นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน หลังจากที่คสช. ได้เข้าบริหารประเทศว่า ช่วงที่ผ่านมา คสช. มีการจัดการกับขบวนการหมิ่นสถาบันฯ และจาบจ้วงเบื้องสูง ทำให้คนไทยมีความพอใจกับการเอาจริงเอาจังกับเรื่องดังกล่าว และหวังว่า คสช. จะได้ดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการหมิ่นสถาบันฯ อย่างเด็ดขาด เพื่อมิให้พฤติกรรมเช่นนี้หวนกลับมาในสังคมไทยอีก
และอยากให้ทำชัดเจนคือ การจัดการกับกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรง ซ่องสุมกำลังและอาวุธในการทำร้ายประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานของ คสช. ในเพียงระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพและสามารถจับกุมกรณีดังกล่าวได้มากกว่าการทำงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหลายเท่าตัว และก็เป็นหลักฐานชั้นดีว่า ตั้งแต่ปี 2552 นั้น มีการจัดการในเรื่องเหล่านี้อย่างเป็นระบบ มีการซ่องสุม ฝึกอาวุธ และจัดทำแผนปฏิบัติการ เช่นกรณี ขอนแก่นโมเดล ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดีที่กองทัพได้ติดตาม และสามารถจัดการเรื่องดังกล่าวได้ ก่อนที่จะมีการปฏิบัติการ ซึ่งตนเห็นว่า ความเห็นต่างทางการเมืองนั้นเป็นเรื่องปกติ และเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่การใช้ความรุนแรงจัดการผู้เห็นต่างนั้น ต้องยุติพฤติกรรมข่มขู่ คุกคาม การใช้อำนาจนอกกฎหมาย ควรจะถูกจัดการให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในครั้งนี้
ส่วนประเด็นการทุจริต คอร์รัปชัน ก็เป็นเรื่องสำคัญที่พี่น้องประชาชนอยากจะเห็นผู้ที่คดโกงเงินภาษีประชาชน ปล่อยปละละเลยให้มีการทำร้ายชาวนา ถูกลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งจากตัวอย่างที่ชัดเจนในโครงการรับจำนำข้าว คสช.ก็ควรจะได้ขยายผลในสิ่งที่ ป.ป.ช.ได้มีการชี้มูล ความผิด ไม่ว่าจะเป็นการขายข้าว จีทูจี ลวงโลก การปั้นตัวเลขสต็อกลม การลักลอบนำข้าวคุณภาพดีออกไปจำหน่าย และรวมถึงการสวมสิทธิ์ และการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาร่วมโครงการ ซึ่งประการนี้ตนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการเอาจริงเอาจัง เพราะเป็นประเด็นที่พี่น้องประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ และเป็นประเด็นที่พี่น้องประชาชนเกิดความรู้สึกเสื่อมศรัทธานักการเมือง รวมทั้งควรทำความชัดเจนในกรณีคดีความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคดีที่มีโทษทางอาญา คดีที่เกิดจากการทุจริต คอร์รัปชัน หลายคดียังอยู่ในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอัยการ หรือศาลยุติธรรม ซึ่งหากทุกคดีมีการผลักดันให้มีผลตัดสินที่ชัดเจน ก็จะสามารถสร้างความสบายให้กับประชาชนว่า คนไทยทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
ส่วนกรณีการแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนนั้น ตนสนับสนุนการตรึงราคาแก๊สหุงต้ม และน้ำมันดีเซล ของคสช. มากไปกว่านั้นตนเห็นว่าคสช. ควรใช้โอกาสนี้ในการทำความกระจ่างในแง่ของต้นทุนที่แท้จริงของราคาพลังงาน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถผลิตได้ภายในประเทศอย่างเพียงพอต่อการบริโภคในภาคครัวเรือน ซึ่งควรเป็นภาคที่ได้รับการสนับสนุนให้ใช้แก๊สในราคาถูก ต่างจากภาคอุตสาหกรรม และปิโตรเคมี ซึ่งได้กำไรมหาศาลจากการใช้แก๊ส กลับมีโอกาสในการใช้ก๊าซในราคาถูกกว่าประชาชนมาก รวมถึงการดูแลระดับราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะกรณีการกำหนดราคาข้าวในฤดูกาลปัจจุบัน ว่าจะเป็นการใช้นโยบายในรูปแบบใด เนื่องจากในขณะนี้ชาวนาถูกกดราคาข้าวลงเหลือราคาตันละ 3,000 –4,000 บาท จากการเทขายข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา
ดังนั้น คสช. ควรแยกการบริหารข้าวในสต็อกเก่า กับข้าวในฤดูกาลใหม่ออกจากกัน เพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นสามารถทำได้โดยที่ชาวนาจะขายข้าวได้ในราคาที่คุ้มทุน เช่นเดียวกับพืชเกษตรชนิดอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การกำหนดพื้นที่เพาะปลูก และการขยายตลาดของไทยในเวทีโลก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในระยะต่อไป
ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ตนเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องทุ่มงบประมาณในการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม ขอให้ คสช. นั้นได้ใช้การพิจารณา การจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ โดยใช้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และความคุ้มค่าเป็นตัวตั้ง อย่าใช้งบประมาณเป็นตัวตั้งเหมือนรัฐบาลชุดที่ผ่านมา รวมทั้งในขณะนี้ไม่มีการตรวจสอบจากสภา และไม่มีการตรวจสอบโดยกฎหมายการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ง่าย คสช.จึงควรจะมีการคงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของบุคคล และชุมชน ในการคุ้มครอง และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้โครงการต่างๆนั้น ก่อนการลงทุนจะต้องมีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งก็จะทำให้สามารถป้องกันการดำเนินโครงการที่ผิดพลาด ส่งผลกระทบด้านลบต่อประเทศ และสามารถป้องกันการทุจริต คอร์รัปชันได้ในระดับหนึ่ง
