ASTVผู้จัดการรายวัน - "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" กระตุ้นคสช.เร่งเดินหน้าปฏิรูปประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้ดีขึ้น เชื่อนับจากนี้เศรษฐกิจไทยจะค่อยฟื้นตัวดีขึ้น สุดท้ายสหรัฐฯ-อียูก็หันกลับมาสานสัมพันธ์ต่อเอง ชี้ปฎิกิริยาด้านลบจากอียู-สหรัฐฯไม่ใช่เรื่องแปลก หรือน่ากังวลใจ เป็นแค่หัวโขนและผลประโยชน์เท่านั้น พร้อมกับเรียกร้องให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเสนอแนะและขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปสู่ความยั่งยืน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่องภาคเอกชนกับอนาคตประเทศไทย ในงานประชุมIOD's 3 National Director Conference 2014 ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)ว่า การที่สหภาพยุโรป (อียู) ระงับความร่วมมือทางการค้าการลงทุนกับไทย พร้อมกับเรียกร้องคืนประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งว่า ไม่รู้สึกประหลาดใจ หรือเป็นปัญหาใหญ่โตกับปฏิกิริยาของประเทศที่พัฒนาแล้วจะรู้สึกขุ่นเคืองกับเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยที่เขาไม่อยากเห็น ส่วนจะมีปฏิกิริยามากน้อยเพียงใดขึ้นกับอยู่กับหัวโขนที่สวมอยู่ ความเชื่อและผลประโยชน์ของตัวเอง ดังนั้นไทยไม่ควรตอบโต้หรือโกรธเคืองกัน
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาบ้านเมืองไทยให้ดีขึ้น ให้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์แทนทุกอย่าง โดยรัฐจะต้องสร้างความเชื่อมั่น ผมเชื่อว่าถ้าเรามุ่งมั่นทำงานตามที่สัญญาในการปฏิรูประเทศ ตอบแทนคนไทยและสังคมโลก เมื่อทุกสิ่งจะดีขึ้น เมื่อนั้นประเทศเหล่านี้จะหันกลับมาเราอย่างแน่นอน และไทยเป็นประเทศที่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญในอาเซียน
ซึ่งประเทศเหล่านี้เห็นผลประโยชน์ตรงจุดนี้ก็คงกลับมา
" ก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายกังวลว่าไทยจะเข้าสู่ประเทศล่มสลายได้หากไม่มีการแก้ไข จนมีจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นกับไทยในวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนจะถูกจะผิดนั้น ประวัติศาสตร์จะเครื่องพิสูจน์ แต่ความรู้สึกของคนไทยกับเหตุการณ์ดังกล่าวเรารู้สึกได้ว่าดีขึ้น ไม่มีใครเข้าใจถ่องแท้เท่ากับคนไทยด้วยกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ คนไทยมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน จนอาจก่อให้เกิดสงครามกลางเมือง เข่นฆ่ากันเอง ระเบิดเอ็ม 79 จะลงหน้าบ้านใครก็ได้ ซึ่งต่างประเทศก็เห็น เพียงแต่จะให้ความสำคัญหรือไม่ก็ได้ "
นายสมคิด กล่าวต่อไปว่า นับจากนี้ไป ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจะคลี่คลายไปทางดีขึ้น เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆพื้นตัว มีการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ความมั่นใจจะกลับคืนมาทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ประเทศแข็งแกร่งขึ้นหากเทียบกับ 10ปีที่ผ่านมา ไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมาตลอดแต่ไม่สม่าเสมอ เพราะจะโตได้จากแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงสร้างภายในทุกส่วนผุกร่อน หากไม่เร่งแก้ไขจะเป็นตัวฉุดประเทศให้ตกต่ำลงในอนาคต
ขณะนี้ไทยเหมือนอยู่บนทาง 2 แพร่ง ต้องเลือกว่าจะไปทางไหน แพร่งแรก ให้ดูตัวอย่างฟิลิปปินส์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการเมือง 30ปีที่แล้ว แต่ไม่มีความุ่งมั่นที่จะแก้ไข หรือปฏิรูปอย่างจริงจังเพื่อให้ประเทศชาติดีขึ้น การคอรัปชั่นยังมีอยู่ ทำให้ฟิลิปปินส์ยังเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน กับแพร่งที่ 2 คือ อินโดนีเซีย ที่เขาใช้วิกฤติในการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง วันนี้อินโดนีเซียกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอาเซียน ดังนั้นจึงอยากให้ไทยให้ความสำคัญในการปฏิรูปประเทศ เพราะที่ผ่านมา คนไทยมีดีแต่พูด ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เมื่อเศรษฐกิจดีก็เพิกเฉย
ดังนั้นภาคเอกชนไทยจึงควรมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศเพื่อสู่ความยั่งยืนโดยร่วมกันเสนอ ผลักดันและขับเคลื่อนประเทศ พร้อมกับดูตัวเองและปฏิรูปองค์กรบริษัทให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยโดยเริ่มตั้งแต่จิตสำนึกที่รู้ว่าจะอะไรผิด อะไรถูก ซึ่งหลักธรรมาธิบาล (CG) เป็นสิ่งที่ดีทำอย่างไรให้แพร่หลายไปสู่บริษัทขนาดกลางและเล็ก ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น
ส่วนกรณีที่สหรัฐ ดาวน์เกรดไทยเป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์อยู่ในระดับเลวร้าย Tier3 นั้น ความจริงแล้วเรื่องนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 ที่รัฐบาลสัญญาว่าจะเร่งแกัไขปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเยี่ยงทาส แต่ช่วงที่ผ่านมา 2ปีมัวแต่ตีกัน ทำให้ถูกปรับลดระดับลงมา แต่จากนี้ไปให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาเร่งแก้ไขเรื่องนี้
นายเกริกไกร จีระแพทย์ ประธานกรรมการสถาบันกรรมการบริษัทไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อียูได้ประกาศระงับการเดินทางเยือนของเจ้าหน้าที่ทั้งอียูและไทยอย่างเป็นทางการ รวมทั้งยกเลิกการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือกับไทย เนื่องจากไม่พอใจที่คสช.ยึดอำนาจการปกครอง แต่ในประกาศไม่มีข้อความที่ระบุว่าจะตัดความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย ซึ่งอียูมีการทำการค้ากับไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 หรือ 3 หากไทยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ก็พร้อมที่จะทบทวนความสัมพันธ์กับอียูอีกครั้ง แต่ยอมรับสิ่งที่เป็นกังวล คือว่า ไม่สามารถเจรจาการเปิดเสรีเอฟทีเอกับอียูได้ ทำให้ประเทศอื่นๆเดินหน้าเจรจาไปต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ควรกังวลอะไรมากนัก
ด้านนายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เชื่อว่ายังไม่มีผลกระทบต่อการค้าของเอกชนมากนัก อาจกระทบบ้างในบางธุรกิจ ซึ่งภาคเอกชนก็ต้องเจรจากับบริษัทคู่ค้าของตนเองว่าไทยให้ความสำคัญเรื่องการดูแลปัญหาแรงงาน ไม่มีการใช้แรงงานเยี่ยงทาสหรือแรงงานเด็ก
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่องภาคเอกชนกับอนาคตประเทศไทย ในงานประชุมIOD's 3 National Director Conference 2014 ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)ว่า การที่สหภาพยุโรป (อียู) ระงับความร่วมมือทางการค้าการลงทุนกับไทย พร้อมกับเรียกร้องคืนประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งว่า ไม่รู้สึกประหลาดใจ หรือเป็นปัญหาใหญ่โตกับปฏิกิริยาของประเทศที่พัฒนาแล้วจะรู้สึกขุ่นเคืองกับเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยที่เขาไม่อยากเห็น ส่วนจะมีปฏิกิริยามากน้อยเพียงใดขึ้นกับอยู่กับหัวโขนที่สวมอยู่ ความเชื่อและผลประโยชน์ของตัวเอง ดังนั้นไทยไม่ควรตอบโต้หรือโกรธเคืองกัน
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาบ้านเมืองไทยให้ดีขึ้น ให้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์แทนทุกอย่าง โดยรัฐจะต้องสร้างความเชื่อมั่น ผมเชื่อว่าถ้าเรามุ่งมั่นทำงานตามที่สัญญาในการปฏิรูประเทศ ตอบแทนคนไทยและสังคมโลก เมื่อทุกสิ่งจะดีขึ้น เมื่อนั้นประเทศเหล่านี้จะหันกลับมาเราอย่างแน่นอน และไทยเป็นประเทศที่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญในอาเซียน
ซึ่งประเทศเหล่านี้เห็นผลประโยชน์ตรงจุดนี้ก็คงกลับมา
" ก่อนหน้านี้ หลายฝ่ายกังวลว่าไทยจะเข้าสู่ประเทศล่มสลายได้หากไม่มีการแก้ไข จนมีจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นกับไทยในวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนจะถูกจะผิดนั้น ประวัติศาสตร์จะเครื่องพิสูจน์ แต่ความรู้สึกของคนไทยกับเหตุการณ์ดังกล่าวเรารู้สึกได้ว่าดีขึ้น ไม่มีใครเข้าใจถ่องแท้เท่ากับคนไทยด้วยกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ คนไทยมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน จนอาจก่อให้เกิดสงครามกลางเมือง เข่นฆ่ากันเอง ระเบิดเอ็ม 79 จะลงหน้าบ้านใครก็ได้ ซึ่งต่างประเทศก็เห็น เพียงแต่จะให้ความสำคัญหรือไม่ก็ได้ "
นายสมคิด กล่าวต่อไปว่า นับจากนี้ไป ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจะคลี่คลายไปทางดีขึ้น เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆพื้นตัว มีการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ความมั่นใจจะกลับคืนมาทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ประเทศแข็งแกร่งขึ้นหากเทียบกับ 10ปีที่ผ่านมา ไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมาตลอดแต่ไม่สม่าเสมอ เพราะจะโตได้จากแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงสร้างภายในทุกส่วนผุกร่อน หากไม่เร่งแก้ไขจะเป็นตัวฉุดประเทศให้ตกต่ำลงในอนาคต
ขณะนี้ไทยเหมือนอยู่บนทาง 2 แพร่ง ต้องเลือกว่าจะไปทางไหน แพร่งแรก ให้ดูตัวอย่างฟิลิปปินส์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการเมือง 30ปีที่แล้ว แต่ไม่มีความุ่งมั่นที่จะแก้ไข หรือปฏิรูปอย่างจริงจังเพื่อให้ประเทศชาติดีขึ้น การคอรัปชั่นยังมีอยู่ ทำให้ฟิลิปปินส์ยังเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน กับแพร่งที่ 2 คือ อินโดนีเซีย ที่เขาใช้วิกฤติในการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง วันนี้อินโดนีเซียกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอาเซียน ดังนั้นจึงอยากให้ไทยให้ความสำคัญในการปฏิรูปประเทศ เพราะที่ผ่านมา คนไทยมีดีแต่พูด ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เมื่อเศรษฐกิจดีก็เพิกเฉย
ดังนั้นภาคเอกชนไทยจึงควรมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศเพื่อสู่ความยั่งยืนโดยร่วมกันเสนอ ผลักดันและขับเคลื่อนประเทศ พร้อมกับดูตัวเองและปฏิรูปองค์กรบริษัทให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยโดยเริ่มตั้งแต่จิตสำนึกที่รู้ว่าจะอะไรผิด อะไรถูก ซึ่งหลักธรรมาธิบาล (CG) เป็นสิ่งที่ดีทำอย่างไรให้แพร่หลายไปสู่บริษัทขนาดกลางและเล็ก ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น
ส่วนกรณีที่สหรัฐ ดาวน์เกรดไทยเป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์อยู่ในระดับเลวร้าย Tier3 นั้น ความจริงแล้วเรื่องนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 ที่รัฐบาลสัญญาว่าจะเร่งแกัไขปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเยี่ยงทาส แต่ช่วงที่ผ่านมา 2ปีมัวแต่ตีกัน ทำให้ถูกปรับลดระดับลงมา แต่จากนี้ไปให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาเร่งแก้ไขเรื่องนี้
นายเกริกไกร จีระแพทย์ ประธานกรรมการสถาบันกรรมการบริษัทไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อียูได้ประกาศระงับการเดินทางเยือนของเจ้าหน้าที่ทั้งอียูและไทยอย่างเป็นทางการ รวมทั้งยกเลิกการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือกับไทย เนื่องจากไม่พอใจที่คสช.ยึดอำนาจการปกครอง แต่ในประกาศไม่มีข้อความที่ระบุว่าจะตัดความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย ซึ่งอียูมีการทำการค้ากับไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 หรือ 3 หากไทยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ก็พร้อมที่จะทบทวนความสัมพันธ์กับอียูอีกครั้ง แต่ยอมรับสิ่งที่เป็นกังวล คือว่า ไม่สามารถเจรจาการเปิดเสรีเอฟทีเอกับอียูได้ ทำให้ประเทศอื่นๆเดินหน้าเจรจาไปต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ควรกังวลอะไรมากนัก
ด้านนายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เชื่อว่ายังไม่มีผลกระทบต่อการค้าของเอกชนมากนัก อาจกระทบบ้างในบางธุรกิจ ซึ่งภาคเอกชนก็ต้องเจรจากับบริษัทคู่ค้าของตนเองว่าไทยให้ความสำคัญเรื่องการดูแลปัญหาแรงงาน ไม่มีการใช้แรงงานเยี่ยงทาสหรือแรงงานเด็ก