เรื่องทุกข์หรือปัญหาเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ตราบใดที่ยังมีเกิดมีดับ ก็มีปัญหาหรือทุกข์อยู่ร่ำไป
“ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”...(สํ.ส. 15/555/199)
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์
ทุกข์มาก-สุขน้อย
ทุกข์น้อย-สุขมาก
ทุกข์หมด-สุขที่สุด
“นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ-นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
“นิพฺพานํ ปรมํ สุญญํ-นิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง”
นี่คือสุดยอดของสรรพสิ่ง ที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่เราปรารถนาจะไปให้ถึงก็ได้แต่อยาก แต่ไม่ถึงสักที คงเนื่องเพราะ “เส้นผมบังภูเขา” คือเรื่องง่ายๆ อยู่กับตัวเราแท้ๆ แต่คิดไม่ออกเลยถูกหลอก ถูกติดตามกระแสมายา
พระสังฆปริณายก องค์ที่ 4 (สี่โจ้ว) เกิด ณ ตำบลกวงจี่ เมืองคีจิว แซ่ซีเบ้ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ได้เดินทางไปหาท่านพระสังฆปริณายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งใต้ซือ) กราบเรียนท่านว่า...
“ขอให้ใต้เท้าช่วยกรุณาสอนธรรมะ เพื่อความหลุดพ้นให้กระผมด้วยครับ”
พระสังฆปริณายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งใต้ซือ) พูดว่า... “ใครเขาผูกเจ้าไว้ล่ะ?” สามเณรเต้าสิ่น นั่งคิดดูสักครู่ แล้วตอบว่า... “ไม่มีใครเขาผูกกระผมไว้ครับ!”
ท่านพระสังฆปริณายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งใต้ซือ) พูดว่า... “ถ้าไม่มีใครเขาผูกเจ้าไว้แล้ว ทำไมเจ้าจึงจะต้องมาหาคนแก้ด้วยเล่า?”
สามเณรเต้าสิ่น ก็เกิดความสว่างไสว และได้บรรลุธรรมในข้อที่ตนสงสัยขึ้นมาทันที
จึงเกิดความศรัทธาท่านพระสังฆปริณายก เลยถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาธรรมะอยู่ 9 พรรษา ท่านพระอาจารย์ได้ทดลองภูมิปัญญาอยู่เสมอๆ แล้วต่อมาได้บรรลุธรรม ท่านพระอาจารย์ก็จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ “เต้าสิ่นใต้ซือ”... (ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ 1 แปลและเรียบเรียงโดย “ธีรทาส”)
กรณีนี้จะเห็นว่า ตอนมีภาวะเส้นผมบังภูเขานั้น มันมืดตื้อ จิตหมองมัวยังไงชอบกล พอเส้นผมบังภูเขาหลุดออกไป มันสว่างไสวดั่งพระจันทร์เต็มดวง หรือพระอาทิตย์ไร้เมฆหมอกบดบัง
ใครผูกเจ้าไว้?
กระผมผูกตัวเองครับ! ดังนั้น กระผมต้องแก้เอง!
ไฟไหม้ตรงไหน ต้องดับตรงนั้น ไม่ใช่ไปดับที่อื่น
เหตุแห่งปัญหาอยู่ที่ไหน ก็ต้องไปแก้ที่นั่น
เอาอะไรไปแก้?
ก็หนีไม่พ้น มรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นข้อที่สี่ของอริยสัจสี่ หรือปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั่นแล
เป็นเรื่องเก่าๆ ที่รู้ๆ กันอยู่ พูดกันมาสอนกันมากว่า 2,500 ปี ผู้ที่เห็นธรรม เห็นพระพุทธเจ้าจะมีมากตามวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ หรือจะมีน้อยลงตามวันเวลาที่มากขึ้นๆ จนหมดสิ้นไปในที่สุด ท่านผู้พิจารณาทั้งหลายย่อมกระจ่างแจ้งแก่ใจ
อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
มรรค คือทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ได้แก่ 1. เห็นชอบ 2. ดำริชอบ (1,2 = ปัญญา) 3. เจรจาชอบ 4. กระทำชอบ 5. เลี้ยงชีพชอบ (3, 4, 5 = ศีล) 6. พยายามชอบ 7. ระลึกชอบ 8. ตั้งจิตมั่นชอบ (6, 7, 8 = สมาธิ)
มรรคมีองค์แปดนี้ เป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับ ทุกข์ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข และการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง
มรรคแปดระดับปัญญา คือข้อ 1 และข้อ 2 สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
ถ้ามีข้อ 1 ข้ออื่นๆ จนถึงข้อ 8 ก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ
ข้อ 1 สัมมาทิฏฐิ-เห็นชอบ เห็นอะไร?
