วานนี้ (21 เม.ย.) พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล คณะทำงานศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) แถลงหลังการประชุม ศอ.รส. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นว่า เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารโดยตรง โดยไม่มีการบิดเบือน อันเป็นส่วนสำคัญที่จะรักษาความสงบเรียบร้อย ศอ.รส. จึงเห็นสมควรให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ หรือ NBT และ ช่อง 9 อสมท. จัดการถ่ายทอดสดการหารือการจัดเลือกตั้งใหม่ ระหว่างกกต.กับตัวแทนพรรคการเมือง ในวันนี้ โดยให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ประสานงานกับสำนักงานกกต.และผู้เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ เพราะ ศอ.รส.ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าการจัดการเลือกตั้ง เป็นหัวใจสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และโดยเฉพาะจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำความสงบเรียบร้อยมาสู่ชาติบ้านเมืองในขณะนี้ พร้อมกันนี้ ศอ.รส.ได้มีหนังสือถึง ปลัดกระทรวง เลขาธิการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบเท่า เพื่อแจ้งมติของที่ประชุมให้ทราบ และสั่งการให้หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่น และรัฐวิสาหกิจ ดำเนินคดีอาญา และดำเนินคดีแพ่งโดยเร่งด่วน ในกรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมายังสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วทำการปิดล้อม บุกรุก หรือข่มขู่ หรือทำให้เสียทรัพย์ รวมถึงให้หลีกเลี่ยงการต้อนรับ หรือกระทำการใดๆ ที่เข้าข่ายเป็นการสนับสนุน หรือเห็นด้วยกับการกระทำของแกนนำกลุ่ม กปปส. หรือกลุ่มอื่นใด ซึ่งอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีด้วย ทั้งนี้ ข้อสั่งการดังกล่าวของ ศอ.รส. เป็นไปตามอำนาจตามความใน มาตรา 18 แห่งพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ศอ.รส. ร่วมกับส่วนราชการ ได้ดำเนินการเปิดสถานที่ราชการต่างๆ ที่ถูกปิด ให้เริ่มเปิดทำการได้ถึง 70 แห่งแล้ว และมีหน่วยราชการเข้าแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก ปิดล้อมสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานของรัฐแล้วทั้งหมด 28 หน่วยงาน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 37 คดี
นอกจากนี้ ทาง ศอ.รส. ได้รับรายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ถึงความคืบหน้าคดีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง อันเกิดจากการกระทำของแกนนำ กปปส. กับพวก เมื่อครั้งการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา คือ คดี กปปส. ขัดขวางการเลือกตั้งทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 191 คดี แยกเป็นคดีที่เกิดในกรุงเทพมหานคร 51 คดี และคดีที่เกิดในต่างจังหวัด 140 คดี คดีเจ้าหน้าที่ กกต. จงใจละทิ้ง ไม่จัดการเลือกตั้ง 180 คดี แยกเป็นคดีที่เกิดในกรุงเทพมหานคร 66 คดี และคดีที่เกิดในต่างจังหวัด 114 คดี รวมคดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งทั้งสิ้น 371 คดี โดยศาลได้ออกหมายจับให้ รวม 203 หมาย ได้ตัวมาสอบสวนแล้ว 258 คน ทั้งนี้เฉพาะเจ้าหน้าที่กกต. จงใจละทิ้งไม่จัดการเลือกตั้ง มีจำนวนถึง 1,713 คน
** กกต.หารือก่อนถ่ายทอดสดหรือไม่
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวกรณี ศอ.รส. สั่งให้สถานีโทรทัศน์ NBTและ ช่อง 9 อสมท. ถ่ายทอดสด กกต.ประชุมหารือร่วมกับ 64 พรรคการเมือง เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ที่เหมาะสมในวันนี้( 22 เม.ย.) เวลา 14.00 น. ว่า ที่ประชุมกกต.ในช่วงเช้า จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน ว่า จะอนุญาตให้มีการถ่ายทอดสดหรือไม่ เพราะต้องเป็นมติ กกต.
