ASTVผู้จัดการรายวัน - คสช.ออกมาตรการผ่อนผันนายจ้างทำตามกฏหมาย จัดทำบัญชีต่างด้าวให้ครบ กำชับขรก.หาผลประโยชน์เจอโทษวินัย-อาญาทันที ด้านแรงงานกัมพูชายังแห่กลับไม่ บิ๊กหอการค้าวอนช่วยเหลือด่วน นายกสมาคมประมงไทยเผยเผ่นกลับแล้วกว่า 1.6 แสนคน หยุดหาปลาแล้วกว่า 15% จี้ผู้ว่าฯเรียกหารือด่วน นักวิชาการแนะคสช.นิรโทษกรรมทั้งนายจ้าง-ต่างด้าว พร้อมเปิดลงทะเบียนใหม่
หลังจากปรากฏข่าวลือว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มีนโยบายกวาดล้างแรงงานต่างด้าว และข่าวลือจากฝั่งกัมพูชาว่า ทหารไทยไล่ล่าและสังหารแรงงานต่างด้าว จนแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะชาวกัมพูชาตื่นตกใจ พากันเดินทางกลับประเทศแล้วกว่า 1 แสนคน ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน กระทบต่อกิจการและเศรษฐกิจโดยรวมของไทย จนคสช.ต้องมีประกาศฉบับที่ 67/2557 ลงวันที่ 16 มิถุนายน เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าว ยืนยันว่าคสช.ไม่มีนโยบายเร่งรัดจับกุมกวาดล้างแรงงานต่างด้าวนั้น
**คสช.ผ่อนผันนายจ้าง-ทำบัญชีต่างด้าว
เมื่อเวลา 13.50 น. วานนี้(17 มิ.ย.) คสช.ออกประกาศฉบับที่ 68/2557 เรื่องมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ระยะที่ 1 เป็นการชั่วคราว ดังนี้
ตามที่ปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ได้ทวีความรุนแรงและยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน เพื่อให้การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพ และมีการบูรณาการเคารพต่อหลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชน คสช.จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ให้ผู้ประกอบการ นายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองในการทำงาน และไม่ถูกบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ นายจ้างในอุตสาหกรรมประมงและกิจการต่อเนื่อง โดยในช่วงนี้คสช.มีมาตราการผ่อนผันให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง จัดทำบัญชีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในความดูแลให้ครบถ้วน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดระเบียบในห้วงต่อไป
2.ให้ผู้ประกอบการ นายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้เพื่อทางการไทยสามารถให้การคุ้มครองดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรมตามมาตราการระยะที่ 1 ที่ยังมีการผ่อนผันอยู่ในปัจจุบัน แต่ต้องมีการควบคุม
3.ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามผู้กระทำผิดด้านการค้ามนุษย์ และขบวนการลักลอบนำพาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
4.เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก สตรี และการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จะต้องถูกดำเนินการทางวินัยและทางอาญาทันที
5.ให้การดำเนินการข้างต้นสอดคล้องกับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมโลก ตลอดจนมาตรฐานสากลด้านสิทธิแรงงานและหลักมนุษยธรรม เพื่อความเป็นธรรม เสมอภาค และมีมนุษยธรรม
6.ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 และให้รายงานผลให้คสช.ทราบอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
**เขมร20คนหนีจากไร่อ้อยโผล่ที่พิจิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้คสช.จะมีประกาศเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวออกมาถึง 2 ฉบับ แต่แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะชาวกัมพูชา ยังคงตื่นตระหนก เดินทางกลับประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยที่จ.พิจิตร ร.ต.ท.สันติ สืบคล้าย ร้อยเวรสภ.โพธิ์ประทับช้าง รับแจ้งมีแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา 20 คน เดินเท้าหลบหนีนายจ้างมาจากไร่อ้อย จ.กำแพงเพชร แล้วมาขอข้าวขอน้ำชาวบ้านกิน พร้อมทั้งขอร้องให้ช่วยโทรศัพท์แจ้งตำรวจมาจับ จึงนำกำลังไปควบคุมตัวมาทำประวัติ ซึ่งตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)พิษณุโลก จะส่งกลับเวลา 09.00 น. วันที่ 18 มิถุนายน ทางอ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
นายก้านตอง แรงงานชาวกัมพูชา กล่าวว่า พวกตนมาทำงานในประเทศไทยนานเกือบปีจนงานเก่าหมด นายหน้าจึงเรียกเก็บเงินคนละ 3,000 บาท จะพาไปทำงานบ่อเลี้ยงปลา แต่กลับให้ไปตัดอ้อย จึงไม่อยากทำ อีกทั้งมีข่าวว่าทหารและตำรวจจะกวาดล้าง โดยมีโทษถึงขั้นยิงเป้า ถ้าหลบหนีขณะจับกุมจะถูกยิงทิ้ง ญาติพี่น้องที่อยู่ในกัมพูชาจึงแตกตื่น โทรศัพท์มาตามให้กลับ ซึ่งตนเองและพวกก็หวาดกลัว จึงอยากกลับบ้านไปทำเอกสารให้ถูกต้อง และถ้ามีโอกาสก็จะกลับมาทำงานในไทยอีก เนื่องจากค่าแรงดี อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ และเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุด
**มท.ภ.2ประสานทหารเขมรช่วยอีกแรง
ที่ด่านถาวรช่องจอม-โอร์เสม็ด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ไม่ทราบข่าวการผ่อนผันของคสช. แต่ยืนยันว่าต้องการกลับมาทำงานในประเทศไทยอีก ซึ่งหากมีโอกาสจะทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1-16 มิถุนายน ชาวกัมพูชาเดินทางออกทางด่านผ่านแดนถาวรช่องจอม-โอร์เสม็ด กว่า 6,800 คน ซึ่งจากการสอบถามทราบว่าหมดสัญญาจ้าง จึงกลับบ้านเพื่อรอจนกว่าจะมีผู้ติดต่อให้กลับมาทำงานอีกครั้ง ขณะเดียวกันกองกำลังสุรนารี ได้ประสานหน่วยทหารภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา ให้ช่วยชี้แจงกับแรงงานกัมพูชาว่า คสช.ไม่มีนโยบายในเรื่องการกดดันและกวาดล้างแต่อย่างใด
นายสุทธา ธรรมอำนวยสุข นายอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาแรงงานกัมพูชาเดินทางออกทางจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก วันละกว่า 100 คน ซึ่งยอมรับว่ามีผลกระทบด้านกิจการประมงทะเล และขนส่งสินค้า
**บิ๊กหอการค้าตราดวอนผู้ว่าฯช่วยด่วน
ที่ศาลากลางจังหวัดตราด นายสุมิตร เขียวขจี ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวภายหลังยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ขอความเหลือแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานว่า จำเป็นต้องใช้แรงงานกัมพูชาในหลายภาคธุรกิจกว่า 30,000 คน โดยเฉพาะภาคการเกษตร ประมงทะเลและธุรกิจต่อเนื่อง ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม รีสอร์ท ซึ่งขณะนี้ขาดแคลนมาก
"ผลผลิตทางการเกษตร เช่น เงาะ จำเป็นต้องใช้แรงงานกัมพูชาหลายพันคน ไม่เช่นนั้นจะเน่าเสียหาย ธุรกิจก่อสร้างก็ต้องเร่งทำงานเพื่อเบิกจ่ายก่อนสิ้นปี ก็ได้รับผลกระทบส่งงานไม่ได้ รวมทั้งโรงงานแปรรูปอาหารทะเลด้วย"
นายสุมิตร กล่าวว่า โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหารที่อ.เกาะช้าง ก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งยังโชคดีที่เป็นช่วงโลว์ซีซั่น แต่ผู้ส่งออกสินค้าทางท่าเรือเดือดร้อนมาก ไม่สามารถส่งสินค้าได้ทันเวลา นอกจากนี้ยอดการส่งออกไปกัมพูชาระยะ 1 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนลดลงอย่างมีนัยยะ โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งจะตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป เพราะแต่ละปีมียอดส่งออกกว่า 30,000 ล้านบาท อาจจะได้รับผลกระทบได้
**เรือประมงจอดแล้ว-ชี้กระทบเป็นลูกโซ่
นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ล่าสุดแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา เดินทางกลับประเทศกว่า 1.6 แสนคนแล้ว และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักกับภาคการประมง เพราะเรือประมงใช้แรงงานต่างด้าวถึง 99% หยุดออกหาปลาแล้วกว่าร้อยละ 15 หากไม่ได้รับการแก้ไข เชื่อว่าธุรกิจประมงต้องหยุดชะงัก และกระทบในวงกว้างแน่นอน
การแก้ปัญหาโดยด่วนขณะนี้ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการประมง และธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานต่างด้าวมาทำความเข้าใจ โดยทำประวัติและจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับแรงงานต่างด้าวว่าจะไม่ถูกจับกุม
