วานนี้ (10 ก.ค.) ที่ศาลปกครองกลาง นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีต รองปลัดกระทรวงกลาโหม และตัวแทนประชาชนที่ได้รับมอบอำนาจจากชาวบ้านในพื้นที่ ต. มาบข่า ต.นิคมพัฒนา ต.ห้วยโป่ง ต.มาบตาพุด อ.เมืองฯ จ.ระยอง รวม 71 คน ยื่นฟ้องอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รมว.อุตสาหกรรม และ อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เป็นผู้ฟ้องที่ 1-4 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบกิจการโรงงาน หรือ ใบรง.4 ที่ออกให้ บริษัทไทยเจนเนอรัลไนซ์โคล แอนโค้ก จำกัด และขอให้มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในการออกคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้บริษัทไทยเจนเนอรัลฯ ดำเนินการตาม มาตรา 12 วรรคสอง มีการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก่อนที่จะยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และให้รื้อถอนโรงงาน และสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกให้ทั้งหมดเสียก่อน รวมถึงให้สั่งผู้ถูกฟ้องคดีต้องจัดให้มีวิธีการที่จะให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทั้งจังหวัดระยอง เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการดังกล่าว ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีต้องร่วมกับประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจัดทำแผนหรือมาตรการขจัดมลพิษใน จ.ระยองในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า เหตุที่ต้องฟ้องคดีเนื่องจาก เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา อธิบดีกรมโรงงานอตุสาหกรรม ได้เซ็นอนุมัติออกใบอนุญาตการประกอบกิจการโรงงาน หรือ ใบรง. 4 ให้กับบริษัทไทยเจนเนอรัลฯ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองมาบตาพุด ให้ก่อสร้างอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างรวม 28 อาคาร ในเนื้อที่ 460 ไร่ ของต.ห้วยโป่ง อ.เมืองฯ จ.ระยอง ซึ่งถือว่าอยู่ในเขตควบคุมมลพิษ เพื่อทำเป็นโรงงานเผาถ่านหินให้กลายเป็นถ่านหินโค้ก ที่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ถือว่าเป็นโรงงานแห่งแรกในประเทศไทย ทั้งที่ในประเทศไทยไม่มีอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก จึงสันนิษฐานได้ว่า เป็นการตั้งโรงงานเพื่อเผาทำถ่านหินโค้ก ที่จะส่งไปยังประเทศจีน ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างโรงงานได้เสร็จสิ้นแล้ว และกำลังที่จะเริ่มผลิต
จากหลักฐานการขออนุญาตผลิต พบว่าจะมีเตาเผาถ่านหินเพื่อให้ได้ถ่านหินโค้กจำนวน 12 เตา มีเป้าหมายการผลิตให้ได้ถ่านหินโค้กปีละไม่ต่ำว่า 5 แสนตัน
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่ต่างก็คัดค้านมาตลอดนับแต่ทราบว่าจะมีการก่อตั้งโรงงานดังกล่าวขึ้น เพราะทราบดีว่าหากเริ่มการผลิตก็จะสร้างมลพิษ มลภาวะ ให้เกิดขึ้นกับชุมชนและเป็นภัยต่อสุขภาพเหมือนกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง รวมทั้งยังข้อมูลว่า สมัยที่นายธวัชชัย เทิดเผ่าไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ก็เคยมีหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้องในนามคณะกรรมการ่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กกร.จ.ระยอง ว่ามีมติคัดค้านการจัดตดั้งโรงงานดังกล่าว และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก็ได้มีมติเมื่อ ส.ค. 56 ว่าการจะจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมถ่านหินโค้ก ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 67 วรรคสอง ในเรื่องต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนื่องจากถือว่าเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของชุมชน แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่ปกติ ทำให้ยังไม่มีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ จึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาศัยช่องว่างดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการพิจาณาอนุมัติให้ออก ใบรง. 4
--------
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า เหตุที่ต้องฟ้องคดีเนื่องจาก เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา อธิบดีกรมโรงงานอตุสาหกรรม ได้เซ็นอนุมัติออกใบอนุญาตการประกอบกิจการโรงงาน หรือ ใบรง. 4 ให้กับบริษัทไทยเจนเนอรัลฯ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองมาบตาพุด ให้ก่อสร้างอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างรวม 28 อาคาร ในเนื้อที่ 460 ไร่ ของต.ห้วยโป่ง อ.เมืองฯ จ.ระยอง ซึ่งถือว่าอยู่ในเขตควบคุมมลพิษ เพื่อทำเป็นโรงงานเผาถ่านหินให้กลายเป็นถ่านหินโค้ก ที่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ถือว่าเป็นโรงงานแห่งแรกในประเทศไทย ทั้งที่ในประเทศไทยไม่มีอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก จึงสันนิษฐานได้ว่า เป็นการตั้งโรงงานเพื่อเผาทำถ่านหินโค้ก ที่จะส่งไปยังประเทศจีน ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างโรงงานได้เสร็จสิ้นแล้ว และกำลังที่จะเริ่มผลิต
จากหลักฐานการขออนุญาตผลิต พบว่าจะมีเตาเผาถ่านหินเพื่อให้ได้ถ่านหินโค้กจำนวน 12 เตา มีเป้าหมายการผลิตให้ได้ถ่านหินโค้กปีละไม่ต่ำว่า 5 แสนตัน
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่ต่างก็คัดค้านมาตลอดนับแต่ทราบว่าจะมีการก่อตั้งโรงงานดังกล่าวขึ้น เพราะทราบดีว่าหากเริ่มการผลิตก็จะสร้างมลพิษ มลภาวะ ให้เกิดขึ้นกับชุมชนและเป็นภัยต่อสุขภาพเหมือนกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง รวมทั้งยังข้อมูลว่า สมัยที่นายธวัชชัย เทิดเผ่าไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ก็เคยมีหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้องในนามคณะกรรมการ่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กกร.จ.ระยอง ว่ามีมติคัดค้านการจัดตดั้งโรงงานดังกล่าว และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก็ได้มีมติเมื่อ ส.ค. 56 ว่าการจะจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมถ่านหินโค้ก ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 67 วรรคสอง ในเรื่องต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนื่องจากถือว่าเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของชุมชน แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่ปกติ ทำให้ยังไม่มีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ จึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาศัยช่องว่างดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการพิจาณาอนุมัติให้ออก ใบรง. 4
--------