วานนี้ (1พ.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า กรณีที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่า นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้รับผิดชอบคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการที่ คณะกรรมการป.ป.ช. ยกคำร้องการขอไต่สวนพยานคดีรับจำนำข้าว 7 ปาก และการลงพี้นที่ตรวจสอบสต๊อกข้าวในโกดัง ตามคำร้องขอของนายกรัฐมนตรี ว่า ทีมทนายความกำลังรวบรวมหลักฐาน พฤติกรรมไม่ชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเอาผิด ป.ป.ช. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบนั้น
ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้ว เห็นว่านายบัญชา ไม่ใช่ตัวความในคดีที่ป.ป.ช.กำลังดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว จึงไม่มีเหตุผลที่จะออกมาให้ข่าว หรือแถลงข่าวแทนตัวความ
การที่ออกมาให้ข่าวดังกล่าวว่าจะเอาผิดกับคณะกรรมการป.ป.ช. ทั้งที่ การไต่สวนคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ยังไม่แล้วเสร็จ จึงเท่ากับเป็นการข่มขู่ คณะกรรมการป.ป.ช. ในการทำหน้าที่ตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับมารยาททนายความ ในกรณีประพฤติตนเสื่อมเสียเกรียรติ ศักดิ์ศรี ของทนายความ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะตัวความ หากรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องตักเตือนทนายความของตน จึงมอบหมายให้สำนักงานป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งสภาทนายความ ให้ดำเนินคดีมารยาททนายความ กับทีมทนายความดังกล่าวต่อไป
นายสรรเสริญ กล่าวด้วยว่า ในวันอังคารที่ 6 พ.ค.นี้ คณะทำงานที่ตรวจสอบในเรื่องนี้ จะสรุปสำนวนในคดีดังกล่าว จากนั้นจะใช้เวลา 3 วัน ในการส่งสำนวนให้กับกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา คาดว่าวันที่ 8 พ.ค. จะไม่ทันแน่ ดังนั้นป.ป.ช.จะมีการนัดชี้มูลความผิดในคดีดังกล่าวในวันที่ 15 พ.ค.นี้ แน่นอน
**"ยรรยง"พล่านค้นตัวเลขช่วย"ปู"
ด้านนายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่าได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมข้อมูลเรื่องสต๊อกข้าวของรัฐบาลและการปิดบัญชีของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ที่ยังมีความแตกต่างกันกับข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ โดยคณะกรรมการป.ป.ช. ยืนยันว่าจะไม่มีการตรวจสอบข้อมูลสต๊อกข้าวที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร้องขอ ทำให้เกิดความกังวลว่า ปัญหาการที่ข้อมูลของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน จะนำสู่คำวินิจฉัยที่ผิดพลาด
ทั้งนี้ จากการหารือกับหน่วยงานปฏิบัติ ทั้งกรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) พบว่า ตัวเลขของคณะกรรมการปิดบัญชี เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 56 มีปริมาณ 1.73 ล้านตัน ทั้งที่ตัวเลขของหน่วยงานปฏิบัติ อคส. และอ.ต.ก.แจ้งว่ามี 4.33 ล้านตัน ซึ่งมีส่วนต่างกันถึง 2.59 ล้านตัน ขณะที่การปิดบัญชีรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 31 พ.ค.56 ตัวเลขของอณุกรรมการฯ มีปริมาณ 12.50 ล้านตัน ของหน่วยงานปฏิบัติมีปริมาณ 15.49 ล้านตัน ต่างกันถึง 2.997 ล้านตัน
