หุ้นบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชาเขียวยี่ห้อ “อิชิตัน” ของนายตัน ภาสกรนที ได้รับอนุมัติเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา และกลายเป็นหุ้นเก็งกำไรร้อนๆ อีกตัวหนึ่ง
นักลงทุนรายย่อยกำลังสนุกสนานกับหุ้นน้องใหม่ “อิชิตัน” เพราะตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ติดอันดับ 1 ใน 10 หุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดมาตลอด เคาะซื้อเคาะขายกันวันละกว่า 1 พันล้านบาท
คนที่ซื้อชาเขียวอิชิตันจะรวยจะจน จะได้โชค ได้ทอง ได้รถปอร์เช่หรือไม่ นักลงทุนที่เข้าไปเก็งกำไรหุ้นอิชิตันจะได้หรือจะเสีย ไม่มีใครรู้ แต่ที่สังคมรับรู้คือ นายตันกำลังรวยแล้วรวยอีก รวยจากการขายหุ้นชาเขียวโออิชิหนหนึ่งแล้ว และรวยหนักขึ้นไปอีกเพราะหุ้นอิชิตัน
นายตันใช้เวลาไม่ถึง 4 ปี สามารถปั้นชาเขียว “อิชิตัน” ขึ้นมาได้ ยอดขายกระฉูดกำไรปีละเฉียด 1 พันล้านบาท แถมผลักดันเข้าตลาดหุ้น สร้างมูลค่าเพิ่มเงินลงทุนของตัวเองถึงกว่า 1,700%
นายตันโด่งดังขึ้นมาในฐานะเจ้าพ่อชาเขียว โดยเป็นผู้บุกเบิกชาเชียว “โออิชิ” จนติดตลาด ก่อนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ต่อมาขายหุ้นให้นายเจริญ สิริวัฒนภักดี โกยเงินมาประมาณ 3,000 ล้านบาท และบริหารโออิชิอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะเกิดความขัดแย้งในการบริหาร และลาออก
เดือนกันยายน 2553 นายตันได้ตั้งบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด ประกาศผลิตชาเขียว อิชิตันแข่งกับโออิชิ และถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงการค้าและวงการธุรกิจอย่างมาก
ประเด็นที่ถูกโจมตีคือ ไม่มีความเป็นลูกผู้ชาย ไม่มีมารยาททางธุรกิจ ไม่มีศักดิ์ศรีทางการค้า เพราะในเมื่อขายโออิชิให้นายเจริญ รับเงินมาแล้วหลายพันล้านบาท จึงไม่ควรผลิตชาเขียวขึ้นมาแข่ง
มีเงินหลายพันล้านบาทแล้ว ถ้าเก่งจริง มีความสามารถจริง ก็ไม่ควรผลิตสินค้าตัวเดียวขึ้นมาแข่งกับสินค้าที่นายตันขายให้คนอื่นไปแล้ว
แต่นายตันไม่ตะขิดตะขวงใจที่จะผลิตชาเขียวยี่ห้อใหม่ เพื่อแย่งตลาดชาเขียวที่ตัวเองเป็นผู้บุกเบิก คิดค้นชาเขียวตัวใหม่ เพื่อทำลายชาเขียวต้นตำรับเดิม
ไม่มีใครคิดว่า อิชิตันจะเกิดได้เพราะตลาดชาเขียวมีจำกัด และโออิชิก็ครองตลาดอยู่ นอกจากนั้น รสชาติของอิชิตันก็ไม่ได้วิเศษวิโสเท่าใด
แต่อิชิตันกลับขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และก้าวขึ้นมาเป็นชาเขียวที่ครองตลาดอันดับหนึ่งโค่นโออิชิได้สำเร็จ
