**เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็นรอบที่ 3 และยังไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนอีกหรือไม่ สำหรับนัดหมายชุมนุมใหญ่ของกลุ่มนปช.-เสื้อแดง ล่าสุดบอกจะนัดชุมนุมใหญ่ที่เดิมคือ ถนนอักษะ ในวันเสาร์ที่ 10 พ.ค.
เดิมทีเดียวครั้งแรกก็บอกจะนัดวันที่ 6 พ.ค. ต่อมาก็ขยับเข้าให้เร็วกว่าเดิมหนึ่งวัน คือ 5 พ.ค. เพราะแกนนำนปช. ต้องการให้ตรงกับวันเดียวกันกับที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. นัดหมายมวลมหาประชาชนเพื่อร่วมกันทำพิธีถวายพระพรชัยมงคล และตั้งสัตยาธิษฐาน ที่สนามหลวง
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า เหตุที่ตอนแรก จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. เลื่อนจากวันที่ 6 มาเป็นวันที่ 5 พ.ค. เพราะตอนนั้น จตุพรและแกนนำนปช. อยู่ระหว่างตั้งเวทีปราศรัยที่สนามกีฬาหมอนไม้ จ.อุตรดิตถ์ เมื่อช่วงเย็นวันพุธที่ 30 เม.ย. ที่เป็นวันเดียวกับที่ สุเทพ ลั่นกลองรบ ประกาศทำศึกครั้งสุดท้าย ที่สวนลุมพินี แล้วประกาศการนัดหมายใหญ่ของกปปส. ออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ 5 พ.ค. เพื่อร่วมกันตั้งสัตยาธิษฐาน และ 13 พ.ค. ที่เชิญร่วมทำบุญประเทศ จากนั้น วันพุธที่ 14 พ.ค. คือวันนัดชุมนุมใหญ่ เพื่อเผด็จศึก เรียกคืนอำนาจอธิปไตย
ตรงนี้ เข้าใจเบื้องต้นว่า วันดังกล่าว แกนนำนปช. อย่างจตุพร พอทราบข้อมูลว่า สุเทพ นัดหมายวันที่ 5 พ.ค. แต่ไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดถึงทิศทางการเคลื่อนไหวของ กปปส. ว่าไม่ได้นัดชุมนุมใหญ่วันที่ 5 พ.ค. ก็เลยประกาศบนเวที ที่ จ.อุตรดิตถ์ ว่าจะขอขยับจาก 6 พ.ค. มาเป็น 5 พ.ค.
ครั้นพอรู้ทีหลังว่า กว่ากปปส. จะนัดชุมนุมใหญ่ ปาเข้าไป 14 พ.ค. หากนปช. จะลากยาวนัดชุมนุมที่ถนนอักษะ ตั้งแต่ 5 พ.ค. เท่ากับชุมนุมล่วงหน้า กปปส.ไปแล้วร่วม 10 วัน ซึ่งหากมีการวัดปริมาณการแสดงพลังกันระหว่างกปปส. ที่อาจย้ายกลับไปชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ในช่วงวันที่ 13 พ.ค. กับฝ่าย นปช. ที่นัดชุมนุมกันที่ ถนนอักษะ
ภาพมวลชนสองฝั่งในวันนัดแสดงกำลังของมวลชนทั้งสองฝั่ง ดูแล้ว ยังไง จำนวนคนเสื้อแดง ย่อมน้อยกว่า กปปส. อย่างแน่นอน เพราะหากเสื้อแดงชุมนุมกันแต่เนิ่นๆ คนก็ต้องล้า ต่อให้พวกนักการเมืองพรรคเพื่อไทย มีการขนคนจากต่างจังหวัดเข้ามาที่ถนนอักษะเรื่อยๆ แต่การที่ชุมนุมกันหลายวัน ก็เป็นเรื่องปกติ ที่จำนวนคนจะต้องลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อการชุมนุมยืดเยื้อยาวนาน
ด้วยเหตุนี้ เชื่อว่า น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ นปช. เลยเลื่อนวันนัดชุมนุมใหญ่เป็น 10 พ.ค. แทน เพื่อไม่ให้ชุมนุมนานเกินไปจนมวลชนอ่อนล้า และที่สำคัญ หากเสียเวลาชุมนุมหลายวัน เพื่อรอวันทำศึกใหญ่ ยิ่งชุมนุมนาน ก็ต้องใช้เงินมาก
ตอนนี้ พวก อดีต ส.ส.เพื่อไทย รายได้อะไรต่างๆ ก็หายไปมาก เพราะไม่ได้เป็นส.ส.มาร่วม 6 เดือนแล้ว เงินอัดฉีดจากพรรคเพื่อไทย และทักษิณ ชินวัตร ก็น้อยลงไปตามสภาพ การที่พวกอดีต ส.ส.เพื่อไทย ทั้งหมดจะขนคนมาร่วมชุมนุม แม้อยากช่วยแต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เอาที่จำเป็น แกนนำนปช. ก็อาจเกรงใจ เลยพยายามจะไม่ให้สิ้นเปลืองมาก ก็เลยต้องกะวันนัดหมายชุมนุมให้ดี เพื่อว่าชุมนุมแล้วต้องเข้าเป้า คนแน่น มีเป้าหมายชัดเจน พวกอดีต ส.ส.เพื่อไทย และแกนนำพรรค จะได้ช่วยเต็มที่
ขณะที่เหตุผลซึ่งนปช. อ้างว่าที่ไม่นัดหมายชุมนุมวันที่ 5 พ.ค. เพราะไม่ต้องการให้กลายเป็นประเด็นในทางลบกับคนเสื้อแดง จริงๆ แล้ว ก็เป็นเหตุผลที่รับฟังได้ และถูกต้องแล้ว ที่ไม่ควรมีการชุมนุม หรือการเคลื่อนไหวการเมืองอะไรกันในวันดังกล่าว เนื่องจากวันที่ 5 พ.ค. ที่เป็นวันฉัตรมงคล เป็นวันสำคัญของประเทศไทย ให้เป็นวันปลอดจากการเมืองสักวัน ทุกคนต่างก็เห็นด้วย
**ขนาด กปปส.ยังบอกเลยว่า ในการเคลื่อนขบวนจากสวนลุมพินีไปสนามหลวง วันที่ 5 พ.ค.นี้ จะไม่มีการพูดหรือปราศรัยเรื่องการเมืองอะไรทั้งสิ้นในวันนั้น และจะเป็นวันที่งดการพูดถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หนึ่งวัน เพื่อให้เป็นดีๆ ของคนไทย ก็ควรแล้วที่ เสื้อแดง-นปช. จะไม่มีการนัดชุมนุมวันดังกล่าวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่ชัดว่า สุดท้าย นปช.เสื้อแดง จะเอาอย่างไร เพราะเชื่อว่า แกนนำนปช. คงประเมินสถานการณ์กันแบบวันต่อวัน เพราะอาจมีการเลื่อนวันนัดชุมนุมใหญ่ขึ้นมาให้เร็วกว่า วันที่ 10 พ.ค.นี้ ก็ได้ หลังมีสัญญาณบางอย่างจากทางศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าอาจจะมีการลั่นไกการเมือง จัดการกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงไม่เกิน 8 พ.ค.นี้ ก็ได้
โดยเฉพาะจากทางศาลรธน. ที่เริ่มมีกระแสข่าวว่า ศาลรธน.อาจนัดฟังคำวินิจฉัยคดี ยิ่งลักษณ์ ย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี ในช่วงไม่เกิน 8 พ.ค.นี้ หลังมีการไต่สวนคำร้องคดีดังกล่าวในวันอังคารที่ 6 พ.ค. ซึ่งศาลรธน.ได้เรียก ยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้ถูกร้อง-ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ร้อง- ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะเป็นคนไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองหลังถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี จนศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า เป็นการย้ายโดยไม่ชอบ และ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีต ผบ.ตร. และอดีตเลขาธิการ สมช.