สาเหตุที่ตัวเลขไม่ตรงกันเพราะ อคส. และอ.ต.ก. รายงานตัวเลขเฉพาะข้าวสารที่รับจำนำไว้ในคลังกลาง แต่ไม่นับรวมข้าวสารที่อยู่ระหว่างการสีแปรจากโรงสี และยังไม่ได้มีการบรรจุกระสอบ ทำให้ตัวเลขเกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้ทำหนังสือแจ้งไปยังคณะอนุกรรมการปิดบัญชีแล้ว แต่ไม่ได้รับการตรวจสอบ และทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ได้มีมติให้แต่งตั้ง พล.ต.ต. ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของปัญหาดังกล่าวแล้ว
"หากเอาตัวเลขส่วนต่างที่แจ้งมาคำนวณเป็นมูลค่า แล้วนำไปหักจากตัวเลขขาดทุน จะทำให้ผลการขาดทุนจากโครงการรับจำนำลดลง ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนว่า โครงการไม่ได้มีความเสียหายอย่างที่ถูกกล่าวหา แต่หาก ป.ป.ช.ไม่ยอมรับ เท่ากับว่ายอมรับตัวเลของคณะกรรมการปิดบัญชีฯ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่ผิดนำไปสู่การวินิจฉัยที่ผิด เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ"
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การกำหนดราคาข้าวสารของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ที่ใช้หลักค่าเสื่อมสภาพข้าว อัตราเดียว 20% ต่อปี หากใช้วิธีการนี้ เท่ากับข้าวที่เก็บไว้เป็นเวลา 5 ปี จะมีมูลค่าเป็นศูนย์ ซึ่งไม่เป็นความจริง ต่างจากวิธีการคำนวณของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะใช้หลักการเก็บรักษาสต๊อกข้าว เช่น ข้าวเก็บไว้ 1 ปี คิดที่อัตรา 0-10% ข้าว 2 ปี คิดอัตรา 0-20% และในปีที่ 3 อัตรา 0-30%
สำหรับผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีข้าวถุงขององค์การคลังสินค้า เบื้องต้นมีการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ อคส. ข้าราชการ และเอกชนรวมทั้งหมด 20 ราย และได้ผลสรุปเบื้องว่ามีส่วนเข้าข่ายการกระทำผิดตามระเบียบวินัยข้าราชการ และวินัย อคส. รวมถึงมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง ซึ่งหลังจากนี้จะเสนอให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พิจารณาในสัปดาห์หน้า ส่วนกระบวนการเอาผิด อคส.ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด และเจ้าของข้าว จะต้องการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยผู้เกี่ยวข้อง และต้องพิจารณาส่งเรื่องดำเนินการทางคดีต่อไป
ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้ว เห็นว่านายบัญชา ไม่ใช่ตัวความในคดีที่ป.ป.ช.กำลังดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว จึงไม่มีเหตุผลที่จะออกมาให้ข่าว หรือแถลงข่าวแทนตัวความ
การที่ออกมาให้ข่าวดังกล่าวว่าจะเอาผิดกับคณะกรรมการป.ป.ช. ทั้งที่ การไต่สวนคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ยังไม่แล้วเสร็จ จึงเท่ากับเป็นการข่มขู่ คณะกรรมการป.ป.ช. ในการทำหน้าที่ตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับมารยาททนายความ ในกรณีประพฤติตนเสื่อมเสียเกรียรติ ศักดิ์ศรี ของทนายความ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะตัวความ หากรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องตักเตือนทนายความของตน จึงมอบหมายให้สำนักงานป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งสภาทนายความ ให้ดำเนินคดีมารยาททนายความ กับทีมทนายความดังกล่าวต่อไป
นายสรรเสริญ กล่าวด้วยว่า ในวันอังคารที่ 6 พ.ค.นี้ คณะทำงานที่ตรวจสอบในเรื่องนี้ จะสรุปสำนวนในคดีดังกล่าว จากนั้นจะใช้เวลา 3 วัน ในการส่งสำนวนให้กับกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา คาดว่าวันที่ 8 พ.ค. จะไม่ทันแน่ ดังนั้นป.ป.ช.จะมีการนัดชี้มูลความผิดในคดีดังกล่าวในวันที่ 15 พ.ค.นี้ แน่นอน