ความสำเร็จของชาเขียวอิชิตันไม่ได้อยู่ที่รสชาติ หรือความเก่งกาจด้านแผนการตลาดของนายตัน แต่เป็นเพราะการมอมเมาด้วยการเสี่ยงโชค การล่อใจด้วยการแจกรางวัลใหญ่
ผู้บริโภคที่ซื้อชาเขียวอิชิตัน ไม่ได้ซื้อเพราะติดใจในรสชาติ แต่ซื้อเพราะหวังโชค จำนวนไม่น้อยที่ซื้อยกลังหวังได้โชค โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ซึ่งถูกโฆษณาชวนเชื่อจนเกิดความเพ้อฝันที่อยากเป็นเศรษฐีในทางรัด
ยิ่งมอมเมาให้คนเพ้อฝันมากเท่าไหร่ นายตันจะเก็บเกี่ยวความร่ำรวยได้มากขึ้นเท่านั้น และตอนนี้ก็รวยเป็นมหาเศรษฐีขึ้นอีกระดับหนึ่งแล้ว
หุ้นอิชิตันราคาพาร์หรือมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ ทำความเข้าใจง่ายๆ คือ ราคาทุนของนายตันอยู่ที่ 1 บาท แต่สามารถเสนอขายนักลงทุนได้ในราคา 13 บาท และราคาที่ซื้อขายในตลาดหุ้นล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 18 บาท ซึ่งหมายถึงภายในเวลา 3 ปีเศษ นายตันโกยกำไรไปแล้วประมาณ 1,700% รวยเร็วไม่แพ้คนขายยาบ้าเสียอีก
อย่างไรก็ตาม แม้หุ้นอิชิตันจะเป็นขวัญใจนักเก็งกำไรประเภทแมลงเม่า แต่ก็ไม่ใช่หุ้นที่นักลงทุนระยะยาวหรือนักลงทุนหุ้นมูลค่าเพิ่มจะให้ความสนใจนัก
เพราะอิชิตันพร้อมจะล้มคว่ำคะมำหงายได้ตลอดเวลา ยอดขายพร้อมจะตกรูด กิจการพร้อมเจ๊งทุกเมื่อ หากไม่สามารถมอมเมาด้วยการชิงโชคได้
ชาเขียวอิชิตันที่ขายได้ เนื่องจากความป่วยไข้ของสังคม โดยประชาชนที่สิ้นหวัง ไร้ที่พึ่ง จึงหันไปคาดหวังกับการเสี่ยงโชค และเปิดช่องให้พ่อค้าหัวใสปลอกลอกคนที่มีรายได้น้อยอยู่แล้ว
ไม่มีหน่วยงานรัฐแห่งใดจะรู้ร้อนรู้หนาวกับการผลิตชาให้กลายเป็นสิ่งเสพติด เหมือนการพนัน ไม่มีใครรู้สึกรู้สาว่า นายตันกำลังเปิดโรงหวยแห่งใหม่ สูบเงินชาวบ้านเป็นว่าเล่น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งอ้าแขนรับหุ้นอิชิตันเข้าจดทะเบียน เคยตั้งคำถามกับนายตันบ้างหรือไม่ว่า ถ้าไม่ล่อใจผู้บริโภคด้วยการแจกรางวัล ชาเขียวอิชิตันจะมีใครซื้อหรือไม่
ถ้าสังคมตื่นตัวรณรงค์ต่อต้านการมอมเมา ไม่อนุญาตให้ใช้รูปแบบการเสี่ยงโชคกระตุ้นการขายชาเขียว “อิชิตัน” จะถึงจุดจบ และนายตันก็ไม่มีทางโตอีกต่อไป
การเติบโตของอิชิตันเกิดจากการมอมเมาผู้บริโภคล้วนๆ ซึ่งนักธุรกิจที่ยังมีสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ทำกัน
ยอดขายอิชิตันที่พุ่งพรวดก็มีลักษณะเหมือนลูกโป่งสูบลมเข้าไป เป็นการเติบโตที่กลวง และพร้อมจะฟุบได้ทุกขณะ
