วานนี้ (12 พ.ค.) ที่ห้องประชุมอาคารศศนิเวศสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนา หัวข้อ "องค์กรอิสระ :: ผ่าทางตันประเทศไทย ? " โดยมี นายประพันธ์ นัยโกวิท อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) รับผิดชอบงานด้านการบริหารการเลือกตั้ง นายเจษฎ์ โทณวณิก อดีตผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม ในฐานะนักกฎหมายอิสระ นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และ นายอรรถสิทธิ์ พานแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยข้อมูลการเมืองไทย ร่วมเสวนา
**แนะเจรจาเพื่อไปสู่เลือกตั้ง
นายประพันธ์ กล่าวว่า ในสถานการณ์การเมืองที่มีความขัดแย้งขณะนี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยหาทางออก ซึ่งกกต.ก็ต้องมีหน้าที่ทำตามกฎหมาย ในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งพวกเราต้องให้กำลังใจ กกต. ส่วนเขาจะจับมือหรือไม่ กกต.ก็ต้องมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้ดีที่สุด ถ้าองค์กรอิสระ ทำหน้าที่เป็นกลาง และจริงจังปัญหาต่างๆ จะดีขึ้นเอง
ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยให้รักษาการนายกฯสิ้นสภาพนั้น คณะรัฐมนตรี(ครม.) บางส่วนก็ยังอยู่ เพราะฉะนั้นคนที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ก็ยังมีอำนาจอยู่ ซึ่งที่เคยปฏิบัติกันมานั้น ก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจได้ แต่ก็อยู่ที่การตีความทาง
กฎหมาย ส่วนตอนนี้จะมีรัฐบาลอยู่หรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ตัดสินชัดเจนแล้ว ว่าครม.ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาฯสมช. ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ซึ่งการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ก็เป็นตัวอย่างว่าจะวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล ไม่เป็นสุญญากาศ การมีองค์กรอิสระดีกว่าไม่มีองค์กรอิสระ
"ถ้าจะเอาบุคคลไม่ใช่เป็นส.ส.มา มันขัดหลักสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามหลักก็ต้องยึดตามกฎหมาย จะใช้มาตรา 7 ก็ไปยาก ซึ่งความเห็นผม พระราชกฤษฎีกายังมีผล ก็ต้องเดินตามกฎหมาย เพราะในที่สุดจะหนีการเลือกตั้งไม่พ้น ส่วนจะเลือกได้ ไม่ได้ เป็นเรื่องการบริหารการจัดการ " นายประพันธ์ กล่าว
นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า ทางออกในเรื่องนี้ ต้องมีการเจรจากัน โดยให้ผู้มีอำนาจบารมีมาช่วยไกล่เกลี่ย จะเอาเลือกตั้ง หรือเอานายกรัฐมนตรีคนกลาง แต่ความเห็นส่วนตัว เมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไปแล้ว คงไม่มาสมัคร เพราะก็ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ช๊้มูลความผิด ส่งเรื่องไปให้วุฒิสสภาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปช็อปปิ้งที่เชียงใหม่มีความสุข จึงไม่มีใครแพ้ชนะ แต่เมื่อรัฐบาลไม่สลายม็อบ กปปส.ก็อยู่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกรัฐมนตรียังอยู่ ไม่มีใครชนะ จึงยันอยู่อย่างนี้ แต่ประเทศชาติจะเสียหาย จุดนี้จึงไม่มีใครได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องหยุดมาคุยกันก่อนว่า จะปฏิรูป หรือจะทำอย่างไร ออกกฎหมายปรองดองก็ได้ ยกเว้นแกนนำ หมายความว่าต้องหาทางคิดกันไป เพื่อหาทางออกทั้งสองฝ่าย เพราะเวลาเจรจาขณะนี้น้อยลงเรื่อยๆ จากผู้มีอำนาจบารมีในบ้านเมือง ก่อนปิดรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถ้าเลยไปเเล้ว ปัญหาจะแก้ยาก
"การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเลือกตั้งเป็นโมฆะ ก็ถือเป็นโอกาสดี ที่จะเริ่มต้นของทุกฝ่าย จะถอยคนละก้าว หรือจะนายกรัฐมนนตรีคนนอก ผมเห็นว่าตอนนี้ 6 เดือน เวลาใกล้หมด ต้องมาเจรจาแล้ว ไม่ว่าใคร ทั้งผู้นำเหล่าทัพ หรือใครก็ได้ ใครไม่ทำการแนะนำ ก็ต้องไม่สนับสนุน แต่ผมสนับสนุนการเลือกตั้ง นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปแล้ว กปปส. คุณได้แล้วก็ถอยได้ส่วนหนึ่ง จึงต้องเชื่อการตัดสินใจของประชาชน เพราะเดี๋ยวนี้ประชาชนฉลาดขึ้นเยอะ 6 เดือนมานี้ คนไทยรู้ว่า อะไรเป็นอะไร มีวิจารณญาณตัดสินได้ แล้วคนที่มีอำนาจ ถ้าไม่ออกมาตอนนี้จะแก้ยาก" นายประพันธ์ กล่าว
**ชี้"องคมนตรี"เหมาะนายกฯคนกลาง
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ กล่าวว่า ปัญหาของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ 2550 คือ การถ่วงดุลอำนาจกันและกัน มีการเพิ่มหน่วยงานขึ้นมาเพื่อการตรวจสอบ เพราะนักการเมืองของเราไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีจริยธรรม ใช้ช่องทางการเมืองเข้าสู่อำนาจ และผลประโยชน์ โดยวิธีสมัยปี 2540 คือ ต้องปฏิรูปการเมือง โดยนำสภาพการแก้ปัญหาใส่ลงไปในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งภายหลังความขัดแย้งก็มาเกิดในรัฐธรรมนูญอย่างมาก ทำให้เกิดการไม่ไว้ใจนักการเมือง จึงเกิดการต่อสู้แบบสภาพปัจจุบัน ปกติถ้านักการเมืองไม่ดี
ชาวบ้านจะออกมาไล่ แต่ประเทศไทยกลับไปดึงชาวบ้าน สร้างเป็นม็อบฝ่ายการเมือง ถ้าเล่นการเมืองแบบบ้านเรา จะทำให้เราแตกเป็นเสี่ยง มีทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง ประชาชนมีความแตกแยกอย่างชัดเจน จากปัญหาการเมือง เป็นปัญหาบ้านเมือง
"มีการพูดสองมาตรฐาน แต่กลับไม่ไปดูคำตัดสินในรายละเอียด เพราะฉะนั้น วิธีการขององค์กรอิสระเกิดปัญหาว่า ตัดสินแล้วเกิดการไม่ยอมรับ มีการบอกว่าไม่ยุติธรรมของศาล พวกที่บอกไม่ถูกต้อง แต่กลับไม่สามารถหาเหตุผลมาหักล้างของศาล กกต. หรือ ป.ป.ช.ได้" นายเสรี กล่าว
นายเสรี กล่าวต่อว่า ส่วนจะสุญญากาศหรือไม่ ตนเห็นว่า นายกรัฐมนตรี และครม.หลุดไปตั้งนานแล้ว ตามระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่ ตอนนี้จึงเท่ากับว่า ไม่มีรัฐมนตรีแล้ว ทำให้แนวทางบ้านเมืองที่เห็นอยู่จึงไม่สามารถบริหารประเทศได้ เพราะไม่มีนายกรัฐมนตรี จะให้ครม. 25 คนที่เหลืออยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าอะไรเรียบร้อยตาม มาตรา 181 หรือไม่ แต่เชื่อว่าทางออกในการผ่าทางตันยังมี แม้บางฝ่ายจะไม่ยอมรับว่า รัฐบาลมีอำนาจอยู่ หรือฝ่ายรัฐบาลบอกตัวเอง ก็ยังมีอำนาจอยู่นั้น โดยต้องให้ผู้มีอำนาจแท้จริงในการแก้ปัญหา ซึ่งในส่วน กปปส. อยากให้วุฒิสภา ศาลกกต.หาทางออก ตนก็เห็นว่า ศาลจะออกมาไม่ได้ เพราะจะดูไม่น่าเชื่อถือ ส่วนกกต.ก็ต้องเป็นกลาง ตอนนี้ที่จะแก้ปัญหาได้คือ องค์กรวุฒิสภา แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาโดยตรงได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงก็อยู่ที่ทหาร และตำรวจ แต่สุดท้ายก็ยังเชื่อว่า ทหาร ตำรวจ จะไม่ทำอะไร
