นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานกกต. แถลงภายหลังการประชุมนัดพิเศษระหว่างกกต.กับคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย เมื่อวานนี้ (12พ.ค.) ว่า การประชุมครั้งนี้มีกกต. 4 คนเข้าร่วม โดยนายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนได้ลาประชุม โดยในประเด็นที่กกต.ขอหารือว่านายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการรักษาการ ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่วไปร่วมกับ ประธานกกต. และมีอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงเป็นผู้มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวหรือไม่ ซึ่ง กรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ได้มีการอภิปรายแสดงความเห็นในข้อกฎหมายอย่างเป็นอิสระ โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่แตกต่างกันในข้อสังเกต ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ว่า ความเห็นไปในทางเดียวกันนั้น คืออะไร โดยหลังจากนี้ทางสำนักงานฯ ก็จะได้รวบรวมเพื่อเสนอต่อที่ประชุม กกต.พิจารณาในช่วงเช้า วันที่ 14 พ.ค. ก่อนที่ กกต.จะหารือกับรัฐบาลในช่วงบ่ายวันเดียวกัน
ส่วนประเด็นว่า ในร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว กกต.จะสามารถให้มีการบรรจุถ้อยคำว่า หากมีเหตุจำเป็นฉุกเฉินให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลื่อนวันเลือกตั้งตามที่กกต.เสนอได้ นั้น กรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ก็ได้แสดงความเห็น มีทั้งเห็นว่าสามารถทำได้ และไม่ได้ ซึ่งกกต.ก็จะนำความเห็นดังกล่าวไปหารือกันอีกครั้ง ก่อนที่จะหารือกับรัฐบาล ซึ่งขณะนี้กกต.ได้รับแจ้งว่า นายนิวัฒน์ธำรง จะเดินทางมาหารือกับกกต.ด้วยตนเอง พร้อมกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็จะมีปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมคณะมาด้วย
ทั้งนี้ นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงกรณี กปปส. เสนอประธานวุฒิสภา ให้หารือร่วมกับประมุข 3 ศาล และประธานกกต. เพื่อหาทางตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลาง ว่า ก่อนประชุม กกต. นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ได้ระบุว่า กกต.จะต้องคุยกับรัฐบาลในวันที่ 14 พ.ค. ส่วนหากมีการเชิญ หรือจะรับเชิญอย่างไร ต้องเป็นมติของกกต.อีกครั้ง กกต.จะรับเชิญโดยไม่มีมติไม่ได้ ดังนั้นคงต้องดูความชัดเจนอีกครั้งว่าที่จะเชิญนั้นเป็นการเชิญเพื่อไปทำอะไร เพราะแต่ละองค์กร ก็มีหน้าที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่กกต.ต้องยึดถือเป็นหลักสำคัญคือ เรื่องของความเป็นกลาง
** กฤษฎีกายัน"นิวัฒน์ธำรง"ทูลเกล้าฯได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมร่วมกับทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย และ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหารือถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ในการทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งส.ส. รวมทั้งเรื่องการรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานวุฒิสภาได้หรือไม่ ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่า นายนิวัฒน์ธำรง สามารถลงนามได้ รวมถึงมีอำนาจในทูลเกล้าฯทั้งสองเรื่อง
**เตรียมเลือก กกต.กทม.ชุดใหม่
นายวีระ ยี่แพร ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กกต.กทม. ชุดใหม่เพื่อทดแทนชุดเก่าที่จะหมดวาระ ในวันที่ 30 มิ.ย. เปิดเผยว่า หลักจากได้มีการเปิดรับสมัคร และเปิดให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ในวันนี้ มีผู้มาแสดงวิสัยทัศน์จำนวน 40 คน จากผู้สมัครทั้งหมด 46 คน โดยมีผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติ และไม่มาแสดงวิสัยทัศน์ 6 คน ซึ่งในการแสดงวิสัยทัศน์ ช่วงเช้าและช่วงบ่ายเป็นการเปิดให้ผู้สมัครได้พูดถึงการทำงาน หากได้รับการคัดเลือกเป็น กกต. กทม. จะทำอย่างไรให้การทำงานเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม โดยให้แสดงวิสัยทัศคนละ 5 นาที ท่ามกลางคณะกรรมการสรรหา ที่นำโดย นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะประธาน
จากนั้น กรรมการสรรหาได้ประชุมลับ เพื่อลงมติคัดเลือกให้เหลือจำนวน 15 คน ผลปรากฏดังต่อไปนี้ นายสมภพ ระงับทุกข์ นายบรรจง สุขดี นายวิชัย โถสุวรรณจินดา นายประวิช ศรีวิลัย พ.ต.อ.วีรวิทย์ จันทร์จำเริญ นายบัญญัติ ภิญโญ นายกระมล โอฬาระวัต พล.ท.ณรงค์ฤทธิ์ อิศรัตน์ นายชัยณรงค์ เทียนมงคล นายประวิง คชาชีวะ นายชีวินรัฏฐ แก้ววัฒนะบวร พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ พล.อ.ต.อุทิศ ภาคภูมิ และ พล.ท.ศานิต สร้างสมวงษ์
นายวีระ กล่าวต่อว่า จะนำรายชื่อผู้สมัครทั้ง 46 คน เสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 14 พ.ค. โดยจะจัดทำบัญชีรายชื่อ 2 บัญชี บัญชีแรก 15 คน ที่กรรมการสรรหาได้คัดเลือก ส่วนอีกบัญชีเป็นผู้สมัครที่เหลือ ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก โดยเมื่อกกต. ได้รับแล้วก็จะตั้งกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้ง ก่อนคัดเลือกผู้สมัครที่ผ่านการสรรหาจำนวน 15 คน ให้เหลือ 5 คน ทั้งนี้ในกระบวนการระหว่างรอให้ กกต.คัดเลือก สามารถคัดค้านได้ตลอดเวลา หากพบว่าผู้สมัครคนใดมีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง
ส่วนประเด็นว่า ในร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว กกต.จะสามารถให้มีการบรรจุถ้อยคำว่า หากมีเหตุจำเป็นฉุกเฉินให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลื่อนวันเลือกตั้งตามที่กกต.เสนอได้ นั้น กรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ก็ได้แสดงความเห็น มีทั้งเห็นว่าสามารถทำได้ และไม่ได้ ซึ่งกกต.ก็จะนำความเห็นดังกล่าวไปหารือกันอีกครั้ง ก่อนที่จะหารือกับรัฐบาล ซึ่งขณะนี้กกต.ได้รับแจ้งว่า นายนิวัฒน์ธำรง จะเดินทางมาหารือกับกกต.ด้วยตนเอง พร้อมกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็จะมีปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมคณะมาด้วย
ทั้งนี้ นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงกรณี กปปส. เสนอประธานวุฒิสภา ให้หารือร่วมกับประมุข 3 ศาล และประธานกกต. เพื่อหาทางตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลาง ว่า ก่อนประชุม กกต. นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ได้ระบุว่า กกต.จะต้องคุยกับรัฐบาลในวันที่ 14 พ.ค. ส่วนหากมีการเชิญ หรือจะรับเชิญอย่างไร ต้องเป็นมติของกกต.อีกครั้ง กกต.จะรับเชิญโดยไม่มีมติไม่ได้ ดังนั้นคงต้องดูความชัดเจนอีกครั้งว่าที่จะเชิญนั้นเป็นการเชิญเพื่อไปทำอะไร เพราะแต่ละองค์กร ก็มีหน้าที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่กกต.ต้องยึดถือเป็นหลักสำคัญคือ เรื่องของความเป็นกลาง
** กฤษฎีกายัน"นิวัฒน์ธำรง"ทูลเกล้าฯได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมร่วมกับทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย และ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหารือถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ในการทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งส.ส. รวมทั้งเรื่องการรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานวุฒิสภาได้หรือไม่ ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่า นายนิวัฒน์ธำรง สามารถลงนามได้ รวมถึงมีอำนาจในทูลเกล้าฯทั้งสองเรื่อง
**เตรียมเลือก กกต.กทม.ชุดใหม่
นายวีระ ยี่แพร ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กกต.กทม. ชุดใหม่เพื่อทดแทนชุดเก่าที่จะหมดวาระ ในวันที่ 30 มิ.ย. เปิดเผยว่า หลักจากได้มีการเปิดรับสมัคร และเปิดให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ในวันนี้ มีผู้มาแสดงวิสัยทัศน์จำนวน 40 คน จากผู้สมัครทั้งหมด 46 คน โดยมีผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติ และไม่มาแสดงวิสัยทัศน์ 6 คน ซึ่งในการแสดงวิสัยทัศน์ ช่วงเช้าและช่วงบ่ายเป็นการเปิดให้ผู้สมัครได้พูดถึงการทำงาน หากได้รับการคัดเลือกเป็น กกต. กทม. จะทำอย่างไรให้การทำงานเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม โดยให้แสดงวิสัยทัศคนละ 5 นาที ท่ามกลางคณะกรรมการสรรหา ที่นำโดย นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะประธาน
จากนั้น กรรมการสรรหาได้ประชุมลับ เพื่อลงมติคัดเลือกให้เหลือจำนวน 15 คน ผลปรากฏดังต่อไปนี้ นายสมภพ ระงับทุกข์ นายบรรจง สุขดี นายวิชัย โถสุวรรณจินดา นายประวิช ศรีวิลัย พ.ต.อ.วีรวิทย์ จันทร์จำเริญ นายบัญญัติ ภิญโญ นายกระมล โอฬาระวัต พล.ท.ณรงค์ฤทธิ์ อิศรัตน์ นายชัยณรงค์ เทียนมงคล นายประวิง คชาชีวะ นายชีวินรัฏฐ แก้ววัฒนะบวร พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ พล.อ.ต.อุทิศ ภาคภูมิ และ พล.ท.ศานิต สร้างสมวงษ์
นายวีระ กล่าวต่อว่า จะนำรายชื่อผู้สมัครทั้ง 46 คน เสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 14 พ.ค. โดยจะจัดทำบัญชีรายชื่อ 2 บัญชี บัญชีแรก 15 คน ที่กรรมการสรรหาได้คัดเลือก ส่วนอีกบัญชีเป็นผู้สมัครที่เหลือ ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก โดยเมื่อกกต. ได้รับแล้วก็จะตั้งกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้ง ก่อนคัดเลือกผู้สมัครที่ผ่านการสรรหาจำนวน 15 คน ให้เหลือ 5 คน ทั้งนี้ในกระบวนการระหว่างรอให้ กกต.คัดเลือก สามารถคัดค้านได้ตลอดเวลา หากพบว่าผู้สมัครคนใดมีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง