นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ศูนย์เฉพาะกิจฯ เริ่มดำเนินการตรวจสอบ และช่วยแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กนักเรียน มาตั้งแต่พ.ศ. 2555 ซึ่งพบว่า เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น สาเหตุหลักเพราะ สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสื่อต่างๆ ที่เปิดกว้างมากขึ้น มีการเผยแพร่โฆษณาที่ไม่เหมาะสม ล่อใจให้เด็กไปทำใน สิ่งที่ผิด
ล่าสุด ศูนย์เฉพาะกิจฯได้สรุปตัวเลขการดำเนินการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน ระหว่างเดือนต.ค.56- ก.พ.57 พบเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวกับเด็กนักเรียน 4 กรณี รวม 30,222 ราย ดังนี้
1. กรณีล่วงละเมิดทางเพศ รวม 117 ราย แบ่งเป็นระหว่างเด็กกับเด็ก 83 ราย ครู/บุคลากรทางการศึกษากับเด็ก 1 ราย บุคคลอื่นกับเด็ก 27 ราย อื่น ๆ 6 ราย
2. กรณีความรุนแรง รวม 475 ราย แบ่งเป็น ระหว่างเด็กกับเด็ก 416 ราย ครู/บุคลากรทางการศึกษากับเด็ก 10 ราย บุคคลอื่นกับเด็ก 50 ราย กรณีฆ่าตัวตายทำร้ายตัวเอง 5 ราย อื่นๆ 4 ราย
3. กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา รวม 7,299 ราย แบ่งเป็น ถูกให้ออกจากสถานศึกษา 7 ราย เก็บค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสม 3 ราย ขาดโอกาสทางการศึกษา (ยากจน/ขาดผู้อุปการะ) 6,787 ราย อื่น ๆ 503 ราย
4. กรณีอื่น ๆ รวม 22,334 ราย แบ่งเป็น ท้องไม่พร้อม (สมยอม) 108 ราย ท้องไม่พร้อม (ถูกละเมิด) 3 ราย ได้รับความรุนแรงจากภาวะจิตเวช (สมาธิสั้น/LD/ออกทิสติก) 19,976 ราย พฤติกรรมไม่เหมาะสม 2,072 ราย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 55 ราย เสียชีวิตจากการจมน้ำ 21 ราย และอื่น ๆ 139 ราย
ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ปัญหาเด็กได้รับความรุนแรงจากภาวะจิตเวช จะมีสถิติสูงสุด ถึง 19,976 คน โดยปัจจุบันพบว่ามีเด็กที่มีภาวะจิตเวชเรียนร่วมกับเด็กปกติทั่วไปถึง 20% ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเด็กเหล่านี้ หากดูภายนอกไม่ได้มีความแตกต่างจากเด็กทั่วไป แต่อาจจะสมาธิสั้น ขี้ตกใจ และควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ดังนั้นหากเจอสถานการณ์ที่คับขัน ส่วนใหญ่จะไม่สามารถมารถควบคุมตัวเองได้ จึกมักถูกทำร้าย ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นบ่อยมาก
ดังนั้น การสร้างความเข้าใจถึงภาวะของเด็กเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกันจากการลงพื้นที่ ยังพบว่า ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าห่วงเช่นกัน แม้ตัวเลขที่สำรวจมา จะมีไม่มาก แต่เชื่อว่าปัญหาลักษณะนี้ยังถูกซ่อนอยู่ใต้พรมอีกจำนวนมาก เพราะส่วนใหญ่ยังเห็นว่าเป็นเรื่องน่าอาย ไม่อยากเปิดเผย จึงแก้ปัญหากันเอง และส่วนใหญ่จะแก้ปัญหากันเฉพาะหน้าเท่านั้น เช่น ย้ายโรงเรียนเพื่อแยกเด็กออกจากกัน หรือส่งฝ่ายที่กระทำไปดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งที่ความจริงเรื่องเหล่านี้ ต้องมองว่าเด็กเป็นผู้ถูกกระทำทั้งสองฝ่าย อาทิ กรณีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ข่มขืนเด็กอนุบาล โดยเด็กหญิงมีการขัดขืน แต่เด็กผู้ชายใช้วิธีชกท้อง ทางศูนย์เฉพาะกิจฯได้รับแจ้งเรื่องหลังเหตุการณ์ผ่านไป 4 เดือนแล้ว คดีจึงถูกนำขึ้นสู่ศาล เด็กผู้ชายจะถูกบันทึกลงในประวัติอาชญกรรมไปแล้วว่า เคยก่อคดีข่มขืน
