คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตปัตตานี จัดพิธีเปิดอาคารเรียนและบริหารคณะรัฐศาสตร์ ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และแถลงข่าวเปิดศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า กสม.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้กำหนดให้เป็นพื้นที่สำคัญในยุทธศาสตร์ของกสม. ที่จะดำเนินการ รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น มีหน้าที่หลักสำคัญในการตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีทำความ ตกลงในการประนีประนอม หรือระงับข้อพิพาท แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี และประสานงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและระบบการชดเชย การเยียวยาและนโยบายด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่ออำนวยความยุติธรรม
นอกจากนี้ การทำงานของกสม.ได้เน้นความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่ โดยได้มีการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นบุคลากรในพื้นที่ เพื่อทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ช่วยเหลือการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏเหตุการณ์ขึ้นใน 3 จังหวัดดังกล่าว เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ หรือกสม. รวมทั้งเน้นการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนกับประชาชน ระหว่างภาครัฐกับประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาสามารถดำเนินการได้ผลในระดับหนึ่ง
ขณะนี้ กสม. ได้เปิดศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ประชาชนในระดับพื้นที่เข้าถึงได้โดยเร็วซึ่งนับเป็นหน่วยงานในภูมิภาคแห่งแรกของกสม. โดยคาดหวังว่าการเปิดศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนและการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึง และเป็นการมอบการบริการแก่ประชาชนเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง.
นอกจากนี้ การทำงานของกสม.ได้เน้นความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่ โดยได้มีการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นบุคลากรในพื้นที่ เพื่อทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ช่วยเหลือการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏเหตุการณ์ขึ้นใน 3 จังหวัดดังกล่าว เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ หรือกสม. รวมทั้งเน้นการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนกับประชาชน ระหว่างภาครัฐกับประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาสามารถดำเนินการได้ผลในระดับหนึ่ง
ขณะนี้ กสม. ได้เปิดศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ประชาชนในระดับพื้นที่เข้าถึงได้โดยเร็วซึ่งนับเป็นหน่วยงานในภูมิภาคแห่งแรกของกสม. โดยคาดหวังว่าการเปิดศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนและการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึง และเป็นการมอบการบริการแก่ประชาชนเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง.