พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผลสอนให้เชื่อกรรมคือการกระทำว่าเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางแห่งชีวิตของสัตว์ ทั้งในทางดีและทางเลว จะเห็นได้ชัดเจนในพุทธพจน์ที่ว่า กมฺมุนา วตฺตติ โลโก สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรมคือการกระทำของตนเอง และโดยนัยแห่งการสอนเช่นนี้ จึงเป็นการปฏิเสธการดลบันดาลของเทพเจ้าทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้รับการเรียกขานจากเจ้าลัทธิในยุคนั้นว่าเป็นกรรมวาทีคือผู้สอนในเรื่องของกรรม
อีกประการหนึ่ง พุทธองค์ได้ชื่อสัมมาสัมพุทธ ด้วยเหตุที่พระองค์ค้นพบอริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเจ้าลัทธิทั้งหลายไม่เคยสอนมาก่อน
อริยสัจ 4 ประการนี้ก็คือ
1. ทุกข์ อันได้แก่ความเดือดร้อน สภาพที่ทนได้ยาก สภาวะบีบคั้นขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ไม่ให้ความพึงพอใจที่แท้จริง
2. ทุกขสมุทัย อันได้แก่เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิดคือตัณหา 3 ประการได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
3. ทุกขนิโรธ อันได้แก่ความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันได้แก่แนวทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์
โดยนัยแห่งอริยสัจ 4 ประการนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้ทุกชนิดแม้กระทั่งความข้ดแย้งทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในขณะนี้ โดยดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศึกษาสภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลในระบอบทักษิณกับ กปปส.เพื่อค้นหาเหตุแห่งปัญหา
2. ลงมือขจัดเหตุอันเป็นที่มาของความขัดแย้ง
3. กำหนดเป้าหมายซึ่งคาดว่าจะทำให้ความขัดแย้งลดลง และหมดไปในที่สุด
4. นำมาตรการต่างๆ ที่คาดว่าจะนำไปสู่การทำให้เหตุแห่งความขัดแย้งลดลง และหมดไปให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ในข้อที่ 1 ผู้ที่จะทำการแก้ปัญหาจะต้องย้อนไปดูเหตุอันเป็นที่มาของความขัดแย้ง และเชื่อว่าถ้าพิจารณาอย่างเป็นกลางปราศจากอคติ 4 ก็จะพบเหตุแห่งความขัดแย้งที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. เส้นทางเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของรัฐบาลในระบอบทักษิณ ตั้งแต่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร จนถึงอดีตนายกฯ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้นำนอมินีคนที่ 3 ของระบอบนี้ได้ใช้อำนาจเงินซื้อเสียง และอาศัยนโยบายประชานิยมซึ่งอนุมานได้ว่าเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้าด้วยการสัญญาว่าจะให้ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยความสมัครใจ และศรัทธาในนโยบายปราศจากอามิสสินจ้าง อันเป็นการมอมเมาประชาชนด้วยผลประโยชน์มาเป็นเหยื่อล่อ จึงเป็นการทำลายประชาธิปไตยโดยอ้อม
2. การแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ โดยอาศัยอำนาจทางการเมืองทั้งรูปแบบของการโกงกินแบบดื้อด้านคือ เรียกเก็บเปอร์เซ็นต์จากผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งทำการซื้อขายกับรัฐในงานจัดซื้อจัดจ้างเป็นการโกงกินโดยตรงจากงบประมาณรัฐ อันเป็นเหตุให้รัฐต้องซื้อของแพงขึ้น หรือไม่แพงแต่ก็ได้ของคุณภาพต่ำ ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง และในรูปแบบของการโกงกินโดยอ้อม โดยผ่านทางการจัดทำโครงการขึ้นมา และแสวงหาประโยชน์จากโครงการนั้นในรูปแบบต่างๆ ที่เรียกว่า คอร์รัปชันเชิงนโยบาย
3. การเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงงานบริหารบุคคลในภาครัฐ ทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจในระดับต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญในการเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง และพวกพ้อง
4. ใช้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นแนวร่วมกับรัฐบาลเสนอออกกฎหมาย และแก้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ในทางการเมือง และในทางธุรกิจให้แก่ตนเองและพวกพ้อง เช่น การออกกฎหมายนิรโทษกรรม และการแก้ที่มาของ ส.ว.การทำสัญญาตามนัยแห่งมาตรา 190 เป็นต้น
จากเหตุ 4 ประการนี้เอง ได้กลายเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนในนาม กปปส.ลุกขึ้นต่อต้านคัดค้าน และยกระดับเป็นการขับไล่ดังที่เป็นอยู่
ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง กปปส.กับรัฐบาลในระบอบทักษิณ จะต้องแก้ที่เหตุคือแก้ไขและป้องกันมูลเหตุจูงใจ 4 ประการดังกล่าว และให้หมดไปตามนัยที่ กปปส.เสนอคือให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เพื่อป้องกันมิให้นักการเมืองไม่ว่าจะมาจากพรรคใด และคนกลุ่มใดเข้ามาแสวงหาอำนาจ และก่อกรรมทำผิดดังที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
ส่วนว่าจะแก้ไขและป้องกันอย่างไรนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะมีขึ้นต่อจากนี้