นายเสรี กล่าวอีกว่า ตนคาดหวัง จะไม่ปฏิวัติ แต่ทหารต้องควบคุมความสงบให้ได้ องคมนตรี วุฒิสภา ทหาร ตำรวจ มาคุยกันจะเป็นทางออก ไม่เช่นนั้นจะทะเลาะแบบนี้ ต้องคิดว่านายกรัฐมนตรี จะเป็นใคร แต่ส่วนตัวเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ต้องเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายให้มากที่สุด ซึ่งตนอยากฟันธงว่า อยากให้องคมนตรีคนใดคนหนึ่ง เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นทางออก และเป็นที่ยอมรับ ถึงจะไม่มีใครพอใจ แต่ต้องแยกระหว่างความพอใจ กับทางออก ไม่เช่นนั้นเดินหน้าไม่ได้ แต่ก็ต้องคิดว่าองคมนตรีจะมาหรือไม่ ทั้งนี้ ถ้าจะหาคนมาเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีเวลาจำกัด ต้องเข้ามาแก้ปัญหาให้ประชาชน สร้างความเจริญ ตนว่าจะไม่เกิดปัญหา ไม่ใช่เข้ามาทุจริต ซึ่งไม่มีใครยอมรับได้ ส่วนถ้ามีอุปสรรคตอนนั้น ก็แก้กันไปในอนาคต
" คนที่จะแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ องคมนตรี ส่วนใครจะชอบหรือไม่ชอบ ก็อีกเรื่อง แต่การแก้ปัญหาบ้านเมืองต้องมีข้อแนะนำ โดยองค์กรหลักคือวุฒิสภา ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ตำรวจ องคมนตรี และหานายกรัฐมนตรีคนกลาง โดยใช้มาตรา 3 มาตรา 7 ได้ เพราะต้องดูสภาพความเป็นจริงว่า ถ้ามีเลือกตั้งอาจจะไม่สำเร็จ เพราะยังตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องมาดูรัฐธรรมนูญว่า มาตราไหนยังเดินได้ ให้บ้านเมืองเป็นทางออก ถ้าบอกว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็นส.ส.เท่านั้น บ้านเมืองก็จะไม่มีทางออก หรือจะตั้งรองนายกรัฐมนตรีคนกลางเข้ามาทำหน้าที่ ไปตั้งรัฐบาลคนกลางขึ้นมา ไปจัดเลือกตั้ง ไปจัดปฏิรูป ทางนี้ก็สามารถทำได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ" นายเสรี กล่าว
นายอรรถสิทธิ์ พานแก้ว กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศไทยถูกจับตามองจากหลายประเทศว่า องค์กรอิสระไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนที่เคยถูกออกแบบไว้ ส่วนกระบวนการ กปปส.นั้น ไม่ควรเดิน เพราะไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย เพราะเป็นการใช้มวลชนจำนวนหนึ่งขึ้นมา อาจจะต้องมีกระบวนการระดับประเทศมาสอบถาม หรือการทำประชามติ 60 วัน ไปสอบถามประชาชน ว่า จะเอาแบบไหน ใครจะปฏิรูป ปฏิรูปเป็นใคร หรือต้องให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งคอยปฏิรูป ไม่ใช่แต่งตั้งจากคนส่วนหนึ่งของประเทศ กลายเป็นให้มวลชนเป็นพวก แต่ไม่ถูกถามว่า เสียงของประชาชน คิดอะไร อย่างไรก็ตาม ต้องให้ทุกคนคุยกันให้จบ โดยให้ประชาชนมองเหตุการณ์นี้ว่าประเทศเป็นของเรา หรือเป็นของคนชั้นนำไม่กี่กลุ่ม ถ้าผู้นำคุยกันได้ เราพร้อมจะเดินตามผู้นำหรือไม่ จึงอยากให้นำเหตุการณ์นี้ได้มองว่าประเทศอาจไม่ใช่ของเราก็ได้