หุ้นอิชิตันที่นักเก็งกำไรแห่เข้าไปซื้อขาย แลกหมัดวัดดวงกันฝุ่นตลบ จึงเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงมาก ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนระยะยาว
อนาคตของอิชิตันผูกโยงด้วย 2 ปัจจัยคือ ตัวนายตันและการมอมเมายอดขายโดยการแจกรางวัลล่อใจ
ถ้านายตันเป็นอะไรไป ชาเขียวอิชิตันจะถูกผลกระทบ เพราะนายตันสร้างตัวเองเป็นสัญลักษณ์ของตัวสินค้า หรือแม้ว่านายตันยังอยู่ แต่ถ้าหน่วยงานรัฐตื่นจากหลับใหลไม่ยอมให้เล่นหวยชาเขียว ยอดขาย “อิชิตัน” จะตกวูบ ราคาหุ้นอิชิตันจะรูดติดพื้น แมลงเม่าตายกันเป็นเบือเหมือนกัน
ไม่มีใครอิจฉาความร่ำรวยของนายตัน แต่ทำใจยอมรับกันไม่ได้ว่า ทำไม “อิชิตัน” ถูกปล่อยให้เป็นชาเขียวที่มอมเมาผู้บริโภคจนเสพติด และนักลงทุนในตลาดหุ้นแห่เข้าไปซื้อหุ้นอิชิตันได้อย่างไร
ถ้าสังคมพิถีพิถันขึ้นสักนิด เข้มแข็งขึ้นอีกสักหน่อย ชาเขียวอิชิตันคงไม่มีโอกาสแจ้งเกิด และนายตันคงไม่ถูกหวยในตลาดหุ้นเป็นรอบที่สอง
เครื่องดื่มชาเขียวที่มีตลาดจำกัดจำเขี่ย ไม่กินก็ไม่ตาย แต่สามารถสร้างยอดขายมหาศาลได้ เป็นภาพสะท้อนของสังคมที่ไร้ภูมิคุ้มกัน และขาดความใส่ใจในการปกป้องผู้บริโภค
พ่อค้าสมองใส นักสร้างภาพที่ขาดจิตสำนึก จึงตักตวงความมั่งคั่งนับหมื่นล้านบาทได้ง่ายๆ และซ้ำเติมให้สังคมหมกมุ่นจมปลักกับการเสี่ยงโชคหนักขึ้น
นักลงทุนรายย่อยกำลังสนุกสนานกับหุ้นน้องใหม่ “อิชิตัน” เพราะตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ติดอันดับ 1 ใน 10 หุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดมาตลอด เคาะซื้อเคาะขายกันวันละกว่า 1 พันล้านบาท
คนที่ซื้อชาเขียวอิชิตันจะรวยจะจน จะได้โชค ได้ทอง ได้รถปอร์เช่หรือไม่ นักลงทุนที่เข้าไปเก็งกำไรหุ้นอิชิตันจะได้หรือจะเสีย ไม่มีใครรู้ แต่ที่สังคมรับรู้คือ นายตันกำลังรวยแล้วรวยอีก รวยจากการขายหุ้นชาเขียวโออิชิหนหนึ่งแล้ว และรวยหนักขึ้นไปอีกเพราะหุ้นอิชิตัน
นายตันใช้เวลาไม่ถึง 4 ปี สามารถปั้นชาเขียว “อิชิตัน” ขึ้นมาได้ ยอดขายกระฉูดกำไรปีละเฉียด 1 พันล้านบาท แถมผลักดันเข้าตลาดหุ้น สร้างมูลค่าเพิ่มเงินลงทุนของตัวเองถึงกว่า 1,700%
นายตันโด่งดังขึ้นมาในฐานะเจ้าพ่อชาเขียว โดยเป็นผู้บุกเบิกชาเชียว “โออิชิ” จนติดตลาด ก่อนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ต่อมาขายหุ้นให้นายเจริญ สิริวัฒนภักดี โกยเงินมาประมาณ 3,000 ล้านบาท และบริหารโออิชิอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะเกิดความขัดแย้งในการบริหาร และลาออก
