ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากการสำรวจสถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2556 พบว่า มีผู้สูบบุหรี่ 10.77 ล้านคน ลดลงจากปี 2554 ซึ่งมีผู้สูบบุหรี่ถึง 11.5 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ มีผู้สูบบุหรี่ที่ติดสารนิโคตินถึง 6 ล้านคน กล่าวคือ รู้สึกอยากบุหรี่ภายใน 30 นาที หลังจากตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งกลุ่มนี้ควรได้รับคำปรึกษาเลิกบุหรี่ ควบคู่กับการให้ยาเพื่อเลิกบุหรี่ เนื่องจากผู้ที่เสพติดบุหรี่ขั้นรุนแรง หากไม่ได้รับนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดอาการถอนนิโคติน (nicotine withdrawal symptoms)ซึ่งมีอาการ เช่น หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ ฉุนเฉียว หิวบุหรี่ ไม่มีสมาธิ ฯลฯ อาการถอนนิโคติน จะเกิดขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมงแรก หลังจากหยุดสูบบุหรี่ และอาการจะเป็นมากในช่วง 2-3 วัน และจะค่อยๆ ลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์
ปัจจุบันแนวทางการเลิกบุหรี่ มีหลายวิธี ทั้งการให้คำปรึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบำบัดทางจิต การใช้ยานิโคตินทดแทน และการใช้ยาทางจิตเวช
อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่ประมาณร้อยละ 60 หันกลับมาสูบบุหรี่ใหม่จากหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ การเข้าไม่ถึงการรักษาที่ต้องใช้ยาเพื่อเลิกบุหรี่ เนื่องจากยามีราคาแพง แต่ปัจจุบันมีการวิจัยค้นพบสมุนไพรหญ้าดอกขาว หรือ หญ้าหมอน้อย ช่วยลดปริมาณการสูบบุหรี่ และเลิกบุหรี่ได้จริง และมีราคาไม่แพง ซึ่งสมุนไพรหญ้าดอกขาว ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ผู้ป่วยสามารถขอรับบริการช่วยเลิกบุหรี่ และขอรับสมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่ได้ที่โรงพยาบาลในชุดสิทธิประโยชน์โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยผู้ป่วยบัตรทองขอรับยาสมุนไพรได้ฟรี
ดร.ดลรวี ลีลารุ่งระยับ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจาก ศจย. กล่าวถึง ผลการวิจัยที่เคยเผยแพร่ไปแล้วว่า ได้ทำการทดลองใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวในผู้สูบบุหรี่ 50 ราย ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นเวลา 2 เดือน พบว่า สามารถลดจำนวนการสูบบุหรี่ลงได้มากถึงร้อยละ 62.7 และหากใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวติดต่อ 6 เดือน จะช่วยลดการสูบบุหรี่ได้ถึงร้อยละ 73.3 โดยสารในหญ้าดอกขาว ทำให้ประสาทรับรสบริเวณลิ้นเกิดอาการชา ไม่รู้สึกอยากบุหรี่ รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่ เมื่อสูบบุหรี่แล้วรู้สึกอยากอาเจียน แต่ก็มีผลข้างเคียง เช่น อาการคอแห้ง ปากแห้ง ฯลฯ และอาจใช้ในผู้มีประวัติภาวะโรคหัวใจและโรคไตไม่ได้
"ล่าสุดคณะวิจัยได้รับทุนสนับสนุนร่วมกันจาก ศจย., สสส. และ สวทช. ทดสอบหญ้าดอกขาวในรูปแบบสกัดเป็นลูกอม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ โดยนำไปเปรียบเทียบกับการรับประทานแบบชาสมุนไพร ผลการศึกษาพบว่า การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบเม็ดจากสารสกัดแห้ง สามารถช่วยทำให้กลุ่มคนสูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้เร็วกว่า สมุนไพรแบบชงชาทั่วไป โดยกลุ่มที่ใช้ลูกอมสมุนไพร สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ลง ร้อยละ 50 ภายใน 3-11 วัน ส่วนกลุ่มที่ใช้ชาสมุนไพร ใช้เวลา 8-14 วัน ช่วยให้ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่เข้าถึงการรักษาได้มากขึ้นเพราะรับประทานง่ายและราคาถูกกว่าสารทดแทนนิโคตินจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นวิธีหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดการเลิกสูบบุหรี่ขึ้นได้" ดร.ดลรวี กล่าว
ปัจจุบันแนวทางการเลิกบุหรี่ มีหลายวิธี ทั้งการให้คำปรึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบำบัดทางจิต การใช้ยานิโคตินทดแทน และการใช้ยาทางจิตเวช
อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่ประมาณร้อยละ 60 หันกลับมาสูบบุหรี่ใหม่จากหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ การเข้าไม่ถึงการรักษาที่ต้องใช้ยาเพื่อเลิกบุหรี่ เนื่องจากยามีราคาแพง แต่ปัจจุบันมีการวิจัยค้นพบสมุนไพรหญ้าดอกขาว หรือ หญ้าหมอน้อย ช่วยลดปริมาณการสูบบุหรี่ และเลิกบุหรี่ได้จริง และมีราคาไม่แพง ซึ่งสมุนไพรหญ้าดอกขาว ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ผู้ป่วยสามารถขอรับบริการช่วยเลิกบุหรี่ และขอรับสมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่ได้ที่โรงพยาบาลในชุดสิทธิประโยชน์โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยผู้ป่วยบัตรทองขอรับยาสมุนไพรได้ฟรี
ดร.ดลรวี ลีลารุ่งระยับ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจาก ศจย. กล่าวถึง ผลการวิจัยที่เคยเผยแพร่ไปแล้วว่า ได้ทำการทดลองใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวในผู้สูบบุหรี่ 50 ราย ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นเวลา 2 เดือน พบว่า สามารถลดจำนวนการสูบบุหรี่ลงได้มากถึงร้อยละ 62.7 และหากใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวติดต่อ 6 เดือน จะช่วยลดการสูบบุหรี่ได้ถึงร้อยละ 73.3 โดยสารในหญ้าดอกขาว ทำให้ประสาทรับรสบริเวณลิ้นเกิดอาการชา ไม่รู้สึกอยากบุหรี่ รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่ เมื่อสูบบุหรี่แล้วรู้สึกอยากอาเจียน แต่ก็มีผลข้างเคียง เช่น อาการคอแห้ง ปากแห้ง ฯลฯ และอาจใช้ในผู้มีประวัติภาวะโรคหัวใจและโรคไตไม่ได้
"ล่าสุดคณะวิจัยได้รับทุนสนับสนุนร่วมกันจาก ศจย., สสส. และ สวทช. ทดสอบหญ้าดอกขาวในรูปแบบสกัดเป็นลูกอม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ โดยนำไปเปรียบเทียบกับการรับประทานแบบชาสมุนไพร ผลการศึกษาพบว่า การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบเม็ดจากสารสกัดแห้ง สามารถช่วยทำให้กลุ่มคนสูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้เร็วกว่า สมุนไพรแบบชงชาทั่วไป โดยกลุ่มที่ใช้ลูกอมสมุนไพร สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ลง ร้อยละ 50 ภายใน 3-11 วัน ส่วนกลุ่มที่ใช้ชาสมุนไพร ใช้เวลา 8-14 วัน ช่วยให้ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่เข้าถึงการรักษาได้มากขึ้นเพราะรับประทานง่ายและราคาถูกกว่าสารทดแทนนิโคตินจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นวิธีหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดการเลิกสูบบุหรี่ขึ้นได้" ดร.ดลรวี กล่าว