๑๒๒ ปี ของสำนักงานอัยการสูงสุด นับจากการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของประเทศเพื่อให้รอดพ้นจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และลัทธิล่าอาณานิคมในปี ๒๔๓๕ โดยให้มีพนักงานอัยการเป็นทนายแทนแผ่นดินในการฟ้องร้องคดีความทั้งปวงในศาล กรมอัยการจึงได้เกิดขึ้นโดยเริ่มแรกสังกัด กระทรวงยุติธรรม และเปลี่ยนเป็นกระทรวงมหาดไทยใน ๓๐ กว่าปีต่อมา โดยมีภารกิจเพียง ๒ ประการ คือ ฟ้องร้องคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงแทนรัฐ และเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้แก่แผ่นดิน
ในกว่าร้อยปีที่ผ่านมา กรมอัยการเพิ่มภารกิจอีกเพียงประการเดียว คือ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ในสมัย รสช. เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด สังกัดนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เปลี่ยนอัยการเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ใต้อำนาจของฝ่ายบริหาร จัดการงบประมาณและบุคลากรเองโดยไม่ผ่านฝ่ายบริหาร นี่คือสิ่งที่ประชากรอัยการได้รับ แล้วประชาชนได้รับอะไรจากการเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญบ้าง ได้รับประกันว่าจะได้รับการดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมไหม ? อัยการก็ยังคงมีภารกิจ ๓ ประการเหมือนเดิม ซึ่งดูเหมือนว่าประชาชนจะไม่ได้รับอะไรจากการที่อัยการเป็นองค์กรอิสระเลย แล้วองค์กรอัยการที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจะแตกต่างอะไรกับกรมอัยการในอดีต
ที่ประเทศเกาหลีใต้ อัยการฟ้องร้องส่งประธานาธิบดีเข้าคุกในคดีทุจริตคอรัปชั่น ฆ่าตัวตายหนีคดีก็มี ในอเมริกาอัยการท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง รับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง โดยอัยการอเมริกันจะสอบสวนคดีอาญาเอง หันกลับมามองอัยการบ้านเรา อัยการของเราไม่สอบสวนคดีอาญาเอง รับฟังแต่สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน เมื่อประชาชนมีข้อกังขาถึงการทำงานของ พนักงานสอบสวน รัฐบาลก็ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาให้มีอำนาจสอบสวนเหมือนตำรวจ มีอัยการไปนั่งฟังการสอบสวนด้วย แต่ขึ้นต้นเป็นลําไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา กรมสอบสวนคดีพิเศษกลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองในการจัดการกับนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม พอ ๆ กับพนักงาน
สอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติบางคนที่เข้ารับใช้นักการเมืองผู้ถืออำนาจรัฐ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตน ประชาชนเดินขบวนขับไล่รัฐบาล พนักงานสอบสวนเดิมเรียกว่า “ก่อการร้าย” พนักงานสอบสวนใหม่เรียกว่า “กบฏ” เขาเหล่านั้นเป็นผู้ก่อการร้ายและกบฏด้วยความผิดที่ไม่ชอบรัฐบาล ไม่อยากให้รัฐบาลถืออำนาจรัฐอีกต่อไป ประเทศในยุโรปและอเมริกา เรียกการกระทำเหล่านี้ว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ถือว่าเป็นสิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์หรือสิทธิมนุษยชน