นายภูเบศ กล่าวว่า ในฐานะนายกสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี ขณะนี้เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว หลังจากชาวกัมพูชากว่า 500 คนเดินทางกลับ ทำให้เรือประมงส่วนใหญ่ต้องจอดเทียบท่า หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์ทะเลขาดตลาด ราคาแพงขึ้น อุตสาหกรรมต่อเนื่องขาดแคลนวัตถุดิบ กระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เพราะประมงถือเป็นธุรกิจหลักของจ.ปัตตานี ซึ่งขณะนี้ได้ประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เร่งหามาตรการรับมือแล้ว
**นักวิชาการแนะให้นิรโทษทั้งสองฝ่าย
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ได้วางแนวทางแก้ปัญหาไว้ 2 ส่วน คือ เร่งประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ที่ทำงานแบบมาเช้ามาเย็นกลับ มาทำงานในภาคเกษตรกรรมต่อ ส่วนภาคก่อสร้างที่ต้องการให้เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย จะต้องมีหนังสือเดินทาง ซึ่งปลายเดือนนี้จะเปิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จหรือวันสตอปเซอร์วิสที่ 3 ด่าน คือ ที่อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว จ.จันทบุรี และจ.ตราด
นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า อยากเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมนายจ้างและแรงงานผิดกฎหมาย เพื่อให้มาลงทะเบียนภายใน 2-3 เดือน จากนั้นสนับสนุนงบประมาณวิจัยให้สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ศึกษาอาชีพที่ขาดแคลนแรงงาน และระยะเวลาการทำงาน เช่น อาจต่ออายุใบอนุญาตทุกปี หากเกินความต้องการจึงผลักดันกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภาคก่อสร้าง ซึ่งมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายประมาณ 60,000 คน เพราะทำให้ไม่ต้องกลับประเทศ เนื่องจากการกลับเข้ามาใหม่ ต้องเสียค่านายหน้าคนละกว่า 10,000 บาท
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าว่า วันที่ 18 มิถุนายน จะประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ประกอบการ หัวหน้าส่วนราชการภาคตะวันออกที่จ.ชลบุรี เพื่อกำหนดมาตรการสร้างความเข้าใจกับแรงงานต่างด้าว โดยสั่งเจ้าหน้าที่เร่งทำใบปลิวเป็นภาษากัมพูชา เมียนมาร์ และลาว มอบให้ส่วนราชการและผู้ประกอบการ นำไปแจกจ่ายให้แรงงานของตนเอง จะได้เข้าใจ ไม่หลงเชื่อข่าวลือ
หลังจากปรากฏข่าวลือว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มีนโยบายกวาดล้างแรงงานต่างด้าว และข่าวลือจากฝั่งกัมพูชาว่า ทหารไทยไล่ล่าและสังหารแรงงานต่างด้าว จนแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะชาวกัมพูชาตื่นตกใจ พากันเดินทางกลับประเทศแล้วกว่า 1 แสนคน ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน กระทบต่อกิจการและเศรษฐกิจโดยรวมของไทย จนคสช.ต้องมีประกาศฉบับที่ 67/2557 ลงวันที่ 16 มิถุนายน เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าว ยืนยันว่าคสช.ไม่มีนโยบายเร่งรัดจับกุมกวาดล้างแรงงานต่างด้าวนั้น
**คสช.ผ่อนผันนายจ้าง-ทำบัญชีต่างด้าว
เมื่อเวลา 13.50 น. วานนี้(17 มิ.ย.) คสช.ออกประกาศฉบับที่ 68/2557 เรื่องมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ระยะที่ 1 เป็นการชั่วคราว ดังนี้
ตามที่ปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ได้ทวีความรุนแรงและยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน เพื่อให้การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพ และมีการบูรณาการเคารพต่อหลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชน คสช.จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
1.ให้ผู้ประกอบการ นายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองในการทำงาน และไม่ถูกบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ นายจ้างในอุตสาหกรรมประมงและกิจการต่อเนื่อง โดยในช่วงนี้คสช.มีมาตราการผ่อนผันให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง จัดทำบัญชีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในความดูแลให้ครบถ้วน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดระเบียบในห้วงต่อไป
