นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวถึงปฏิทินการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ปี 2558 ว่า แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นตอนวางแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 –5 มิ.ย. เป็นการเสนอให้หัวหน้า คสช. เห็นชอบปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายปี 58 จากนั้นวันที่ 30 พ.ค. –9 มิ.ย. ทางสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันพิจารณากรอบวงเงิน และโครงสร้างงบประมาณ รวมทั้งเป็นระยะเวลาเดียวกันที่สำนักงบประมาณกับ สศช. ร่วมกันพิจารณาจัดทำเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2558 เพื่อเสนอต่อคสช. ซึ่งตามกำหนดจะเสนอในวันที่ 12 มิ.ย. แต่เนื่องจากมีการพิจารณาแล้วเสร็จก่อนกำหนด ทางสำนักงบประมาณและสศช. จึงเสนอต่อ คสช.ในวันที่ 10 มิ.ย. เลย และ คสช.ได้เห็นชอบเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 แล้ว
2. ระหว่างวันที่ 13–27 มิ.ย. ส่วนราชการจะต้องจัดทำรายละเอียด ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย เสนอต่อสำนักงบฯ ซึ่งก่อนจะเสนอต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าฝ่ายที่กำกับดูแลแต่ละกระทรวง จากนั้นวันที่ 30 มิ.ย. –11 ก.ค. จะเป็นขั้นตอนที่สำนักงบฯ จะพิจารณารายละเอียด เพื่อนำเสนอให้คสช.พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 15 ก.ค. หลังจากนั้น จะพิมพ์เอกสาร และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 ให้ คสช.พิจารณาเห็นชอบ ในวันที่ 29 ก.ค. แล้วนำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ต่อไป
3. เมื่อ คสช.ได้เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ แล้ว จะเป็นหน้าที่ของเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะส่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อฝ่ายนิติบัญญัติ โดยตามปฏิทินจะมีการประชุมในวาระ 1 ในวันที่ 6 ส.ค. เป็นขั้นรับหลักการ พร้อมกับมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบปี 58 ขึ้นมาพิจารณา ส่วนในวันที่ 7 ส.ค. –5 ก.ย. จะเป็นการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ เมื่อพิจารณาเสร็จ จะทำข้อเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อเข้าสู่วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 9 ก.ย. ซึ่งตามขั้นตอนปกติจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน โดยหลังจากได้รับความเห็นชอบในวาระ 3 แล้ว ทางฝ่ายนิติบัญญัติ จะส่งกลับมาที่สำนักเลขาธิการครม. เพื่อนำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อบังคับใช้ตั้ง แต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้รายงานเพื่อให้ คสช.เห็นชอบในเรื่องกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 วงเงิน 2.575 ล้านล้านบาท เพิ่มจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 2 โดยมีรายได้ในงบประมาณปี 2558 จำนวน 2.325 ล้านล้านบาท และมีการกำหนดงบประมาณขาดดุลจำนวน 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่บนพื้นฐานที่จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 6.3
ผอ.สำนักงบประมาณ กล่าวว่า ขณะเดียวกัน คสช.เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 โดยมอบให้สำนักงบประมาณ นำไปปรับปรุง ตามข้อสังเกตของที่ประชุม คสช. บางประการ
ทั้งนี้ สำหรับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 กำหนดไว้ 8 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1. การฟื้นฟูความเชื่อมั่น และเร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ 2. ความมั่นคงของรัฐ 3. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
4. การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต 5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 7. การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ 8. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการใช้งบประมาณในปี 2557 ในส่วนของรายจ่ายลงทุนทั้งประเทศมีการเบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 36 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ในการเบิกจ่ายตามมติครม. ที่กำหนดให้เบิกจ่ายร้อยละ 60 จึงมีความจำเป็นในการเสนอมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในกานใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 57 จำนวน 5 แนวทาง ดังนี้
1. ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ เห็นว่ายังมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณปี 58 และมีความพร้อมจะก่อหนี้ผูกพันภายในวันที่ 30 มิ.ย. จึงให้ส่วนราชการเหล่านั้นเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้
2. หากดำเนินการก่อหนี้ผูกพันไม่ทันภายในวันที่ 30 มิ.ย. ให้ส่วนราชการเหล่านั้นนำเสนอต่อปลัดกระทรวงเพื่อนำเสนอต่อหัวหน้าฝ่ายที่กำกับดูแลกระทรวง ทบวง กรมเหล่านั้น หรือหัวหน้าคสช. สำหรับกรณีที่เป็นหน่วยขึ้นตรงกับหัวหน้าคสช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อให้ทันภายในเดือนส.ค.
3. กรณีไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในวันที่ 30 มิ.ย. แล้วเป็นกรณีที่หมดความจำเป็นหรือไม่สามารถดำเนินตามแผนปฏิบัติงานได้ หรือเป็นภารกิจที่ซ้ำซ้อน ให้ส่วนราชการเหล่านั้นพิจารณาปรับแผน โดยโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณเหล่านั้นไปดำเนินการในแผนงานที่มีความพร้อม สามารถเริ่มดำเนินการและก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 31 ส.ค.
4. กรณีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย ที่ได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ไปแล้ว และยังมีงบประมาณเหลือจ่าย ขอให้ทุกส่วนราชการนำงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อคืนสำนักงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายในเหตุผลความจำเป็นอื่นๆ ต่อไป
5.กรณีส่วนราชการที่มีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่ยังไม่มีข้อผูกพันให้ส่วนราชการเหล่านั้นพิจารณาทบทวนเหตุผลความจำเป็น หากยังมีความจำเป็นอยู่ให้เร่งทำข้อผูกพันหรือเบิกจ่ายโดยเร็ว
1. ขั้นตอนวางแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 –5 มิ.ย. เป็นการเสนอให้หัวหน้า คสช. เห็นชอบปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายปี 58 จากนั้นวันที่ 30 พ.ค. –9 มิ.ย. ทางสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันพิจารณากรอบวงเงิน และโครงสร้างงบประมาณ รวมทั้งเป็นระยะเวลาเดียวกันที่สำนักงบประมาณกับ สศช. ร่วมกันพิจารณาจัดทำเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2558 เพื่อเสนอต่อคสช. ซึ่งตามกำหนดจะเสนอในวันที่ 12 มิ.ย. แต่เนื่องจากมีการพิจารณาแล้วเสร็จก่อนกำหนด ทางสำนักงบประมาณและสศช. จึงเสนอต่อ คสช.ในวันที่ 10 มิ.ย. เลย และ คสช.ได้เห็นชอบเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 แล้ว
2. ระหว่างวันที่ 13–27 มิ.ย. ส่วนราชการจะต้องจัดทำรายละเอียด ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย เสนอต่อสำนักงบฯ ซึ่งก่อนจะเสนอต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าฝ่ายที่กำกับดูแลแต่ละกระทรวง จากนั้นวันที่ 30 มิ.ย. –11 ก.ค. จะเป็นขั้นตอนที่สำนักงบฯ จะพิจารณารายละเอียด เพื่อนำเสนอให้คสช.พิจารณาเห็นชอบในวันที่ 15 ก.ค. หลังจากนั้น จะพิมพ์เอกสาร และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 ให้ คสช.พิจารณาเห็นชอบ ในวันที่ 29 ก.ค. แล้วนำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ต่อไป
3. เมื่อ คสช.ได้เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ แล้ว จะเป็นหน้าที่ของเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะส่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อฝ่ายนิติบัญญัติ โดยตามปฏิทินจะมีการประชุมในวาระ 1 ในวันที่ 6 ส.ค. เป็นขั้นรับหลักการ พร้อมกับมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบปี 58 ขึ้นมาพิจารณา ส่วนในวันที่ 7 ส.ค. –5 ก.ย. จะเป็นการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ เมื่อพิจารณาเสร็จ จะทำข้อเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อเข้าสู่วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 9 ก.ย. ซึ่งตามขั้นตอนปกติจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน โดยหลังจากได้รับความเห็นชอบในวาระ 3 แล้ว ทางฝ่ายนิติบัญญัติ จะส่งกลับมาที่สำนักเลขาธิการครม. เพื่อนำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อบังคับใช้ตั้ง แต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้รายงานเพื่อให้ คสช.เห็นชอบในเรื่องกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 วงเงิน 2.575 ล้านล้านบาท เพิ่มจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 2 โดยมีรายได้ในงบประมาณปี 2558 จำนวน 2.325 ล้านล้านบาท และมีการกำหนดงบประมาณขาดดุลจำนวน 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่บนพื้นฐานที่จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 6.3
ผอ.สำนักงบประมาณ กล่าวว่า ขณะเดียวกัน คสช.เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 โดยมอบให้สำนักงบประมาณ นำไปปรับปรุง ตามข้อสังเกตของที่ประชุม คสช. บางประการ
ทั้งนี้ สำหรับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58 กำหนดไว้ 8 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1. การฟื้นฟูความเชื่อมั่น และเร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ 2. ความมั่นคงของรัฐ 3. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
4. การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต 5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 7. การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ 8. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการใช้งบประมาณในปี 2557 ในส่วนของรายจ่ายลงทุนทั้งประเทศมีการเบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 36 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ในการเบิกจ่ายตามมติครม. ที่กำหนดให้เบิกจ่ายร้อยละ 60 จึงมีความจำเป็นในการเสนอมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในกานใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 57 จำนวน 5 แนวทาง ดังนี้
1. ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ เห็นว่ายังมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณปี 58 และมีความพร้อมจะก่อหนี้ผูกพันภายในวันที่ 30 มิ.ย. จึงให้ส่วนราชการเหล่านั้นเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้
2. หากดำเนินการก่อหนี้ผูกพันไม่ทันภายในวันที่ 30 มิ.ย. ให้ส่วนราชการเหล่านั้นนำเสนอต่อปลัดกระทรวงเพื่อนำเสนอต่อหัวหน้าฝ่ายที่กำกับดูแลกระทรวง ทบวง กรมเหล่านั้น หรือหัวหน้าคสช. สำหรับกรณีที่เป็นหน่วยขึ้นตรงกับหัวหน้าคสช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อให้ทันภายในเดือนส.ค.
3. กรณีไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในวันที่ 30 มิ.ย. แล้วเป็นกรณีที่หมดความจำเป็นหรือไม่สามารถดำเนินตามแผนปฏิบัติงานได้ หรือเป็นภารกิจที่ซ้ำซ้อน ให้ส่วนราชการเหล่านั้นพิจารณาปรับแผน โดยโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณเหล่านั้นไปดำเนินการในแผนงานที่มีความพร้อม สามารถเริ่มดำเนินการและก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 31 ส.ค.
4. กรณีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย ที่ได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ไปแล้ว และยังมีงบประมาณเหลือจ่าย ขอให้ทุกส่วนราชการนำงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อคืนสำนักงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายในเหตุผลความจำเป็นอื่นๆ ต่อไป
5.กรณีส่วนราชการที่มีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่ยังไม่มีข้อผูกพันให้ส่วนราชการเหล่านั้นพิจารณาทบทวนเหตุผลความจำเป็น หากยังมีความจำเป็นอยู่ให้เร่งทำข้อผูกพันหรือเบิกจ่ายโดยเร็ว