ท่ามกลางข่าวว่า หลังศาลไต่สวนเสร็จวันที่ 6 พ.ค. หากไม่มีอะไรเซอร์ไพรส์ วันดังกล่าว ศาลก็น่าจะประกาศว่า จะนัดตุลาการศาลรธน.แถลงคดีด้วยวาจา และนัดลงมติคำร้องในวันไหน ที่ก็น่าจะอยู่ในช่วงไม่วันที่ 7 ก็วันที่ 8 พ.ค.นี้ หรือไม่ก็วันพุธที่ 14 พ.ค. หรือศุกร์ที่ 16 พ.ค .ไปเลย
อย่างไรก็ตาม พอมีข่าวว่า ศาลรธน.ยกเลิกการจัดงานสัมมนาสื่อมวลชนประจำปี ที่จังหวัดกระบี่ ที่เดิมจะจัดช่วงวันที่ 7-9 พ.ค.ที่นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปร่วมงานจำนวนมากแล้ว ก็ยังจะมีตุลาการศาลรธน.หลายคนเดินทางไปร่วมงานด้วย
พอมีการแจ้งยกเลิกการสัมมนาดังกล่าว ก็เลยทำให้มีการคาดหมายกันว่า มีความเป็นไปได้ไม่น้อยที่ ศาลรธน.จะนัดฟังคำวินิจฉัยคำร้องคดีนี้ในช่วงไม่เกิน 8 พ.ค. เพราะหลายคดีที่ผ่านมาในช่วงหลัง เช่น ล่าสุดคดีที่ศาลรธน.วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ พอศาลรธน.ไต่สวนคำร้องในวันพุธที่ 19 มี.ค. ก็มีการอ่านคำวินิจฉัยในวันศุกร์ที่ 21 มี.ค. ทันที
หากศาลรธน. จะนัดฟังคำวินิจฉัยโดยห่างจากวันไต่สวนคำร้อง 6 พ.ค. ออกมาเป็น 7 หรือ 8 พ.ค. ดูแล้วก็ไม่ถือว่าเร็วแต่อย่างใด
แม้บางคนจะตั้งข้อสังเกตุว่า การที่ สุเทพ-กปปส. นัดหมายชุมนุมใหญ่ วันที่ 14 พ.ค. ทำให้คนต่อจิ๊กซอว์กันไปว่า น่าจะเป็นเพราะแกนนำ กปปส.อาจได้ข่าววงในบางอย่างมาว่า ศาลรธน.น่าจะวินิจฉัยคดีในสัปดาห์หน้ามากกว่า ไม่ใช่ก่อน 8 พ.ค.
ก็เป็นการวิเคราะห์กันไป เพราะต้องไม่ลืมว่า ศาลรธน.ไม่ได้มีอะไรกับ กปปส. เพราะศาลรธน.คือองค์กรอิสระที่ปลอดจากการเมือง ดังนั้น หากศาลรธน. จะอ่านคำวินิจฉัยช่วงก่อน 8 พ.ค. หรือก่อน 16 พ.ค. ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น
น่าเชื่อว่า ช่วง 1-2 วันนี้ แกนนำนปช. คงรอเช็กข่าว และประเมินสถานการณ์กันอีกทีว่าจะเอาอย่างไร ดูแล้ว แกนนำ นปช. คงรอฟังวันที่ 6 พ.ค.นี้ ว่า ศาลรธน.จะนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีในวันไหน แล้วค่อยมาประเมินอีกทีว่าจะเอาอย่างไร คือจะนัดชุมนุมในวันที่ศาลรธน. นัดฟังคำวินิจฉัย หรือจะนัดชุมนุมหากว่าศาลรธน.วินิจฉัยคดีให้ ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่งพร้อมกับครม.ชุดนี้ทั้งคณะ ที่อาจเป็นหลังศาลวินิจฉัยไปสัก 1-2 วัน เพื่อให้เสื้อแดงมีเวลาเตรียมตัว
**ชุมนุมใหญ่เสื้อแดง จะเกิดขึ้นช่วงไหน และมีเป้าหมายอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองมากพอๆ กับ การชุมนุมใหญ่ กปปส.เช่นกัน
เดิมทีเดียวครั้งแรกก็บอกจะนัดวันที่ 6 พ.ค. ต่อมาก็ขยับเข้าให้เร็วกว่าเดิมหนึ่งวัน คือ 5 พ.ค. เพราะแกนนำนปช. ต้องการให้ตรงกับวันเดียวกันกับที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. นัดหมายมวลมหาประชาชนเพื่อร่วมกันทำพิธีถวายพระพรชัยมงคล และตั้งสัตยาธิษฐาน ที่สนามหลวง
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า เหตุที่ตอนแรก จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. เลื่อนจากวันที่ 6 มาเป็นวันที่ 5 พ.ค. เพราะตอนนั้น จตุพรและแกนนำนปช. อยู่ระหว่างตั้งเวทีปราศรัยที่สนามกีฬาหมอนไม้ จ.อุตรดิตถ์ เมื่อช่วงเย็นวันพุธที่ 30 เม.ย. ที่เป็นวันเดียวกับที่ สุเทพ ลั่นกลองรบ ประกาศทำศึกครั้งสุดท้าย ที่สวนลุมพินี แล้วประกาศการนัดหมายใหญ่ของกปปส. ออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ 5 พ.ค. เพื่อร่วมกันตั้งสัตยาธิษฐาน และ 13 พ.ค. ที่เชิญร่วมทำบุญประเทศ จากนั้น วันพุธที่ 14 พ.ค. คือวันนัดชุมนุมใหญ่ เพื่อเผด็จศึก เรียกคืนอำนาจอธิปไตย
ตรงนี้ เข้าใจเบื้องต้นว่า วันดังกล่าว แกนนำนปช. อย่างจตุพร พอทราบข้อมูลว่า สุเทพ นัดหมายวันที่ 5 พ.ค. แต่ไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดถึงทิศทางการเคลื่อนไหวของ กปปส. ว่าไม่ได้นัดชุมนุมใหญ่วันที่ 5 พ.ค. ก็เลยประกาศบนเวที ที่ จ.อุตรดิตถ์ ว่าจะขอขยับจาก 6 พ.ค. มาเป็น 5 พ.ค.
ครั้นพอรู้ทีหลังว่า กว่ากปปส. จะนัดชุมนุมใหญ่ ปาเข้าไป 14 พ.ค. หากนปช. จะลากยาวนัดชุมนุมที่ถนนอักษะ ตั้งแต่ 5 พ.ค. เท่ากับชุมนุมล่วงหน้า กปปส.ไปแล้วร่วม 10 วัน ซึ่งหากมีการวัดปริมาณการแสดงพลังกันระหว่างกปปส. ที่อาจย้ายกลับไปชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนิน ในช่วงวันที่ 13 พ.ค. กับฝ่าย นปช. ที่นัดชุมนุมกันที่ ถนนอักษะ
ภาพมวลชนสองฝั่งในวันนัดแสดงกำลังของมวลชนทั้งสองฝั่ง ดูแล้ว ยังไง จำนวนคนเสื้อแดง ย่อมน้อยกว่า กปปส. อย่างแน่นอน เพราะหากเสื้อแดงชุมนุมกันแต่เนิ่นๆ คนก็ต้องล้า ต่อให้พวกนักการเมืองพรรคเพื่อไทย มีการขนคนจากต่างจังหวัดเข้ามาที่ถนนอักษะเรื่อยๆ แต่การที่ชุมนุมกันหลายวัน ก็เป็นเรื่องปกติ ที่จำนวนคนจะต้องลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อการชุมนุมยืดเยื้อยาวนาน
ด้วยเหตุนี้ เชื่อว่า น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ นปช. เลยเลื่อนวันนัดชุมนุมใหญ่เป็น 10 พ.ค. แทน เพื่อไม่ให้ชุมนุมนานเกินไปจนมวลชนอ่อนล้า และที่สำคัญ หากเสียเวลาชุมนุมหลายวัน เพื่อรอวันทำศึกใหญ่ ยิ่งชุมนุมนาน ก็ต้องใช้เงินมาก
