ASTVผู้จัดการรายวัน - 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ร้อง คสช. ปลดผอ.-บอร์ด อภ.ยกชุด พบพิรุธงดผลิตยาจำเป็นทำ รพ.รัฐขาดยา ด้านประธานบอร์ด อภ.แฉกลับผู้บริหารชุดก่อนสร้างปัญหาเพียบ ทั้งการผลิตยาไม่ได้มาตรฐาน ก่อสร้างโรงงานยา-วัคซีนล่าช้า ลั่นพยายามสางปัญหา ล้างขบวนการผลิตยาใหม่ ตาม อย. แนะนำ จึงต้องปรับลดการผลิตยาบางตัว ระบุยอมเกิดผลกระทบด้านยาดีกว่าผลิตยาแบบไร้คุณภาพ
วานนี้ (7 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพประมาณ นำโดย นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ชมรมแพทย์ชนบท ยื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้พิจารณาปลดคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (ผอ.อภ.) ที่บริหารงานจนสร้างความเสียหาย เช่น สั่งงดผลิตยาจำเป็น ทั้งที่ยากว่า 80% ที่คนไข้ใช้ อภ.เป็นผู้ผลิตส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐ ทำให้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดจำนวนมากเผชิญภาวะยาขาด นอกจากนี้ ยังเสนอตัดงบเรื่องการทำงานวิจัย 45 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาขาดทุน ส่วนพฤติกรรมของ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.ยังเอาเงินจากกองทุนดอกพิกุล ซึ่งเป็นกองทุนสวัสดิการของพนักงาน อภ. ไปใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศ ตีกอล์ฟ เบิกค่าน้ำมันรถ และค่าโทรศัพท์ด้วย
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า หลังบอร์ด อภ. มีมติเลิกจ้าง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีต ผอ.อภ. ก็พบเหตุการณ์ยาสลับแผงปนกัน จึงมีมติขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบมาตรฐานการผลิตยาของ อภ. ทุกสายการผลิต ซึ่ง อย.เสนอให้ปรับปรุงสถานที่และขบวนการผลิตใหม่ทั้งสายการผลิต และบางสายผลิตต้องหยุดผลิตทันที จึงกระทบต่อภาพรวมยาของ อภ.หลายชนิด นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ.คนใหม่ จึงเสนอให้ปรับลดการผลิตยาบางรายการลง เพื่อคงการผลิตยาสำคัญตัวอื่นเอาไว้ จึงลดการผลิตยาเบาหวานลง 50% เพราะมียอดการผลิตสูงสุดปีละเกือบ 900 ล้านเม็ด ทั้งยังเป็นยาที่โรงพยาบาลสามารถหาซื้อจากผู้ผลิตอื่นได้อีกมากกว่า 10 บริษัท ไม่ได้ลดการผลิตเพราะกำไรน้อย
ทั้งนี้ หากปรับปรุงโรงงานแมสโปรดักชันแล้วเสร็จ คาดว่า ก.ค.จะสามารถกลับมาผลิตยาต่างๆ ได้ตามเดิม ยกเว้นยาบางชนิดที่ต้องหยุดผลิตถาวร เช่น ยาผงเกลือแร่ ซึ่ง อย.เคยเตือนผู้บริหารชุดก่อนว่าให้ปรับปรุงเพราะมีปัญหาเรื่องสายส่งและการคุมความชื้น นอกจากนี้ การที่โรงงานแมสโปรดักชันไม่สามารถเปิดผลิตยาได้ก็มาจากการอดีต ผอ.อภ.ใช้เวลาปรับปรุง 3 ปี พอมีการเดินเครื่องในช่วง ต.ค. 2556 กลับพบปัญหาการผลิตในเรื่องห้องคลีนรูม และแผงบรรจุมีกลิ่น เช่นเดียวกับการสร้างโรงงานยาที่รังสิตและโรงงานวัคซีนที่สระบุรีล่าช้า ก็พบว่าเกิดจากปัญหาในช่วงผู้บริหารยุคเก่า โดยโรงงานยารังสิตกำลังอยู่ระหว่างเริ่มการประมูลใหม่ ส่วนโรงงานวัคซีนกำลังเสนอปลัด สธ.พิจารณาเสนอต่อ คสช.ในการอนุมัติวงเงินเพิ่มเติม ภายหลังมีการเปลี่ยนแบบโรงงานที่เหมาะสม
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า กรณีปรับลดงบการวิจัยเนื่องจากบอร์ด อภ. เห็นว่า ยังมีงบสะสมจากการที่ตั้งงบเป็นประจำทุกปีเหลืออีก 197 ล้านบาท เพียงพอต่อการวิจัยพื้นฐานในอีก 2 - 3 ปีโดยไม่กระทบ สำหรับเรื่องใช้เงินกองทุนดอกพิกุลก็เป็นไปตามระเบียบว่าตนใช้ในกิจกรรมของ อภ. ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตน เพราะการเบิกจ่ายกองทุนนี้เป็นการเบิกจ่ายในภาพรวมกิจกรรมของ อภ.ที่ไม่เข้าเกณฑ์เบิกจ่ายตามปกติ
