ASTVผู้จัดการรายวัน-ทอท.ตามนโยบายคสช.พร้อมปรับแผนสุวรรณภูมิเฟส 2 รอคสช.ตรวจสอบ ทำแผนรับมือภัยโรคติดต่อ ภัยก่อการร้ายและภัยพิบัติทางธรรมชาติ “เมฆินทร์”เผยแนวโน้มเกิดถี่และรุนแรงมากขึ้น เตรียมลงทุนกว่า 1.3 พันล.ในปี 58 เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครื่องมือตรวจค้นทั้ง 6 สนามบินเน้นภูเก็ตและหาดใหญ่ เหตุเสี่ยงภัยธรรมชาติและก่อการร้าย ขณะที่เพิ่มมาตรการและการฝึกซ้อมกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น
นายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่อง “ ทอท.กับการเตรียมความพร้อมเผชิญภัยโรคติดต่อ ภัยจากการก่อการร้าย และภัยพิบัติทางธรรมชาติ”วานนี้ (2 ก.ค.) ว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดต่อ การก่อการร้าย และภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มรุนแรงและถี่มากขึ้น โดยเฉลี่ยจากเดิมเกิดในรอบ 25ปี ลดเหลือ 10 ปีและล่าสุดเหลือ 7 ปี ซึ่งเหตุที่เกิดแต่ละครั้งจะมีผลกระทบค่อนข้างสูง และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และทั่วโลก ซึ่งล่าสุดได้เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554 เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย และการก่อการร้ายที่พื้นที่ภาคใต้ ดังนั้นทอท.ในฐานะผู้ดูแลและบริหารท่าอากาศยาน 6แห่งจึงต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือให้เพียงพอและมีคุณภาพ รวมถึงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาภัยต่างๆ
ทั้งนี้ ภัยทั้ง 3 ด้านดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม ส่วนท่าอากาศยานนั้นเป็นพื้นที่เปิด มาตรการรองรับต้องเข้มข้นจากปกติที่ต้องปฎิบัติตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งทำให้ต้นทุนการบริหารในด้านระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดย ทอท.มีแผนลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัย ในปี 2558 ทั้ง 6 ท่าอากาศยานวงเงินรวมกว่า 1,300 ล้านบาท
โดยเน้นที่ท่าอากาศยานภูเก็ตและหาดใหญ่ประมาณ 60% เป็นการลงทุนทั้งด้านบุคลากรและการเพิ่มเครื่องมือตรวจสอบต่างๆ เช่น เครื่องตรวจค้นร่างกาย ตรวจค้นยานพาหนะ เครื่องตรวจไอระเบิด เป็นต้น โดยอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีผลกระทบต่อผู้โดยสารทั้งในแง่สุขภาพและขั้นตอนในการตรวจสอบน้อยที่สุด
“ทอท.จะต้องนำข้อมูลและปัญหาในการเผชิญภัยที่ผ่านมาปรับปรุง โดยนอกจากการฝึกซ้อมตามมาตรฐานแล้ว หลังจากนี้จะต้องประสานกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญภัยในแต่ละด้านและจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ (Work Shop) ร่วมกันทุก ๆ 3 เดือน เพื่อทำความเข้าใจและให้การทำงานเมื่อเกิดเหตุสอดคล้องเชื่อมโยงกัน รวมถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ให้พนักงานและผู้โดยสารมีความเข้าใจที่ตรงกัน“นายเมฆินทร์กล่าวว่า
ด้านว่าที่ ร.ท.ภาสกร สุระพิพิธ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน ทอท.กล่าวว่า สิ่งที่ต้องคือการบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างจริงจัง ที่ผ่านมามีการฝึกซ้อมตามกฎมาตรฐานการบิน แต่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้เข้าร่วมทุกคน ในขณะที่เมื่อเกิดเหตุหรือภัยต่างๆ ทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเผชิญเหตุแต่กลับไม่เคยร่วมฝึกซ้อมดังนั้นต้องทบทวนแผนฉุกเฉินต่างๆ ปรับปรุงเพื่อให้ทุกคนรับรู้และเข้าใจเหมือนกัน และเพิ่มมาตรการรับมือในเรื่องการก่อการร้ายที่เปลี่ยนรูปแบบไป เช่น การก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทอท. มีแผนที่จะติดตั้งเครื่อง CTX ในท่าอากาศยานภูมิภาคเพิ่มเติม
สำหรับการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท นายเมฆินทร์กล่าวว่า ทอท.ได้นำเสนอแผนโครงการให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาแล้ว หากมีการปรับแก้ไขอย่างไรทอท.พร้อมรับนโยบายซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแน่นอน โดยในขณะนี้ยอมรับจำนวนผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอยู่ที่ 51 ล้านคนต่อปี ซึ่งเกินขีดความสามารถในการรองรับที่ 45 ล้านคนต่อปี แต่ยังสามารถบริหารจัดการให้ผู้โดยสารหมุนเวียนได้ไม่มีปัญหา โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานที่เชี่ยวชาญในการปรับปรุงแก้ไขจุดที่มีปัญหาติดขัด ทั้งขั้นตอนการตรวจค้นต่างๆ และการปรับปรุงป้ายบอกทางสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นต้น
นายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่อง “ ทอท.กับการเตรียมความพร้อมเผชิญภัยโรคติดต่อ ภัยจากการก่อการร้าย และภัยพิบัติทางธรรมชาติ”วานนี้ (2 ก.ค.) ว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดต่อ การก่อการร้าย และภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มรุนแรงและถี่มากขึ้น โดยเฉลี่ยจากเดิมเกิดในรอบ 25ปี ลดเหลือ 10 ปีและล่าสุดเหลือ 7 ปี ซึ่งเหตุที่เกิดแต่ละครั้งจะมีผลกระทบค่อนข้างสูง และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และทั่วโลก ซึ่งล่าสุดได้เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554 เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย และการก่อการร้ายที่พื้นที่ภาคใต้ ดังนั้นทอท.ในฐานะผู้ดูแลและบริหารท่าอากาศยาน 6แห่งจึงต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือให้เพียงพอและมีคุณภาพ รวมถึงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาภัยต่างๆ
ทั้งนี้ ภัยทั้ง 3 ด้านดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม ส่วนท่าอากาศยานนั้นเป็นพื้นที่เปิด มาตรการรองรับต้องเข้มข้นจากปกติที่ต้องปฎิบัติตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งทำให้ต้นทุนการบริหารในด้านระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดย ทอท.มีแผนลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัย ในปี 2558 ทั้ง 6 ท่าอากาศยานวงเงินรวมกว่า 1,300 ล้านบาท
โดยเน้นที่ท่าอากาศยานภูเก็ตและหาดใหญ่ประมาณ 60% เป็นการลงทุนทั้งด้านบุคลากรและการเพิ่มเครื่องมือตรวจสอบต่างๆ เช่น เครื่องตรวจค้นร่างกาย ตรวจค้นยานพาหนะ เครื่องตรวจไอระเบิด เป็นต้น โดยอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีผลกระทบต่อผู้โดยสารทั้งในแง่สุขภาพและขั้นตอนในการตรวจสอบน้อยที่สุด
“ทอท.จะต้องนำข้อมูลและปัญหาในการเผชิญภัยที่ผ่านมาปรับปรุง โดยนอกจากการฝึกซ้อมตามมาตรฐานแล้ว หลังจากนี้จะต้องประสานกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญภัยในแต่ละด้านและจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ (Work Shop) ร่วมกันทุก ๆ 3 เดือน เพื่อทำความเข้าใจและให้การทำงานเมื่อเกิดเหตุสอดคล้องเชื่อมโยงกัน รวมถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ให้พนักงานและผู้โดยสารมีความเข้าใจที่ตรงกัน“นายเมฆินทร์กล่าวว่า
ด้านว่าที่ ร.ท.ภาสกร สุระพิพิธ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน ทอท.กล่าวว่า สิ่งที่ต้องคือการบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างจริงจัง ที่ผ่านมามีการฝึกซ้อมตามกฎมาตรฐานการบิน แต่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้เข้าร่วมทุกคน ในขณะที่เมื่อเกิดเหตุหรือภัยต่างๆ ทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเผชิญเหตุแต่กลับไม่เคยร่วมฝึกซ้อมดังนั้นต้องทบทวนแผนฉุกเฉินต่างๆ ปรับปรุงเพื่อให้ทุกคนรับรู้และเข้าใจเหมือนกัน และเพิ่มมาตรการรับมือในเรื่องการก่อการร้ายที่เปลี่ยนรูปแบบไป เช่น การก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทอท. มีแผนที่จะติดตั้งเครื่อง CTX ในท่าอากาศยานภูมิภาคเพิ่มเติม
สำหรับการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท นายเมฆินทร์กล่าวว่า ทอท.ได้นำเสนอแผนโครงการให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาแล้ว หากมีการปรับแก้ไขอย่างไรทอท.พร้อมรับนโยบายซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแน่นอน โดยในขณะนี้ยอมรับจำนวนผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอยู่ที่ 51 ล้านคนต่อปี ซึ่งเกินขีดความสามารถในการรองรับที่ 45 ล้านคนต่อปี แต่ยังสามารถบริหารจัดการให้ผู้โดยสารหมุนเวียนได้ไม่มีปัญหา โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานที่เชี่ยวชาญในการปรับปรุงแก้ไขจุดที่มีปัญหาติดขัด ทั้งขั้นตอนการตรวจค้นต่างๆ และการปรับปรุงป้ายบอกทางสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เป็นต้น