ตอนนี้ พวก อดีต ส.ส.เพื่อไทย รายได้อะไรต่างๆ ก็หายไปมาก เพราะไม่ได้เป็นส.ส.มาร่วม 6 เดือนแล้ว เงินอัดฉีดจากพรรคเพื่อไทย และทักษิณ ชินวัตร ก็น้อยลงไปตามสภาพ การที่พวกอดีต ส.ส.เพื่อไทย ทั้งหมดจะขนคนมาร่วมชุมนุม แม้อยากช่วยแต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ เอาที่จำเป็น แกนนำนปช. ก็อาจเกรงใจ เลยพยายามจะไม่ให้สิ้นเปลืองมาก ก็เลยต้องกะวันนัดหมายชุมนุมให้ดี เพื่อว่าชุมนุมแล้วต้องเข้าเป้า คนแน่น มีเป้าหมายชัดเจน พวกอดีต ส.ส.เพื่อไทย และแกนนำพรรค จะได้ช่วยเต็มที่
ขณะที่เหตุผลซึ่งนปช. อ้างว่าที่ไม่นัดหมายชุมนุมวันที่ 5 พ.ค. เพราะไม่ต้องการให้กลายเป็นประเด็นในทางลบกับคนเสื้อแดง จริงๆ แล้ว ก็เป็นเหตุผลที่รับฟังได้ และถูกต้องแล้ว ที่ไม่ควรมีการชุมนุม หรือการเคลื่อนไหวการเมืองอะไรกันในวันดังกล่าว เนื่องจากวันที่ 5 พ.ค. ที่เป็นวันฉัตรมงคล เป็นวันสำคัญของประเทศไทย ให้เป็นวันปลอดจากการเมืองสักวัน ทุกคนต่างก็เห็นด้วย
**ขนาด กปปส.ยังบอกเลยว่า ในการเคลื่อนขบวนจากสวนลุมพินีไปสนามหลวง วันที่ 5 พ.ค.นี้ จะไม่มีการพูดหรือปราศรัยเรื่องการเมืองอะไรทั้งสิ้นในวันนั้น และจะเป็นวันที่งดการพูดถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หนึ่งวัน เพื่อให้เป็นดีๆ ของคนไทย ก็ควรแล้วที่ เสื้อแดง-นปช. จะไม่มีการนัดชุมนุมวันดังกล่าวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่ชัดว่า สุดท้าย นปช.เสื้อแดง จะเอาอย่างไร เพราะเชื่อว่า แกนนำนปช. คงประเมินสถานการณ์กันแบบวันต่อวัน เพราะอาจมีการเลื่อนวันนัดชุมนุมใหญ่ขึ้นมาให้เร็วกว่า วันที่ 10 พ.ค.นี้ ก็ได้ หลังมีสัญญาณบางอย่างจากทางศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าอาจจะมีการลั่นไกการเมือง จัดการกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงไม่เกิน 8 พ.ค.นี้ ก็ได้
โดยเฉพาะจากทางศาลรธน. ที่เริ่มมีกระแสข่าวว่า ศาลรธน.อาจนัดฟังคำวินิจฉัยคดี ยิ่งลักษณ์ ย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี ในช่วงไม่เกิน 8 พ.ค.นี้ หลังมีการไต่สวนคำร้องคดีดังกล่าวในวันอังคารที่ 6 พ.ค. ซึ่งศาลรธน.ได้เรียก ยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้ถูกร้อง-ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ร้อง- ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะเป็นคนไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองหลังถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี จนศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า เป็นการย้ายโดยไม่ชอบ และ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีต ผบ.ตร. และอดีตเลขาธิการ สมช.