“อภ.ยังมีปัญหาสะสมรอการแก้ไขอีกหลายอย่าง เช่น การสั่งวัตถุดิบผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ที่รักษาไข้หวัดใหญ่มากถึง 864 ล้านบาท แต่จะหมดอายุในปี 2558 และต้องทำลายทิ้งเกือบ 500 ล้านบาท กระทบต่อผลประกอบการ อภ.เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจัดซื้อในช่วงผู้บริหารชุดเก่าเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดผู้บริหาร อภ.กำลังแก้ไข เราไม่กล่าวโทษใคร แต่จะปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้น ซึ่งเรายอมให้เกิดผลกระทบด้านยาตอนนี้ดีกว่าเสี่ยงผลิตยาที่ไม่มีคุณภาพออกไป” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.สุวัช กล่าวว่า ตนได้ชี้แจงเรื่องทั้งหมดต่อปลัด สธ. แล้ว อย่างเรื่องปัญหายาขาดแคลนที่โรงพยาบาลชุมชนบอกว่าขาดแคลนมากถึง 80 รายการ เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปี จึงต้องผลิตตัวที่เร่งด่วนก่อน โดยมีบริษัทเอกชนที่ให้โรงพยาบาลจัดซื้อได้ เช่น ยาทากล้ามเนื้อ ยาขับลม เป็นต้น ทั้งนี้ จากปัญหาระบบมาตรฐานการผลิตจึงต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพรัดกุมมากขึ้น จึงทำให้อัตราการผลิตยาลดลงบ้าง แต่จากการลดการผลิตก็พบว่า บริษัทเอกชนยังมีการผลิตยาตัวเดียวกันในราคาที่ใกล้เคียงหรือถูกกว่ามาทดแทน
“การที่มีการร้องเรียนให้ตรวจสอบระบบการทำงานของ อภ. เป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีการพัฒนาและปฏิรูป ทำให้ อภ.โปร่งใส และเป็นองค์การเภสัชกรรมของประชาชน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ผมก็เคยเสนอแผนการปรับโครงสร้างองค์กรทั้งในส่วนของบุคลากรและวิธีการทำงานเข้าบอร์ดไป 2 รอบ แต่ถูกคัดค้านว่าต้องมีการหารือ ทำประชาพิจารณ์จากพนักงานทั้งหมดก่อน” ผอ.อภ. กล่าว
วานนี้ (7 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพประมาณ นำโดย นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ชมรมแพทย์ชนบท ยื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้พิจารณาปลดคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (ผอ.อภ.) ที่บริหารงานจนสร้างความเสียหาย เช่น สั่งงดผลิตยาจำเป็น ทั้งที่ยากว่า 80% ที่คนไข้ใช้ อภ.เป็นผู้ผลิตส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐ ทำให้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดจำนวนมากเผชิญภาวะยาขาด นอกจากนี้ ยังเสนอตัดงบเรื่องการทำงานวิจัย 45 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาขาดทุน ส่วนพฤติกรรมของ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.ยังเอาเงินจากกองทุนดอกพิกุล ซึ่งเป็นกองทุนสวัสดิการของพนักงาน อภ. ไปใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศ ตีกอล์ฟ เบิกค่าน้ำมันรถ และค่าโทรศัพท์ด้วย
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า หลังบอร์ด อภ. มีมติเลิกจ้าง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีต ผอ.อภ. ก็พบเหตุการณ์ยาสลับแผงปนกัน จึงมีมติขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบมาตรฐานการผลิตยาของ อภ. ทุกสายการผลิต ซึ่ง อย.เสนอให้ปรับปรุงสถานที่และขบวนการผลิตใหม่ทั้งสายการผลิต และบางสายผลิตต้องหยุดผลิตทันที จึงกระทบต่อภาพรวมยาของ อภ.หลายชนิด นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ.คนใหม่ จึงเสนอให้ปรับลดการผลิตยาบางรายการลง เพื่อคงการผลิตยาสำคัญตัวอื่นเอาไว้ จึงลดการผลิตยาเบาหวานลง 50% เพราะมียอดการผลิตสูงสุดปีละเกือบ 900 ล้านเม็ด ทั้งยังเป็นยาที่โรงพยาบาลสามารถหาซื้อจากผู้ผลิตอื่นได้อีกมากกว่า 10 บริษัท ไม่ได้ลดการผลิตเพราะกำไรน้อย
