วานนี้ (2เม.ย.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงว่า ที่ประชุมกกต. มีมติเสียงข้างมาก ยกคำร้องคัดค้านการประกาศผลการเลือกตั้งส.ส.เขต 3 เชียงใหม่ ที่ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง จากการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 56 โดยกกต.เห็นว่า ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงจนทำให้เชื่อได้ว่า นางเยาวภา มีการสั่งให้ขนคนไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ในวันที่ 12 เม.ย. 56 อย่างที่ นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหาว่านางเยาวภา ได้มีการจัดหารถยนต์ 20 คัน เพื่อนำผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า และเห็นว่าพื้นที่อ.สันกำแพง ดอยสะเก็ด เป็นพื้นที่ภูเขา การที่ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์รถยนต์ทั้ง 20 คัน พาผู้มีสิทธิไปใช้สิทธินั้น เป็นการนำเครือญาติไปใช้สิทธิโดยไม่มีการว่าจ้าง
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเสียงข้างมาก ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือให้ใบแดง รวมทั้งดำเนินคดีอาญากับ นายธนวัฒน์ เขียวรุ้งเพชร ผู้สมัคร สมาชิกวุฒิสภา จ.นครปฐม ซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้ง จากกรณีป้ายหาเสียง มีข้อความว่า “ชัดเจนไม่เอาระบอบทักษิณ โกงชาวนา ฆ่าเด็กบริสุทธิ์”โดย กกต.เห็นว่า ข้อความดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเป็นการนำเสนอสิ่งที่เป็นหน้าที่ของส.ว. ตามที่กฎหมายกำหนด โดย กกต.จะได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจสอบการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกฤษฎีกา พิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วัน
ส่วนการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว.นั้น ในวันที่ 8 เม.ย.นี้ กกต.จะพิจารณาประกาศรับรองผลผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ว.ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียนรอบแรก ขณะที่คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ว. ขณะนี้มีทั้งสิ้น 22 เรื่อง ซึ่ง จ.อุบลราชธานี ที่มีเรื่องร้องคัดค้านมากสุด 5 เรื่อง
นายภุชงค์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมกกต. ยังได้รับฟังความคิดเห็นในข้อกฎหมายจากผู้แทนสำนักงบประมาณ กรณีศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. ขออนุมัติใช้งบกลาง 2,309 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจการของ ศรส. จากที่ก่อนหน้านี้ กกต.มีข้อสัยว่า ตามกฎหมายแล้วหากมีการใช้จ่ายไปแล้ว จะมีการขอเบิกย้อนหลังได้หรือไม่ ซึ่งผู้แทนสำนักงบประมาณ ขี้แจงว่า หากมีความจำเป็นในกรณีฉุกเฉิน สามารถใช้งบประมาณของหน่วยงานตนเองไปก่อนได้ แล้วมาขอเบิกงบกลางในภายหลัง แต่ทั้งนี้ กกต.ยังไม่ได้มีมติ โดยได้นัดลงมติเรื่องดังกล่าวในวันที่ 8 เม.ย.ด้วย
สำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่สั่งว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น กกต. จะเชิญหน่วยงานความมั่นคงมาหารือประเมินสถานการณ์ในวันที่ 8 เม.ย. และจากนั้นวันที่ 22 เม.ย. ก็จะเชิญ 73 พรรคการเมือง มาหารือ โดยยืนยันว่า กกต. จะเร่งดำเนินการให้มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่โดยเร็ว เพื่อให้มีรัฐบาลมาบริหารประเทศในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งกรอบเวลาที่กกต.วางไว้ เป็นการเอาแนวปฏิบัติมาจากปี 49 หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 เป็นโมฆะ และได้มีการนำเสนอให้หน่วยงานความมั่นคงและพรรคการเมืองได้พิจารณา เพื่อจะได้รับทราบว่า การจะจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย และสำเร็จได้นั้น ต้องมีช่วงระยะเวลาที่สถานการณ์ต่างๆ เรียบร้อย มีเวลาให้กกต.