ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.ตั้งเป้าเป็นบริษัทพลังงานอาเซียนรองรับAEC โดยมี”ปิโตรนาส”มาเลย์คู่แข่งที่สำคัญ ทุ่มงบ 3 พันล้านบาทใน 5ปีนี้ ลุยตั้งปั๊มน้ำมันใน 3ประเทศหลักทั้งลาว เขมรและฟิลิปปินส์
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.มีเป้าหมายในการเป็นบริษัทพลังงานอาเซียน เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 ซึ่งปตท.ได้มีการลงทุนสถานีบริการน้ำมันมาตรฐานภายใต้แบรนด์ปตท.ในหลายประเทศอาเซียน และสามารถแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติได้แล้ว โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ บริษัท ปิโตรนาส ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของมาเลเซีย
ส่วนสาเหตุที่ปิโตรนาสมีกำไรจากการดำเนินงานสูงกว่าปตท.มาก เนื่องจากปิโตรนาสเป็นเจ้าของแหล่งพลังงานในมาเลเซีย แต่ปตท.เป็นเพียงผู้ประกอบการเท่านั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของแหล่งปิโตรเลียม
นอกจากนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาในหลายประเทศเพื่อทำธุรกรรมการค้าขายพลังงาน โดยมีบริษัทในเครือถึง 3 00 บริษัททั้งในและต่างประเทศ โดยมีบริษัทในต่างประเทศอยู่ที่สิงคโปร์มากที่สุด จึงได้มีการจัดตั้งบริษัท PTT Regional Treasury Center (PTT RTC) ในสิงคโปร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเงินภูมิภาคของปตท.ในการดูแลธุรกรรมด้านการเงิน โดยมีเม็ดเงินผ่านบริษัทนับแสนล้านบาทต่อปี
นายบุรณิน รัตนสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้มีการจัดทำแผนการลงทุนปั๊มน้ำมันในอาเซียน 5 ปีเป็นวงเงินรวม 3 พันล้านบาท โดยจะเน้นลงทุนใน 3 ประเทศหลัก คือ สปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ส่วนเมียนมาร์นั้น ปตท.ก็สนใจลงทุนแต่กำลังรอดูนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลเมียนมาร์ว่าจะเปิดให้ลงทุนมากน้อยแค่ไหน
ขณะนี้ปตท.ได้ตั้งบริษัท PTT OM เพื่อดูแลการลงทุนในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนนั้นจะผ่านหน่วยงานของรัฐบาลเมียนมาร์ คือ MIC ที่จะคัดเลือกการลงทุนต่างประเทศใดบ้างที่จะสนับสนุนในการลงทุน ที่ผ่านมา การลงทุนทำธุรกิจปั๊มน้ำมันในเมียนมาร์จะต้องร่วมทุนกับดีลเลอร์ในท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันปตท.มีการร่วมทุนกับดีลเลอร์ทำปั๊มน้ำมันที่เนปิดอร์ 1 แห่ง และเร็วๆนี้จะเปิดอีกแห่งที่ย่างกุ้ง โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีนี้จะมีปั๊มน้ำมันในเมียนมาร์ 4 แห่ง
นายบุรณิน กล่าวต่อไปว่า วงเงินลงทุนขยายปั๊มน้ำมันปตท.ในประเทศเพื่อนบ้าน 5ปีนี้ได้จัดสรรให้กับฟิลิปปินส์ 1500 ล้านบาท สปป.ลาว 800 ล้านบาท และกัมพูชา 700 ล้านบาท โดยปีที่แล้วปตท.มีปั๊มน้ำมันในสปป.ลาว 55-23 แห่ง ในปีนี้จะเพิ่มอีก 8-10 แห่ง และใน 5ปีข้างหน้าจะมีปั๊มเพิ่มเป็น 65 แห่ง
ส่วนการขยายปั๊มน้ำมันในกัมพูชานั้น ปีนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 6 แห่งจากปีที่แล้ว 16 แห่ง คาดว่า 5ปีข้างหน้าจะมีปั๊มน้ำมันเพิ่มเป็น 40-45 แห่ง และฟิลิปปินส์ มีปั๊มน้ำมันอยู่ 70 กว่าแห่ง ปีนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 15 แห่ง สำหรับการขยายปั๊มน้ำมันในเวียดนาม อินโดนีเซียและมาเลเซียนั้นยังติดเงื่อนไขข้อกฎระเบียบที่ยังไม่เปิดให้เข้าไปลงทุนได้