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงรูปแบบการประชุมกับตัวแทนพรรคการเมืองว่า ต้องคุยกันก่อนว่า จะแบ่งเวลากันอย่างไร เช่นถ้าทุกพรรคจะขอพูดหมด ก็จะให้พูดได้เพียงพรรคละ 1 นาทีครึ่ง เพราะจำนวนพรรคมีมาก และหากจะอภิปรายเชิงเหตุและผล ทางกกต. จะจัดแบ่งช่วงเวลาให้ฝ่ายที่เห็นควรเลือกตั้งโดยเร็ว พูดครึ่งชั่วโมง และฝ่ายที่เห็นควรให้ชะลอออกไปก่อน พูดอีกครึ่งชั่วโมง จากนั้นค่อยถามความเห็นจากทุกพรรคการเมือง โดยทั้งหมดนี้จะมีการจดบันทึกเหตุผลทั้งหมดไว้ ซึ่งยังไม่ถือเป็นมติ ทางกกต. ก็จะนำไปประกอบการประชุมกันเอง และไปหารือกับรัฐบาลต่อไป
"คำถามหลักมีเพียงคำถามเดียวคือ พรรคการเมืองเห็นว่าวันเลือกตั้งวันไหน ที่เป็นวันที่เหมาะสม สามารถจัดเลือกตั้งแล้วประสพความสำเร็จ คือเลือกตั้งสงบเรียบร้อย ได้ส.ส.ครบ สามารถเปิดการประชุมรัฐสภาได้ ตั้งรัฐบาลได้ แต่หากการประชุมล่ม ก็ต้องนัดประชุมใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหารือได้"นายสมชัย กล่าว
**"สมชัย"ชงเลือกตั้งใน 90 วัน
เมื่อถามว่า กกต.ได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งที่เหมาะสมไว้หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ได้ให้ตัวเลขที่เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ไปแล้ว คือหลังจากวันหารือ คือ วันที่ 22 เม.ย.ไป 90 วัน เนื่องจากกกต. ต้องใช้เวลาประชุมกัน และพูดคุยหาข้อยุติกับรัฐบาลภายใน 10 วัน เผื่อเวลาสำหรับกระบวนการทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ราว 20 วัน ตามพระราชอำนาจ หลังจากพ.ร.ฎ. เลือกตั้งฯออกมา กกต.ก็ขอเวลาบริหารจัดการตามกฎหมายอีก 60 วัน ส่วนการประเมินสถานการณ์ว่า เมื่อไร ควรจะเริ่มต้นนับ 90 วัน ที่ทำให้เลือกตั้งสงบเรียบร้อยได้ ก็อยู่ที่ข้อเสนอของพรรคการเมือง กกต. เองจะยังไม่ประเมินจุดนี้
"ถ้าจะเอาเร็ว คือวันที่ 15 มิถุนายน ตามที่มีการเสนอมา กว่าที่จะตกลงกับรัฐบาล กว่าที่จะทูลเกล้าฯ และโปรดเกล้าฯ ก็จะเหลือเวลาไม่ถึง 45 วัน ตามกฎหมายด้วยซ้ำ" นายสมชัย กล่าว และว่า การเลือกตั้งส.ส. ครั้งใหม่นี้ เชื่อว่าจะไม่มีการโมฆะด้วยสาเหตุเดิมแน่นอน เพราะกกต. ได้เตรียมกลไก มาตรการต่างๆ รับมือไว้แล้ว แต่สถานการณ์อย่างกรณีที่คนเสื้อแดงมาปิดล้อม ขับไล่กกต. ในการจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 5 ที่ไปดูงาน จ.เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง นั้น หากเข้าสู่การเลือกตั้งแล้วมีการข่มขู่คุกคาม ขัดขวางการเข้าไปทำหน้าที่ของกกต. เพื่อตรวจสอบการทุจริตการเลือกตั้ง ในที่ใดที่หนึ่ง หรือขัดขวางไม่ให้พรรคการเมืองไปหาเสียงในพื้นที่ใด ก็อาจเป็นเหตุให้นำไปสู่การฟ้องร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้ เช่นเดียวกัน
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทราบว่ามีสถานีโทรทัศน์ 2 ช่อง ที่จะดำเนินการถ่ายทอดสดการประชุมกับพรรคการเมืองในวันนี้(22เม.ย.) แล้วคือ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ช่อง 11 หรือ NBT กับช่อง TPBS ซึ่งเมื่อมีการถ่ายทอดสด ก็เชื่อว่ามีคนที่อยากจะพูดจำนวนมากขึ้น ก็ต้องตกลงกันว่า จะจัดสรรเวลาอย่างไร แต่หากมาโต้เถียงกันเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่การกำหนดวันเลือกตั้ง ก็ขอให้ไปโต้เถียงกันนอกห้องประชุม