ท่ามกลางข่าวว่า หลังศาลไต่สวนเสร็จวันที่ 6 พ.ค. หากไม่มีอะไรเซอร์ไพรส์ วันดังกล่าว ศาลก็น่าจะประกาศว่า จะนัดตุลาการศาลรธน.แถลงคดีด้วยวาจา และนัดลงมติคำร้องในวันไหน ที่ก็น่าจะอยู่ในช่วงไม่วันที่ 7 ก็วันที่ 8 พ.ค.นี้ หรือไม่ก็วันพุธที่ 14 พ.ค. หรือศุกร์ที่ 16 พ.ค .ไปเลย
อย่างไรก็ตาม พอมีข่าวว่า ศาลรธน.ยกเลิกการจัดงานสัมมนาสื่อมวลชนประจำปี ที่จังหวัดกระบี่ ที่เดิมจะจัดช่วงวันที่ 7-9 พ.ค.ที่นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปร่วมงานจำนวนมากแล้ว ก็ยังจะมีตุลาการศาลรธน.หลายคนเดินทางไปร่วมงานด้วย
พอมีการแจ้งยกเลิกการสัมมนาดังกล่าว ก็เลยทำให้มีการคาดหมายกันว่า มีความเป็นไปได้ไม่น้อยที่ ศาลรธน.จะนัดฟังคำวินิจฉัยคำร้องคดีนี้ในช่วงไม่เกิน 8 พ.ค. เพราะหลายคดีที่ผ่านมาในช่วงหลัง เช่น ล่าสุดคดีที่ศาลรธน.วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ พอศาลรธน.ไต่สวนคำร้องในวันพุธที่ 19 มี.ค. ก็มีการอ่านคำวินิจฉัยในวันศุกร์ที่ 21 มี.ค. ทันที
หากศาลรธน. จะนัดฟังคำวินิจฉัยโดยห่างจากวันไต่สวนคำร้อง 6 พ.ค. ออกมาเป็น 7 หรือ 8 พ.ค. ดูแล้วก็ไม่ถือว่าเร็วแต่อย่างใด
แม้บางคนจะตั้งข้อสังเกตุว่า การที่ สุเทพ-กปปส. นัดหมายชุมนุมใหญ่ วันที่ 14 พ.ค. ทำให้คนต่อจิ๊กซอว์กันไปว่า น่าจะเป็นเพราะแกนนำ กปปส.อาจได้ข่าววงในบางอย่างมาว่า ศาลรธน.น่าจะวินิจฉัยคดีในสัปดาห์หน้ามากกว่า ไม่ใช่ก่อน 8 พ.ค.
ก็เป็นการวิเคราะห์กันไป เพราะต้องไม่ลืมว่า ศาลรธน.ไม่ได้มีอะไรกับ กปปส. เพราะศาลรธน.คือองค์กรอิสระที่ปลอดจากการเมือง ดังนั้น หากศาลรธน. จะอ่านคำวินิจฉัยช่วงก่อน 8 พ.ค. หรือก่อน 16 พ.ค. ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น
น่าเชื่อว่า ช่วง 1-2 วันนี้ แกนนำนปช. คงรอเช็กข่าว และประเมินสถานการณ์กันอีกทีว่าจะเอาอย่างไร ดูแล้ว แกนนำ นปช. คงรอฟังวันที่ 6 พ.ค.นี้ ว่า ศาลรธน.จะนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีในวันไหน แล้วค่อยมาประเมินอีกทีว่าจะเอาอย่างไร คือจะนัดชุมนุมในวันที่ศาลรธน. นัดฟังคำวินิจฉัย หรือจะนัดชุมนุมหากว่าศาลรธน.วินิจฉัยคดีให้ ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่งพร้อมกับครม.ชุดนี้ทั้งคณะ ที่อาจเป็นหลังศาลวินิจฉัยไปสัก 1-2 วัน เพื่อให้เสื้อแดงมีเวลาเตรียมตัว
**ชุมนุมใหญ่เสื้อแดง จะเกิดขึ้นช่วงไหน และมีเป้าหมายอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองมากพอๆ กับ การชุมนุมใหญ่ กปปส.เช่นกัน