** ชี้เป็นยุคผู้ถืออำนาจคือเหตุผล
ด้าน นายเจษฎ์ โทณวณิก กล่าวว่า ตอนนี้เรายังไม่ตัน แต่สิ่งที่กปปส.เรียกร้องคือ สำนึกตามกฎหมายธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องนอกกรอบ จึงต้องให้สำนักกฎหมายบ้านเมืองนำมาคุยกัน ส่วนจะให้องค์กรอิสระผ่านทางตันอย่างไร เพราะไม่ได้มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ที่บอกนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. เพราะแค่คนตระบัดสัตย์ 1 คน ของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร โดยที่บ้านเมืองที่ตันทุกวันนี้ เพราะเราดันให้ถึงทางตันเอง ถ้านำทางตันแบบนี้ไปทูลเกล้าฯ จะจบได้อย่างไร ทั้งนี้จะคุยกันก่อน หรือตีกันก่อน ค่อยคุยกัน หรือจะคุยกัน ไม่ตีกัน แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ก็บอกแล้วว่า ถ้าไม่ทำจะทำเอง อีกฝ่ายก็บอกจะข้ามลำน้ำมา ก็ไม่รู้จะเป็นไปอย่างไร ส่วนแนวคิดว่าจะให้ทั้งวุฒิสภา ผู้นำเหล่าทัพ องคมนตรี มาแก้ปัญหานั้น ตนเห็นว่าต้องมีภาคอื่นมาช่วยกันด้วย
" ต้องคุยกันจะเอาใคร ต้องมีตัวเลือกให้เป็นที่ยอมรับ ผมยังคิดว่ามีอยู่ เพียงแต่ว่าจะมีคนรับ และมีกลไกลคุ้มครองการทำงานของคนนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าคน ๆ นี้ ที่เป็นนายกรัฐมนตรีไปโยกย้ายข้าราชการตามหน้าที่ มีคนไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรัฐธรรมนุญวินิจฉัยว่าผิดอีก นายกรัฐมนตรีคนนี้ ก็ซวยอีก ก็จะเป็นปัญหาตามมาอีกได้ ส่วนเรื่องอำนาจตอนนี้เป็นเหมือนกำลังภายใน ดาบใครไว คือเหตุผล ไม่ต้องมาคุยกัน อาวุธใครครบมือ คือเหตุผล ที่ผ่านมามะม่วงตอนนี้เอาไปคนละครึ่งใบแล้ว ก็ต้องถอยกัน ไม่เช่นนั้นมะม่วงอีกครึ่งใบ จะเน่า" นายเจษฎ์ กล่าว
**แนะเจรจาเพื่อไปสู่เลือกตั้ง
นายประพันธ์ กล่าวว่า ในสถานการณ์การเมืองที่มีความขัดแย้งขณะนี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยหาทางออก ซึ่งกกต.ก็ต้องมีหน้าที่ทำตามกฎหมาย ในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งพวกเราต้องให้กำลังใจ กกต. ส่วนเขาจะจับมือหรือไม่ กกต.ก็ต้องมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้ดีที่สุด ถ้าองค์กรอิสระ ทำหน้าที่เป็นกลาง และจริงจังปัญหาต่างๆ จะดีขึ้นเอง
ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยให้รักษาการนายกฯสิ้นสภาพนั้น คณะรัฐมนตรี(ครม.) บางส่วนก็ยังอยู่ เพราะฉะนั้นคนที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ก็ยังมีอำนาจอยู่ ซึ่งที่เคยปฏิบัติกันมานั้น ก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจได้ แต่ก็อยู่ที่การตีความทาง
กฎหมาย ส่วนตอนนี้จะมีรัฐบาลอยู่หรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ตัดสินชัดเจนแล้ว ว่าครม.ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาฯสมช. ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ซึ่งการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ก็เป็นตัวอย่างว่าจะวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล ไม่เป็นสุญญากาศ การมีองค์กรอิสระดีกว่าไม่มีองค์กรอิสระ
"ถ้าจะเอาบุคคลไม่ใช่เป็นส.ส.มา มันขัดหลักสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามหลักก็ต้องยึดตามกฎหมาย จะใช้มาตรา 7 ก็ไปยาก ซึ่งความเห็นผม พระราชกฤษฎีกายังมีผล ก็ต้องเดินตามกฎหมาย เพราะในที่สุดจะหนีการเลือกตั้งไม่พ้น ส่วนจะเลือกได้ ไม่ได้ เป็นเรื่องการบริหารการจัดการ " นายประพันธ์ กล่าว
นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า ทางออกในเรื่องนี้ ต้องมีการเจรจากัน โดยให้ผู้มีอำนาจบารมีมาช่วยไกล่เกลี่ย จะเอาเลือกตั้ง หรือเอานายกรัฐมนตรีคนกลาง แต่ความเห็นส่วนตัว เมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไปแล้ว คงไม่มาสมัคร เพราะก็ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ช๊้มูลความผิด ส่งเรื่องไปให้วุฒิสสภาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปช็อปปิ้งที่เชียงใหม่มีความสุข จึงไม่มีใครแพ้ชนะ แต่เมื่อรัฐบาลไม่สลายม็อบ กปปส.ก็อยู่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกรัฐมนตรียังอยู่ ไม่มีใครชนะ จึงยันอยู่อย่างนี้ แต่ประเทศชาติจะเสียหาย จุดนี้จึงไม่มีใครได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องหยุดมาคุยกันก่อนว่า จะปฏิรูป หรือจะทำอย่างไร ออกกฎหมายปรองดองก็ได้ ยกเว้นแกนนำ หมายความว่าต้องหาทางคิดกันไป เพื่อหาทางออกทั้งสองฝ่าย เพราะเวลาเจรจาขณะนี้น้อยลงเรื่อยๆ จากผู้มีอำนาจบารมีในบ้านเมือง ก่อนปิดรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถ้าเลยไปเเล้ว ปัญหาจะแก้ยาก
"การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเลือกตั้งเป็นโมฆะ ก็ถือเป็นโอกาสดี ที่จะเริ่มต้นของทุกฝ่าย จะถอยคนละก้าว หรือจะนายกรัฐมนนตรีคนนอก ผมเห็นว่าตอนนี้ 6 เดือน เวลาใกล้หมด ต้องมาเจรจาแล้ว ไม่ว่าใคร ทั้งผู้นำเหล่าทัพ หรือใครก็ได้ ใครไม่ทำการแนะนำ ก็ต้องไม่สนับสนุน แต่ผมสนับสนุนการเลือกตั้ง นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปแล้ว กปปส. คุณได้แล้วก็ถอยได้ส่วนหนึ่ง จึงต้องเชื่อการตัดสินใจของประชาชน เพราะเดี๋ยวนี้ประชาชนฉลาดขึ้นเยอะ 6 เดือนมานี้ คนไทยรู้ว่า อะไรเป็นอะไร มีวิจารณญาณตัดสินได้ แล้วคนที่มีอำนาจ ถ้าไม่ออกมาตอนนี้จะแก้ยาก" นายประพันธ์ กล่าว
**ชี้"องคมนตรี"เหมาะนายกฯคนกลาง
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ กล่าวว่า ปัญหาของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ 2550 คือ การถ่วงดุลอำนาจกันและกัน มีการเพิ่มหน่วยงานขึ้นมาเพื่อการตรวจสอบ เพราะนักการเมืองของเราไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีจริยธรรม ใช้ช่องทางการเมืองเข้าสู่อำนาจ และผลประโยชน์ โดยวิธีสมัยปี 2540 คือ ต้องปฏิรูปการเมือง โดยนำสภาพการแก้ปัญหาใส่ลงไปในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งภายหลังความขัดแย้งก็มาเกิดในรัฐธรรมนูญอย่างมาก ทำให้เกิดการไม่ไว้ใจนักการเมือง จึงเกิดการต่อสู้แบบสภาพปัจจุบัน ปกติถ้านักการเมืองไม่ดี