อย่างไรก็ตาม เมื่อลงไปดูปัญหารอบด้านจริงๆ พบว่า เด็กผู้ชายอยู่กับยาย ฐานะยากจน เลยไม่มีเวลาดูแลหลาน ตกเย็นเด็กจึงเดินไปดูทีวีบ้านข้าง ๆ ซึ่งชอบเปิดดูหนังโป๊ เด็กจึงเกิดการซึมซับ และเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งเด็กทั้งสองคนเป็นเหยื่อและเบื้องต้นทางศูนย์จึงเขาไปประสานโดยเด็กผู้ชายเนื่องจากมีประวัติก่อคดีแล้ว จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบให้เขาไปเรียนในสายอาชีพ เพื่อโตขึ้นจะได้มีงานทำ ส่วนเด็กผู้หญิง นอกจากหาโรงเรียนให้ใหม่แล้ว ยังประสานโรง พยาบาล ดูแลในสภาพจิตใจ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต โดยทั้งหมดทางสพฐ. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุโลมไม่ให้คิดค่าใช้จ่าย จนกว่าเด็กจะจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และดูแลไปถึงการทำความเข้าใจกับครอบครัวทั้งสองฝ่ายด้วย
“ขณะนี้ สพฐ.เดินหน้าสแกนปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเป็นอย่างมาก และได้ย้ำอยู่เสมอ หากปัญหาเกิดขึ้นในโรงเรียน แล้วผู้บริหารทำไม่รู้ไม่เห็น ไม่ดูแล ไล่ออกทันที ถือว่าเอาจริงเอาจังมาก เพราะอยากดึงปัญหาขึ้นมาอยู่บนพรม จะได้แก้ไขได้อย่างถูกทาง และที่สำคัญต้องไม่ให้เด็กเหล่านี้หลุดออกจากระบบ การศึกษา โดยปัจจุบัน ศูนย์เฉพาะกิจฯ มีลูกศูนย์กระจายอยู่ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศแล้ว ซึ่งหากมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นในโรงเรียน ผู้ปกครอง หรือคนทั่วไปสามารถแจ้งเบาะแสมาได้ที่เขตพื้นที่ฯ ทันที หรือสามารถแจ้งมาได้ที่ส่วนกลาง หมายเลข 0-2288-5599 ”นายธีร์ กล่าว
ล่าสุด ศูนย์เฉพาะกิจฯได้สรุปตัวเลขการดำเนินการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน ระหว่างเดือนต.ค.56- ก.พ.57 พบเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวกับเด็กนักเรียน 4 กรณี รวม 30,222 ราย ดังนี้
1. กรณีล่วงละเมิดทางเพศ รวม 117 ราย แบ่งเป็นระหว่างเด็กกับเด็ก 83 ราย ครู/บุคลากรทางการศึกษากับเด็ก 1 ราย บุคคลอื่นกับเด็ก 27 ราย อื่น ๆ 6 ราย
2. กรณีความรุนแรง รวม 475 ราย แบ่งเป็น ระหว่างเด็กกับเด็ก 416 ราย ครู/บุคลากรทางการศึกษากับเด็ก 10 ราย บุคคลอื่นกับเด็ก 50 ราย กรณีฆ่าตัวตายทำร้ายตัวเอง 5 ราย อื่นๆ 4 ราย
3. กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา รวม 7,299 ราย แบ่งเป็น ถูกให้ออกจากสถานศึกษา 7 ราย เก็บค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสม 3 ราย ขาดโอกาสทางการศึกษา (ยากจน/ขาดผู้อุปการะ) 6,787 ราย อื่น ๆ 503 ราย
4. กรณีอื่น ๆ รวม 22,334 ราย แบ่งเป็น ท้องไม่พร้อม (สมยอม) 108 ราย ท้องไม่พร้อม (ถูกละเมิด) 3 ราย ได้รับความรุนแรงจากภาวะจิตเวช (สมาธิสั้น/LD/ออกทิสติก) 19,976 ราย พฤติกรรมไม่เหมาะสม 2,072 ราย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 55 ราย เสียชีวิตจากการจมน้ำ 21 ราย และอื่น ๆ 139 ราย
ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ปัญหาเด็กได้รับความรุนแรงจากภาวะจิตเวช จะมีสถิติสูงสุด ถึง 19,976 คน โดยปัจจุบันพบว่ามีเด็กที่มีภาวะจิตเวชเรียนร่วมกับเด็กปกติทั่วไปถึง 20% ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเด็กเหล่านี้ หากดูภายนอกไม่ได้มีความแตกต่างจากเด็กทั่วไป แต่อาจจะสมาธิสั้น ขี้ตกใจ และควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ดังนั้นหากเจอสถานการณ์ที่คับขัน ส่วนใหญ่จะไม่สามารถมารถควบคุมตัวเองได้ จึกมักถูกทำร้าย ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นบ่อยมาก
ดังนั้น การสร้างความเข้าใจถึงภาวะของเด็กเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกันจากการลงพื้นที่ ยังพบว่า ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าห่วงเช่นกัน แม้ตัวเลขที่สำรวจมา จะมีไม่มาก แต่เชื่อว่าปัญหาลักษณะนี้ยังถูกซ่อนอยู่ใต้พรมอีกจำนวนมาก เพราะส่วนใหญ่ยังเห็นว่าเป็นเรื่องน่าอาย ไม่อยากเปิดเผย จึงแก้ปัญหากันเอง และส่วนใหญ่จะแก้ปัญหากันเฉพาะหน้าเท่านั้น เช่น ย้ายโรงเรียนเพื่อแยกเด็กออกจากกัน หรือส่งฝ่ายที่กระทำไปดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งที่ความจริงเรื่องเหล่านี้ ต้องมองว่าเด็กเป็นผู้ถูกกระทำทั้งสองฝ่าย อาทิ กรณีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ข่มขืนเด็กอนุบาล โดยเด็กหญิงมีการขัดขืน แต่เด็กผู้ชายใช้วิธีชกท้อง ทางศูนย์เฉพาะกิจฯได้รับแจ้งเรื่องหลังเหตุการณ์ผ่านไป 4 เดือนแล้ว คดีจึงถูกนำขึ้นสู่ศาล เด็กผู้ชายจะถูกบันทึกลงในประวัติอาชญกรรมไปแล้วว่า เคยก่อคดีข่มขืน
อย่างไรก็ตาม เมื่อลงไปดูปัญหารอบด้านจริงๆ พบว่า เด็กผู้ชายอยู่กับยาย ฐานะยากจน เลยไม่มีเวลาดูแลหลาน ตกเย็นเด็กจึงเดินไปดูทีวีบ้านข้าง ๆ ซึ่งชอบเปิดดูหนังโป๊ เด็กจึงเกิดการซึมซับ และเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งเด็กทั้งสองคนเป็นเหยื่อและเบื้องต้นทางศูนย์จึงเขาไปประสานโดยเด็กผู้ชายเนื่องจากมีประวัติก่อคดีแล้ว จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบให้เขาไปเรียนในสายอาชีพ เพื่อโตขึ้นจะได้มีงานทำ ส่วนเด็กผู้หญิง นอกจากหาโรงเรียนให้ใหม่แล้ว ยังประสานโรง พยาบาล ดูแลในสภาพจิตใจ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต โดยทั้งหมดทางสพฐ. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุโลมไม่ให้คิดค่าใช้จ่าย จนกว่าเด็กจะจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และดูแลไปถึงการทำความเข้าใจกับครอบครัวทั้งสองฝ่ายด้วย
“ขณะนี้ สพฐ.เดินหน้าสแกนปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเป็นอย่างมาก และได้ย้ำอยู่เสมอ หากปัญหาเกิดขึ้นในโรงเรียน แล้วผู้บริหารทำไม่รู้ไม่เห็น ไม่ดูแล ไล่ออกทันที ถือว่าเอาจริงเอาจังมาก เพราะอยากดึงปัญหาขึ้นมาอยู่บนพรม จะได้แก้ไขได้อย่างถูกทาง และที่สำคัญต้องไม่ให้เด็กเหล่านี้หลุดออกจากระบบ การศึกษา โดยปัจจุบัน ศูนย์เฉพาะกิจฯ มีลูกศูนย์กระจายอยู่ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศแล้ว ซึ่งหากมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นในโรงเรียน ผู้ปกครอง หรือคนทั่วไปสามารถแจ้งเบาะแสมาได้ที่เขตพื้นที่ฯ ทันที หรือสามารถแจ้งมาได้ที่ส่วนกลาง หมายเลข 0-2288-5599 ”นายธีร์ กล่าว