เห็นอริยสัจสี่ หรือเห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นอกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ 12 คือการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน หรือธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม หรือการมีสิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น เช่น...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นต้น (เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี = เกิด)
เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เป็นต้น (เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ = ดับ)
มีนักปราชญ์บางท่านเรียกปฏิจจสมุปบาทว่า อริยสัจใหญ่ หรืออริยสัจฉบับสมบูรณ์
อวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจสี่ ได้แก่ ไม่รู้ในทุกข์ ไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้ในความดับทุกข์ และไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
มีอวิชชา ก็มีทุกข์มีปัญหา ไม่มีอวิชชา ก็ไม่มีทุกข์ ไม่มีปัญหา
“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม” และ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา (ตถาคต)”
นี่คือพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นานแล้ว ยังเป็นแสงสว่างที่ส่องทางให้สรรพสิ่ง ดุจพระอาทิตย์ที่ยังสองแสงสว่างไสวอันเป็นนิรันดร์ นอกจากจะมีเมฆหมอกผ่านมาบดบังให้มืดมัวชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
“แก้ปัญหาใด
ต้องไปที่เหตุ
มรรคแปดพิเชฐ
ทุกเหตุดับสิ้น”
เป็นความจริงที่เที่ยงแท้แน่นอน ใช้ได้ทุกสถานและกาลเวลา
พูดเรื่องธรรมะดูเหมือนมันยาก ถ้าเอาเส้นผมบังภูเขาออก มันก็เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ผู้คนจะเข้าใจเข้าถึงหรือไม่นั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
บางครั้งก็มีไฟ บางครั้งไฟเหมือนจะมอดดับ เหมือนมีใครคอยเสิร์ฟลูกท้อให้
พอดี...คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ยื่นเทียนและไม้ขีดไฟให้ (ณ เวทีแจ้งวัฒนะ 9 พ.ค. 2557) ว่า...
“ธรรมของพระพุทธเจ้าอธิบายได้ทุกเรื่อง ธรรมของพระพุทธเจ้าแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เว้นเสียแต่ว่า...จะกล้าใช้หรือไม่เท่านั้น”
นี่คือ...ความคิดความเห็นของผู้เข้าใจธรรมและเข้าใจโลกอย่างแท้จริง
ไฟที่กำลังจะดับมอด ก็คุโชนขึ้นอีกครั้ง
เรื่องทางธรรมและทางโลกอยู่ด้วยกัน เหมือนสองด้านของเหรียญ ถ้าขาดด้านใดด้านหนึ่งก็ไม่เป็นเหรียญ “หนึ่งเหรียญมีสองด้าน สองด้านมีหนึ่งเหรียญ”
ชาติบ้านเมืองของเรากำลังมีภัย ไฟกำลังไหม้บ้าน เราผู้อาศัยก็ต้องช่วยกันดับที่เหตุ คือตรงไปที่ไฟไหม้ ไม่ใช่ไปดับที่อื่น “เหตุเกิดที่ไหน ต้องดับที่นั่น” ชาติบ้านเมืองไม่ปกติ กำลังวิกฤตสุดๆ เพราะนักการเมืองขี้โกงขี้ข้าเป็นต้นเหตุ อาเพศเหตุร้ายจึงแผ่ขยายปกคลุมไปทุกถิ่นคาม ทั่วทั้งแผ่นดินไทย
ผู้คนแบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่ายชัดเจน คือ ฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม หรือฝ่ายความดีกับฝ่ายความชั่ว แล้วฝ่ายประชาธิปไตยรักชาติกับฝ่ายเผด็จการขายชาติ ฯลฯ
ต่างฝ่ายต่างก็อ้าง ฝ่ายตนเป็นฝ่ายธรรมะ ยกให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายอธรรม ปากก็ว่ากันไป แต่พฤติกรรมที่ทำลงไป เป็นความจริงหรือคำตอบที่ถูกต้อง
คนโง่ย่อมถูกเขาหลอกเขาจูง คนฉลาดรู้ทันไม่ยอมตกเป็นฝูง ก็ได้แต่ขบขันและสมเพชที่เพื่อนร่วมชาติหลงเพ้อถึงเพียงนี้
ภาวะไม่ปกติและวิกฤตสุดๆ ของชาติบ้านเมืองขนาดนี้ ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ในอำนาจ (โดยเฉพาะทหารอันเป็นขุมกำลังหลักของชาติ) และหมดอำนาจแต่ยังมีบารมีอยู่ ยังจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ไม่รู้สึกรู้สาอะไร อยู่ได้ไง? ถ้าจะช่วยกันแก้ปัญหาให้ถูกจุด-ตรงเหตุจริงๆ กลัวจะกระทบถึงตัวเองละซิ! หรือเปล่า?
มวลมหาประชาชนลุกขึ้นสู้เป็นเวลานานกว่าครึ่งปี (ตายไปกว่า 20 บาดเจ็บกว่า 700) เป็นแสนเป็นล้าน เป็นหลายๆ ล้านอย่างนี้ หากท่านผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายยังไม่ตื่น ยังไม่รู้สึกรู้สาอะไร รู้สึกจะผิดปกติหรือมากเกินไปแล้ว (ใจทำด้วยอะไร) จะให้ลูกหลานเคารพนับถือกราบไหว้ได้อย่างไร ยังมีเวลากลับใจ กลับมาสู่อ้อมกอดของประชาชนก่อนที่จะสุดเสียใจ ไร้โอกาสช่วยชาติบ้านเมืองของตน
เหตุเกิดที่ไหน ต้องดับที่นั่น เหตุเกิดที่นักการเมืองขี้โกง ต้องดับที่นักการเมืองขี้โกง ถ้าใช้ “การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง” ก็เท่ากับว่า ให้นักการเมืองโกงไปแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่ตนทำไว้อย่างนั้นรึ?
ก่อนจะไปดับหรือแก้ปัญหาคนอื่น ก็อย่าลืมดับหรือแก้ปัญหาตนเองให้ได้ก่อน บทบาทที่เล่นจึงจะสมจริง ไม่ใช่เล่นแบบ “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” คือว่ากล่าวสั่งสอนหรือตำหนิติเตียนผู้อื่น แต่ตัวกลับทำเสียเอง (อย่าคอร์รัปชัน แต่ตัวเองโคตรคอร์รัปชัน)
คนรู้จักรู้จำธรรมะมีมาก ขณะที่คนรู้เห็นรู้แจ้งธรรมะมีน้อย หากเปรียบก็เหมือนกับคนรู้จักรู้จำธรรมะมีมากเท่ากับขนควาย คนรู้เห็นรู้แจ้งธรรมะ มีน้อยเท่ากับเขาควาย
เพราะเหตุใดฤา?
ฟังคำตอบจากท่านพระสังฆปริณายก องค์ที่ 1 พระโพธิธรรมมหาครูบา (สายจีนองค์ที่ 1 สายอินเดียองค์ที่ 28) ดีกว่า...
ท่านทั้งสองเดินทางไปยังภูเขาซงซัว พักอยู่ที่ “วัดเซียวลิ่มยี่” พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ท่านนั่งสมาธิเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี
พระซิ่งกวงที่กระโดดน้ำติดตามไป ก็คอยเฝ้าปรนนิบัติท่านพระอาจารย์อยู่ ไม่ยอมไปไหนเลย มาวันหนึ่ง หิมะตกหนัก ท่านยืนคอยเฝ้าพระอาจารย์อยู่จนหิมะตกมาก หนาท่วมสูงแค่หัวเข่า
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา จึงถามว่า “ท่านมายืนตากหิมะอยู่ที่นี่ เพื่อประสงค์อะไร?”
พระซิ่งกวง น้ำตาไหลซึมออกมาแล้วพูดว่า “จะมาขอเรียนธรรมะจากท่านพระอาจารย์ครับ! นิ่งสักครู่ พอเห็นท่านพระอาจารย์ไม่ตอบ ก็ถามต่อไปอีกว่า “หัวใจแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น เป็นสิ่งที่จะพูดหรือแสดงออกมาให้เห็นและฟังได้ไหมครับ?”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า “หัวใจแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ไม่ใช่ได้มาจากผู้อื่น แล้วธรรมะนั้น จะเรียนหรือจะสอนให้แก่กันไม่ได้ง่ายๆ นัก ท่านมีความศรัทธาอยู่แค่ไหน”
พระซิ่งกวง พอได้ยินท่านพระอาจารย์พูดเช่นนั้นแล้ว จึงหันหลังกลับไปหยิบมีดขึ้นมาฟันลงไปบนแขนซ้ายตนจนขาดออกมา แล้วก็นำเอาแขนนี้ไปถวายบูชาท่านพระอาจารย์ เพื่อให้ท่านเห็นว่ามีความศรัทธาที่จะศึกษาธรรมสูงมากถึงเพียงนี้
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา เห็นท่านซิ่งกวง “ปลงสังขารตก” มีความศรัทธาในธรรมะมากกว่าชีวิต แล้วจึงพูดว่า “ท่านอยากจะเรียนธรรมอะไร?”
พระซิ่งกวง ตอบว่า “จิตของผมมันไม่สงบ ขอให้ท่านพระอาจารย์ช่วยทำจิตให้สงบที”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า “ท่านจงเอาจิตออกมาซิ ฉันจะทำให้จิตมันสงบ”
พระซิ่งกวง นิ่ง คิดอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วก็ตอบท่านพระอาจารย์ว่า “ผมหาจิตไม่พบครับ”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า “ฉันได้ทำจิตของท่านสงบแล้ว”
พระซิ่งกวง ก็เกิดความสว่างไสว บรรลุธรรม (สุญญาตา) ทันที และได้ศึกษาธรรมต่างๆ อีกมากมายด้วย
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา จึงได้ถ่ายทอดบาตร จีวร สังฆาฏิ ธรรมะทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ “พระซิ่งกวง” แล้วเปลี่ยนชื่อให้เสียใหม่จาก “ซิ่งกวง” มาเป็น “พระหุยค้อมหาครูบา”
ท่านพูดอีกว่า จากนี้เป็นต้นไป ท่านหุยค้อเป็นพระสังฆปริณายก องค์ที่ 2 ของนิกายเซ็น (ฌาน) ในเมืองจีน สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป แล้วยังได้กล่าวโศลกให้ไว้อีกว่า...
“ฉันเดินมาถึงแผ่นดินนี้
ถ่ายทอดธรรมช่วยผู้หลงงมงายอารมณ์
หนึ่ง-ดอกไม้บานครบ 5 กลีบแล้ว
ผลที่สุดธรรมชาติจะปรากฏขึ้นมาเอง”
...(ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น ฉบับเซียนท้ออายุยืน เรียบเรียง โดยอาจารย์ธีระ วงศ์โพธิ์พระ)
เป็นไงบ้าง จิตสงบเหมือนพระซิ่งกวงไหม ถ้ายังไม่สงบก็ไม่เป็นไร ฟังท่านพระโพธิธรรมมหาครูบาอีกสักนิด
“แม้เราได้ถ่ายทอดให้แล้วซึ่งธรรมะแห่งจิต ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้อย่างไรกัน เพราะว่าไม่ใช่ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้งจิตที่สามารถมีอยู่อย่างมีความเป็นตัวเป็นตน เข้าใจข้อนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจธรรมะ ซึ่งถ่ายทอดด้วยจิตถึงจิต”
ตอนนี้คงจะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วนะ ถ้ายังไม่เข้าใจ ยังไม่สงบ ก็ไม่เป็นไร เล่นบทบาทสมมติตามที่โลกมอบให้อย่างเต็มที่ แล้วชัยชนะก็จะเป็นของเรา
ธงธรรมไม่เคยแพ้ มีแต่ชนะ ไม่ชนะเปลือก ก็ชนะแก่นเป็นประจำ หรือไม่ก็ชนะทั้งเปลือกและแก่นอยู่เสมอ
“เมื่อตื่นรู้ ย่อมลุกสู้ หมู่อธรรม
เมื่อซึ้งธรรม จึงเอาธรรม นำหน้าสู้
ใจมุ่งมั่น มิพรึงพรั่น หวั่นศัตรู
ผู้ตื่นรู้ ย่อมสู้สวย ด้วยธงธรรม”
ท่านประชาชนผู้รักชาติบ้านเมืองทั้งหลายทั้งปวง ที่ลุกขึ้นสู้กับเหล่าอธรรมด้วยความกล้าหาญ อดทน อดกลั้น ตากแดด ตากฝน ทนหนาว นอนกลางดินกินกลางถนนอย่างทุกข์ยากลำบาก เพื่อความสุขของคนทั้งชาตินั้น ขอให้ทุกท่านประสบโชคดีมีชัยโดยทั่วหน้ากันเถิด
“ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”...(สํ.ส. 15/555/199)
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์
ทุกข์มาก-สุขน้อย
ทุกข์น้อย-สุขมาก
ทุกข์หมด-สุขที่สุด
“นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ-นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
“นิพฺพานํ ปรมํ สุญญํ-นิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง”
นี่คือสุดยอดของสรรพสิ่ง ที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่เราปรารถนาจะไปให้ถึงก็ได้แต่อยาก แต่ไม่ถึงสักที คงเนื่องเพราะ “เส้นผมบังภูเขา” คือเรื่องง่ายๆ อยู่กับตัวเราแท้ๆ แต่คิดไม่ออกเลยถูกหลอก ถูกติดตามกระแสมายา
พระสังฆปริณายก องค์ที่ 4 (สี่โจ้ว) เกิด ณ ตำบลกวงจี่ เมืองคีจิว แซ่ซีเบ้ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ได้เดินทางไปหาท่านพระสังฆปริณายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งใต้ซือ) กราบเรียนท่านว่า...
“ขอให้ใต้เท้าช่วยกรุณาสอนธรรมะ เพื่อความหลุดพ้นให้กระผมด้วยครับ”
พระสังฆปริณายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งใต้ซือ) พูดว่า... “ใครเขาผูกเจ้าไว้ล่ะ?” สามเณรเต้าสิ่น นั่งคิดดูสักครู่ แล้วตอบว่า... “ไม่มีใครเขาผูกกระผมไว้ครับ!”
ท่านพระสังฆปริณายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งใต้ซือ) พูดว่า... “ถ้าไม่มีใครเขาผูกเจ้าไว้แล้ว ทำไมเจ้าจึงจะต้องมาหาคนแก้ด้วยเล่า?”
สามเณรเต้าสิ่น ก็เกิดความสว่างไสว และได้บรรลุธรรมในข้อที่ตนสงสัยขึ้นมาทันที
จึงเกิดความศรัทธาท่านพระสังฆปริณายก เลยถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาธรรมะอยู่ 9 พรรษา ท่านพระอาจารย์ได้ทดลองภูมิปัญญาอยู่เสมอๆ แล้วต่อมาได้บรรลุธรรม ท่านพระอาจารย์ก็จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ “เต้าสิ่นใต้ซือ”... (ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ 1 แปลและเรียบเรียงโดย “ธีรทาส”)
กรณีนี้จะเห็นว่า ตอนมีภาวะเส้นผมบังภูเขานั้น มันมืดตื้อ จิตหมองมัวยังไงชอบกล พอเส้นผมบังภูเขาหลุดออกไป มันสว่างไสวดั่งพระจันทร์เต็มดวง หรือพระอาทิตย์ไร้เมฆหมอกบดบัง
ใครผูกเจ้าไว้?
กระผมผูกตัวเองครับ! ดังนั้น กระผมต้องแก้เอง!
ไฟไหม้ตรงไหน ต้องดับตรงนั้น ไม่ใช่ไปดับที่อื่น
เหตุแห่งปัญหาอยู่ที่ไหน ก็ต้องไปแก้ที่นั่น
เอาอะไรไปแก้?
ก็หนีไม่พ้น มรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นข้อที่สี่ของอริยสัจสี่ หรือปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั่นแล
เป็นเรื่องเก่าๆ ที่รู้ๆ กันอยู่ พูดกันมาสอนกันมากว่า 2,500 ปี ผู้ที่เห็นธรรม เห็นพระพุทธเจ้าจะมีมากตามวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่ หรือจะมีน้อยลงตามวันเวลาที่มากขึ้นๆ จนหมดสิ้นไปในที่สุด ท่านผู้พิจารณาทั้งหลายย่อมกระจ่างแจ้งแก่ใจ
อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
มรรค คือทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ได้แก่ 1. เห็นชอบ 2. ดำริชอบ (1,2 = ปัญญา) 3. เจรจาชอบ 4. กระทำชอบ 5. เลี้ยงชีพชอบ (3, 4, 5 = ศีล) 6. พยายามชอบ 7. ระลึกชอบ 8. ตั้งจิตมั่นชอบ (6, 7, 8 = สมาธิ)
มรรคมีองค์แปดนี้ เป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับ ทุกข์ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข และการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง
มรรคแปดระดับปัญญา คือข้อ 1 และข้อ 2 สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
ถ้ามีข้อ 1 ข้ออื่นๆ จนถึงข้อ 8 ก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ
ข้อ 1 สัมมาทิฏฐิ-เห็นชอบ เห็นอะไร?
เห็นอริยสัจสี่ หรือเห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นอกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ 12 คือการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน หรือธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม หรือการมีสิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น เช่น...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นต้น (เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี = เกิด)
เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เป็นต้น (เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ = ดับ)
มีนักปราชญ์บางท่านเรียกปฏิจจสมุปบาทว่า อริยสัจใหญ่ หรืออริยสัจฉบับสมบูรณ์
อวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจสี่ ได้แก่ ไม่รู้ในทุกข์ ไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้ในความดับทุกข์ และไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
มีอวิชชา ก็มีทุกข์มีปัญหา ไม่มีอวิชชา ก็ไม่มีทุกข์ ไม่มีปัญหา
“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม” และ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา (ตถาคต)”
นี่คือพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นานแล้ว ยังเป็นแสงสว่างที่ส่องทางให้สรรพสิ่ง ดุจพระอาทิตย์ที่ยังสองแสงสว่างไสวอันเป็นนิรันดร์ นอกจากจะมีเมฆหมอกผ่านมาบดบังให้มืดมัวชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
“แก้ปัญหาใด
ต้องไปที่เหตุ
มรรคแปดพิเชฐ
ทุกเหตุดับสิ้น”
เป็นความจริงที่เที่ยงแท้แน่นอน ใช้ได้ทุกสถานและกาลเวลา
พูดเรื่องธรรมะดูเหมือนมันยาก ถ้าเอาเส้นผมบังภูเขาออก มันก็เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ผู้คนจะเข้าใจเข้าถึงหรือไม่นั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
บางครั้งก็มีไฟ บางครั้งไฟเหมือนจะมอดดับ เหมือนมีใครคอยเสิร์ฟลูกท้อให้
พอดี...คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ยื่นเทียนและไม้ขีดไฟให้ (ณ เวทีแจ้งวัฒนะ 9 พ.ค. 2557) ว่า...
“ธรรมของพระพุทธเจ้าอธิบายได้ทุกเรื่อง ธรรมของพระพุทธเจ้าแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เว้นเสียแต่ว่า...จะกล้าใช้หรือไม่เท่านั้น”
นี่คือ...ความคิดความเห็นของผู้เข้าใจธรรมและเข้าใจโลกอย่างแท้จริง
ไฟที่กำลังจะดับมอด ก็คุโชนขึ้นอีกครั้ง
เรื่องทางธรรมและทางโลกอยู่ด้วยกัน เหมือนสองด้านของเหรียญ ถ้าขาดด้านใดด้านหนึ่งก็ไม่เป็นเหรียญ “หนึ่งเหรียญมีสองด้าน สองด้านมีหนึ่งเหรียญ”
ชาติบ้านเมืองของเรากำลังมีภัย ไฟกำลังไหม้บ้าน เราผู้อาศัยก็ต้องช่วยกันดับที่เหตุ คือตรงไปที่ไฟไหม้ ไม่ใช่ไปดับที่อื่น “เหตุเกิดที่ไหน ต้องดับที่นั่น” ชาติบ้านเมืองไม่ปกติ กำลังวิกฤตสุดๆ เพราะนักการเมืองขี้โกงขี้ข้าเป็นต้นเหตุ อาเพศเหตุร้ายจึงแผ่ขยายปกคลุมไปทุกถิ่นคาม ทั่วทั้งแผ่นดินไทย
ผู้คนแบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่ายชัดเจน คือ ฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม หรือฝ่ายความดีกับฝ่ายความชั่ว แล้วฝ่ายประชาธิปไตยรักชาติกับฝ่ายเผด็จการขายชาติ ฯลฯ
ต่างฝ่ายต่างก็อ้าง ฝ่ายตนเป็นฝ่ายธรรมะ ยกให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายอธรรม ปากก็ว่ากันไป แต่พฤติกรรมที่ทำลงไป เป็นความจริงหรือคำตอบที่ถูกต้อง
คนโง่ย่อมถูกเขาหลอกเขาจูง คนฉลาดรู้ทันไม่ยอมตกเป็นฝูง ก็ได้แต่ขบขันและสมเพชที่เพื่อนร่วมชาติหลงเพ้อถึงเพียงนี้
ภาวะไม่ปกติและวิกฤตสุดๆ ของชาติบ้านเมืองขนาดนี้ ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ในอำนาจ (โดยเฉพาะทหารอันเป็นขุมกำลังหลักของชาติ) และหมดอำนาจแต่ยังมีบารมีอยู่ ยังจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ไม่รู้สึกรู้สาอะไร อยู่ได้ไง? ถ้าจะช่วยกันแก้ปัญหาให้ถูกจุด-ตรงเหตุจริงๆ กลัวจะกระทบถึงตัวเองละซิ! หรือเปล่า?