2.ให้ผู้ประกอบการ นายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้เพื่อทางการไทยสามารถให้การคุ้มครองดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรมตามมาตราการระยะที่ 1 ที่ยังมีการผ่อนผันอยู่ในปัจจุบัน แต่ต้องมีการควบคุม
3.ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามผู้กระทำผิดด้านการค้ามนุษย์ และขบวนการลักลอบนำพาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
4.เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก สตรี และการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จะต้องถูกดำเนินการทางวินัยและทางอาญาทันที
5.ให้การดำเนินการข้างต้นสอดคล้องกับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมโลก ตลอดจนมาตรฐานสากลด้านสิทธิแรงงานและหลักมนุษยธรรม เพื่อความเป็นธรรม เสมอภาค และมีมนุษยธรรม
6.ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 และให้รายงานผลให้คสช.ทราบอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
**เขมร20คนหนีจากไร่อ้อยโผล่ที่พิจิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้คสช.จะมีประกาศเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวออกมาถึง 2 ฉบับ แต่แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะชาวกัมพูชา ยังคงตื่นตระหนก เดินทางกลับประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยที่จ.พิจิตร ร.ต.ท.สันติ สืบคล้าย ร้อยเวรสภ.โพธิ์ประทับช้าง รับแจ้งมีแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา 20 คน เดินเท้าหลบหนีนายจ้างมาจากไร่อ้อย จ.กำแพงเพชร แล้วมาขอข้าวขอน้ำชาวบ้านกิน พร้อมทั้งขอร้องให้ช่วยโทรศัพท์แจ้งตำรวจมาจับ จึงนำกำลังไปควบคุมตัวมาทำประวัติ ซึ่งตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)พิษณุโลก จะส่งกลับเวลา 09.00 น. วันที่ 18 มิถุนายน ทางอ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
นายก้านตอง แรงงานชาวกัมพูชา กล่าวว่า พวกตนมาทำงานในประเทศไทยนานเกือบปีจนงานเก่าหมด นายหน้าจึงเรียกเก็บเงินคนละ 3,000 บาท จะพาไปทำงานบ่อเลี้ยงปลา แต่กลับให้ไปตัดอ้อย จึงไม่อยากทำ อีกทั้งมีข่าวว่าทหารและตำรวจจะกวาดล้าง โดยมีโทษถึงขั้นยิงเป้า ถ้าหลบหนีขณะจับกุมจะถูกยิงทิ้ง ญาติพี่น้องที่อยู่ในกัมพูชาจึงแตกตื่น โทรศัพท์มาตามให้กลับ ซึ่งตนเองและพวกก็หวาดกลัว จึงอยากกลับบ้านไปทำเอกสารให้ถูกต้อง และถ้ามีโอกาสก็จะกลับมาทำงานในไทยอีก เนื่องจากค่าแรงดี อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ และเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุด
**มท.ภ.2ประสานทหารเขมรช่วยอีกแรง
ที่ด่านถาวรช่องจอม-โอร์เสม็ด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ไม่ทราบข่าวการผ่อนผันของคสช. แต่ยืนยันว่าต้องการกลับมาทำงานในประเทศไทยอีก ซึ่งหากมีโอกาสจะทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1-16 มิถุนายน ชาวกัมพูชาเดินทางออกทางด่านผ่านแดนถาวรช่องจอม-โอร์เสม็ด กว่า 6,800 คน ซึ่งจากการสอบถามทราบว่าหมดสัญญาจ้าง จึงกลับบ้านเพื่อรอจนกว่าจะมีผู้ติดต่อให้กลับมาทำงานอีกครั้ง ขณะเดียวกันกองกำลังสุรนารี ได้ประสานหน่วยทหารภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา ให้ช่วยชี้แจงกับแรงงานกัมพูชาว่า คสช.ไม่มีนโยบายในเรื่องการกดดันและกวาดล้างแต่อย่างใด
นายสุทธา ธรรมอำนวยสุข นายอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาแรงงานกัมพูชาเดินทางออกทางจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก วันละกว่า 100 คน ซึ่งยอมรับว่ามีผลกระทบด้านกิจการประมงทะเล และขนส่งสินค้า
**บิ๊กหอการค้าตราดวอนผู้ว่าฯช่วยด่วน
ที่ศาลากลางจังหวัดตราด นายสุมิตร เขียวขจี ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวภายหลังยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ขอความเหลือแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานว่า จำเป็นต้องใช้แรงงานกัมพูชาในหลายภาคธุรกิจกว่า 30,000 คน โดยเฉพาะภาคการเกษตร ประมงทะเลและธุรกิจต่อเนื่อง ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม รีสอร์ท ซึ่งขณะนี้ขาดแคลนมาก
