วานนี้ (27เม.ย.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26-27 เม.ย. ที่ผ่านมา กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้ประชุมเพื่อหาแนวทางในการจัดเลือกตั้งส.ส. เป็นการทั่วไปครั้งใหม่ โดยได้นำปัญหาจากการเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตั้งเป็นโจทย์ 13 ข้อ ให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กกต.ร่วมกันเสนอแนวทางป้องกัน และแก้ไข โดยโจทย์ทั้ง 13 ข้อนั้น ประกอบด้วย
1. จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้การรับสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ และจับสลากเลขหมายพรรคการเมืองประสบความสำเร็จ เพราะปัญหาจากการรับสมัครในครั้งที่ผ่านมา ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แม้จะสำเร็จ แต่ก็จบลงด้วยเหตุจลาจลวุ่นวาย กลายเป็นความสูญเสียทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สิน ที่เป็นที่เสียใจของคนทั้งประเทศ
2. จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้การรับสมัครส.ส.เขต ทั้ง 375 เขต ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามี 28 เขต ที่มีผู้ประสงค์จะสมัคร แต่ไม่สามารถเข้าไปสมัครได้ ทำให้เป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นการเลือกตั้งที่มิชอบโดยไม่สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันเดียวกันทั้งประเทศ
3. การตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร ที่ต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการอื่นๆ จำนวน 13 หน่วยงาน จะมีวิธีการประสานงานให้เกิดความถูกต้องและได้รับคำตอบตามกำหนดการได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาระยะเวลา 7 วันที่กำหนด หน่วยงานบางหน่วยงาน ไม่สามารถตรวจสอบ และส่งข้อมูลกลับคืนมาในเวลาที่กำหนด ทำให้ผลการประกาศในรอบแรกมีความผิดพลาดอยู่จำนวนหนึ่ง
4. จะมีวิธีการอย่างไร ในกระบวนการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง หากถูกขัดขวาง เพราะที่ผ่านมาโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์ถูกปิดล้อมไม่ให้พนักงานเข้าไปปฏิบัติงาน แท่นพิมพ์ถูกทำลาย ทำให้กระบวนการจัดพิมพ์มีความล่าช้ากว่ากำหนด
5. การขนส่งบัตรเลือกตั้ง จากส่วนกลางไปยังแต่ละจังหวัด จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ถูกสกัดกั้น โดยในสถานการณ์ที่ผ่านมา การขนส่งบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของภาคใต้ทั้งหมด ถูกสกัดไว้ที่ศูนย์จ่ายไปรษณีย์ 3 แห่ง คือ ไปรษณีย์ชุมพร อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ทำให้ภาคใต้ทั้งภาค ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้แม้แต่จังหวัดเดียว
6. การกระจายบัตรและอุปกรณ์เลือกตั้งต่างๆ ให้กับกรรมการประจำหน่วย (กปน.) จะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำได้โดยไม่ถูกขัดขวาง ซึ่งกรณีดังกล่าว เป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากนับล้านคน และต้องกระทำโดยเปิดเผยโปร่งใส จึงมีจุดอ่อนที่อาจถูกขัดขวางไม่ให้กระทำได้สำเร็จได้โดยง่าย ซึ่งหากการกระจายบัตร และอุปกรณ์ไม่สามารถกระจายถึงหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งนั้นก็ไม่สามารถเปิดให้มีการเลือกตั้งได้
7. วันเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งมีหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งแบบในเขต และนอกเขต ประมาณ 1,100 หน่วย จะมีวิธีการอย่างไร ไม่ให้หน่วยเลือกตั้งดังกล่าว ถูกขัดขวางจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เกิดความสำเร็จได้ และหากไปจัดการภายหลังวันเลือกตั้ง ก็เป็นกรณีที่ผิดกฎหมายอีก
8. การจัดหา กปน. จะมีวิธีการอย่างไร ในกรณีที่มีการถอนตัวอย่างกะทันหัน ทั้งนี้ รวมถึง กกต.จังหวัดและผอ.กต.จังหวัด ที่อาจถูกข่มขู่คุกคามให้ถอนตัว จนเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเลือกตั้ง โดยต้องมองถึงสถานการณ์ที่ฉุกเฉินที่สุด คือ การถอนตัวอย่างกะทันหันในวันเลือกตั้งด้วย
9. การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้มีประชาชนผู้มาใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมา คนไทยในต่างประเทศมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป
10. การจัดส่งบัตรเลือกตั้งจากประเทศต่างๆ จะมีวิธีการควบคุมอย่างไร ให้บัตรกลับมาประเทศไทยครบและตรงตามกำหนด เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมา ในกรอบเวลาที่จำกัด ทำให้การจัดส่งถุงเมล์กลับมามีการสูญหาย
11. ในวันเลือกตั้งจริง หากมีการขัดขวางการเลือกตั้ง ทำให้กรรมการไม่สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ได้ ขัดขวางไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ และการขัดขวางในระหว่างการนับคะแนน จะมีแนวทางการจัดการที่เหมาะสมอย่างไร ซึ่งไม่พัฒนาไปสู่เหตุการณ์รุนแรงจนเกิดการปะทะ สูญเสีย หรือนำไปสู่เหตุการณ์จลาจล ในวงกว้างได้
12. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ หรือศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ให้เป็นศูนย์ที่สามารถติดตามสถานการณ์และรายงานสถานการณ์ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งแบบทันเวลา เพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาแบบมีประสิทธิภาพ
13. ปัญหาการใช้สื่อวิทยุท้องถิ่น และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลต่อบรรยากาศของการเลือกตั้ง จะมีช่องทางทางกฎหมายอย่างไร เพื่อจัดการในประเด็นดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่า การให้ข่าวสารแก่ประชาชนผ่านสื่อทั้งสองประเภท ไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน หรือ สื่อออนไลน์ต่างๆ เช่นเฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ เป็นมูลเหตุสำคัญของการสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรง การให้ข้อมูลที่ผิด การใส่ร้ายป้ายสี ไปจนถึงการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งต่างๆ และนำไปสู่ความไม่สงบในการเลือกตั้งได้
นายสมชัย กล่าวว่า จากการประชุมที่ผ่านมา ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง สามารถหาคำตอบกับโจทย์ทั้ง 13 ข้อ ที่อาจเป็นปัญหาต่อการจัดเลือกตั้ง ซึ่งคำตอบที่ได้มานั้น พบว่าเป็นที่น่าพอใจ และเชื่อว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้การเลือกตั้งประสบความสำเร็จได้ โดยตนจะนำผลคำตอบนี้เข้าที่ประชุมกกต. ได้ในวันที่ 29 เม.ย. เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการหารือกับรัฐบาลในวันที่ 30 เม.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม คำตอบดังกล่าวนี้ กกต.จะไม่เปิดเผยให้สาธารณะได้ทราบ เนื่องจากจะนำไปใช้ปฏิบัติจริง เพื่อเป็นแนวทางและมาตรการป้องกันหากการเลือกตั้งเกิดปัญหาหรือถูกขัดขวาง ซึ่งกกต.เกรงว่าหากเปิดเผยออกไปแล้วจะทำให้เกิดอุปสรรคได้
**กกต.รับรองผลส.ว.ที่เหลือ 28 เม.ย.
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยถึงการพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. วันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้กกต.ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. ไปแล้วทั้งสิ้น 62 จังหวัด โดยมีจังหวัดที่ กกต. ยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เนื่องจากมีเรื่องรองเรียนเข้ามา และอยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวน 15 จังหวัด ประกอบด้วย กทม. คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา จ.ชัยภูมิ นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย จ.นครนายก นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ จ.เพชรบูรณ์ นายพิพัฒน์ชัย ภัครัชตานนท์ จ.แพร่ ด.ต.บุหลัน ราษฎร์คำพรรณ์ จ.แม่ฮ่องสอน นายสุรพล สันติโชตินันท์ จ.ระนอง นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ จ.ลพบุรี นายประทวน สุทธิอำนวยเดช จ.ลำปาง นายวราวุฒิ หน่อคำ จ.ลำพูน นายตรี ด่านไพบูลย์ จ.ศรีสะเกษ น.ส.วิลดา อืนฉัตร จ.สุราษฎร์ธานี พล.อ.อ.สุจินต์ แช่มช้อย จ.หนองบัวลำภู นายประพาส นวนสำลี จ.อำนาจเจริญ นางญาณีนาถ เข็มนาค และ จ.อุบลราชธานี นายสมชาย เหล่าสายเชื้อ โดย กกต.จะพิจารณาเรื่องดังกล่าวในวันที่ 28 เม.ย. นี้ ทั้งนี้หากไม่สามารถดำเนินการสอบสวนแล้วเสร็จ ก็จะต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. ไปก่อน แล้วพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่างๆต่อไปในภายหลัง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. มาตรา เ 8 ที่ระบุว่าถ้าเห็นกรณีที่มีเหตุอันสงสัยว่ามีกรณีไม่สุจริตและเที่ยงธรรมในเขตเลือกตั้งใด จะยังไม่ประกาศผลสำหรับเขตเลือกตั้งนั้นก็ได้ แต่ต้องสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้การประกาศผลการเลือกตั้งไม่มีผลกระทบหรือการดำเนินการของกกต.
เมื่อถามถึงกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประสานพูดคุยกับ กกต. เพื่อหาทางออกประเทศในวันที่ 29 มี.ค. นายภุชงค์ กล่าวว่า รายละเอียดเรื่องดังกล่าวก็จะมีการนำเข้าหารือในที่ประชุม กกต. วันที่ 28 เม.ย. ด้วยเช่นกัน
** พท.บี้กกต.จัดเลือกตั้งก่อน 20 ก.ค.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ กกต.จะหารือกับรัฐบาลในวันที่ 30 เม.ย.นี้ เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งว่า พรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองส่วนใหญ่เคยทำหนังสือถึง กกต. ให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งภายในกรอบ 60 วัน ดังนั้นขอให้ กกต.ทบทวนข้อเสนอพรรคการเมืองในประเด็นนี้ด้วย เพราะในส่วนที่กกต.กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 ก.ค.นั้น เป็นเพียงข้อเสนอของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.บริหารกิจการเลือกตั้ง ขณะที่ก่อนหน้านี้ 30 กว่าพรรคการเมือง ทำหนังสือถึงนายกฯ โดยระบุขอให้จัดการเลือกตั้งเร็วกว่าวันที่ 20 ก.ค.
ทั้งนี้ การขยับวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ไม่ใช่ประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยหรือพรรคการเมือง แต่จะเป็นประโยชน์ของประเทศ เพราะวิกฤตการเมืองขณะนี้ต้องแก้ด้วยการเลือกตั้ง ขณะที่ กกต.ที่มีอำนาจจัดการเลือกตั้ง ต้องฟังเสียงประชาชน สมาชิกพรรคการเมือง และเสียงของนานาชาติด้วย ว่า การเลือกตั้งเป็นทางออกของประเทศ และจะคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองได้ กกต.อย่าฟังเสียงนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์ แต่ขอให้ฟังเสียงประชาชน และอย่าอ้างเรื่องการเตรียมการไม่ทัน หรือสถานการณ์ยังไม่สงบ กกต. อย่าตั้งธง ไม่อย่างนั้นจะถือว่ามีนัยทางการเมือง
1. จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้การรับสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ และจับสลากเลขหมายพรรคการเมืองประสบความสำเร็จ เพราะปัญหาจากการรับสมัครในครั้งที่ผ่านมา ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แม้จะสำเร็จ แต่ก็จบลงด้วยเหตุจลาจลวุ่นวาย กลายเป็นความสูญเสียทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สิน ที่เป็นที่เสียใจของคนทั้งประเทศ
2. จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้การรับสมัครส.ส.เขต ทั้ง 375 เขต ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามี 28 เขต ที่มีผู้ประสงค์จะสมัคร แต่ไม่สามารถเข้าไปสมัครได้ ทำให้เป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นการเลือกตั้งที่มิชอบโดยไม่สามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันเดียวกันทั้งประเทศ
3. การตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร ที่ต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการอื่นๆ จำนวน 13 หน่วยงาน จะมีวิธีการประสานงานให้เกิดความถูกต้องและได้รับคำตอบตามกำหนดการได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาระยะเวลา 7 วันที่กำหนด หน่วยงานบางหน่วยงาน ไม่สามารถตรวจสอบ และส่งข้อมูลกลับคืนมาในเวลาที่กำหนด ทำให้ผลการประกาศในรอบแรกมีความผิดพลาดอยู่จำนวนหนึ่ง
4. จะมีวิธีการอย่างไร ในกระบวนการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง หากถูกขัดขวาง เพราะที่ผ่านมาโรงพิมพ์ที่จัดพิมพ์ถูกปิดล้อมไม่ให้พนักงานเข้าไปปฏิบัติงาน แท่นพิมพ์ถูกทำลาย ทำให้กระบวนการจัดพิมพ์มีความล่าช้ากว่ากำหนด
5. การขนส่งบัตรเลือกตั้ง จากส่วนกลางไปยังแต่ละจังหวัด จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ถูกสกัดกั้น โดยในสถานการณ์ที่ผ่านมา การขนส่งบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของภาคใต้ทั้งหมด ถูกสกัดไว้ที่ศูนย์จ่ายไปรษณีย์ 3 แห่ง คือ ไปรษณีย์ชุมพร อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ทำให้ภาคใต้ทั้งภาค ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้แม้แต่จังหวัดเดียว
6. การกระจายบัตรและอุปกรณ์เลือกตั้งต่างๆ ให้กับกรรมการประจำหน่วย (กปน.) จะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำได้โดยไม่ถูกขัดขวาง ซึ่งกรณีดังกล่าว เป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากนับล้านคน และต้องกระทำโดยเปิดเผยโปร่งใส จึงมีจุดอ่อนที่อาจถูกขัดขวางไม่ให้กระทำได้สำเร็จได้โดยง่าย ซึ่งหากการกระจายบัตร และอุปกรณ์ไม่สามารถกระจายถึงหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งนั้นก็ไม่สามารถเปิดให้มีการเลือกตั้งได้
7. วันเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งมีหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งแบบในเขต และนอกเขต ประมาณ 1,100 หน่วย จะมีวิธีการอย่างไร ไม่ให้หน่วยเลือกตั้งดังกล่าว ถูกขัดขวางจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เกิดความสำเร็จได้ และหากไปจัดการภายหลังวันเลือกตั้ง ก็เป็นกรณีที่ผิดกฎหมายอีก
8. การจัดหา กปน. จะมีวิธีการอย่างไร ในกรณีที่มีการถอนตัวอย่างกะทันหัน ทั้งนี้ รวมถึง กกต.จังหวัดและผอ.กต.จังหวัด ที่อาจถูกข่มขู่คุกคามให้ถอนตัว จนเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเลือกตั้ง โดยต้องมองถึงสถานการณ์ที่ฉุกเฉินที่สุด คือ การถอนตัวอย่างกะทันหันในวันเลือกตั้งด้วย
9. การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้มีประชาชนผู้มาใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมา คนไทยในต่างประเทศมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป
10. การจัดส่งบัตรเลือกตั้งจากประเทศต่างๆ จะมีวิธีการควบคุมอย่างไร ให้บัตรกลับมาประเทศไทยครบและตรงตามกำหนด เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมา ในกรอบเวลาที่จำกัด ทำให้การจัดส่งถุงเมล์กลับมามีการสูญหาย
11. ในวันเลือกตั้งจริง หากมีการขัดขวางการเลือกตั้ง ทำให้กรรมการไม่สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ได้ ขัดขวางไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ และการขัดขวางในระหว่างการนับคะแนน จะมีแนวทางการจัดการที่เหมาะสมอย่างไร ซึ่งไม่พัฒนาไปสู่เหตุการณ์รุนแรงจนเกิดการปะทะ สูญเสีย หรือนำไปสู่เหตุการณ์จลาจล ในวงกว้างได้
12. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ หรือศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ให้เป็นศูนย์ที่สามารถติดตามสถานการณ์และรายงานสถานการณ์ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งแบบทันเวลา เพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาแบบมีประสิทธิภาพ
13. ปัญหาการใช้สื่อวิทยุท้องถิ่น และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลต่อบรรยากาศของการเลือกตั้ง จะมีช่องทางทางกฎหมายอย่างไร เพื่อจัดการในประเด็นดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่า การให้ข่าวสารแก่ประชาชนผ่านสื่อทั้งสองประเภท ไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน หรือ สื่อออนไลน์ต่างๆ เช่นเฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ เป็นมูลเหตุสำคัญของการสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรง การให้ข้อมูลที่ผิด การใส่ร้ายป้ายสี ไปจนถึงการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งต่างๆ และนำไปสู่ความไม่สงบในการเลือกตั้งได้
นายสมชัย กล่าวว่า จากการประชุมที่ผ่านมา ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง สามารถหาคำตอบกับโจทย์ทั้ง 13 ข้อ ที่อาจเป็นปัญหาต่อการจัดเลือกตั้ง ซึ่งคำตอบที่ได้มานั้น พบว่าเป็นที่น่าพอใจ และเชื่อว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้การเลือกตั้งประสบความสำเร็จได้ โดยตนจะนำผลคำตอบนี้เข้าที่ประชุมกกต. ได้ในวันที่ 29 เม.ย. เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการหารือกับรัฐบาลในวันที่ 30 เม.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม คำตอบดังกล่าวนี้ กกต.จะไม่เปิดเผยให้สาธารณะได้ทราบ เนื่องจากจะนำไปใช้ปฏิบัติจริง เพื่อเป็นแนวทางและมาตรการป้องกันหากการเลือกตั้งเกิดปัญหาหรือถูกขัดขวาง ซึ่งกกต.เกรงว่าหากเปิดเผยออกไปแล้วจะทำให้เกิดอุปสรรคได้
**กกต.รับรองผลส.ว.ที่เหลือ 28 เม.ย.
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยถึงการพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. วันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้กกต.ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. ไปแล้วทั้งสิ้น 62 จังหวัด โดยมีจังหวัดที่ กกต. ยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เนื่องจากมีเรื่องรองเรียนเข้ามา และอยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวน 15 จังหวัด ประกอบด้วย กทม. คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา จ.ชัยภูมิ นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย จ.นครนายก นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ จ.เพชรบูรณ์ นายพิพัฒน์ชัย ภัครัชตานนท์ จ.แพร่ ด.ต.บุหลัน ราษฎร์คำพรรณ์ จ.แม่ฮ่องสอน นายสุรพล สันติโชตินันท์ จ.ระนอง นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ จ.ลพบุรี นายประทวน สุทธิอำนวยเดช จ.ลำปาง นายวราวุฒิ หน่อคำ จ.ลำพูน นายตรี ด่านไพบูลย์ จ.ศรีสะเกษ น.ส.วิลดา อืนฉัตร จ.สุราษฎร์ธานี พล.อ.อ.สุจินต์ แช่มช้อย จ.หนองบัวลำภู นายประพาส นวนสำลี จ.อำนาจเจริญ นางญาณีนาถ เข็มนาค และ จ.อุบลราชธานี นายสมชาย เหล่าสายเชื้อ โดย กกต.จะพิจารณาเรื่องดังกล่าวในวันที่ 28 เม.ย. นี้ ทั้งนี้หากไม่สามารถดำเนินการสอบสวนแล้วเสร็จ ก็จะต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ว. ไปก่อน แล้วพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่างๆต่อไปในภายหลัง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. มาตรา เ 8 ที่ระบุว่าถ้าเห็นกรณีที่มีเหตุอันสงสัยว่ามีกรณีไม่สุจริตและเที่ยงธรรมในเขตเลือกตั้งใด จะยังไม่ประกาศผลสำหรับเขตเลือกตั้งนั้นก็ได้ แต่ต้องสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้การประกาศผลการเลือกตั้งไม่มีผลกระทบหรือการดำเนินการของกกต.
เมื่อถามถึงกรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประสานพูดคุยกับ กกต. เพื่อหาทางออกประเทศในวันที่ 29 มี.ค. นายภุชงค์ กล่าวว่า รายละเอียดเรื่องดังกล่าวก็จะมีการนำเข้าหารือในที่ประชุม กกต. วันที่ 28 เม.ย. ด้วยเช่นกัน
** พท.บี้กกต.จัดเลือกตั้งก่อน 20 ก.ค.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ กกต.จะหารือกับรัฐบาลในวันที่ 30 เม.ย.นี้ เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งว่า พรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองส่วนใหญ่เคยทำหนังสือถึง กกต. ให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งภายในกรอบ 60 วัน ดังนั้นขอให้ กกต.ทบทวนข้อเสนอพรรคการเมืองในประเด็นนี้ด้วย เพราะในส่วนที่กกต.กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 ก.ค.นั้น เป็นเพียงข้อเสนอของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.บริหารกิจการเลือกตั้ง ขณะที่ก่อนหน้านี้ 30 กว่าพรรคการเมือง ทำหนังสือถึงนายกฯ โดยระบุขอให้จัดการเลือกตั้งเร็วกว่าวันที่ 20 ก.ค.
ทั้งนี้ การขยับวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ไม่ใช่ประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยหรือพรรคการเมือง แต่จะเป็นประโยชน์ของประเทศ เพราะวิกฤตการเมืองขณะนี้ต้องแก้ด้วยการเลือกตั้ง ขณะที่ กกต.ที่มีอำนาจจัดการเลือกตั้ง ต้องฟังเสียงประชาชน สมาชิกพรรคการเมือง และเสียงของนานาชาติด้วย ว่า การเลือกตั้งเป็นทางออกของประเทศ และจะคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองได้ กกต.อย่าฟังเสียงนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์ แต่ขอให้ฟังเสียงประชาชน และอย่าอ้างเรื่องการเตรียมการไม่ทัน หรือสถานการณ์ยังไม่สงบ กกต. อย่าตั้งธง ไม่อย่างนั้นจะถือว่ามีนัยทางการเมือง