แก้ไขระเบียบต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนอย่างที่ผ่านมา โดยคิดว่าระยะเวลาดังกล่าวไมได้กระทบต่ออายุของรัฐบาลรักษาการ เพราะก็สามารถรักษาการได้ตามที่กฎหมายกำหนดได้ต่อไปหากการจัดการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ แต่ทั้งนี้ กกต.ก็ทราบข้อจำกัดในการบริหารประเทศของรัฐบาลรักษาการ ทั้งเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย การขออนุมัติงบประมาณต่างๆ และก็ไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลรักษาการนานเกินไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเสียงข้างมาก ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือให้ใบแดง รวมทั้งดำเนินคดีอาญากับ นายธนวัฒน์ เขียวรุ้งเพชร ผู้สมัคร สมาชิกวุฒิสภา จ.นครปฐม ซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้ง จากกรณีป้ายหาเสียง มีข้อความว่า “ชัดเจนไม่เอาระบอบทักษิณ โกงชาวนา ฆ่าเด็กบริสุทธิ์”โดย กกต.เห็นว่า ข้อความดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเป็นการนำเสนอสิ่งที่เป็นหน้าที่ของส.ว. ตามที่กฎหมายกำหนด โดย กกต.จะได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจสอบการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกฤษฎีกา พิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วัน
ส่วนการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว.นั้น ในวันที่ 8 เม.ย.นี้ กกต.จะพิจารณาประกาศรับรองผลผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ว.ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียนรอบแรก ขณะที่คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ว. ขณะนี้มีทั้งสิ้น 22 เรื่อง ซึ่ง จ.อุบลราชธานี ที่มีเรื่องร้องคัดค้านมากสุด 5 เรื่อง
นายภุชงค์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมกกต. ยังได้รับฟังความคิดเห็นในข้อกฎหมายจากผู้แทนสำนักงบประมาณ กรณีศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. ขออนุมัติใช้งบกลาง 2,309 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจการของ ศรส. จากที่ก่อนหน้านี้ กกต.มีข้อสัยว่า ตามกฎหมายแล้วหากมีการใช้จ่ายไปแล้ว จะมีการขอเบิกย้อนหลังได้หรือไม่ ซึ่งผู้แทนสำนักงบประมาณ ขี้แจงว่า หากมีความจำเป็นในกรณีฉุกเฉิน สามารถใช้งบประมาณของหน่วยงานตนเองไปก่อนได้ แล้วมาขอเบิกงบกลางในภายหลัง แต่ทั้งนี้ กกต.ยังไม่ได้มีมติ โดยได้นัดลงมติเรื่องดังกล่าวในวันที่ 8 เม.ย.ด้วย
สำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่สั่งว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น กกต. จะเชิญหน่วยงานความมั่นคงมาหารือประเมินสถานการณ์ในวันที่ 8 เม.ย. และจากนั้นวันที่ 22 เม.ย. ก็จะเชิญ 73 พรรคการเมือง มาหารือ โดยยืนยันว่า กกต. จะเร่งดำเนินการให้มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่โดยเร็ว เพื่อให้มีรัฐบาลมาบริหารประเทศในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งกรอบเวลาที่กกต.วางไว้ เป็นการเอาแนวปฏิบัติมาจากปี 49 หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 เป็นโมฆะ และได้มีการนำเสนอให้หน่วยงานความมั่นคงและพรรคการเมืองได้พิจารณา เพื่อจะได้รับทราบว่า การจะจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย และสำเร็จได้นั้น ต้องมีช่วงระยะเวลาที่สถานการณ์ต่างๆ เรียบร้อย มีเวลาให้กกต.แก้ไขระเบียบต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนอย่างที่ผ่านมา โดยคิดว่าระยะเวลาดังกล่าวไมได้กระทบต่ออายุของรัฐบาลรักษาการ เพราะก็สามารถรักษาการได้ตามที่กฎหมายกำหนดได้ต่อไปหากการจัดการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ แต่ทั้งนี้ กกต.ก็ทราบข้อจำกัดในการบริหารประเทศของรัฐบาลรักษาการ ทั้งเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย การขออนุมัติงบประมาณต่างๆ และก็ไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลรักษาการนานเกินไป