ASTVผู้จัดการรายวัน - นักการตลาดพร้อมรับมือทีวีดิจิทัล คาดครึ่งปีหลังชัดเจนแย่งเม็ดเงินโฆษณา 10% จากโฆษณารวมฟรีทีวี ส่วนเคเบิลทีวี/แซทเทิลไลท์ทีวีปีนี้คาดตกลง 10% คอนเทนต์สำคัญต่อเรตติ้งสู่การตัดสินใจซื้อสื่อโฆษณา มายแชร์มองปี57เป็นโอกาสสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ด้วยการสร้างโอนด์มีเดียและเอิร์นมีเดีย คู่กลยุทธ์เพดมีเดีย
นางสาวปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายแชร์ มีเดียเอเจนซี่ในเครือ WPP Network เปิดเผยว่า พฤติกรรมลูกค้าที่จะซื้อสื่อโฆษณาในช่วงไตรมาสสองเป็นต้นไปมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีอีเวนต์ใหญ่เข้ามา คือ ฟุตบอลโลก2014 ที่พบว่าลูกค้าใช้งบร่วมจัดกิจกรรมบอลโลกมากขึ้นเทียบกับช่วงเดียวกันในครั้งก่อน อีกทั้งยังเป็นช่วงหน้าขายสินค้า บวกกับการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลในช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้ และจะเห็นภาพชัดเจนของการใช้เม็ดเงินในสื่อนี้ในช่วงครึ่งปีหลัง จึงมองว่าทั้งปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณามูลค่า 135,806 ล้านบาท น่าจะเติบโตได้ที่ 4-6% แม้ว่าไตรมาสแรกตลาดจะตกลง แต่ยังมั่นใจว่าทั้งปีจะยังเติบโตตามที่คาดการณ์ไว้
โดยปีนี้ทางบริษัทมองว่า พฤติกรรมของลูกค้าในการเลือกซื้อสื่อโฆษณาจะเปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี อย่าง 3จี, การเกิดของทีวีดิจิทัล และไลฟ์สไตล์การใช้งานแบบมัลติสกรีนของผู้บริโภค ส่งผลให้นักการตลาดจะต้องปรับตัวรับมือ และวางแผนการใช้สื่อให้ลูกค้าให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการครีเอทรูปแบบการใช้สื่อโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยความความเข้าใจอย่างแท้จริง จากพฤติกรรมที่เกิดขึ้น บวกกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทางมายแชร์มองเป็นความท้าทายของแบรนด์ในการขับเคลื่อนธุรกิจในทางบวก
ปีนี้จึงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ มัลติสกรีน ตอบรับพฤติกรรมการรับชมพร้อมกันหลายสื่อในเวลาเดียวกันของผู้บริโภค เน้นให้ความสำคัญของการสร้างโอนด์มีเดีย และเอิร์นมีเดีย ควบคู่กับกลยุทธ์ เพดมีเดีย ด้วยการคิดแบบอแด็ปทีฟให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ต่อยอดและปรับให้สอดรับกับความต้องการเฉพาะบุคคล และความคาดหวังที่มีมากขึ้นของผู้บริโภคในปีนี้
อย่างไรก็ตาม หากมองการเปลี่ยนแปลงของสื่อโฆษณาในปีนี้จะพบว่า 1.สื่อทีวี ภาพรวมจะโต 4-6% จากการเกิดของทีวีดิจิทัล ในลักษณะถูกดึงเม็ดเงินโฆษณาเดิมจากฟรีทีวีไปสู่ทีวีดิจิทัล แต่ไม่ได้เพิ่มงบใหม่เข้ามา 2.สื่อหนังสือพิมพ์ยังเติบโตได้อยู่ เนื่องจากผู้บริโภคสนใจในข้อมูลข่าวสารมากขึ้น 3.สื่อนิตยสาร วิธีการซื้อสื่อจะเปลี่ยนไป ในลักษณะไทอินมากขึ้น แต่เป็นงบที่ไม่รวมในตัวเลขสื่อนิตยสาร จึงอาจจะดูว่าการใช้สื่อนี้ลดลง
4.สื่อในโรงภาพยนตร์ ยังโตจากการขยายตัวของโรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัด และมีการไทอินในภาพยนตร์มากขึ้น 5.วิทยุ ยังสำคัญในตลาดต่างจังหวัด ปีนี้ได้เม็ดเงินจาก เวิลด์คัพ เข้ามาช่วยให้ดีอยู่ 6.เอาท์ดอร์ ยังโตได้ รูปแบบสื่อมีความเป็นอินเทอร์แรกทีฟมากขึ้น มีภาพและเสียง จากเดิมเป็นเพียงป้ายโฆษณาปกติ 7.ทรานซิท จะเติบโตในหัวเมืองใหญ่มากขึ้น จากการขยายตัวของเมือง 8.สื่ออินสโตร์ ยังสำคัญเพราะเป็นสื่อสุดท้ายก่อนตัดสินใจซื้อ แต่รูปแบบการนำเสนอจะต้องคิดมากขึ้น จากการแข่งขันของสินค้าที่มีหลากหลาย
นางสาวปัทมวรรณ กล่าวต่อว่า จากการเกิดของดิจิทัลทีวี มั่นใจว่าเม็ดเงินโฆษณาจะถูกแบ่งจากฟรีทีวีไปสู่ดิจิทัลทีวี โดยน่าจะมีสัดส่วนที่ 10% จากเม็ดเงินซื้อสื่อโฆษณาในสื่อทีวีเดิม ทำให้มีเดียแพลนเนอร์จะต้องทำงานยากยิ่งขึ้น เพราะมีช่องรายการ และรายการที่ลงโฆษณามากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องดูสักระยะจึงจะตัดสินใจซื้อสื่อนี้ได้ โดยดูจากคอนเทนต์ที่มีเรตติ้ง ซึ่งเชื่อว่าเรตติ้งรายการในดิจิทัลทีวี เฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 0.04 ผลดีที่จะตามมาคือ ค่าโฆษณาจะต่ำลง มีทางเลือกในการลงโฆษณามากขึ้น เป็นโอกาสของแบรนด์สินค้าใหม่ๆที่อาจจะได้ลงในช่องรายการหลักได้มากขึ้น
“จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เม็ดเงินซื้อโฆษณาในสื่อทีวีถูกแบ่งออกเป็น ฟรีทีวี 67% เคเบิลทีวี/แซทเทิลไลท์ทีวี 20% ดิจิทัลทีวี 10% และทรูวิชั่นส์ 3% โดยการใช้โฆษณาในฟรีทีวีนั้นยังมองว่าเติบโตได้ที่2% ส่วนเคเบิลทีวี/แซทเทิลไลท์ทีวีเติบโตลดลงไม่ต่ำกว่า 10% ขณะที่ทรูวิชั่นส์ทรงตัว” นางสาวปัทมวรรณ กล่าว
นางสาวปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายแชร์ มีเดียเอเจนซี่ในเครือ WPP Network เปิดเผยว่า พฤติกรรมลูกค้าที่จะซื้อสื่อโฆษณาในช่วงไตรมาสสองเป็นต้นไปมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีอีเวนต์ใหญ่เข้ามา คือ ฟุตบอลโลก2014 ที่พบว่าลูกค้าใช้งบร่วมจัดกิจกรรมบอลโลกมากขึ้นเทียบกับช่วงเดียวกันในครั้งก่อน อีกทั้งยังเป็นช่วงหน้าขายสินค้า บวกกับการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลในช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้ และจะเห็นภาพชัดเจนของการใช้เม็ดเงินในสื่อนี้ในช่วงครึ่งปีหลัง จึงมองว่าทั้งปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณามูลค่า 135,806 ล้านบาท น่าจะเติบโตได้ที่ 4-6% แม้ว่าไตรมาสแรกตลาดจะตกลง แต่ยังมั่นใจว่าทั้งปีจะยังเติบโตตามที่คาดการณ์ไว้
โดยปีนี้ทางบริษัทมองว่า พฤติกรรมของลูกค้าในการเลือกซื้อสื่อโฆษณาจะเปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี อย่าง 3จี, การเกิดของทีวีดิจิทัล และไลฟ์สไตล์การใช้งานแบบมัลติสกรีนของผู้บริโภค ส่งผลให้นักการตลาดจะต้องปรับตัวรับมือ และวางแผนการใช้สื่อให้ลูกค้าให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการครีเอทรูปแบบการใช้สื่อโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยความความเข้าใจอย่างแท้จริง จากพฤติกรรมที่เกิดขึ้น บวกกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทางมายแชร์มองเป็นความท้าทายของแบรนด์ในการขับเคลื่อนธุรกิจในทางบวก
ปีนี้จึงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ มัลติสกรีน ตอบรับพฤติกรรมการรับชมพร้อมกันหลายสื่อในเวลาเดียวกันของผู้บริโภค เน้นให้ความสำคัญของการสร้างโอนด์มีเดีย และเอิร์นมีเดีย ควบคู่กับกลยุทธ์ เพดมีเดีย ด้วยการคิดแบบอแด็ปทีฟให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ต่อยอดและปรับให้สอดรับกับความต้องการเฉพาะบุคคล และความคาดหวังที่มีมากขึ้นของผู้บริโภคในปีนี้
อย่างไรก็ตาม หากมองการเปลี่ยนแปลงของสื่อโฆษณาในปีนี้จะพบว่า 1.สื่อทีวี ภาพรวมจะโต 4-6% จากการเกิดของทีวีดิจิทัล ในลักษณะถูกดึงเม็ดเงินโฆษณาเดิมจากฟรีทีวีไปสู่ทีวีดิจิทัล แต่ไม่ได้เพิ่มงบใหม่เข้ามา 2.สื่อหนังสือพิมพ์ยังเติบโตได้อยู่ เนื่องจากผู้บริโภคสนใจในข้อมูลข่าวสารมากขึ้น 3.สื่อนิตยสาร วิธีการซื้อสื่อจะเปลี่ยนไป ในลักษณะไทอินมากขึ้น แต่เป็นงบที่ไม่รวมในตัวเลขสื่อนิตยสาร จึงอาจจะดูว่าการใช้สื่อนี้ลดลง
4.สื่อในโรงภาพยนตร์ ยังโตจากการขยายตัวของโรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัด และมีการไทอินในภาพยนตร์มากขึ้น 5.วิทยุ ยังสำคัญในตลาดต่างจังหวัด ปีนี้ได้เม็ดเงินจาก เวิลด์คัพ เข้ามาช่วยให้ดีอยู่ 6.เอาท์ดอร์ ยังโตได้ รูปแบบสื่อมีความเป็นอินเทอร์แรกทีฟมากขึ้น มีภาพและเสียง จากเดิมเป็นเพียงป้ายโฆษณาปกติ 7.ทรานซิท จะเติบโตในหัวเมืองใหญ่มากขึ้น จากการขยายตัวของเมือง 8.สื่ออินสโตร์ ยังสำคัญเพราะเป็นสื่อสุดท้ายก่อนตัดสินใจซื้อ แต่รูปแบบการนำเสนอจะต้องคิดมากขึ้น จากการแข่งขันของสินค้าที่มีหลากหลาย
นางสาวปัทมวรรณ กล่าวต่อว่า จากการเกิดของดิจิทัลทีวี มั่นใจว่าเม็ดเงินโฆษณาจะถูกแบ่งจากฟรีทีวีไปสู่ดิจิทัลทีวี โดยน่าจะมีสัดส่วนที่ 10% จากเม็ดเงินซื้อสื่อโฆษณาในสื่อทีวีเดิม ทำให้มีเดียแพลนเนอร์จะต้องทำงานยากยิ่งขึ้น เพราะมีช่องรายการ และรายการที่ลงโฆษณามากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องดูสักระยะจึงจะตัดสินใจซื้อสื่อนี้ได้ โดยดูจากคอนเทนต์ที่มีเรตติ้ง ซึ่งเชื่อว่าเรตติ้งรายการในดิจิทัลทีวี เฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 0.04 ผลดีที่จะตามมาคือ ค่าโฆษณาจะต่ำลง มีทางเลือกในการลงโฆษณามากขึ้น เป็นโอกาสของแบรนด์สินค้าใหม่ๆที่อาจจะได้ลงในช่องรายการหลักได้มากขึ้น
“จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เม็ดเงินซื้อโฆษณาในสื่อทีวีถูกแบ่งออกเป็น ฟรีทีวี 67% เคเบิลทีวี/แซทเทิลไลท์ทีวี 20% ดิจิทัลทีวี 10% และทรูวิชั่นส์ 3% โดยการใช้โฆษณาในฟรีทีวีนั้นยังมองว่าเติบโตได้ที่2% ส่วนเคเบิลทีวี/แซทเทิลไลท์ทีวีเติบโตลดลงไม่ต่ำกว่า 10% ขณะที่ทรูวิชั่นส์ทรงตัว” นางสาวปัทมวรรณ กล่าว