สำหรับกรณีการประชุม กกต. เพื่อรับรองผลการเลือกตั้งส.ว. เพิ่มเติม จากที่ยังมีการร้องคัดค้านค้างอยู่ 19 ราย ในเช้าวันที่ 22 เม.ย. นั้น นายสมชัย กล่าว่า กกต. จะได้พิจารณารับรองในรายที่ประเด็นร้องเรียนไม่มีน้ำหนัก และไม่ชัดเจน ว่าเข้าข่ายผิดตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ยังไม่มีทางที่จะสามารถประกาศได้ครบ 95 % เพื่อเปลี่ยนผลัดส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่แน่นอน คงต้องยกยอดไปต่อ ในวันที่ 28 เม.ย.นี้
** "มาร์ค"ย้ำต้องร่วมกันหาทางแก้ปัญหา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมพรรคการเมืองกับกกต.ว่า ตนและนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรค จะเป็นตัวแทนไปร่วมประชุม ซึ่งหวังว่าทุกพรรคการเมืองจะช่วยหาคำตอบให้ประเทศ มากกว่าหาคำตอบ หรือทางออกให้พรรคการเมือง เพราะเป้าหมายของ กกต. ต้องการความเห็นจากพรรคการเมือง เพื่อไปหารือกับรัฐบาลในการออกพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่หาคำตอบว่า พรรคการเมืองต้องการเลือกตั้งวันไหน แต่ต้องกำหนดโจทย์ว่า จะมีการเลือกตั้งที่เป็นคำตอบให้ประเทศได้อย่างไร
ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า การเลือกตั้งที่จะเป็นทางออกของประเทศ ต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน คือ มีความเสรี สุจริต เที่ยงธรรม โดยพรรคประชาธิปัตย์ จะเสนอว่า พรรคการเมืองต้องช่วยแก้เงื่อนไขที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ประสบความสำเร็จ การออกกฎ ระเบียบ เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 57 ที่หลายฝ่ายคิดว่าเพียงพอต่อการแก้ปัญหานั้น อยากให้ทราบว่า ความจริงประชาชนไม่ได้คิดเช่นนั้น แม้แต่ กกต.ท่านหนึ่งยังเขียนบทความยอมรับว่า เปิดรับสมัครได้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะเปิดสภาได้ ซึ่งการเลือกตั้งได้ แต่เปิดสภาไม่ได้ ไม่ใช่คำตอบ พรรคต้องการให้การเลือกตั้งเปิดสภา และได้รัฐบาลที่ประชาชนยอมรับ จึงต้องถกถึงปัญหาที่แท้จริงของประเทศ ด้วยความใจกว้าง ไม่ใช่ใช้การเลือกตั้งเป็นพิธีกรรม เพราะความขัดแย้ง และความเสี่ยงต่อความรุนแรง ยังดำรงอยู่ คนที่เดือดร้อนที่สุด คือประชาชน อีกทั้งยังกระทบเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงด้วย ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมกันหาทางออก ไม่ใช่มาทะเลาะกัน หรือพูดถึงความต้องการของแต่ละฝ่าย แต่ต้องช่วยหาคำตอบให้ประเทศเดินหน้า ประชาธิปไตยเดินหน้าได้ โดยไม่มีความรุนแรง ไม่มีการปฏิวัติ แต่กลับสู่การเลือกตั้งที่เป็นคำตอบให้ประเทศเดินหน้าได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การหลุดพ้นจากความขัดแย้ง มีประเด็นมากกว่าการเลือกตั้ง และการปฏิรูป แต่มีเรื่องความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยด้วย เพราะประชาชนกำลังกังวลว่า จะมีการปะทะระหว่างมวลชน จากคำตัดสินขององค์กรต่างๆ หรือไม่ หากไม่สามารถพูดคุยให้ชัดเจนว่า จะแก้ปัญหาอย่างไร