และอยากให้ทำชัดเจนคือ การจัดการกับกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรง ซ่องสุมกำลังและอาวุธในการทำร้ายประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานของ คสช. ในเพียงระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพและสามารถจับกุมกรณีดังกล่าวได้มากกว่าการทำงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหลายเท่าตัว และก็เป็นหลักฐานชั้นดีว่า ตั้งแต่ปี 2552 นั้น มีการจัดการในเรื่องเหล่านี้อย่างเป็นระบบ มีการซ่องสุม ฝึกอาวุธ และจัดทำแผนปฏิบัติการ เช่นกรณี ขอนแก่นโมเดล ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดีที่กองทัพได้ติดตาม และสามารถจัดการเรื่องดังกล่าวได้ ก่อนที่จะมีการปฏิบัติการ ซึ่งตนเห็นว่า ความเห็นต่างทางการเมืองนั้นเป็นเรื่องปกติ และเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่การใช้ความรุนแรงจัดการผู้เห็นต่างนั้น ต้องยุติพฤติกรรมข่มขู่ คุกคาม การใช้อำนาจนอกกฎหมาย ควรจะถูกจัดการให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในครั้งนี้
ส่วนประเด็นการทุจริต คอร์รัปชัน ก็เป็นเรื่องสำคัญที่พี่น้องประชาชนอยากจะเห็นผู้ที่คดโกงเงินภาษีประชาชน ปล่อยปละละเลยให้มีการทำร้ายชาวนา ถูกลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งจากตัวอย่างที่ชัดเจนในโครงการรับจำนำข้าว คสช.ก็ควรจะได้ขยายผลในสิ่งที่ ป.ป.ช.ได้มีการชี้มูล ความผิด ไม่ว่าจะเป็นการขายข้าว จีทูจี ลวงโลก การปั้นตัวเลขสต็อกลม การลักลอบนำข้าวคุณภาพดีออกไปจำหน่าย และรวมถึงการสวมสิทธิ์ และการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาร่วมโครงการ ซึ่งประการนี้ตนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการเอาจริงเอาจัง เพราะเป็นประเด็นที่พี่น้องประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ และเป็นประเด็นที่พี่น้องประชาชนเกิดความรู้สึกเสื่อมศรัทธานักการเมือง รวมทั้งควรทำความชัดเจนในกรณีคดีความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคดีที่มีโทษทางอาญา คดีที่เกิดจากการทุจริต คอร์รัปชัน หลายคดียังอยู่ในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอัยการ หรือศาลยุติธรรม ซึ่งหากทุกคดีมีการผลักดันให้มีผลตัดสินที่ชัดเจน ก็จะสามารถสร้างความสบายให้กับประชาชนว่า คนไทยทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
ส่วนกรณีการแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนนั้น ตนสนับสนุนการตรึงราคาแก๊สหุงต้ม และน้ำมันดีเซล ของคสช. มากไปกว่านั้นตนเห็นว่าคสช. ควรใช้โอกาสนี้ในการทำความกระจ่างในแง่ของต้นทุนที่แท้จริงของราคาพลังงาน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถผลิตได้ภายในประเทศอย่างเพียงพอต่อการบริโภคในภาคครัวเรือน ซึ่งควรเป็นภาคที่ได้รับการสนับสนุนให้ใช้แก๊สในราคาถูก ต่างจากภาคอุตสาหกรรม และปิโตรเคมี ซึ่งได้กำไรมหาศาลจากการใช้แก๊ส กลับมีโอกาสในการใช้ก๊าซในราคาถูกกว่าประชาชนมาก รวมถึงการดูแลระดับราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะกรณีการกำหนดราคาข้าวในฤดูกาลปัจจุบัน ว่าจะเป็นการใช้นโยบายในรูปแบบใด เนื่องจากในขณะนี้ชาวนาถูกกดราคาข้าวลงเหลือราคาตันละ 3,000 –4,000 บาท จากการเทขายข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา
ดังนั้น คสช. ควรแยกการบริหารข้าวในสต็อกเก่า กับข้าวในฤดูกาลใหม่ออกจากกัน เพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นสามารถทำได้โดยที่ชาวนาจะขายข้าวได้ในราคาที่คุ้มทุน เช่นเดียวกับพืชเกษตรชนิดอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การกำหนดพื้นที่เพาะปลูก และการขยายตลาดของไทยในเวทีโลก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในระยะต่อไป
ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ตนเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องทุ่มงบประมาณในการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม ขอให้ คสช. นั้นได้ใช้การพิจารณา การจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ โดยใช้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และความคุ้มค่าเป็นตัวตั้ง อย่าใช้งบประมาณเป็นตัวตั้งเหมือนรัฐบาลชุดที่ผ่านมา รวมทั้งในขณะนี้ไม่มีการตรวจสอบจากสภา และไม่มีการตรวจสอบโดยกฎหมายการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ง่าย คสช.จึงควรจะมีการคงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของบุคคล และชุมชน ในการคุ้มครอง และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้โครงการต่างๆนั้น ก่อนการลงทุนจะต้องมีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งก็จะทำให้สามารถป้องกันการดำเนินโครงการที่ผิดพลาด ส่งผลกระทบด้านลบต่อประเทศ และสามารถป้องกันการทุจริต คอร์รัปชันได้ในระดับหนึ่ง