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้น่าจะถือได้ว่าเป็นโอกาสดีเมื่อกองทัพได้ประกาศกฎอัยการศึก และใช้อำนาจกองทัพเข้ามาแก้ไขปัญหาจนเรียกได้ว่าจะทำให้เกิดความเรียบร้อยขึ้นได้ แต่จะได้ทุกประการตามที่ประชาชนในนาม กปปส.เรียกร้องหรือไม่จะต้องรอดูต่อไปจากนี้ แต่คงไม่นานเกินรอคงจะได้เห็นรัฐบาลใหม่ และจากรูปลักษณะของรัฐบาลนี้เองก็พออนุมานได้ว่าจะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้หรือไม่ประการใด
อีกประการหนึ่ง พุทธองค์ได้ชื่อสัมมาสัมพุทธ ด้วยเหตุที่พระองค์ค้นพบอริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเจ้าลัทธิทั้งหลายไม่เคยสอนมาก่อน
อริยสัจ 4 ประการนี้ก็คือ
1. ทุกข์ อันได้แก่ความเดือดร้อน สภาพที่ทนได้ยาก สภาวะบีบคั้นขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ไม่ให้ความพึงพอใจที่แท้จริง
2. ทุกขสมุทัย อันได้แก่เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิดคือตัณหา 3 ประการได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
3. ทุกขนิโรธ อันได้แก่ความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันได้แก่แนวทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์
โดยนัยแห่งอริยสัจ 4 ประการนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้ทุกชนิดแม้กระทั่งความข้ดแย้งทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในขณะนี้ โดยดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศึกษาสภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลในระบอบทักษิณกับ กปปส.เพื่อค้นหาเหตุแห่งปัญหา
2. ลงมือขจัดเหตุอันเป็นที่มาของความขัดแย้ง
3. กำหนดเป้าหมายซึ่งคาดว่าจะทำให้ความขัดแย้งลดลง และหมดไปในที่สุด
4. นำมาตรการต่างๆ ที่คาดว่าจะนำไปสู่การทำให้เหตุแห่งความขัดแย้งลดลง และหมดไปให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ในข้อที่ 1 ผู้ที่จะทำการแก้ปัญหาจะต้องย้อนไปดูเหตุอันเป็นที่มาของความขัดแย้ง และเชื่อว่าถ้าพิจารณาอย่างเป็นกลางปราศจากอคติ 4 ก็จะพบเหตุแห่งความขัดแย้งที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. เส้นทางเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของรัฐบาลในระบอบทักษิณ ตั้งแต่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร จนถึงอดีตนายกฯ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้นำนอมินีคนที่ 3 ของระบอบนี้ได้ใช้อำนาจเงินซื้อเสียง และอาศัยนโยบายประชานิยมซึ่งอนุมานได้ว่าเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้าด้วยการสัญญาว่าจะให้ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยความสมัครใจ และศรัทธาในนโยบายปราศจากอามิสสินจ้าง อันเป็นการมอมเมาประชาชนด้วยผลประโยชน์มาเป็นเหยื่อล่อ จึงเป็นการทำลายประชาธิปไตยโดยอ้อม
2. การแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ โดยอาศัยอำนาจทางการเมืองทั้งรูปแบบของการโกงกินแบบดื้อด้านคือ เรียกเก็บเปอร์เซ็นต์จากผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งทำการซื้อขายกับรัฐในงานจัดซื้อจัดจ้างเป็นการโกงกินโดยตรงจากงบประมาณรัฐ อันเป็นเหตุให้รัฐต้องซื้อของแพงขึ้น หรือไม่แพงแต่ก็ได้ของคุณภาพต่ำ ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง และในรูปแบบของการโกงกินโดยอ้อม โดยผ่านทางการจัดทำโครงการขึ้นมา และแสวงหาประโยชน์จากโครงการนั้นในรูปแบบต่างๆ ที่เรียกว่า คอร์รัปชันเชิงนโยบาย
3. การเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงงานบริหารบุคคลในภาครัฐ ทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจในระดับต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญในการเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง และพวกพ้อง
4. ใช้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นแนวร่วมกับรัฐบาลเสนอออกกฎหมาย และแก้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ในทางการเมือง และในทางธุรกิจให้แก่ตนเองและพวกพ้อง เช่น การออกกฎหมายนิรโทษกรรม และการแก้ที่มาของ ส.ว.การทำสัญญาตามนัยแห่งมาตรา 190 เป็นต้น
จากเหตุ 4 ประการนี้เอง ได้กลายเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนในนาม กปปส.ลุกขึ้นต่อต้านคัดค้าน และยกระดับเป็นการขับไล่ดังที่เป็นอยู่
ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง กปปส.กับรัฐบาลในระบอบทักษิณ จะต้องแก้ที่เหตุคือแก้ไขและป้องกันมูลเหตุจูงใจ 4 ประการดังกล่าว และให้หมดไปตามนัยที่ กปปส.เสนอคือให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เพื่อป้องกันมิให้นักการเมืองไม่ว่าจะมาจากพรรคใด และคนกลุ่มใดเข้ามาแสวงหาอำนาจ และก่อกรรมทำผิดดังที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
ส่วนว่าจะแก้ไขและป้องกันอย่างไรนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะมีขึ้นต่อจากนี้
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้น่าจะถือได้ว่าเป็นโอกาสดีเมื่อกองทัพได้ประกาศกฎอัยการศึก และใช้อำนาจกองทัพเข้ามาแก้ไขปัญหาจนเรียกได้ว่าจะทำให้เกิดความเรียบร้อยขึ้นได้ แต่จะได้ทุกประการตามที่ประชาชนในนาม กปปส.เรียกร้องหรือไม่จะต้องรอดูต่อไปจากนี้ แต่คงไม่นานเกินรอคงจะได้เห็นรัฐบาลใหม่ และจากรูปลักษณะของรัฐบาลนี้เองก็พออนุมานได้ว่าจะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้หรือไม่ประการใด