**โดนบี้หนักๆ เข้าก็ค่อยๆ คายปฏิทินออกมาเรื่อยๆ สำหรับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะความชัดเจนเรื่องโรดแมป 3 ระยะ ที่ก่อนหน้านี้คลุมเครือกว้างๆ ไม่ค่อยเป็นเนื้อเป็นหนังสักเท่าไหร่ จนกระทั่งต้องออกมาขยายให้เห็นกันชัดๆ ว่า
กลางเดือนกรกฎาคมนี้ จะประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว ตามด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะรัฐมนตรีในเดือนกันยายน ก่อนจะเข้าสู่โหมดปฏิรูปร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเต็มตัว ซึ่งเสร็จครบทุกอย่างก็นู่นเลยกลางปีหน้า
ดูจากไทม์มิ่งที่ คสช.วางเอาไว้ กว่าจะได้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลมาบริหารประเทศก็ช่วงเดือนกันยายน นับจากตรงนี้ก็อีกเกือบ 3 เดือนเต็ม ทำให้ประเทศไทยจะว่างเว้นฝ่ายบริหารนานถึง 5 เดือน หากเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22พฤษภาคม อันเป็นวันที่ คสช. เข้าควบคุมการบริหารประเทศจากรัฐบาลผีหัวขาด ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร
แม้ คสช. จะอ้างว่าสาเหตุที่ต้องอยู่บนคานอำนาจหลายเดือนก่อนจะส่งไม้ต่อให้รัฐบาลก็เพื่อเร่งเคลียร์ปัญหาเฉพาะหน้าให้เข้ารูปเข้ารอยเสียก่อน แต่หากสแกนลึกลงไป ชั่งตวงระหว่างข้อดี และข้อเสียแล้ว
**การวางระยะเวลาไว้ยาวนานขนาดนั้นกลับไม่เป็นผลดีกับ คสช. หากเพราะหลายประเทศทั่วโลกที่ยึดโยงอยู่กับระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะพี่เบิ้มอย่างสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐอเมริกา แสดงออกชัดเจนว่า ไม่ยอมรับการรัฐประหาร และทหาร เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการ
การไม่ยอมรับจากนานาชาติเหล่านี้ ล้วนอันตรายต่อประเทศไทยยิ่งนัก เห็นได้จากปฏิกิริยาที่เริ่มถูกส่งสัญญาณมาเรื่อยๆ ในช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีกระทรวงการต่างประเทศมะกัน ปรับลดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยให้อยู่ในระดับต่ำสุด หรือกรณีที่ประชุมอียูออกแถลงการณ์ประณามไทย พร้อมกับออกมาตรการโถมใส่ด้วยการระงับการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ และหุ้นส่วนกับไทย รวมถึงอาจชะลอการทำข้อตกลงต่างๆ ในเรื่องการค้า การลงทุน
โดยเฉพาะการทำเอฟทีเอกับไทย ซึ่งเคยเจรจาไว้และจะเริ่มในเดือนหน้า อาจส่อเค้าต้องล้มเหลว และล้มเลิกเหมือนกัน มาตรการดังกล่าวของอียู จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วยังเป็นการเปิดช่องให้ประเทศต่างๆ หันไปอุดหนุนสินค้าของคู่แข่งสำคัญในตลาดโลกของไทย ในขณะที่เราชะงักหรือถอยหลังลงคลองทำให้เป้าหมายที่เราเคยวางไว้ว่าจะเป็นผู้นำศูนย์กลางในอาเซียนแขวนอยู่บนเส้นด้ายบางๆ
**แน่นอนว่า มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้จากชาติมหาอำนาจ และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ประเทศไทยยังไร้เงาของรัฐบาลและตราบใดที่ คสช. ยังกำอำนาจในมือไว้อย่างแน่นหนา
ความสำคัญของการมีรัฐบาลนั้น มีผลต่อประเทศไทยมากอย่างกับที่ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจทั้งหลายแหล่ภายในประเทศออกมาส่งสัญญาณถึง คสช. เรียกร้องให้เร่งทำคลอดรัฐบาลออกมาโดยด่วน เพราะการเจรจาเรื่องการค้า การลงทุน หรือทางการทูตจะมีน้ำหนักมากหากผู้เจรจานั้นทำในนามรัฐบาล แต่หากเป็นทหารเดินเข้าไปหา ก็ส่ายหน้าไม่มั่นใจว่า ที่ลง ที่ทำ ที่เซ็นกันไปในภายภาคหน้า มันจะล่มกลางแอ่งหรือเปล่า