"ผลผลิตทางการเกษตร เช่น เงาะ จำเป็นต้องใช้แรงงานกัมพูชาหลายพันคน ไม่เช่นนั้นจะเน่าเสียหาย ธุรกิจก่อสร้างก็ต้องเร่งทำงานเพื่อเบิกจ่ายก่อนสิ้นปี ก็ได้รับผลกระทบส่งงานไม่ได้ รวมทั้งโรงงานแปรรูปอาหารทะเลด้วย"
นายสุมิตร กล่าวว่า โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหารที่อ.เกาะช้าง ก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งยังโชคดีที่เป็นช่วงโลว์ซีซั่น แต่ผู้ส่งออกสินค้าทางท่าเรือเดือดร้อนมาก ไม่สามารถส่งสินค้าได้ทันเวลา นอกจากนี้ยอดการส่งออกไปกัมพูชาระยะ 1 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนลดลงอย่างมีนัยยะ โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งจะตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป เพราะแต่ละปีมียอดส่งออกกว่า 30,000 ล้านบาท อาจจะได้รับผลกระทบได้
**เรือประมงจอดแล้ว-ชี้กระทบเป็นลูกโซ่
นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ล่าสุดแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา เดินทางกลับประเทศกว่า 1.6 แสนคนแล้ว และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักกับภาคการประมง เพราะเรือประมงใช้แรงงานต่างด้าวถึง 99% หยุดออกหาปลาแล้วกว่าร้อยละ 15 หากไม่ได้รับการแก้ไข เชื่อว่าธุรกิจประมงต้องหยุดชะงัก และกระทบในวงกว้างแน่นอน
การแก้ปัญหาโดยด่วนขณะนี้ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการประมง และธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานต่างด้าวมาทำความเข้าใจ โดยทำประวัติและจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับแรงงานต่างด้าวว่าจะไม่ถูกจับกุม
นายภูเบศ กล่าวว่า ในฐานะนายกสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี ขณะนี้เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว หลังจากชาวกัมพูชากว่า 500 คนเดินทางกลับ ทำให้เรือประมงส่วนใหญ่ต้องจอดเทียบท่า หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์ทะเลขาดตลาด ราคาแพงขึ้น อุตสาหกรรมต่อเนื่องขาดแคลนวัตถุดิบ กระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เพราะประมงถือเป็นธุรกิจหลักของจ.ปัตตานี ซึ่งขณะนี้ได้ประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เร่งหามาตรการรับมือแล้ว
**นักวิชาการแนะให้นิรโทษทั้งสองฝ่าย
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ได้วางแนวทางแก้ปัญหาไว้ 2 ส่วน คือ เร่งประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ที่ทำงานแบบมาเช้ามาเย็นกลับ มาทำงานในภาคเกษตรกรรมต่อ ส่วนภาคก่อสร้างที่ต้องการให้เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย จะต้องมีหนังสือเดินทาง ซึ่งปลายเดือนนี้จะเปิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จหรือวันสตอปเซอร์วิสที่ 3 ด่าน คือ ที่อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว จ.จันทบุรี และจ.ตราด
นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า อยากเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมนายจ้างและแรงงานผิดกฎหมาย เพื่อให้มาลงทะเบียนภายใน 2-3 เดือน จากนั้นสนับสนุนงบประมาณวิจัยให้สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ศึกษาอาชีพที่ขาดแคลนแรงงาน และระยะเวลาการทำงาน เช่น อาจต่ออายุใบอนุญาตทุกปี หากเกินความต้องการจึงผลักดันกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภาคก่อสร้าง ซึ่งมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายประมาณ 60,000 คน เพราะทำให้ไม่ต้องกลับประเทศ เนื่องจากการกลับเข้ามาใหม่ ต้องเสียค่านายหน้าคนละกว่า 10,000 บาท
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าว่า วันที่ 18 มิถุนายน จะประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ประกอบการ หัวหน้าส่วนราชการภาคตะวันออกที่จ.ชลบุรี เพื่อกำหนดมาตรการสร้างความเข้าใจกับแรงงานต่างด้าว โดยสั่งเจ้าหน้าที่เร่งทำใบปลิวเป็นภาษากัมพูชา เมียนมาร์ และลาว มอบให้ส่วนราชการและผู้ประกอบการ นำไปแจกจ่ายให้แรงงานของตนเอง จะได้เข้าใจ ไม่หลงเชื่อข่าวลือ