ทั้งนี้ การเลือกตั้งจะเรียบร้อยได้ ทุกฝ่ายต้องมีเสรีภาพในการหาเสียง แต่ล่าสุดแม้แต่กิจกรรมของ กกต. ยังมีมวลชนออกมาไล่ล่า ซึ่งบรรยากาศเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะทำให้การเลือกตั้งเรียบร้อยได้ จึงอยากให้ย้อนกลับไปดูบรรยากาศในปี 2549 ที่มีการกำหนดวันเลือกตั้ง แต่สุดท้ายกลับมีการรัฐประหาร เพราะเกิดปัญหาว่า มวลชนอาจเกิดการเผชิญหน้าจนทำให้เกิดความรุนแรง จึงขอให้ทุกพรรคไปร่วมกันหาคำตอบ ไม่ใช่ยึดติดกับข้อเสนอของตัวเอง แต่หากทุกพรรคยึดอยู่ที่ความต้องการของตัวเอง ก็ไม่ต้องประชุม ให้กกต.ทำแบบสอบถามก็ได้
ดังนั้นจะพูดเฉพาะว่า เลือกตั้งวันไหนไม่ได้ เพราะพรรคก็ต้องการให้เลือกเร็วที่สุด แต่การเลือกตั้งต้องเรียบร้อยด้วย จึงหวังว่าเหตุการณ์ 2 ก.พ. 57 และการเลือกตังสมาชิกวุฒิสภา จะเป็นบทเรียนที่พรรคการเมืองจะต้องตระหนักว่า กำลังเกิดวิกฤตศรัทธาต่อระบบการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย ซึ่งไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย จึงต้องคุยกันว่า จะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งเป็นคำตอบของประเทศ และไม่อยากให้มีการลงมติเรื่องเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย นอกจากนี้ ที่ผ่านมาพรรคการเมืองส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครขัดข้องในเรื่องการเลื่อนการเลือกตั้ง จึงเชื่อว่า ไม่มีการลงมติ และอยากให้ กกต. ถามว่า อยากให้การเลือกตั้งเดินหน้าอย่างไรมากกว่าที่จะถามว่า จะกำหนดวันเลือกตั้งเมื่อไร
"ผมยังหวังว่า การประชุมพรรคการเมืองในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการแก้ปัญหา ไม่ใช่การเพิ่มอีกหนึ่งบทของความขัดแย้ง โดยไม่หวังว่าจะได้บทสรุปตรงกันแต่อย่างน้อยควรจะเห็นตรงกันมากขึ้น ด้วยการช่วยกันทำให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นคำตอบให้ประเทศ จึงต้องทำให้กระบวนการทางการเมืองได้รับความยอมรับความศรัทธา ดังนั้นจะคุยแต่การกำหนดวันเลือกตั้ง โดยไม่คุยถึงปัญหาปัญหาประเทศไม่ได้ " นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้ เพราะ ศอ.รส.ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าการจัดการเลือกตั้ง เป็นหัวใจสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และโดยเฉพาะจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำความสงบเรียบร้อยมาสู่ชาติบ้านเมืองในขณะนี้ พร้อมกันนี้ ศอ.รส.ได้มีหนังสือถึง ปลัดกระทรวง เลขาธิการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบเท่า เพื่อแจ้งมติของที่ประชุมให้ทราบ และสั่งการให้หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่น และรัฐวิสาหกิจ ดำเนินคดีอาญา และดำเนินคดีแพ่งโดยเร่งด่วน ในกรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมายังสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วทำการปิดล้อม บุกรุก หรือข่มขู่ หรือทำให้เสียทรัพย์ รวมถึงให้หลีกเลี่ยงการต้อนรับ หรือกระทำการใดๆ ที่เข้าข่ายเป็นการสนับสนุน หรือเห็นด้วยกับการกระทำของแกนนำกลุ่ม กปปส. หรือกลุ่มอื่นใด ซึ่งอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีด้วย ทั้งนี้ ข้อสั่งการดังกล่าวของ ศอ.รส. เป็นไปตามอำนาจตามความใน มาตรา 18 แห่งพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ศอ.รส. ร่วมกับส่วนราชการ ได้ดำเนินการเปิดสถานที่ราชการต่างๆ ที่ถูกปิด ให้เริ่มเปิดทำการได้ถึง 70 แห่งแล้ว และมีหน่วยราชการเข้าแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก ปิดล้อมสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานของรัฐแล้วทั้งหมด 28 หน่วยงาน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 37 คดี