ชาวบ้านจะออกมาไล่ แต่ประเทศไทยกลับไปดึงชาวบ้าน สร้างเป็นม็อบฝ่ายการเมือง ถ้าเล่นการเมืองแบบบ้านเรา จะทำให้เราแตกเป็นเสี่ยง มีทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง ประชาชนมีความแตกแยกอย่างชัดเจน จากปัญหาการเมือง เป็นปัญหาบ้านเมือง
"มีการพูดสองมาตรฐาน แต่กลับไม่ไปดูคำตัดสินในรายละเอียด เพราะฉะนั้น วิธีการขององค์กรอิสระเกิดปัญหาว่า ตัดสินแล้วเกิดการไม่ยอมรับ มีการบอกว่าไม่ยุติธรรมของศาล พวกที่บอกไม่ถูกต้อง แต่กลับไม่สามารถหาเหตุผลมาหักล้างของศาล กกต. หรือ ป.ป.ช.ได้" นายเสรี กล่าว
นายเสรี กล่าวต่อว่า ส่วนจะสุญญากาศหรือไม่ ตนเห็นว่า นายกรัฐมนตรี และครม.หลุดไปตั้งนานแล้ว ตามระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่ ตอนนี้จึงเท่ากับว่า ไม่มีรัฐมนตรีแล้ว ทำให้แนวทางบ้านเมืองที่เห็นอยู่จึงไม่สามารถบริหารประเทศได้ เพราะไม่มีนายกรัฐมนตรี จะให้ครม. 25 คนที่เหลืออยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าอะไรเรียบร้อยตาม มาตรา 181 หรือไม่ แต่เชื่อว่าทางออกในการผ่าทางตันยังมี แม้บางฝ่ายจะไม่ยอมรับว่า รัฐบาลมีอำนาจอยู่ หรือฝ่ายรัฐบาลบอกตัวเอง ก็ยังมีอำนาจอยู่นั้น โดยต้องให้ผู้มีอำนาจแท้จริงในการแก้ปัญหา ซึ่งในส่วน กปปส. อยากให้วุฒิสภา ศาลกกต.หาทางออก ตนก็เห็นว่า ศาลจะออกมาไม่ได้ เพราะจะดูไม่น่าเชื่อถือ ส่วนกกต.ก็ต้องเป็นกลาง ตอนนี้ที่จะแก้ปัญหาได้คือ องค์กรวุฒิสภา แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาโดยตรงได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงก็อยู่ที่ทหาร และตำรวจ แต่สุดท้ายก็ยังเชื่อว่า ทหาร ตำรวจ จะไม่ทำอะไร
นายเสรี กล่าวอีกว่า ตนคาดหวัง จะไม่ปฏิวัติ แต่ทหารต้องควบคุมความสงบให้ได้ องคมนตรี วุฒิสภา ทหาร ตำรวจ มาคุยกันจะเป็นทางออก ไม่เช่นนั้นจะทะเลาะแบบนี้ ต้องคิดว่านายกรัฐมนตรี จะเป็นใคร แต่ส่วนตัวเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ต้องเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายให้มากที่สุด ซึ่งตนอยากฟันธงว่า อยากให้องคมนตรีคนใดคนหนึ่ง เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นทางออก และเป็นที่ยอมรับ ถึงจะไม่มีใครพอใจ แต่ต้องแยกระหว่างความพอใจ กับทางออก ไม่เช่นนั้นเดินหน้าไม่ได้ แต่ก็ต้องคิดว่าองคมนตรีจะมาหรือไม่ ทั้งนี้ ถ้าจะหาคนมาเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีเวลาจำกัด ต้องเข้ามาแก้ปัญหาให้ประชาชน สร้างความเจริญ ตนว่าจะไม่เกิดปัญหา ไม่ใช่เข้ามาทุจริต ซึ่งไม่มีใครยอมรับได้ ส่วนถ้ามีอุปสรรคตอนนั้น ก็แก้กันไปในอนาคต
" คนที่จะแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ องคมนตรี ส่วนใครจะชอบหรือไม่ชอบ ก็อีกเรื่อง แต่การแก้ปัญหาบ้านเมืองต้องมีข้อแนะนำ โดยองค์กรหลักคือวุฒิสภา ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ตำรวจ องคมนตรี และหานายกรัฐมนตรีคนกลาง โดยใช้มาตรา 3 มาตรา 7 ได้ เพราะต้องดูสภาพความเป็นจริงว่า ถ้ามีเลือกตั้งอาจจะไม่สำเร็จ เพราะยังตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องมาดูรัฐธรรมนูญว่า มาตราไหนยังเดินได้ ให้บ้านเมืองเป็นทางออก ถ้าบอกว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็นส.ส.เท่านั้น บ้านเมืองก็จะไม่มีทางออก หรือจะตั้งรองนายกรัฐมนตรีคนกลางเข้ามาทำหน้าที่ ไปตั้งรัฐบาลคนกลางขึ้นมา ไปจัดเลือกตั้ง ไปจัดปฏิรูป ทางนี้ก็สามารถทำได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ" นายเสรี กล่าว
นายอรรถสิทธิ์ พานแก้ว กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศไทยถูกจับตามองจากหลายประเทศว่า องค์กรอิสระไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนที่เคยถูกออกแบบไว้ ส่วนกระบวนการ กปปส.นั้น ไม่ควรเดิน เพราะไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย เพราะเป็นการใช้มวลชนจำนวนหนึ่งขึ้นมา อาจจะต้องมีกระบวนการระดับประเทศมาสอบถาม หรือการทำประชามติ 60 วัน ไปสอบถามประชาชน ว่า จะเอาแบบไหน ใครจะปฏิรูป ปฏิรูปเป็นใคร หรือต้องให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งคอยปฏิรูป ไม่ใช่แต่งตั้งจากคนส่วนหนึ่งของประเทศ กลายเป็นให้มวลชนเป็นพวก แต่ไม่ถูกถามว่า เสียงของประชาชน คิดอะไร อย่างไรก็ตาม ต้องให้ทุกคนคุยกันให้จบ โดยให้ประชาชนมองเหตุการณ์นี้ว่าประเทศเป็นของเรา หรือเป็นของคนชั้นนำไม่กี่กลุ่ม ถ้าผู้นำคุยกันได้ เราพร้อมจะเดินตามผู้นำหรือไม่ จึงอยากให้นำเหตุการณ์นี้ได้มองว่าประเทศอาจไม่ใช่ของเราก็ได้
** ชี้เป็นยุคผู้ถืออำนาจคือเหตุผล
ด้าน นายเจษฎ์ โทณวณิก กล่าวว่า ตอนนี้เรายังไม่ตัน แต่สิ่งที่กปปส.เรียกร้องคือ สำนึกตามกฎหมายธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องนอกกรอบ จึงต้องให้สำนักกฎหมายบ้านเมืองนำมาคุยกัน ส่วนจะให้องค์กรอิสระผ่านทางตันอย่างไร เพราะไม่ได้มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ที่บอกนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. เพราะแค่คนตระบัดสัตย์ 1 คน ของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร โดยที่บ้านเมืองที่ตันทุกวันนี้ เพราะเราดันให้ถึงทางตันเอง ถ้านำทางตันแบบนี้ไปทูลเกล้าฯ จะจบได้อย่างไร ทั้งนี้จะคุยกันก่อน หรือตีกันก่อน ค่อยคุยกัน หรือจะคุยกัน ไม่ตีกัน แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ก็บอกแล้วว่า ถ้าไม่ทำจะทำเอง อีกฝ่ายก็บอกจะข้ามลำน้ำมา ก็ไม่รู้จะเป็นไปอย่างไร ส่วนแนวคิดว่าจะให้ทั้งวุฒิสภา ผู้นำเหล่าทัพ องคมนตรี มาแก้ปัญหานั้น ตนเห็นว่าต้องมีภาคอื่นมาช่วยกันด้วย
" ต้องคุยกันจะเอาใคร ต้องมีตัวเลือกให้เป็นที่ยอมรับ ผมยังคิดว่ามีอยู่ เพียงแต่ว่าจะมีคนรับ และมีกลไกลคุ้มครองการทำงานของคนนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าคน ๆ นี้ ที่เป็นนายกรัฐมนตรีไปโยกย้ายข้าราชการตามหน้าที่ มีคนไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรัฐธรรมนุญวินิจฉัยว่าผิดอีก นายกรัฐมนตรีคนนี้ ก็ซวยอีก ก็จะเป็นปัญหาตามมาอีกได้ ส่วนเรื่องอำนาจตอนนี้เป็นเหมือนกำลังภายใน ดาบใครไว คือเหตุผล ไม่ต้องมาคุยกัน อาวุธใครครบมือ คือเหตุผล ที่ผ่านมามะม่วงตอนนี้เอาไปคนละครึ่งใบแล้ว ก็ต้องถอยกัน ไม่เช่นนั้นมะม่วงอีกครึ่งใบ จะเน่า" นายเจษฎ์ กล่าว