มวลมหาประชาชนลุกขึ้นสู้เป็นเวลานานกว่าครึ่งปี (ตายไปกว่า 20 บาดเจ็บกว่า 700) เป็นแสนเป็นล้าน เป็นหลายๆ ล้านอย่างนี้ หากท่านผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายยังไม่ตื่น ยังไม่รู้สึกรู้สาอะไร รู้สึกจะผิดปกติหรือมากเกินไปแล้ว (ใจทำด้วยอะไร) จะให้ลูกหลานเคารพนับถือกราบไหว้ได้อย่างไร ยังมีเวลากลับใจ กลับมาสู่อ้อมกอดของประชาชนก่อนที่จะสุดเสียใจ ไร้โอกาสช่วยชาติบ้านเมืองของตน
เหตุเกิดที่ไหน ต้องดับที่นั่น เหตุเกิดที่นักการเมืองขี้โกง ต้องดับที่นักการเมืองขี้โกง ถ้าใช้ “การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง” ก็เท่ากับว่า ให้นักการเมืองโกงไปแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่ตนทำไว้อย่างนั้นรึ?
ก่อนจะไปดับหรือแก้ปัญหาคนอื่น ก็อย่าลืมดับหรือแก้ปัญหาตนเองให้ได้ก่อน บทบาทที่เล่นจึงจะสมจริง ไม่ใช่เล่นแบบ “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” คือว่ากล่าวสั่งสอนหรือตำหนิติเตียนผู้อื่น แต่ตัวกลับทำเสียเอง (อย่าคอร์รัปชัน แต่ตัวเองโคตรคอร์รัปชัน)
คนรู้จักรู้จำธรรมะมีมาก ขณะที่คนรู้เห็นรู้แจ้งธรรมะมีน้อย หากเปรียบก็เหมือนกับคนรู้จักรู้จำธรรมะมีมากเท่ากับขนควาย คนรู้เห็นรู้แจ้งธรรมะ มีน้อยเท่ากับเขาควาย
เพราะเหตุใดฤา?
ฟังคำตอบจากท่านพระสังฆปริณายก องค์ที่ 1 พระโพธิธรรมมหาครูบา (สายจีนองค์ที่ 1 สายอินเดียองค์ที่ 28) ดีกว่า...
ท่านทั้งสองเดินทางไปยังภูเขาซงซัว พักอยู่ที่ “วัดเซียวลิ่มยี่” พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ท่านนั่งสมาธิเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี
พระซิ่งกวงที่กระโดดน้ำติดตามไป ก็คอยเฝ้าปรนนิบัติท่านพระอาจารย์อยู่ ไม่ยอมไปไหนเลย มาวันหนึ่ง หิมะตกหนัก ท่านยืนคอยเฝ้าพระอาจารย์อยู่จนหิมะตกมาก หนาท่วมสูงแค่หัวเข่า
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา จึงถามว่า “ท่านมายืนตากหิมะอยู่ที่นี่ เพื่อประสงค์อะไร?”
พระซิ่งกวง น้ำตาไหลซึมออกมาแล้วพูดว่า “จะมาขอเรียนธรรมะจากท่านพระอาจารย์ครับ! นิ่งสักครู่ พอเห็นท่านพระอาจารย์ไม่ตอบ ก็ถามต่อไปอีกว่า “หัวใจแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น เป็นสิ่งที่จะพูดหรือแสดงออกมาให้เห็นและฟังได้ไหมครับ?”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า “หัวใจแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ไม่ใช่ได้มาจากผู้อื่น แล้วธรรมะนั้น จะเรียนหรือจะสอนให้แก่กันไม่ได้ง่ายๆ นัก ท่านมีความศรัทธาอยู่แค่ไหน”
พระซิ่งกวง พอได้ยินท่านพระอาจารย์พูดเช่นนั้นแล้ว จึงหันหลังกลับไปหยิบมีดขึ้นมาฟันลงไปบนแขนซ้ายตนจนขาดออกมา แล้วก็นำเอาแขนนี้ไปถวายบูชาท่านพระอาจารย์ เพื่อให้ท่านเห็นว่ามีความศรัทธาที่จะศึกษาธรรมสูงมากถึงเพียงนี้
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา เห็นท่านซิ่งกวง “ปลงสังขารตก” มีความศรัทธาในธรรมะมากกว่าชีวิต แล้วจึงพูดว่า “ท่านอยากจะเรียนธรรมอะไร?”