วันนี้หากมองปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับเราโดยเฉพาะชาติตะวันตก แทบไม่มีชาติไหนอยากสนทนา หรือเจรจาทางการค้ากับไทยกลไกการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี แทบจะเป็นอัมพาต หากยังอยู่ภายใต้การนำของ คสช. ดูมาตรการตอบโต้ที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศเหล่านี้สั่งห้ามทหารและคณะรัฐประหาร เหยียบเท้าเข้าประเทศ และระงับการขอวีซ่าทั้งหมด
ขณะที่กลไกทางด้านการทูต แม้ดูจากภาพภายนอกเหมือนจะประสบความสำเร็จในการชี้แจงทำความเข้าใจ แต่ก็เป็นเพียงความเข้าใจระหว่างทูตกับทูต หาใช่รัฐบาลของประเทศต้นทางเหล่านั้น ขณะเดียวกันปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่ถูกมอบหมายให้เป็นหัวเรือใหญ่ก็มิใช่รัฐมนตรีตัวจริง แต่เป็นเพียงรัฐมนตรีจำเป็นซึ่งต่างชาติรับรู้ดี และไม่ได้ให้ราคาเท่าไหร่ เพราะรู้อยู่เต็มอกว่าทีมงานเหล่านี้ได้รับคำสั่งจากคสช. ที่เขาไม่ยอมรับอยู่แล้วให้มาเคลียร์ ดังนั้น จึงเปลืองแรงเปล่า
ทั้งนี้ ทั้งนั้น เห็นใจและเข้าใจว่า คสช. มีเจตนาดีที่อยากให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยการเดินไปอย่างช้าๆ และรอบคอบที่สุดด้วยการมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปสักระยะหนึ่ง ก่อนให้เพื่อบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการเดินหน้าแก้ไขปัญหาประเทศแต่อีกมุมหนึ่งก็มีคนอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า ระยะเวลาที่ยาวนานร่วม 3 เดือนก่อนจะมีรัฐบาล แท้จริงแล้วความมุ่งหมายคือต้องการสะสางปัญหาเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียวจริงหรือไม่
**แต่อาจมีอีกเงื่อนไขหนึ่งคือ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)ต้องการจะอยู่ลากยาวไปจนวันถึงเกษียณอายุราชการ เพื่อส่งไม้ต่อให้ผบ.ทบ.คนใหม่ด้วย
จะอยู่จนวินาทีสุดท้ายแบบนั้นได้หรือไม่ ถือเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะระยะเวลาดังกล่าวยาวนานเกินไป ซึ่งเสี่ยงต่อการเปิดช่องให้วิกฤติการณ์ต่างๆเข้ามาถาโถมเพิ่มพูนเป็นดินพอกหางหมูจนสุดท้ายกลายมาเป็นอุปสรรคให้โรดแมปที่วางเอาไว้ไม่เป็นไปตามเป้าได้เนื่องจากต้องมัวมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ จนทำให้เสียเวลา
จึงเป็นอะไรที่ “บิ๊กตู่” จะต้องชั่งใจให้จงหนักว่า จะยังเลือกเดินตามปฏิทินที่วางเอาไว้อยู่หรือไม่ เพราะเสี่ยงเหลือเกินที่จะเป็นดาบสองคมต่อตัวเองซึ่งมาถึงตรงนี้ยังมีเวลาเปลี่ยนใจ หรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวแล้วถือว่าเป็นช่องทางให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้นจึงควรหันกลับมาฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลให้เร็ว
**นาทีนี้จะเอาอย่างไรไม่มีใครว่าเพราะทั้งประเทศแทบจะรู้ว่า นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของพวกเขาจะชื่ออะไรหากไม่ใช่ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา”ดังนั้นไม่มีอะไรต้องเหนียมอายอีกแล้ว กล้าๆ ควบ 3 ตำแหน่งทั้งหัวหน้าคสช., ผบ.ทบ. และนายกรัฐมนตรีไปเลยในเร็วๆ นี้ เพื่อตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศไม่ให้สะดุดจากพิษภัยจากภายนอก ก่อนจะไม่ทันการณ์
จากนั้นเมื่อถึงเวลาปลดประจำการเกษียณอายุราชการก็ตั้งคนที่ไว้วางใจมาเป็นผบ.ทบ. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเท่านั้นก็เรียบร้อยโรงเรียนท็อปบูต
อย่างไรก็ตาม ในอดีตเคยมีกรณีตัวอย่างที่ทำให้เห็นเป็นขนบธรรมเนียมหรือแนวปฏิบัติ กรณีของ “บิ๊กสุ”พล.อ.สุจินดา คราประยูรตอนนั้นที่ต้องลาออกจากผบ.ทบ. ก่อนที่จะมารับตำแหน่งนายกฯเพราะติดเงื่อนไขบางอย่างที่สำคัญมาก
**รอบนี้“บิ๊กตู่”จะควบ 3 สักตำแหน่ง ก็ต้องลองดูว่าทำได้หรือไม่ ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว เอาให้เต็มที่สุดซอยไปเลย รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ทำให้มันดีก็แล้วกัน
กลางเดือนกรกฎาคมนี้ จะประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว ตามด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะรัฐมนตรีในเดือนกันยายน ก่อนจะเข้าสู่โหมดปฏิรูปร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเต็มตัว ซึ่งเสร็จครบทุกอย่างก็นู่นเลยกลางปีหน้า
ดูจากไทม์มิ่งที่ คสช.วางเอาไว้ กว่าจะได้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลมาบริหารประเทศก็ช่วงเดือนกันยายน นับจากตรงนี้ก็อีกเกือบ 3 เดือนเต็ม ทำให้ประเทศไทยจะว่างเว้นฝ่ายบริหารนานถึง 5 เดือน หากเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22พฤษภาคม อันเป็นวันที่ คสช. เข้าควบคุมการบริหารประเทศจากรัฐบาลผีหัวขาด ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร
แม้ คสช. จะอ้างว่าสาเหตุที่ต้องอยู่บนคานอำนาจหลายเดือนก่อนจะส่งไม้ต่อให้รัฐบาลก็เพื่อเร่งเคลียร์ปัญหาเฉพาะหน้าให้เข้ารูปเข้ารอยเสียก่อน แต่หากสแกนลึกลงไป ชั่งตวงระหว่างข้อดี และข้อเสียแล้ว
**การวางระยะเวลาไว้ยาวนานขนาดนั้นกลับไม่เป็นผลดีกับ คสช. หากเพราะหลายประเทศทั่วโลกที่ยึดโยงอยู่กับระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะพี่เบิ้มอย่างสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐอเมริกา แสดงออกชัดเจนว่า ไม่ยอมรับการรัฐประหาร และทหาร เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการ
การไม่ยอมรับจากนานาชาติเหล่านี้ ล้วนอันตรายต่อประเทศไทยยิ่งนัก เห็นได้จากปฏิกิริยาที่เริ่มถูกส่งสัญญาณมาเรื่อยๆ ในช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีกระทรวงการต่างประเทศมะกัน ปรับลดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยให้อยู่ในระดับต่ำสุด หรือกรณีที่ประชุมอียูออกแถลงการณ์ประณามไทย พร้อมกับออกมาตรการโถมใส่ด้วยการระงับการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ และหุ้นส่วนกับไทย รวมถึงอาจชะลอการทำข้อตกลงต่างๆ ในเรื่องการค้า การลงทุน
โดยเฉพาะการทำเอฟทีเอกับไทย ซึ่งเคยเจรจาไว้และจะเริ่มในเดือนหน้า อาจส่อเค้าต้องล้มเหลว และล้มเลิกเหมือนกัน มาตรการดังกล่าวของอียู จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วยังเป็นการเปิดช่องให้ประเทศต่างๆ หันไปอุดหนุนสินค้าของคู่แข่งสำคัญในตลาดโลกของไทย ในขณะที่เราชะงักหรือถอยหลังลงคลองทำให้เป้าหมายที่เราเคยวางไว้ว่าจะเป็นผู้นำศูนย์กลางในอาเซียนแขวนอยู่บนเส้นด้ายบางๆ
**แน่นอนว่า มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้จากชาติมหาอำนาจ และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ประเทศไทยยังไร้เงาของรัฐบาลและตราบใดที่ คสช. ยังกำอำนาจในมือไว้อย่างแน่นหนา
ความสำคัญของการมีรัฐบาลนั้น มีผลต่อประเทศไทยมากอย่างกับที่ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจทั้งหลายแหล่ภายในประเทศออกมาส่งสัญญาณถึง คสช. เรียกร้องให้เร่งทำคลอดรัฐบาลออกมาโดยด่วน เพราะการเจรจาเรื่องการค้า การลงทุน หรือทางการทูตจะมีน้ำหนักมากหากผู้เจรจานั้นทำในนามรัฐบาล แต่หากเป็นทหารเดินเข้าไปหา ก็ส่ายหน้าไม่มั่นใจว่า ที่ลง ที่ทำ ที่เซ็นกันไปในภายภาคหน้า มันจะล่มกลางแอ่งหรือเปล่า
วันนี้หากมองปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับเราโดยเฉพาะชาติตะวันตก แทบไม่มีชาติไหนอยากสนทนา หรือเจรจาทางการค้ากับไทยกลไกการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี แทบจะเป็นอัมพาต หากยังอยู่ภายใต้การนำของ คสช. ดูมาตรการตอบโต้ที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศเหล่านี้สั่งห้ามทหารและคณะรัฐประหาร เหยียบเท้าเข้าประเทศ และระงับการขอวีซ่าทั้งหมด