พนักงานอัยการตอบสนองอย่างไรกับสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือสิทธิมนุษยชน เราขอให้ศาลอนุมัติหมายจับกบฏ และผู้ก่อการร้าย และมีความเห็นสั่งฟ้องเอาตัว มาฟ้อง ขอให้ศาลลงโทษกบฏและผู้ก่อการร้าย แล้วการทุจริตโดยโครงการใหญ่ ๆ ของรัฐบาลล่ะ โครงการทุจริตจำนำข้าว โครงการป้องกันน้ำท่วม และอื่น ๆ อีก เรามองว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของเรา ห้ามพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยยังไม่มีการสอบสวน ก็ยังไม่เคยมีการสอบสวนแล้วจะฟ้องคดี ได้อย่างไร เรื่องนี้อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. องค์กรที่สั่งคดีทุจริตแต่ผู้เดียว ตอนหลังตั้ง ป.ป.ท. ขึ้นมา แต่ก็ยังไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรม สรุปก็คือ เราก็กลายเป็นตรายางรับรองความชอบธรรมในการจัดการนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามไปกับพนักงานสอบสวนทั้ง ๒ กรมไปด้วย
คสช.คราวนี้เกิดจากการแตกแยกทางความคิดของประชาชน ๒ ฝ่ายไปคนละขั้ว ความปรองดองของคนในชาติน่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงโดย คสช. คราวนี้ ซึ่งจะต้องมีการปฏิรูปในหลาย ๆ ด้าน การปฏิรูปตำรวจคงไม่ใช่แค่ย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอธิบดีการสอบสวนคดีพิเศษแล้วทุกอย่างก็จะกลับไปเหมือนเดิม การปฏิรูปเศรษฐกิจโดยการกระจายรายได้ ที่เป็นธรรมคงไม่ใช่แค่ย้ายอธิบดี แต่ต้องปรับโครงสร้างภาษีทั้งหมด ปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่จัดสรรจากส่วนกลาง นักการเมืองจึงมุ่งสู่ส่วนกลางเพื่อที่จะได้บริหารงบประมาณ ปฏิรูปการเลือกตั้งเพื่อขจัดนักซื้อเสียงที่ซื้อเสียงเข้ามามีอำนาจรัฐและใช้อำนาจรัฐแสวงหาประโยชน์ ปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้กฎหมายตอบสนองประชาชนได้ดียิ่งขึ้น กว่าที่เป็นเครื่องมือของ
นักการเมืองในการแสวงหาความชอบธรรม แล้วองค์กรอัยการล่ะ ควรจะต้องปฏิรูปด้วยไหม ปฏิรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ดีกว่าเมื่อร้อยปีก่อน
เมื่อคนไทยต้องการการปรองดอง การฟ้องคดีก่อการร้ายก็ดี ฟ้องคดีกบฏก็ดี ย่อมไม่สามารถทำให้เกิดการปรองดองในชาติขึ้นได้ ซึ่งถ้าอัยการยึดถือตามตัวบทกฎหมาย ความปรองดอง ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ถ้ายึดถือเอาการปรองดอง การฟ้องคดีเหล่านี้ก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่องค์กรอัยการควรจะทำก็คือ การดำเนินคดีกับนักการเมืองขี้ฉ้อให้เป็นรูปธรรมขึ้น สำนักงานอัยการสูงสุดเตรียมจัดตั้งสำนักงานคดีทุจริตขึ้นรับผิดชอบ แต่ก็เป็นการเปลี่ยนเจ้าภาพจากสำนักงาน คดีพิเศษเท่านั้น ถ้าโครงสร้างการดำเนินคดีใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเหมือนกับคดีอาญาอื่น ๆ ทั่วไป ผลก็จะเหมือนกับสิ่งที่สำนักงานคดีพิเศษทำอยู่ คือ เล่นงานนักการเมืองไม่ได้ และนักการเมืองก็ไม่กลัว ยังคงทุจริตอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะสิ่งที่เราต้องการอย่างอัยการเกาหลีใต้ก็คือ อัยการที่ กล้าดำเนินคดีกับนักการเมือง และวิธีพิจารณาความอาญาที่ตอบสนองคดีทุจริตได้ยิ่งกว่าวิธีพิจารณาความอาญาเดิม
ในสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลง เราจะยังคงภารกิจเพียงเหมือนเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วอยู่ไหม และคำถามสำหรับวันนี้ก็คือ เราจะปฏิรูปตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรือเราจะรอให้ผู้อื่นมาปฏิรูปให้ ทฤษฏีวิวัฒนาการของชาร์ลดาร์วินยังคงใช้ได้เสมอ ถ้าปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็อยู่รอด ถ้าไม่ก็คงสูญพันธุ์ไป
กิตติศักดิ์ สุคนธฉายา
อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งกรุงเทพใต้ ๓
ในกว่าร้อยปีที่ผ่านมา กรมอัยการเพิ่มภารกิจอีกเพียงประการเดียว คือ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ในสมัย รสช. เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด สังกัดนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เปลี่ยนอัยการเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ใต้อำนาจของฝ่ายบริหาร จัดการงบประมาณและบุคลากรเองโดยไม่ผ่านฝ่ายบริหาร นี่คือสิ่งที่ประชากรอัยการได้รับ แล้วประชาชนได้รับอะไรจากการเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญบ้าง ได้รับประกันว่าจะได้รับการดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมไหม ? อัยการก็ยังคงมีภารกิจ ๓ ประการเหมือนเดิม ซึ่งดูเหมือนว่าประชาชนจะไม่ได้รับอะไรจากการที่อัยการเป็นองค์กรอิสระเลย แล้วองค์กรอัยการที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญจะแตกต่างอะไรกับกรมอัยการในอดีต
ที่ประเทศเกาหลีใต้ อัยการฟ้องร้องส่งประธานาธิบดีเข้าคุกในคดีทุจริตคอรัปชั่น ฆ่าตัวตายหนีคดีก็มี ในอเมริกาอัยการท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง รับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง โดยอัยการอเมริกันจะสอบสวนคดีอาญาเอง หันกลับมามองอัยการบ้านเรา อัยการของเราไม่สอบสวนคดีอาญาเอง รับฟังแต่สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน เมื่อประชาชนมีข้อกังขาถึงการทำงานของ พนักงานสอบสวน รัฐบาลก็ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาให้มีอำนาจสอบสวนเหมือนตำรวจ มีอัยการไปนั่งฟังการสอบสวนด้วย แต่ขึ้นต้นเป็นลําไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา กรมสอบสวนคดีพิเศษกลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองในการจัดการกับนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม พอ ๆ กับพนักงาน
สอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติบางคนที่เข้ารับใช้นักการเมืองผู้ถืออำนาจรัฐ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตน ประชาชนเดินขบวนขับไล่รัฐบาล พนักงานสอบสวนเดิมเรียกว่า “ก่อการร้าย” พนักงานสอบสวนใหม่เรียกว่า “กบฏ” เขาเหล่านั้นเป็นผู้ก่อการร้ายและกบฏด้วยความผิดที่ไม่ชอบรัฐบาล ไม่อยากให้รัฐบาลถืออำนาจรัฐอีกต่อไป ประเทศในยุโรปและอเมริกา เรียกการกระทำเหล่านี้ว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ถือว่าเป็นสิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์หรือสิทธิมนุษยชน