นอกจากนี้ ทาง ศอ.รส. ได้รับรายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ถึงความคืบหน้าคดีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง อันเกิดจากการกระทำของแกนนำ กปปส. กับพวก เมื่อครั้งการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา คือ คดี กปปส. ขัดขวางการเลือกตั้งทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 191 คดี แยกเป็นคดีที่เกิดในกรุงเทพมหานคร 51 คดี และคดีที่เกิดในต่างจังหวัด 140 คดี คดีเจ้าหน้าที่ กกต. จงใจละทิ้ง ไม่จัดการเลือกตั้ง 180 คดี แยกเป็นคดีที่เกิดในกรุงเทพมหานคร 66 คดี และคดีที่เกิดในต่างจังหวัด 114 คดี รวมคดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งทั้งสิ้น 371 คดี โดยศาลได้ออกหมายจับให้ รวม 203 หมาย ได้ตัวมาสอบสวนแล้ว 258 คน ทั้งนี้เฉพาะเจ้าหน้าที่กกต. จงใจละทิ้งไม่จัดการเลือกตั้ง มีจำนวนถึง 1,713 คน
** กกต.หารือก่อนถ่ายทอดสดหรือไม่
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวกรณี ศอ.รส. สั่งให้สถานีโทรทัศน์ NBTและ ช่อง 9 อสมท. ถ่ายทอดสด กกต.ประชุมหารือร่วมกับ 64 พรรคการเมือง เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ที่เหมาะสมในวันนี้( 22 เม.ย.) เวลา 14.00 น. ว่า ที่ประชุมกกต.ในช่วงเช้า จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน ว่า จะอนุญาตให้มีการถ่ายทอดสดหรือไม่ เพราะต้องเป็นมติ กกต.
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงรูปแบบการประชุมกับตัวแทนพรรคการเมืองว่า ต้องคุยกันก่อนว่า จะแบ่งเวลากันอย่างไร เช่นถ้าทุกพรรคจะขอพูดหมด ก็จะให้พูดได้เพียงพรรคละ 1 นาทีครึ่ง เพราะจำนวนพรรคมีมาก และหากจะอภิปรายเชิงเหตุและผล ทางกกต. จะจัดแบ่งช่วงเวลาให้ฝ่ายที่เห็นควรเลือกตั้งโดยเร็ว พูดครึ่งชั่วโมง และฝ่ายที่เห็นควรให้ชะลอออกไปก่อน พูดอีกครึ่งชั่วโมง จากนั้นค่อยถามความเห็นจากทุกพรรคการเมือง โดยทั้งหมดนี้จะมีการจดบันทึกเหตุผลทั้งหมดไว้ ซึ่งยังไม่ถือเป็นมติ ทางกกต. ก็จะนำไปประกอบการประชุมกันเอง และไปหารือกับรัฐบาลต่อไป
"คำถามหลักมีเพียงคำถามเดียวคือ พรรคการเมืองเห็นว่าวันเลือกตั้งวันไหน ที่เป็นวันที่เหมาะสม สามารถจัดเลือกตั้งแล้วประสพความสำเร็จ คือเลือกตั้งสงบเรียบร้อย ได้ส.ส.ครบ สามารถเปิดการประชุมรัฐสภาได้ ตั้งรัฐบาลได้ แต่หากการประชุมล่ม ก็ต้องนัดประชุมใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหารือได้"นายสมชัย กล่าว
**"สมชัย"ชงเลือกตั้งใน 90 วัน
เมื่อถามว่า กกต.ได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งที่เหมาะสมไว้หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ได้ให้ตัวเลขที่เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ไปแล้ว คือหลังจากวันหารือ คือ วันที่ 22 เม.ย.ไป 90 วัน เนื่องจากกกต. ต้องใช้เวลาประชุมกัน และพูดคุยหาข้อยุติกับรัฐบาลภายใน 10 วัน เผื่อเวลาสำหรับกระบวนการทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ราว 20 วัน ตามพระราชอำนาจ หลังจากพ.ร.ฎ. เลือกตั้งฯออกมา กกต.ก็ขอเวลาบริหารจัดการตามกฎหมายอีก 60 วัน ส่วนการประเมินสถานการณ์ว่า เมื่อไร ควรจะเริ่มต้นนับ 90 วัน ที่ทำให้เลือกตั้งสงบเรียบร้อยได้ ก็อยู่ที่ข้อเสนอของพรรคการเมือง กกต. เองจะยังไม่ประเมินจุดนี้