พระซิ่งกวง ตอบว่า “จิตของผมมันไม่สงบ ขอให้ท่านพระอาจารย์ช่วยทำจิตให้สงบที”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า “ท่านจงเอาจิตออกมาซิ ฉันจะทำให้จิตมันสงบ”
พระซิ่งกวง นิ่ง คิดอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วก็ตอบท่านพระอาจารย์ว่า “ผมหาจิตไม่พบครับ”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า “ฉันได้ทำจิตของท่านสงบแล้ว”
พระซิ่งกวง ก็เกิดความสว่างไสว บรรลุธรรม (สุญญาตา) ทันที และได้ศึกษาธรรมต่างๆ อีกมากมายด้วย
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา จึงได้ถ่ายทอดบาตร จีวร สังฆาฏิ ธรรมะทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ “พระซิ่งกวง” แล้วเปลี่ยนชื่อให้เสียใหม่จาก “ซิ่งกวง” มาเป็น “พระหุยค้อมหาครูบา”
ท่านพูดอีกว่า จากนี้เป็นต้นไป ท่านหุยค้อเป็นพระสังฆปริณายก องค์ที่ 2 ของนิกายเซ็น (ฌาน) ในเมืองจีน สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป แล้วยังได้กล่าวโศลกให้ไว้อีกว่า...
“ฉันเดินมาถึงแผ่นดินนี้
ถ่ายทอดธรรมช่วยผู้หลงงมงายอารมณ์
หนึ่ง-ดอกไม้บานครบ 5 กลีบแล้ว
ผลที่สุดธรรมชาติจะปรากฏขึ้นมาเอง”
...(ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น ฉบับเซียนท้ออายุยืน เรียบเรียง โดยอาจารย์ธีระ วงศ์โพธิ์พระ)
เป็นไงบ้าง จิตสงบเหมือนพระซิ่งกวงไหม ถ้ายังไม่สงบก็ไม่เป็นไร ฟังท่านพระโพธิธรรมมหาครูบาอีกสักนิด
“แม้เราได้ถ่ายทอดให้แล้วซึ่งธรรมะแห่งจิต ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้อย่างไรกัน เพราะว่าไม่ใช่ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้งจิตที่สามารถมีอยู่อย่างมีความเป็นตัวเป็นตน เข้าใจข้อนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจธรรมะ ซึ่งถ่ายทอดด้วยจิตถึงจิต”
ตอนนี้คงจะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วนะ ถ้ายังไม่เข้าใจ ยังไม่สงบ ก็ไม่เป็นไร เล่นบทบาทสมมติตามที่โลกมอบให้อย่างเต็มที่ แล้วชัยชนะก็จะเป็นของเรา
ธงธรรมไม่เคยแพ้ มีแต่ชนะ ไม่ชนะเปลือก ก็ชนะแก่นเป็นประจำ หรือไม่ก็ชนะทั้งเปลือกและแก่นอยู่เสมอ
“เมื่อตื่นรู้ ย่อมลุกสู้ หมู่อธรรม
เมื่อซึ้งธรรม จึงเอาธรรม นำหน้าสู้
ใจมุ่งมั่น มิพรึงพรั่น หวั่นศัตรู
ผู้ตื่นรู้ ย่อมสู้สวย ด้วยธงธรรม”
ท่านประชาชนผู้รักชาติบ้านเมืองทั้งหลายทั้งปวง ที่ลุกขึ้นสู้กับเหล่าอธรรมด้วยความกล้าหาญ อดทน อดกลั้น ตากแดด ตากฝน ทนหนาว นอนกลางดินกินกลางถนนอย่างทุกข์ยากลำบาก เพื่อความสุขของคนทั้งชาตินั้น ขอให้ทุกท่านประสบโชคดีมีชัยโดยทั่วหน้ากันเถิด