ขณะที่กลไกทางด้านการทูต แม้ดูจากภาพภายนอกเหมือนจะประสบความสำเร็จในการชี้แจงทำความเข้าใจ แต่ก็เป็นเพียงความเข้าใจระหว่างทูตกับทูต หาใช่รัฐบาลของประเทศต้นทางเหล่านั้น ขณะเดียวกันปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่ถูกมอบหมายให้เป็นหัวเรือใหญ่ก็มิใช่รัฐมนตรีตัวจริง แต่เป็นเพียงรัฐมนตรีจำเป็นซึ่งต่างชาติรับรู้ดี และไม่ได้ให้ราคาเท่าไหร่ เพราะรู้อยู่เต็มอกว่าทีมงานเหล่านี้ได้รับคำสั่งจากคสช. ที่เขาไม่ยอมรับอยู่แล้วให้มาเคลียร์ ดังนั้น จึงเปลืองแรงเปล่า
ทั้งนี้ ทั้งนั้น เห็นใจและเข้าใจว่า คสช. มีเจตนาดีที่อยากให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยการเดินไปอย่างช้าๆ และรอบคอบที่สุดด้วยการมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปสักระยะหนึ่ง ก่อนให้เพื่อบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการเดินหน้าแก้ไขปัญหาประเทศแต่อีกมุมหนึ่งก็มีคนอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า ระยะเวลาที่ยาวนานร่วม 3 เดือนก่อนจะมีรัฐบาล แท้จริงแล้วความมุ่งหมายคือต้องการสะสางปัญหาเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียวจริงหรือไม่
**แต่อาจมีอีกเงื่อนไขหนึ่งคือ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)ต้องการจะอยู่ลากยาวไปจนวันถึงเกษียณอายุราชการ เพื่อส่งไม้ต่อให้ผบ.ทบ.คนใหม่ด้วย
จะอยู่จนวินาทีสุดท้ายแบบนั้นได้หรือไม่ ถือเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะระยะเวลาดังกล่าวยาวนานเกินไป ซึ่งเสี่ยงต่อการเปิดช่องให้วิกฤติการณ์ต่างๆเข้ามาถาโถมเพิ่มพูนเป็นดินพอกหางหมูจนสุดท้ายกลายมาเป็นอุปสรรคให้โรดแมปที่วางเอาไว้ไม่เป็นไปตามเป้าได้เนื่องจากต้องมัวมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ จนทำให้เสียเวลา
จึงเป็นอะไรที่ “บิ๊กตู่” จะต้องชั่งใจให้จงหนักว่า จะยังเลือกเดินตามปฏิทินที่วางเอาไว้อยู่หรือไม่ เพราะเสี่ยงเหลือเกินที่จะเป็นดาบสองคมต่อตัวเองซึ่งมาถึงตรงนี้ยังมีเวลาเปลี่ยนใจ หรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวแล้วถือว่าเป็นช่องทางให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้นจึงควรหันกลับมาฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลให้เร็ว
**นาทีนี้จะเอาอย่างไรไม่มีใครว่าเพราะทั้งประเทศแทบจะรู้ว่า นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของพวกเขาจะชื่ออะไรหากไม่ใช่ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา”ดังนั้นไม่มีอะไรต้องเหนียมอายอีกแล้ว กล้าๆ ควบ 3 ตำแหน่งทั้งหัวหน้าคสช., ผบ.ทบ. และนายกรัฐมนตรีไปเลยในเร็วๆ นี้ เพื่อตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศไม่ให้สะดุดจากพิษภัยจากภายนอก ก่อนจะไม่ทันการณ์
จากนั้นเมื่อถึงเวลาปลดประจำการเกษียณอายุราชการก็ตั้งคนที่ไว้วางใจมาเป็นผบ.ทบ. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเท่านั้นก็เรียบร้อยโรงเรียนท็อปบูต
อย่างไรก็ตาม ในอดีตเคยมีกรณีตัวอย่างที่ทำให้เห็นเป็นขนบธรรมเนียมหรือแนวปฏิบัติ กรณีของ “บิ๊กสุ”พล.อ.สุจินดา คราประยูรตอนนั้นที่ต้องลาออกจากผบ.ทบ. ก่อนที่จะมารับตำแหน่งนายกฯเพราะติดเงื่อนไขบางอย่างที่สำคัญมาก
**รอบนี้“บิ๊กตู่”จะควบ 3 สักตำแหน่ง ก็ต้องลองดูว่าทำได้หรือไม่ ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว เอาให้เต็มที่สุดซอยไปเลย รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ทำให้มันดีก็แล้วกัน