6 ใน 7 วันอันตรายสงกรานต์สังเวยแล้ว 277 ศพ บาดเจ็บเฉียด 3 พัน จากอุบัติเหตุ 2,754 ครั้ง กำชับดูแลความปลอดภัยถนนสายหลัก-สายรองเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด ควบคู่ดูแลการเล่นน้ำ ย้ำจัดโซนนิ่ง-ไม่นั่งนิ่ง-ไม่ดูดาย ช่วยลดตายเป็นศูนย์ได้ถึง 7 จังหวัด ด้าน สตช. สรุปโครงการฝากบ้านไว้กับตร.กว่า 4 พันหลังปลอดภัย ชี้ยอดอุบัติเหตุพุ่ง แต่ผู้เสียชีวิตลด
นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) แถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 16 เม.ย. 57 ซึ่งเป็นวันที่หกของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 273 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 29 ราย ผู้บาดเจ็บ 283 คน เมาแล้วขับยังเป็นสาเหตุอุบัติเหตุสูงสุด ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ พฤติกรรมเสี่ยงคือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.17 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.36 ถนนอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 34.43 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 20 – 49 ปี)
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,279 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 66,865 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 670,825 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 104,211 ราย โดยมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 30,948 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 29,596 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 16 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นราธิวาส และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 17 คน
ขณะที่ยอดสะสมรวม 6 วัน (11 – 16 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,754 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 173 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 277 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 9 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 2,926 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 143 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือตายเป็นศูนย์ลดลงเหลือ 7 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ ชัยนาท เพชรบุรี ลพบุรี อ่างทอง พังงา และยะลา จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 107 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 13 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 118 คน
"ภาพรวม 6 วันที่ผ่านมา แนวโน้มดีขึ้น มีจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่ช่วงนี้ประชาชนบางส่วนอยู่ในช่วงเดินทางกลับ บางส่วนกลับเข้าสู่การทำงาน ซึ่งมีการเดินทางและการใช้รถใช้ถนนตามปกติทำให้การจราจรเริ่มหนาแน่นขึ้น จึงขอให้จังหวัดปรับมาตรการเข้มงวดการดูแลความปลอดภัยในการเดินทางบนเส้นทางสายหลัก ควบคู่กับเส้นทางสายรองที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด รวมถึงจังหวัดโดยรอบที่เป็นเส้นทางเข้าสู่ กทม. เน้นการระบายการจราจรให้คล่องตัวและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง สำหรับเส้นทางสายรองที่เข้าสู่สายหลักซึ่งหลายจุดยังคงมีการเล่นน้ำสงกรานต์ให้เข้มความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนนและการเล่นน้ำ" มท.3 กล่าว
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า แม้จะเข้าสู่วันทำงานตามปกติแล้ว แต่หลายพื้นที่ยังคงมีการเล่นน้ำสงกรานต์ จึงขอเน้นย้ำให้จังหวัดดูแลการเล่นน้ำสงกรานต์อย่างสุภาพและปลอดภัยในพื้นที่โซนนิ่งที่กำหนดภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณี ควบคู่กับการควบคุมมิให้มีการดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดี ปภ. กล่าวว่า เมาแล้วขับและขับรถเร็วยังเป็นสาเหตุหลักการเกิดอุบัติเหตุ ขอให้จังหวัดเพิ่มความถี่ในการตรวจเรียกและกวดขันดำเนินคดีกับผู้ขับขี่ที่พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ที่มีสาเหตุมาจากการง่วงแล้วขับและความอ่อนล้าในการเดินทาง ทั้งนี้ หากประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนนิรภัย 1784
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผอ.สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุทางถนน (สคอ.) กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีที่หลายจังหวัดไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเลย หมายถึงในพื้นที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ปรับปรุงแก้ไขจุดด้อยของปีที่ผ่านมา และมีการขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมกับการนำ “โซนนิ่ง” ไปดำเนินการและประสบผลสำเร็จ ซึ่งต่อไปก็ยังคงเน้นย้ำให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการ 3 ด้านที่สามารถควบคุมและลดอุบัติเหตุได้ ได้ 1.โซนนิ่ง คือเจ้าของพื้นที่ต้องมีประกาศกำหนดพื้นที่เล่นน้ำ งดขาย งดดื่มชัดเจน 2.ไม่นั่งนิ่ง คือไม่อยู่นิ่งในตั้งเต็นท์ ควรออกตรวจ สำรวจและแก้ไขจุดเสี่ยง และ 3.ไม่ดูดาย คือทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทร่วมกันแก้ไขปัญหา ไม่รอภาครัฐ
สตช.สรุปยอดฝากบ้านฯรวม 4,358 หลัง
ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษก ตร. แถลงสรุปสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ว่า มีผู้เสียชีวิตลดลงจากปีที่แล้ว แต่ยอดของการเกิดอุบัติเหตุมีเพิ่มมากขึ้น สาเหตุต้นๆที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นก็คือ การเมาสุรา และขับรถเร็วกว่ากำหนด ประเภทรถที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ รถจักรยานยนต์ คิด ร้อยละ80 รองลงมาคือ รถกระบะ และรถเก๋ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในถนนสายรอง ถนนในหมู่บ้าน ส่วนช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดก็คือ 16.00-20.00 น. ขณะที่ช่วงหลัง 20.00 น. จนถึงเช้าพบว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นน้อยกว่า สาเหตุอาจจะมาจากการป้องกันไม่ให้มีการดื่มสุราในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับช่วงอายุที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ 30 ปีขึ้นไป รองลงมาคือช่วงอายุ 15-19 ปี