ทั้งนี้ หากปรับปรุงโรงงานแมสโปรดักชันแล้วเสร็จ คาดว่า ก.ค.จะสามารถกลับมาผลิตยาต่างๆ ได้ตามเดิม ยกเว้นยาบางชนิดที่ต้องหยุดผลิตถาวร เช่น ยาผงเกลือแร่ ซึ่ง อย.เคยเตือนผู้บริหารชุดก่อนว่าให้ปรับปรุงเพราะมีปัญหาเรื่องสายส่งและการคุมความชื้น นอกจากนี้ การที่โรงงานแมสโปรดักชันไม่สามารถเปิดผลิตยาได้ก็มาจากการอดีต ผอ.อภ.ใช้เวลาปรับปรุง 3 ปี พอมีการเดินเครื่องในช่วง ต.ค. 2556 กลับพบปัญหาการผลิตในเรื่องห้องคลีนรูม และแผงบรรจุมีกลิ่น เช่นเดียวกับการสร้างโรงงานยาที่รังสิตและโรงงานวัคซีนที่สระบุรีล่าช้า ก็พบว่าเกิดจากปัญหาในช่วงผู้บริหารยุคเก่า โดยโรงงานยารังสิตกำลังอยู่ระหว่างเริ่มการประมูลใหม่ ส่วนโรงงานวัคซีนกำลังเสนอปลัด สธ.พิจารณาเสนอต่อ คสช.ในการอนุมัติวงเงินเพิ่มเติม ภายหลังมีการเปลี่ยนแบบโรงงานที่เหมาะสม
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า กรณีปรับลดงบการวิจัยเนื่องจากบอร์ด อภ. เห็นว่า ยังมีงบสะสมจากการที่ตั้งงบเป็นประจำทุกปีเหลืออีก 197 ล้านบาท เพียงพอต่อการวิจัยพื้นฐานในอีก 2 - 3 ปีโดยไม่กระทบ สำหรับเรื่องใช้เงินกองทุนดอกพิกุลก็เป็นไปตามระเบียบว่าตนใช้ในกิจกรรมของ อภ. ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตน เพราะการเบิกจ่ายกองทุนนี้เป็นการเบิกจ่ายในภาพรวมกิจกรรมของ อภ.ที่ไม่เข้าเกณฑ์เบิกจ่ายตามปกติ
“อภ.ยังมีปัญหาสะสมรอการแก้ไขอีกหลายอย่าง เช่น การสั่งวัตถุดิบผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ที่รักษาไข้หวัดใหญ่มากถึง 864 ล้านบาท แต่จะหมดอายุในปี 2558 และต้องทำลายทิ้งเกือบ 500 ล้านบาท กระทบต่อผลประกอบการ อภ.เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจัดซื้อในช่วงผู้บริหารชุดเก่าเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดผู้บริหาร อภ.กำลังแก้ไข เราไม่กล่าวโทษใคร แต่จะปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้น ซึ่งเรายอมให้เกิดผลกระทบด้านยาตอนนี้ดีกว่าเสี่ยงผลิตยาที่ไม่มีคุณภาพออกไป” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.สุวัช กล่าวว่า ตนได้ชี้แจงเรื่องทั้งหมดต่อปลัด สธ. แล้ว อย่างเรื่องปัญหายาขาดแคลนที่โรงพยาบาลชุมชนบอกว่าขาดแคลนมากถึง 80 รายการ เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปี จึงต้องผลิตตัวที่เร่งด่วนก่อน โดยมีบริษัทเอกชนที่ให้โรงพยาบาลจัดซื้อได้ เช่น ยาทากล้ามเนื้อ ยาขับลม เป็นต้น ทั้งนี้ จากปัญหาระบบมาตรฐานการผลิตจึงต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพรัดกุมมากขึ้น จึงทำให้อัตราการผลิตยาลดลงบ้าง แต่จากการลดการผลิตก็พบว่า บริษัทเอกชนยังมีการผลิตยาตัวเดียวกันในราคาที่ใกล้เคียงหรือถูกกว่ามาทดแทน
“การที่มีการร้องเรียนให้ตรวจสอบระบบการทำงานของ อภ. เป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีการพัฒนาและปฏิรูป ทำให้ อภ.โปร่งใส และเป็นองค์การเภสัชกรรมของประชาชน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ผมก็เคยเสนอแผนการปรับโครงสร้างองค์กรทั้งในส่วนของบุคลากรและวิธีการทำงานเข้าบอร์ดไป 2 รอบ แต่ถูกคัดค้านว่าต้องมีการหารือ ทำประชาพิจารณ์จากพนักงานทั้งหมดก่อน” ผอ.อภ. กล่าว