**"ยรรยง"พล่านค้นตัวเลขช่วย"ปู"
ด้านนายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่าได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมข้อมูลเรื่องสต๊อกข้าวของรัฐบาลและการปิดบัญชีของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ที่ยังมีความแตกต่างกันกับข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ โดยคณะกรรมการป.ป.ช. ยืนยันว่าจะไม่มีการตรวจสอบข้อมูลสต๊อกข้าวที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร้องขอ ทำให้เกิดความกังวลว่า ปัญหาการที่ข้อมูลของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน จะนำสู่คำวินิจฉัยที่ผิดพลาด
ทั้งนี้ จากการหารือกับหน่วยงานปฏิบัติ ทั้งกรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) พบว่า ตัวเลขของคณะกรรมการปิดบัญชี เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 56 มีปริมาณ 1.73 ล้านตัน ทั้งที่ตัวเลขของหน่วยงานปฏิบัติ อคส. และอ.ต.ก.แจ้งว่ามี 4.33 ล้านตัน ซึ่งมีส่วนต่างกันถึง 2.59 ล้านตัน ขณะที่การปิดบัญชีรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 31 พ.ค.56 ตัวเลขของอณุกรรมการฯ มีปริมาณ 12.50 ล้านตัน ของหน่วยงานปฏิบัติมีปริมาณ 15.49 ล้านตัน ต่างกันถึง 2.997 ล้านตัน
สาเหตุที่ตัวเลขไม่ตรงกันเพราะ อคส. และอ.ต.ก. รายงานตัวเลขเฉพาะข้าวสารที่รับจำนำไว้ในคลังกลาง แต่ไม่นับรวมข้าวสารที่อยู่ระหว่างการสีแปรจากโรงสี และยังไม่ได้มีการบรรจุกระสอบ ทำให้ตัวเลขเกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้ทำหนังสือแจ้งไปยังคณะอนุกรรมการปิดบัญชีแล้ว แต่ไม่ได้รับการตรวจสอบ และทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ได้มีมติให้แต่งตั้ง พล.ต.ต. ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของปัญหาดังกล่าวแล้ว
"หากเอาตัวเลขส่วนต่างที่แจ้งมาคำนวณเป็นมูลค่า แล้วนำไปหักจากตัวเลขขาดทุน จะทำให้ผลการขาดทุนจากโครงการรับจำนำลดลง ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนว่า โครงการไม่ได้มีความเสียหายอย่างที่ถูกกล่าวหา แต่หาก ป.ป.ช.ไม่ยอมรับ เท่ากับว่ายอมรับตัวเลของคณะกรรมการปิดบัญชีฯ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่ผิดนำไปสู่การวินิจฉัยที่ผิด เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ"
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การกำหนดราคาข้าวสารของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ที่ใช้หลักค่าเสื่อมสภาพข้าว อัตราเดียว 20% ต่อปี หากใช้วิธีการนี้ เท่ากับข้าวที่เก็บไว้เป็นเวลา 5 ปี จะมีมูลค่าเป็นศูนย์ ซึ่งไม่เป็นความจริง ต่างจากวิธีการคำนวณของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะใช้หลักการเก็บรักษาสต๊อกข้าว เช่น ข้าวเก็บไว้ 1 ปี คิดที่อัตรา 0-10% ข้าว 2 ปี คิดอัตรา 0-20% และในปีที่ 3 อัตรา 0-30%
สำหรับผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีข้าวถุงขององค์การคลังสินค้า เบื้องต้นมีการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ อคส. ข้าราชการ และเอกชนรวมทั้งหมด 20 ราย และได้ผลสรุปเบื้องว่ามีส่วนเข้าข่ายการกระทำผิดตามระเบียบวินัยข้าราชการ และวินัย อคส. รวมถึงมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง ซึ่งหลังจากนี้จะเสนอให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พิจารณาในสัปดาห์หน้า ส่วนกระบวนการเอาผิด อคส.ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด และเจ้าของข้าว จะต้องการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยผู้เกี่ยวข้อง และต้องพิจารณาส่งเรื่องดำเนินการทางคดีต่อไป