เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ตผ 0012/1686 ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี เรื่องการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สตง.ระบุว่า ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ได้มีหนังสือกราบเรียนนายกฯ เพื่อโปรดพิจารณาให้รัฐบาลเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ แต่เมื่อยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงวันเลือกตั้งใหม่ กกต. ก็ต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งต่อไป ก่อนที่กกต.จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และเป็นอำนาจของนายกฯ หรือกกต.ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า สามารถกระทำได้ โดยเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกฯ และประธานกกต.
แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่มีการเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไป และมีการดำเนินการเลือกตั้งใน วันที่ 2 ก.พ. จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยในภายหลังว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ครบทุกเขตในวันเดียวกัน
"จากการที่ สตง.ได้เคยแสดงความกังวลและห่วงใยต่อการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ.57 (วงเงิน 3,885 ล้านบาท) ว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความสูญเปล่า ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อย ในการจัดการเลือกตั้ง เช่น การจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ตามประกาศพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งภายหลังเป็นศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ตามพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จนถึงปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งของ กกต.และค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจที่สนับสนุนของกกต. จำนวน 18 หน่วย เกิดความสูญเปล่า ที่สูญเสียไป"
สตง.พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการในกรณีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยเหตุผล และก่อให้เกิดความเสียหายย่อมเข้าข่ายเป็นการกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไป
นอกจากนี้สตง.ยังระบุด้วยว่า "ดังนั้นการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งต่อไป รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องกำหนดมาตรการ หรือวิธีการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า การเลือกตั้งจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุม หรือกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์ดังเช่นที่ผ่านมา จนส่งผลให้การเลือกตั้งไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ สตง.ระบุว่า ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ได้มีหนังสือกราบเรียนนายกฯ เพื่อโปรดพิจารณาให้รัฐบาลเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ แต่เมื่อยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงวันเลือกตั้งใหม่ กกต. ก็ต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งต่อไป ก่อนที่กกต.จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และเป็นอำนาจของนายกฯ หรือกกต.ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า สามารถกระทำได้ โดยเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกฯ และประธานกกต.
แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่มีการเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไป และมีการดำเนินการเลือกตั้งใน วันที่ 2 ก.พ. จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยในภายหลังว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ครบทุกเขตในวันเดียวกัน
"จากการที่ สตง.ได้เคยแสดงความกังวลและห่วงใยต่อการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ.57 (วงเงิน 3,885 ล้านบาท) ว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความสูญเปล่า ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อย ในการจัดการเลือกตั้ง เช่น การจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ตามประกาศพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งภายหลังเป็นศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ตามพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จนถึงปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งของ กกต.และค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจที่สนับสนุนของกกต. จำนวน 18 หน่วย เกิดความสูญเปล่า ที่สูญเสียไป"
สตง.พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการในกรณีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยเหตุผล และก่อให้เกิดความเสียหายย่อมเข้าข่ายเป็นการกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไป
นอกจากนี้สตง.ยังระบุด้วยว่า "ดังนั้นการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งต่อไป รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องกำหนดมาตรการ หรือวิธีการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า การเลือกตั้งจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุม หรือกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์ดังเช่นที่ผ่านมา จนส่งผลให้การเลือกตั้งไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้