พนักงานอัยการตอบสนองอย่างไรกับสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือสิทธิมนุษยชน เราขอให้ศาลอนุมัติหมายจับกบฏ และผู้ก่อการร้าย และมีความเห็นสั่งฟ้องเอาตัว มาฟ้อง ขอให้ศาลลงโทษกบฏและผู้ก่อการร้าย แล้วการทุจริตโดยโครงการใหญ่ ๆ ของรัฐบาลล่ะ โครงการทุจริตจำนำข้าว โครงการป้องกันน้ำท่วม และอื่น ๆ อีก เรามองว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของเรา ห้ามพนักงานอัยการฟ้องคดีโดยยังไม่มีการสอบสวน ก็ยังไม่เคยมีการสอบสวนแล้วจะฟ้องคดี ได้อย่างไร เรื่องนี้อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. องค์กรที่สั่งคดีทุจริตแต่ผู้เดียว ตอนหลังตั้ง ป.ป.ท. ขึ้นมา แต่ก็ยังไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรม สรุปก็คือ เราก็กลายเป็นตรายางรับรองความชอบธรรมในการจัดการนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามไปกับพนักงานสอบสวนทั้ง ๒ กรมไปด้วย
คสช.คราวนี้เกิดจากการแตกแยกทางความคิดของประชาชน ๒ ฝ่ายไปคนละขั้ว ความปรองดองของคนในชาติน่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงโดย คสช. คราวนี้ ซึ่งจะต้องมีการปฏิรูปในหลาย ๆ ด้าน การปฏิรูปตำรวจคงไม่ใช่แค่ย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอธิบดีการสอบสวนคดีพิเศษแล้วทุกอย่างก็จะกลับไปเหมือนเดิม การปฏิรูปเศรษฐกิจโดยการกระจายรายได้ ที่เป็นธรรมคงไม่ใช่แค่ย้ายอธิบดี แต่ต้องปรับโครงสร้างภาษีทั้งหมด ปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่จัดสรรจากส่วนกลาง นักการเมืองจึงมุ่งสู่ส่วนกลางเพื่อที่จะได้บริหารงบประมาณ ปฏิรูปการเลือกตั้งเพื่อขจัดนักซื้อเสียงที่ซื้อเสียงเข้ามามีอำนาจรัฐและใช้อำนาจรัฐแสวงหาประโยชน์ ปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้กฎหมายตอบสนองประชาชนได้ดียิ่งขึ้น กว่าที่เป็นเครื่องมือของ
นักการเมืองในการแสวงหาความชอบธรรม แล้วองค์กรอัยการล่ะ ควรจะต้องปฏิรูปด้วยไหม ปฏิรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ดีกว่าเมื่อร้อยปีก่อน
เมื่อคนไทยต้องการการปรองดอง การฟ้องคดีก่อการร้ายก็ดี ฟ้องคดีกบฏก็ดี ย่อมไม่สามารถทำให้เกิดการปรองดองในชาติขึ้นได้ ซึ่งถ้าอัยการยึดถือตามตัวบทกฎหมาย ความปรองดอง ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ถ้ายึดถือเอาการปรองดอง การฟ้องคดีเหล่านี้ก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่องค์กรอัยการควรจะทำก็คือ การดำเนินคดีกับนักการเมืองขี้ฉ้อให้เป็นรูปธรรมขึ้น สำนักงานอัยการสูงสุดเตรียมจัดตั้งสำนักงานคดีทุจริตขึ้นรับผิดชอบ แต่ก็เป็นการเปลี่ยนเจ้าภาพจากสำนักงาน คดีพิเศษเท่านั้น ถ้าโครงสร้างการดำเนินคดีใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเหมือนกับคดีอาญาอื่น ๆ ทั่วไป ผลก็จะเหมือนกับสิ่งที่สำนักงานคดีพิเศษทำอยู่ คือ เล่นงานนักการเมืองไม่ได้ และนักการเมืองก็ไม่กลัว ยังคงทุจริตอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะสิ่งที่เราต้องการอย่างอัยการเกาหลีใต้ก็คือ อัยการที่ กล้าดำเนินคดีกับนักการเมือง และวิธีพิจารณาความอาญาที่ตอบสนองคดีทุจริตได้ยิ่งกว่าวิธีพิจารณาความอาญาเดิม
ในสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลง เราจะยังคงภารกิจเพียงเหมือนเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วอยู่ไหม และคำถามสำหรับวันนี้ก็คือ เราจะปฏิรูปตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรือเราจะรอให้ผู้อื่นมาปฏิรูปให้ ทฤษฏีวิวัฒนาการของชาร์ลดาร์วินยังคงใช้ได้เสมอ ถ้าปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็อยู่รอด ถ้าไม่ก็คงสูญพันธุ์ไป
กิตติศักดิ์ สุคนธฉายา
อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งกรุงเทพใต้ ๓