายหลังการรับฟังว่า ทางสถาบัน IDEA ได้เสนอซอฟแวร์ที่เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในการเลือกตั้ง โดยเครื่องมือนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งทั่วไปทั้งหมด โดยสถาบันได้จำแนกปัจจัยความเสี่ยงทั้งภายนอกและภายนอกรวม 36 ประเภท ลักษณะของโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ความเสี่ยงผ่านสีต่างๆ หากเสี่ยงมากสัญลักษณ์ก็จะขึ้นเป็นสีแดงแจ้งผลทันที ทำให้รู้ถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้สามารถป้องกันความเสี่ยง และหาทางแก้ไขได้ตรงกับสถานการณ์ โดยหลังจากนี้จะได้นำข้อมูลเสนอที่ประชุม กกต.ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อพิจารณาว่าจะนำมาใช้หรือไม่ ทั้งนี้การนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่จะคำนึงถึงว่าการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ว่าจะทำงานได้จริงหรือไม่ ซึ่งทาง IDEA ระบุว่าโปรแกรมดังกล่าวใช้และประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ เช่น บอสเนีย และเนปาล เป็นต้น
** ผุดแอพฯให้ ปชช.แจ้งเบาะแสโกง ลต.
นายสมชัย กล่าวอีกว่า การนำเสนอดังกล่าว ไม่ได้มีการวิเคราะห์ หรือประเมินในส่วนของประเทศไทย ว่าทีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง เพียงแต่เป็นการนำเสนอโปรแกรม ซึ่งในอดีตการเลือกตั้งของไทยจะเน้นในเรื่องเสรีภาพ และความเป็นธรรม เชื่อว่าเครื่องมือบริหารความเสี่ยงดังกล่าวจะสามารถช่วยให้การเลือกตั้งเกิดความสำเร็จ น่าเชื่อถือและเกิดความสงบเรียบร้อย สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองภายในประเทศไทย และย้ำว่าไม่ได้เป็นการแทรกแซงการเลือกตั้ง เพียงแต่เป็นการนำเอาประสบการณ์ของต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับมาช่วยสนับสนุนการเลือกตั้งเท่านั้นและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
“หลังจากนี้ผมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประมวลเรื่องและสรุปข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กกต.พิจารณาภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ และหาก กกต.เห็นด้วย ก็จะเร่งพัฒนาระบบภายใน 6 เดือนทันที โดยอาจนำโปรแกรมดังกล่าวมาเสริมกับแนวคิดของ กกต. ที่จะมีการตั้งวอร์รูม และการที่ กกต.จะมีแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ที่จะให้ประชาชนช่วยถ่ายภาพ ติดตามการเลือกตั้ง โดยเฉพาะหากพบการทุจริต หรือการซื้อเสียง แล้วรายงาน หรือแจ้งเบาะแสเข้ามาให้ กกต.ทราบ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น” นายสมชัย ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโปรแกรม ERM Toolนี้ มีโครงสร้างโปรแกรม ประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการ 3 หน่วย คือ หน่วยฐานข้อมูลที่จะช่วยศึกษาปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง และหน่วยวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติ ที่จะสร้างวิธีปฏิบัติและแผนข้อมูลความเสี่ยงรวมถึงการแจ้งเตือนตลอดจนหน่วยป้องกันและบรรเทา เพื่อป้องกันความเสี่ยงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความความเสี่ยง ประกอบด้วย การที่ปรับขนาดความเชื่อถือการเลือกตั้ง ขาดการวางเตรียมการเลือกตั้ง ขาดกันให้คำปรึกษาหรือข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ข้อบกพร่องในการลงทะเบียนผู้ขอใช้สิทธิ์ รวมถึงการใช้ความรุนแรงในการหาเสียง และ ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง เป็นต้น
**ห่วงสุญญากาศ ลต.ท้องถิ่น
ด้าน นายถวิล ไพรสณฑ์ คณะทำงานกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ที่สมาขิกองค์กรท้องถิ่นที่กำลังทยอยหมดวาระและจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หลังครบวาระว่า ขอเรียกร้องให้ กกต.และกระทรวงมหาดไทย เร่งพิจารณาเรื่องนี้ เพราะในขณะนี้มีหลายพื้นที่หมดวาระแล้วไม่สามารถเลือกตั้งได้ เนื่องจากติดปัญหาการประกาศกฎอัยการศึกว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะจะส่งผลกระทบต่อการบริหารงานในท้องถิ่น โดยจะต้องมีการออกเป็นคำสั่งหรือประกาศของ คสช.ว่าจะดำเนินการอย่างไร
“ส่วนตัวเห็นว่าแนวทางที่เป็นไปได้คือ อาจให้คนเดิมทำหน้าที่ต่อไป หรืออาจใช้วิธีการแต่งตั้งโดยกระบวนการสรรหาซึ่งต้องทำเป็นการชั่วคราว ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วย หากทำต้องมองต่อว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญถาวรแล้วก็ต้องมีการเลือกตั้ง” นายถวิล ระบุ
**สวด กกต.-มท.เกียร์ว่าง
นายถวิล กล่าวด้วยว่า อุปสรรคสำคัญที่เลือกตั้งไม่ได้คือการประกาศกฎอัยการศึก ห้ามชุมนุมการเมืองเกิน 5 คน ทำให้หาเสียงเลือกตั้งไม่ได้จะขัดกฎอัยการศึก แต่มีการแย้งว่าที่ผ่านมาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีกฎอัยการศึก แต่ยังมีการเลือกตั้งได้ ดังนั้น คสช.ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่า ต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นดำเนินการตามกฎหมาย หากเห็นว่าทำไม่ได้ควรพิจารณาเป็นเรื่องชั่วคราว เมื่อมีรัฐธรรมนูญถาวรก็ให้มีการเลือกตั้ง ถ้าจะไม่ให้มีการเลือกตั้งควรจะให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ครบวาระรักษาการต่อไปได้หรือไม่ โดยขณะนี้มีตำแหน่งว่างแล้วเกือบ 8,000 ตำแหน่ง และจะทยอยหมดวาระไปเรื่อยๆ คสช.จึงควรเร่งมีความชัดเจนในเรื่องนี้โดยออกคำสั่งโดยเร็ว
นายถวิล กล่าวด้วยว่า หากยังไม่เร่งดำเนินการจะมีผลกระทบต่อการบริหารในท้องถิ่นคือ กฎหมายท้องถิ่นเขียนชัดเจนว่าจะต้องมีการพิจารณางบประมาณ เช่น กทม.ต้องให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) อนุมัติงบประมาณ หากไม่ออกคำสั่งจะมีปัญหาทำให้ท้องถิ่นไม่มีงบประมาณในการบริหาร ซึ่ง กกต.กับกระทรวงมหาดไทย รู้ดีว่าที่ใดครบวาระบ้าง แต่กลับไม่ทำอะไรเลย โดยในส่วนของ กทม.มี ส.ข.หมดวาระไปแล้ว 14 เขต อีก 36 เขตจะหมดวาระในวันที่ 28 ส.ค.นี้ พร้อมกับ ส.ก.
**ชูเลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วปท.บริหารคล่องตัว
นายถวิล ยังได้กล่าวถึงกรณีที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้เหตุผลว่าจะไม่ยึดโยงกับรัฐบาลกลางว่า ในฐานะที่ตนทำงานเรื่องนี้มาตลอดชีวิต เห็นว่ากรณีการเลือกตั้งผู้ว่าฯจะไม่ทำให้ขาดจากการยึดโยงกับรัฐบาลกลาง เนื่องจากท้องถิ่นต้องขึ้นตรงกับรัฐ ความเป็นห่วงที่ว่าผู้ว่าฯจากการเลือกตั้งจะไม่ยึดโยงรัฐบาลกลางนั้นไม่เป็นปัญหา เพราะงานส่วนภูมิภาคจะโอนมาที่ผู้ว่าฯ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ ผู้บริหารเมืองก็มาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น โดยไม่มีปัญหาเรื่องการยึดโยงกับรัฐบาลกลางแต่อย่างใด
“ผมไม่ได้โต้แย้ง ม.ล.ปนัดดา แต่ต้องการให้รอบคอบเพราะหลายประเทศก็ไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค มีแต่ส่วนกลางและท้องถิ่น การยุบข้าราชการส่วนภูมิภาคจะทำให้การทำงานคล่องตัวมากขึ้น เพราะขณะนี้มีขั้นตอนยุ่งยาก” นายถวิล กล่าว
** คสช.ปัดดึง ตปท.ร่วมวงสภาปฎิรูป
ขณะที่ พ.อ.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษก คสช.กล่าวถึงข้อเสนอของผู้ช่วยทูตทหารที่ให้องค์กรต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในสภาปฏิรูปประเทศว่า ตนขอยืนยันว่าไม่มีการเชิญองค์กรต่างประเทศเข้ามาในสภาปฏิรูปแต่อย่างใด ทว่าเป็นเพียงข้อเสนอจากทางผู้ช่วยทูตทหารที่เข้ามารับฟังการชี้แจงทำความเข้าใจของ คสช.เมื่อวันที่ 9 ก.ค.เท่านั้น
“ทาง คสช.ได้กล่าวขอบคุณในความหวังดี แต่ไม่ได้รับข้อเสนอไว้พิจารณา เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะเอาคนคนภายนอกประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องกับแก้ไขกิจการบริหารงานในประเทศเรา เนื่องจากเป็นเรื่องภายในประเทศที่คนไทยต้องจัดการกันเอง” พ.อ.วีรชน กล่าวยืนยัน