พล.ต.ต.อนุชา กล่าวต่อว่า โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจในปีนี้มีบ้านที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ 4,358 หลัง โดยบ้านทุกหลังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่พบรายงานความเสียหายต่อทรัพย์สินของบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) แถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 16 เม.ย. 57 ซึ่งเป็นวันที่หกของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 273 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 29 ราย ผู้บาดเจ็บ 283 คน เมาแล้วขับยังเป็นสาเหตุอุบัติเหตุสูงสุด ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ พฤติกรรมเสี่ยงคือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.17 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.36 ถนนอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 34.43 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 20 – 49 ปี)
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,279 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 66,865 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 670,825 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 104,211 ราย โดยมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 30,948 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 29,596 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 16 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นราธิวาส และอุทัยธานี จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 17 คน
ขณะที่ยอดสะสมรวม 6 วัน (11 – 16 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,754 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 173 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 277 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 9 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 2,926 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 143 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือตายเป็นศูนย์ลดลงเหลือ 7 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ ชัยนาท เพชรบุรี ลพบุรี อ่างทอง พังงา และยะลา จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 107 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 13 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 118 คน
"ภาพรวม 6 วันที่ผ่านมา แนวโน้มดีขึ้น มีจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่ช่วงนี้ประชาชนบางส่วนอยู่ในช่วงเดินทางกลับ บางส่วนกลับเข้าสู่การทำงาน ซึ่งมีการเดินทางและการใช้รถใช้ถนนตามปกติทำให้การจราจรเริ่มหนาแน่นขึ้น จึงขอให้จังหวัดปรับมาตรการเข้มงวดการดูแลความปลอดภัยในการเดินทางบนเส้นทางสายหลัก ควบคู่กับเส้นทางสายรองที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด รวมถึงจังหวัดโดยรอบที่เป็นเส้นทางเข้าสู่ กทม. เน้นการระบายการจราจรให้คล่องตัวและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง สำหรับเส้นทางสายรองที่เข้าสู่สายหลักซึ่งหลายจุดยังคงมีการเล่นน้ำสงกรานต์ให้เข้มความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนนและการเล่นน้ำ" มท.3 กล่าว
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า แม้จะเข้าสู่วันทำงานตามปกติแล้ว แต่หลายพื้นที่ยังคงมีการเล่นน้ำสงกรานต์ จึงขอเน้นย้ำให้จังหวัดดูแลการเล่นน้ำสงกรานต์อย่างสุภาพและปลอดภัยในพื้นที่โซนนิ่งที่กำหนดภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณี ควบคู่กับการควบคุมมิให้มีการดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดี ปภ. กล่าวว่า เมาแล้วขับและขับรถเร็วยังเป็นสาเหตุหลักการเกิดอุบัติเหตุ ขอให้จังหวัดเพิ่มความถี่ในการตรวจเรียกและกวดขันดำเนินคดีกับผู้ขับขี่ที่พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ที่มีสาเหตุมาจากการง่วงแล้วขับและความอ่อนล้าในการเดินทาง ทั้งนี้ หากประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนนิรภัย 1784
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผอ.สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุทางถนน (สคอ.) กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีที่หลายจังหวัดไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเลย หมายถึงในพื้นที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ปรับปรุงแก้ไขจุดด้อยของปีที่ผ่านมา และมีการขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมกับการนำ “โซนนิ่ง” ไปดำเนินการและประสบผลสำเร็จ ซึ่งต่อไปก็ยังคงเน้นย้ำให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการ 3 ด้านที่สามารถควบคุมและลดอุบัติเหตุได้ ได้ 1.โซนนิ่ง คือเจ้าของพื้นที่ต้องมีประกาศกำหนดพื้นที่เล่นน้ำ งดขาย งดดื่มชัดเจน 2.ไม่นั่งนิ่ง คือไม่อยู่นิ่งในตั้งเต็นท์ ควรออกตรวจ สำรวจและแก้ไขจุดเสี่ยง และ 3.ไม่ดูดาย คือทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทร่วมกันแก้ไขปัญหา ไม่รอภาครัฐ
สตช.สรุปยอดฝากบ้านฯรวม 4,358 หลัง
ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษก ตร. แถลงสรุปสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ว่า มีผู้เสียชีวิตลดลงจากปีที่แล้ว แต่ยอดของการเกิดอุบัติเหตุมีเพิ่มมากขึ้น สาเหตุต้นๆที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นก็คือ การเมาสุรา และขับรถเร็วกว่ากำหนด ประเภทรถที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ รถจักรยานยนต์ คิด ร้อยละ80 รองลงมาคือ รถกระบะ และรถเก๋ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในถนนสายรอง ถนนในหมู่บ้าน ส่วนช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดก็คือ 16.00-20.00 น. ขณะที่ช่วงหลัง 20.00 น. จนถึงเช้าพบว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นน้อยกว่า สาเหตุอาจจะมาจากการป้องกันไม่ให้มีการดื่มสุราในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับช่วงอายุที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ 30 ปีขึ้นไป รองลงมาคือช่วงอายุ 15-19 ปี
พล.ต.ต.อนุชา กล่าวต่อว่า โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจในปีนี้มีบ้านที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ 4,358 หลัง โดยบ้านทุกหลังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่พบรายงานความเสียหายต่อทรัพย์สินของบ้านที่เข้าร่วมโครงการ