เดือนกันยายน 2553 นายตันได้ตั้งบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด ประกาศผลิตชาเขียว อิชิตันแข่งกับโออิชิ และถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงการค้าและวงการธุรกิจอย่างมาก
ประเด็นที่ถูกโจมตีคือ ไม่มีความเป็นลูกผู้ชาย ไม่มีมารยาททางธุรกิจ ไม่มีศักดิ์ศรีทางการค้า เพราะในเมื่อขายโออิชิให้นายเจริญ รับเงินมาแล้วหลายพันล้านบาท จึงไม่ควรผลิตชาเขียวขึ้นมาแข่ง
มีเงินหลายพันล้านบาทแล้ว ถ้าเก่งจริง มีความสามารถจริง ก็ไม่ควรผลิตสินค้าตัวเดียวขึ้นมาแข่งกับสินค้าที่นายตันขายให้คนอื่นไปแล้ว
แต่นายตันไม่ตะขิดตะขวงใจที่จะผลิตชาเขียวยี่ห้อใหม่ เพื่อแย่งตลาดชาเขียวที่ตัวเองเป็นผู้บุกเบิก คิดค้นชาเขียวตัวใหม่ เพื่อทำลายชาเขียวต้นตำรับเดิม
ไม่มีใครคิดว่า อิชิตันจะเกิดได้เพราะตลาดชาเขียวมีจำกัด และโออิชิก็ครองตลาดอยู่ นอกจากนั้น รสชาติของอิชิตันก็ไม่ได้วิเศษวิโสเท่าใด
แต่อิชิตันกลับขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และก้าวขึ้นมาเป็นชาเขียวที่ครองตลาดอันดับหนึ่งโค่นโออิชิได้สำเร็จ
ความสำเร็จของชาเขียวอิชิตันไม่ได้อยู่ที่รสชาติ หรือความเก่งกาจด้านแผนการตลาดของนายตัน แต่เป็นเพราะการมอมเมาด้วยการเสี่ยงโชค การล่อใจด้วยการแจกรางวัลใหญ่
ผู้บริโภคที่ซื้อชาเขียวอิชิตัน ไม่ได้ซื้อเพราะติดใจในรสชาติ แต่ซื้อเพราะหวังโชค จำนวนไม่น้อยที่ซื้อยกลังหวังได้โชค โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ซึ่งถูกโฆษณาชวนเชื่อจนเกิดความเพ้อฝันที่อยากเป็นเศรษฐีในทางรัด
ยิ่งมอมเมาให้คนเพ้อฝันมากเท่าไหร่ นายตันจะเก็บเกี่ยวความร่ำรวยได้มากขึ้นเท่านั้น และตอนนี้ก็รวยเป็นมหาเศรษฐีขึ้นอีกระดับหนึ่งแล้ว
หุ้นอิชิตันราคาพาร์หรือมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ ทำความเข้าใจง่ายๆ คือ ราคาทุนของนายตันอยู่ที่ 1 บาท แต่สามารถเสนอขายนักลงทุนได้ในราคา 13 บาท และราคาที่ซื้อขายในตลาดหุ้นล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 18 บาท ซึ่งหมายถึงภายในเวลา 3 ปีเศษ นายตันโกยกำไรไปแล้วประมาณ 1,700% รวยเร็วไม่แพ้คนขายยาบ้าเสียอีก
อย่างไรก็ตาม แม้หุ้นอิชิตันจะเป็นขวัญใจนักเก็งกำไรประเภทแมลงเม่า แต่ก็ไม่ใช่หุ้นที่นักลงทุนระยะยาวหรือนักลงทุนหุ้นมูลค่าเพิ่มจะให้ความสนใจนัก
เพราะอิชิตันพร้อมจะล้มคว่ำคะมำหงายได้ตลอดเวลา ยอดขายพร้อมจะตกรูด กิจการพร้อมเจ๊งทุกเมื่อ หากไม่สามารถมอมเมาด้วยการชิงโชคได้
ชาเขียวอิชิตันที่ขายได้ เนื่องจากความป่วยไข้ของสังคม โดยประชาชนที่สิ้นหวัง ไร้ที่พึ่ง จึงหันไปคาดหวังกับการเสี่ยงโชค และเปิดช่องให้พ่อค้าหัวใสปลอกลอกคนที่มีรายได้น้อยอยู่แล้ว
ไม่มีหน่วยงานรัฐแห่งใดจะรู้ร้อนรู้หนาวกับการผลิตชาให้กลายเป็นสิ่งเสพติด เหมือนการพนัน ไม่มีใครรู้สึกรู้สาว่า นายตันกำลังเปิดโรงหวยแห่งใหม่ สูบเงินชาวบ้านเป็นว่าเล่น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งอ้าแขนรับหุ้นอิชิตันเข้าจดทะเบียน เคยตั้งคำถามกับนายตันบ้างหรือไม่ว่า ถ้าไม่ล่อใจผู้บริโภคด้วยการแจกรางวัล ชาเขียวอิชิตันจะมีใครซื้อหรือไม่
ถ้าสังคมตื่นตัวรณรงค์ต่อต้านการมอมเมา ไม่อนุญาตให้ใช้รูปแบบการเสี่ยงโชคกระตุ้นการขายชาเขียว “อิชิตัน” จะถึงจุดจบ และนายตันก็ไม่มีทางโตอีกต่อไป
การเติบโตของอิชิตันเกิดจากการมอมเมาผู้บริโภคล้วนๆ ซึ่งนักธุรกิจที่ยังมีสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ทำกัน
ยอดขายอิชิตันที่พุ่งพรวดก็มีลักษณะเหมือนลูกโป่งสูบลมเข้าไป เป็นการเติบโตที่กลวง และพร้อมจะฟุบได้ทุกขณะ
หุ้นอิชิตันที่นักเก็งกำไรแห่เข้าไปซื้อขาย แลกหมัดวัดดวงกันฝุ่นตลบ จึงเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงมาก ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนระยะยาว
อนาคตของอิชิตันผูกโยงด้วย 2 ปัจจัยคือ ตัวนายตันและการมอมเมายอดขายโดยการแจกรางวัลล่อใจ
ถ้านายตันเป็นอะไรไป ชาเขียวอิชิตันจะถูกผลกระทบ เพราะนายตันสร้างตัวเองเป็นสัญลักษณ์ของตัวสินค้า หรือแม้ว่านายตันยังอยู่ แต่ถ้าหน่วยงานรัฐตื่นจากหลับใหลไม่ยอมให้เล่นหวยชาเขียว ยอดขาย “อิชิตัน” จะตกวูบ ราคาหุ้นอิชิตันจะรูดติดพื้น แมลงเม่าตายกันเป็นเบือเหมือนกัน
ไม่มีใครอิจฉาความร่ำรวยของนายตัน แต่ทำใจยอมรับกันไม่ได้ว่า ทำไม “อิชิตัน” ถูกปล่อยให้เป็นชาเขียวที่มอมเมาผู้บริโภคจนเสพติด และนักลงทุนในตลาดหุ้นแห่เข้าไปซื้อหุ้นอิชิตันได้อย่างไร
ถ้าสังคมพิถีพิถันขึ้นสักนิด เข้มแข็งขึ้นอีกสักหน่อย ชาเขียวอิชิตันคงไม่มีโอกาสแจ้งเกิด และนายตันคงไม่ถูกหวยในตลาดหุ้นเป็นรอบที่สอง
เครื่องดื่มชาเขียวที่มีตลาดจำกัดจำเขี่ย ไม่กินก็ไม่ตาย แต่สามารถสร้างยอดขายมหาศาลได้ เป็นภาพสะท้อนของสังคมที่ไร้ภูมิคุ้มกัน และขาดความใส่ใจในการปกป้องผู้บริโภค
พ่อค้าสมองใส นักสร้างภาพที่ขาดจิตสำนึก จึงตักตวงความมั่งคั่งนับหมื่นล้านบาทได้ง่ายๆ และซ้ำเติมให้สังคมหมกมุ่นจมปลักกับการเสี่ยงโชคหนักขึ้น