"ถ้าจะเอาเร็ว คือวันที่ 15 มิถุนายน ตามที่มีการเสนอมา กว่าที่จะตกลงกับรัฐบาล กว่าที่จะทูลเกล้าฯ และโปรดเกล้าฯ ก็จะเหลือเวลาไม่ถึง 45 วัน ตามกฎหมายด้วยซ้ำ" นายสมชัย กล่าว และว่า การเลือกตั้งส.ส. ครั้งใหม่นี้ เชื่อว่าจะไม่มีการโมฆะด้วยสาเหตุเดิมแน่นอน เพราะกกต. ได้เตรียมกลไก มาตรการต่างๆ รับมือไว้แล้ว แต่สถานการณ์อย่างกรณีที่คนเสื้อแดงมาปิดล้อม ขับไล่กกต. ในการจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 5 ที่ไปดูงาน จ.เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง นั้น หากเข้าสู่การเลือกตั้งแล้วมีการข่มขู่คุกคาม ขัดขวางการเข้าไปทำหน้าที่ของกกต. เพื่อตรวจสอบการทุจริตการเลือกตั้ง ในที่ใดที่หนึ่ง หรือขัดขวางไม่ให้พรรคการเมืองไปหาเสียงในพื้นที่ใด ก็อาจเป็นเหตุให้นำไปสู่การฟ้องร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้ เช่นเดียวกัน
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทราบว่ามีสถานีโทรทัศน์ 2 ช่อง ที่จะดำเนินการถ่ายทอดสดการประชุมกับพรรคการเมืองในวันนี้(22เม.ย.) แล้วคือ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ช่อง 11 หรือ NBT กับช่อง TPBS ซึ่งเมื่อมีการถ่ายทอดสด ก็เชื่อว่ามีคนที่อยากจะพูดจำนวนมากขึ้น ก็ต้องตกลงกันว่า จะจัดสรรเวลาอย่างไร แต่หากมาโต้เถียงกันเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่การกำหนดวันเลือกตั้ง ก็ขอให้ไปโต้เถียงกันนอกห้องประชุม
สำหรับกรณีการประชุม กกต. เพื่อรับรองผลการเลือกตั้งส.ว. เพิ่มเติม จากที่ยังมีการร้องคัดค้านค้างอยู่ 19 ราย ในเช้าวันที่ 22 เม.ย. นั้น นายสมชัย กล่าว่า กกต. จะได้พิจารณารับรองในรายที่ประเด็นร้องเรียนไม่มีน้ำหนัก และไม่ชัดเจน ว่าเข้าข่ายผิดตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ยังไม่มีทางที่จะสามารถประกาศได้ครบ 95 % เพื่อเปลี่ยนผลัดส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่แน่นอน คงต้องยกยอดไปต่อ ในวันที่ 28 เม.ย.นี้
** "มาร์ค"ย้ำต้องร่วมกันหาทางแก้ปัญหา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมพรรคการเมืองกับกกต.ว่า ตนและนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรค จะเป็นตัวแทนไปร่วมประชุม ซึ่งหวังว่าทุกพรรคการเมืองจะช่วยหาคำตอบให้ประเทศ มากกว่าหาคำตอบ หรือทางออกให้พรรคการเมือง เพราะเป้าหมายของ กกต. ต้องการความเห็นจากพรรคการเมือง เพื่อไปหารือกับรัฐบาลในการออกพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่หาคำตอบว่า พรรคการเมืองต้องการเลือกตั้งวันไหน แต่ต้องกำหนดโจทย์ว่า จะมีการเลือกตั้งที่เป็นคำตอบให้ประเทศได้อย่างไร
ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า การเลือกตั้งที่จะเป็นทางออกของประเทศ ต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน คือ มีความเสรี สุจริต เที่ยงธรรม โดยพรรคประชาธิปัตย์ จะเสนอว่า พรรคการเมืองต้องช่วยแก้เงื่อนไขที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ประสบความสำเร็จ การออกกฎ ระเบียบ เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 57 ที่หลายฝ่ายคิดว่าเพียงพอต่อการแก้ปัญหานั้น อยากให้ทราบว่า ความจริงประชาชนไม่ได้คิดเช่นนั้น แม้แต่ กกต.ท่านหนึ่งยังเขียนบทความยอมรับว่า เปิดรับสมัครได้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะเปิดสภาได้ ซึ่งการเลือกตั้งได้ แต่เปิดสภาไม่ได้ ไม่ใช่คำตอบ พรรคต้องการให้การเลือกตั้งเปิดสภา และได้รัฐบาลที่ประชาชนยอมรับ จึงต้องถกถึงปัญหาที่แท้จริงของประเทศ ด้วยความใจกว้าง ไม่ใช่ใช้การเลือกตั้งเป็นพิธีกรรม เพราะความขัดแย้ง และความเสี่ยงต่อความรุนแรง ยังดำรงอยู่ คนที่เดือดร้อนที่สุด คือประชาชน อีกทั้งยังกระทบเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงด้วย ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมกันหาทางออก ไม่ใช่มาทะเลาะกัน หรือพูดถึงความต้องการของแต่ละฝ่าย แต่ต้องช่วยหาคำตอบให้ประเทศเดินหน้า ประชาธิปไตยเดินหน้าได้ โดยไม่มีความรุนแรง ไม่มีการปฏิวัติ แต่กลับสู่การเลือกตั้งที่เป็นคำตอบให้ประเทศเดินหน้าได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การหลุดพ้นจากความขัดแย้ง มีประเด็นมากกว่าการเลือกตั้ง และการปฏิรูป แต่มีเรื่องความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยด้วย เพราะประชาชนกำลังกังวลว่า จะมีการปะทะระหว่างมวลชน จากคำตัดสินขององค์กรต่างๆ หรือไม่ หากไม่สามารถพูดคุยให้ชัดเจนว่า จะแก้ปัญหาอย่างไร
ทั้งนี้ การเลือกตั้งจะเรียบร้อยได้ ทุกฝ่ายต้องมีเสรีภาพในการหาเสียง แต่ล่าสุดแม้แต่กิจกรรมของ กกต. ยังมีมวลชนออกมาไล่ล่า ซึ่งบรรยากาศเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะทำให้การเลือกตั้งเรียบร้อยได้ จึงอยากให้ย้อนกลับไปดูบรรยากาศในปี 2549 ที่มีการกำหนดวันเลือกตั้ง แต่สุดท้ายกลับมีการรัฐประหาร เพราะเกิดปัญหาว่า มวลชนอาจเกิดการเผชิญหน้าจนทำให้เกิดความรุนแรง จึงขอให้ทุกพรรคไปร่วมกันหาคำตอบ ไม่ใช่ยึดติดกับข้อเสนอของตัวเอง แต่หากทุกพรรคยึดอยู่ที่ความต้องการของตัวเอง ก็ไม่ต้องประชุม ให้กกต.ทำแบบสอบถามก็ได้
ดังนั้นจะพูดเฉพาะว่า เลือกตั้งวันไหนไม่ได้ เพราะพรรคก็ต้องการให้เลือกเร็วที่สุด แต่การเลือกตั้งต้องเรียบร้อยด้วย จึงหวังว่าเหตุการณ์ 2 ก.พ. 57 และการเลือกตังสมาชิกวุฒิสภา จะเป็นบทเรียนที่พรรคการเมืองจะต้องตระหนักว่า กำลังเกิดวิกฤตศรัทธาต่อระบบการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย ซึ่งไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย จึงต้องคุยกันว่า จะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งเป็นคำตอบของประเทศ และไม่อยากให้มีการลงมติเรื่องเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย นอกจากนี้ ที่ผ่านมาพรรคการเมืองส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครขัดข้องในเรื่องการเลื่อนการเลือกตั้ง จึงเชื่อว่า ไม่มีการลงมติ และอยากให้ กกต. ถามว่า อยากให้การเลือกตั้งเดินหน้าอย่างไรมากกว่าที่จะถามว่า จะกำหนดวันเลือกตั้งเมื่อไร
"ผมยังหวังว่า การประชุมพรรคการเมืองในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการแก้ปัญหา ไม่ใช่การเพิ่มอีกหนึ่งบทของความขัดแย้ง โดยไม่หวังว่าจะได้บทสรุปตรงกันแต่อย่างน้อยควรจะเห็นตรงกันมากขึ้น ด้วยการช่วยกันทำให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นคำตอบให้ประเทศ จึงต้องทำให้กระบวนการทางการเมืองได้รับความยอมรับความศรัทธา ดังนั้นจะคุยแต่การกำหนดวันเลือกตั้ง โดยไม่คุยถึงปัญหาปัญหาประเทศไม่ได้ " นายอภิสิทธิ์ กล่าว