2 วันใน 7 วันอันตรายช่วงสงกรานต์ ตายแล้ว 102 เจ็บ 893 เกิดอุบัติเหตุแล้ว 850 ครั้ง "เชียงราย" แชมป์อุบัติเหตุเจ็บตาย ด้าน สธ.ระบุขายเหล้าผิดกฎหมายเพียบ ทั้งลดแลกแจกแถม โฆษณา จัดคอนเสิร์ตพ่วงลานเบียร์ แฉเทศบาลภาคเหนือจัดซุ้มขายเหล้าเอง เร่งตรวจสอบ
วานนี้ (13 เม.ย) น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า สถิติอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ 2557 โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า อุบัติเหตุประจำวันที่ 12 เม.ย. ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 471 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 63 ราย ผู้บาดเจ็บ 491 คน สาเหตุคือ เมาสุรา ร้อยละ 38.43 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 25.27 รถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ร้อยละ 80.75 พฤติกรรมเสี่ยงคือไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 24.01 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.36 บนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 39.92 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.31 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.00-20.00 น. ร้อยละ 32.48 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 54.52
น.ส.รื่นวดี กล่าวว่า สรุปอุบัติเหตุทางถนนตั้งแต่วันที่ 11-12 เม.ย. รวม 2 วัน เกิดอุบัติเหตุรวม 850 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 59 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 102 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 893 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 55 คน จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุในช่วง 2 วัน มี 3 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครนายก และหนองคาย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 2 วัน ตายเป็นศูนย์ รวม 26 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 37 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย นครสวรรค์ และนครราชสีมา จังหวัดละ 5 ราย ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 36 คน
ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ได้กำชับให้จังหวัดเข้มการบังคับใช้กฎหมายทุกเส้นทาง โดยรอบพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ปรับแผนการจัดตั้งจุดตรวจ จุดบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์อุบัติเหตุ สภาพการจราจรและห้วงเวลาเล่นน้ำของแต่ละพื้นที่ โดยช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. ให้เน้นหนักเส้นทางภายในจังหวัด เส้นทางสายรองเป็นพิเศษ เพราะประชาชนส่วนใหญ่กลับถึงภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในพื้นที่ สำหรับ กทม.เน้นย้ำให้ บช.น.คุมเข้มการใช้ความเร็วและการดื่มแล้วขับเป็นพิเศษโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ สถานบันเทิงยามค่ำคืน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดี ปภ. กล่าวว่า จากการติดตามสภาพอากาศ พบว่า ช่วงระหว่างวันที่ 12-16 เม.ย. หลายพื้นที่จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง จึงได้ประสานจังหวัดเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถเป็นพิเศษ ท้ายนี้หากประสบอุบัติเหตุสามารถติดต่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ทันที
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า วันที่ 13 เม.ย. จะเป็นวันที่ทุกพื้นที่นิยมเล่นน้ำสงกรานต์หนักหน่วงกว่าทุกวัน จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นสองเท่าและเพิ่มบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้มงวดและตรวจจับเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัย จึงขอความร่วมมือและเน้นย้ำไปยังท้องถิ่นคุมเข้มมาตรการโซนนิ่ง พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย การควบคุมการนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาในบริเวณพื้นที่เล่นน้ำ ตลอดจนการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยข้อมูลจากสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า พบว่าในปี 2556 ทั่วประเทศมีพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า จำนวน 86 แห่ง 66 จังหวัด และในอนาคตจะขยายพื้นที่เพิ่มอีกเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอันเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
นายพรหมมินทร์ กล่าวว่า สำหรับการจับกุมดำเนินคดีผู้ฝืนและกระทำผิดกฎหมายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งสิ้น 4,827 ราย จำแนกเป็น การดำเนินคดีตามมาตรการเน้นหนัก 3 ข้อหา วันที่ 11-12 เม.ย.57 คือ เมาสุรา จังหวัดที่มีการดำเนินคดีสูงสุด คือ นครราชสีมา จำนวน 351 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย จังหวัดที่มีการดำเนินคดีสูงสุด คือ สุรินทร์ จำนวน 3,411 ราย และขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด คือ สุรินทร์ จำนวน 746 ราย
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ผลการปฏิบัติงานงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินในรอบวันที่ 11-12 เม.ย. ภาพรวมทั้งประเทศทีมแพทย์กู้ชีพออกปฏิบัติการตรวจรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรรวม 2,301 ราย หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บ จึงขอความมือประชาชนหากพบอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ ขอให้โทร.แจ้งหน่วยแพทย์กู้ชีพที่หมายเลข 1669 ทันที เพื่อป้องกันความพิการและเสียชีวิตจากการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผลการออกตรวจสอบการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบวันที่ 10 -12 เม.ย. ได้ตรวจสอบทั้งหมด 439 ราย ในพื้นที่ 10 จังหวัดคือ ตรัง พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เลย ขอนแก่น เชียงใหม่ ลำพูน จันทบุรี และกรุงเทพมหานคร พบกระทำผิดเล็กน้อยและได้ตักเตือน แจ้งให้แก้ไขให้ปฏิบัติให้ถูกต้องจำนวน 302 ราย และดำเนินคดี 137 ราย ฐานความผิดที่พบมากที่สุดคือ การโฆษณาสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 102 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท จนกว่าจะเลิกโฆษณา นอกจากนี้ ยังมี ขายในเวลาห้ามขาย ขายแบบลด แลก แจก แถม ขายในสถานที่ห้ามขาย และลักลอบขายให้เด็ก
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า คร.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน จำนวน 5 สาย ในเรื่องการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่งที่บริเวณริมฟุตปาท โดยตั้งเป็นซุ้มจำหน่ายในงานเทศกาลสงกรานต์ จัดโดยเทศบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 11-15 เม.ย. ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงไปทำการตรวจสอบแล้ว
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คร. กล่าวว่า คดีที่น่าสนใจคือ มีการจัดกิจกรรมสื่อสารการตลาดประเภทมิวสิก มาร์เก็ตติ้ง (Music Marketing) เข้าข่ายการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายอย่างชัดเจน โดยมีการจัดคอนเสิร์ตพ่วงขายและโฆษณาเบียร์ด้วย โดยมีป้ายโฆษณาตลอดทางก่อนถึงจังหวัด และในเขตตัวเมือง ทั้งนี้ ขณะเข้าไปตรวจสอบด้านหน้าของบริเวณจัดงาน พบว่ามีทั้งการโฆษณา และกิจกรรมเล่นเกม โดยพริตตีที่สื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างชัดเจน เมื่อเข้าไปในงานพบว่าเป็นลานเบียร์เต็มรูปแบบพบสื่อโฆษณาเบียร์ ทั้งที่เวที เต็นท์ เสื้อผ้าของพนักงาน อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบการขายเบียร์ และสื่อต่างๆ ที่บูทขายทั่วทั้งงาน โดยมีบูทขายเบียร์ประมาณ 10 แห่ง มีพนักงานให้บริการนับร้อยคน จากการสอบถามพนักงานทุกคนบอกว่าไม่ขอดูบัตรก่อนขายเบียร์ เพราะส่วนใหญ่ไม่มีใครพกมาเล่นน้ำสงกรานต์ และสามารถขายได้จนเลิกงานคือเวลาตีหนึ่ง ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายชัดเจนเพราะต้องหยุดขายก่อนเที่ยงคืน.
วานนี้ (13 เม.ย) น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า สถิติอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ 2557 โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า อุบัติเหตุประจำวันที่ 12 เม.ย. ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 471 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 63 ราย ผู้บาดเจ็บ 491 คน สาเหตุคือ เมาสุรา ร้อยละ 38.43 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 25.27 รถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ร้อยละ 80.75 พฤติกรรมเสี่ยงคือไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 24.01 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.36 บนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 39.92 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.31 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.00-20.00 น. ร้อยละ 32.48 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 54.52
น.ส.รื่นวดี กล่าวว่า สรุปอุบัติเหตุทางถนนตั้งแต่วันที่ 11-12 เม.ย. รวม 2 วัน เกิดอุบัติเหตุรวม 850 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 59 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 102 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 893 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 55 คน จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุในช่วง 2 วัน มี 3 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครนายก และหนองคาย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 2 วัน ตายเป็นศูนย์ รวม 26 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 37 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย นครสวรรค์ และนครราชสีมา จังหวัดละ 5 ราย ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 36 คน
ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ได้กำชับให้จังหวัดเข้มการบังคับใช้กฎหมายทุกเส้นทาง โดยรอบพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ปรับแผนการจัดตั้งจุดตรวจ จุดบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์อุบัติเหตุ สภาพการจราจรและห้วงเวลาเล่นน้ำของแต่ละพื้นที่ โดยช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. ให้เน้นหนักเส้นทางภายในจังหวัด เส้นทางสายรองเป็นพิเศษ เพราะประชาชนส่วนใหญ่กลับถึงภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในพื้นที่ สำหรับ กทม.เน้นย้ำให้ บช.น.คุมเข้มการใช้ความเร็วและการดื่มแล้วขับเป็นพิเศษโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ สถานบันเทิงยามค่ำคืน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดี ปภ. กล่าวว่า จากการติดตามสภาพอากาศ พบว่า ช่วงระหว่างวันที่ 12-16 เม.ย. หลายพื้นที่จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง จึงได้ประสานจังหวัดเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถเป็นพิเศษ ท้ายนี้หากประสบอุบัติเหตุสามารถติดต่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ทันที
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า วันที่ 13 เม.ย. จะเป็นวันที่ทุกพื้นที่นิยมเล่นน้ำสงกรานต์หนักหน่วงกว่าทุกวัน จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นสองเท่าและเพิ่มบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้มงวดและตรวจจับเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัย จึงขอความร่วมมือและเน้นย้ำไปยังท้องถิ่นคุมเข้มมาตรการโซนนิ่ง พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย การควบคุมการนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาในบริเวณพื้นที่เล่นน้ำ ตลอดจนการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยข้อมูลจากสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า พบว่าในปี 2556 ทั่วประเทศมีพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า จำนวน 86 แห่ง 66 จังหวัด และในอนาคตจะขยายพื้นที่เพิ่มอีกเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอันเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
นายพรหมมินทร์ กล่าวว่า สำหรับการจับกุมดำเนินคดีผู้ฝืนและกระทำผิดกฎหมายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมทั้งสิ้น 4,827 ราย จำแนกเป็น การดำเนินคดีตามมาตรการเน้นหนัก 3 ข้อหา วันที่ 11-12 เม.ย.57 คือ เมาสุรา จังหวัดที่มีการดำเนินคดีสูงสุด คือ นครราชสีมา จำนวน 351 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย จังหวัดที่มีการดำเนินคดีสูงสุด คือ สุรินทร์ จำนวน 3,411 ราย และขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด คือ สุรินทร์ จำนวน 746 ราย
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ผลการปฏิบัติงานงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินในรอบวันที่ 11-12 เม.ย. ภาพรวมทั้งประเทศทีมแพทย์กู้ชีพออกปฏิบัติการตรวจรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรรวม 2,301 ราย หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บ จึงขอความมือประชาชนหากพบอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ ขอให้โทร.แจ้งหน่วยแพทย์กู้ชีพที่หมายเลข 1669 ทันที เพื่อป้องกันความพิการและเสียชีวิตจากการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผลการออกตรวจสอบการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบวันที่ 10 -12 เม.ย. ได้ตรวจสอบทั้งหมด 439 ราย ในพื้นที่ 10 จังหวัดคือ ตรัง พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เลย ขอนแก่น เชียงใหม่ ลำพูน จันทบุรี และกรุงเทพมหานคร พบกระทำผิดเล็กน้อยและได้ตักเตือน แจ้งให้แก้ไขให้ปฏิบัติให้ถูกต้องจำนวน 302 ราย และดำเนินคดี 137 ราย ฐานความผิดที่พบมากที่สุดคือ การโฆษณาสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 102 ราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท จนกว่าจะเลิกโฆษณา นอกจากนี้ ยังมี ขายในเวลาห้ามขาย ขายแบบลด แลก แจก แถม ขายในสถานที่ห้ามขาย และลักลอบขายให้เด็ก
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า คร.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน จำนวน 5 สาย ในเรื่องการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่งที่บริเวณริมฟุตปาท โดยตั้งเป็นซุ้มจำหน่ายในงานเทศกาลสงกรานต์ จัดโดยเทศบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 11-15 เม.ย. ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงไปทำการตรวจสอบแล้ว
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คร. กล่าวว่า คดีที่น่าสนใจคือ มีการจัดกิจกรรมสื่อสารการตลาดประเภทมิวสิก มาร์เก็ตติ้ง (Music Marketing) เข้าข่ายการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายอย่างชัดเจน โดยมีการจัดคอนเสิร์ตพ่วงขายและโฆษณาเบียร์ด้วย โดยมีป้ายโฆษณาตลอดทางก่อนถึงจังหวัด และในเขตตัวเมือง ทั้งนี้ ขณะเข้าไปตรวจสอบด้านหน้าของบริเวณจัดงาน พบว่ามีทั้งการโฆษณา และกิจกรรมเล่นเกม โดยพริตตีที่สื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างชัดเจน เมื่อเข้าไปในงานพบว่าเป็นลานเบียร์เต็มรูปแบบพบสื่อโฆษณาเบียร์ ทั้งที่เวที เต็นท์ เสื้อผ้าของพนักงาน อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบการขายเบียร์ และสื่อต่างๆ ที่บูทขายทั่วทั้งงาน โดยมีบูทขายเบียร์ประมาณ 10 แห่ง มีพนักงานให้บริการนับร้อยคน จากการสอบถามพนักงานทุกคนบอกว่าไม่ขอดูบัตรก่อนขายเบียร์ เพราะส่วนใหญ่ไม่มีใครพกมาเล่นน้ำสงกรานต์ และสามารถขายได้จนเลิกงานคือเวลาตีหนึ่ง ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายชัดเจนเพราะต้องหยุดขายก่อนเที่ยงคืน.