สำหรับปริมาณการขายน้ำมันผ่านปั๊มปตท.ในอาเซียนนั้น ปัจจุบันมียอดขายอยู่ที่ 1.6 พันล้านลิตร/ปี คิดเป็นมูลค่ารวม 6 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายการเติบโตปริมาณการขายน้ำมันเฉลี่ยปีละ 10-15%ตลอด 5ปีข้างหน้านี้ซึ่งที่ผ่านมา ปั๊มน้ำมันแบรนด์ปตท. เป็นที่ยอมรับจากลาวและกัมพูชามาก ส่วนที่ฟิลิปปินส์ยังต้องทำประชาสัมพันธ์เนื่องจากธุรกิจนี้มีการแข่งขันสูง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.มีเป้าหมายในการเป็นบริษัทพลังงานอาเซียน เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 ซึ่งปตท.ได้มีการลงทุนสถานีบริการน้ำมันมาตรฐานภายใต้แบรนด์ปตท.ในหลายประเทศอาเซียน และสามารถแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติได้แล้ว โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ บริษัท ปิโตรนาส ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของมาเลเซีย
ส่วนสาเหตุที่ปิโตรนาสมีกำไรจากการดำเนินงานสูงกว่าปตท.มาก เนื่องจากปิโตรนาสเป็นเจ้าของแหล่งพลังงานในมาเลเซีย แต่ปตท.เป็นเพียงผู้ประกอบการเท่านั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของแหล่งปิโตรเลียม
นอกจากนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาในหลายประเทศเพื่อทำธุรกรรมการค้าขายพลังงาน โดยมีบริษัทในเครือถึง 3 00 บริษัททั้งในและต่างประเทศ โดยมีบริษัทในต่างประเทศอยู่ที่สิงคโปร์มากที่สุด จึงได้มีการจัดตั้งบริษัท PTT Regional Treasury Center (PTT RTC) ในสิงคโปร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเงินภูมิภาคของปตท.ในการดูแลธุรกรรมด้านการเงิน โดยมีเม็ดเงินผ่านบริษัทนับแสนล้านบาทต่อปี
นายบุรณิน รัตนสมบัติ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้มีการจัดทำแผนการลงทุนปั๊มน้ำมันในอาเซียน 5 ปีเป็นวงเงินรวม 3 พันล้านบาท โดยจะเน้นลงทุนใน 3 ประเทศหลัก คือ สปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ส่วนเมียนมาร์นั้น ปตท.ก็สนใจลงทุนแต่กำลังรอดูนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลเมียนมาร์ว่าจะเปิดให้ลงทุนมากน้อยแค่ไหน
ขณะนี้ปตท.ได้ตั้งบริษัท PTT OM เพื่อดูแลการลงทุนในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนนั้นจะผ่านหน่วยงานของรัฐบาลเมียนมาร์ คือ MIC ที่จะคัดเลือกการลงทุนต่างประเทศใดบ้างที่จะสนับสนุนในการลงทุน ที่ผ่านมา การลงทุนทำธุรกิจปั๊มน้ำมันในเมียนมาร์จะต้องร่วมทุนกับดีลเลอร์ในท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันปตท.มีการร่วมทุนกับดีลเลอร์ทำปั๊มน้ำมันที่เนปิดอร์ 1 แห่ง และเร็วๆนี้จะเปิดอีกแห่งที่ย่างกุ้ง โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีนี้จะมีปั๊มน้ำมันในเมียนมาร์ 4 แห่ง
นายบุรณิน กล่าวต่อไปว่า วงเงินลงทุนขยายปั๊มน้ำมันปตท.ในประเทศเพื่อนบ้าน 5ปีนี้ได้จัดสรรให้กับฟิลิปปินส์ 1500 ล้านบาท สปป.ลาว 800 ล้านบาท และกัมพูชา 700 ล้านบาท โดยปีที่แล้วปตท.มีปั๊มน้ำมันในสปป.ลาว 55-23 แห่ง ในปีนี้จะเพิ่มอีก 8-10 แห่ง และใน 5ปีข้างหน้าจะมีปั๊มเพิ่มเป็น 65 แห่ง
ส่วนการขยายปั๊มน้ำมันในกัมพูชานั้น ปีนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 6 แห่งจากปีที่แล้ว 16 แห่ง คาดว่า 5ปีข้างหน้าจะมีปั๊มน้ำมันเพิ่มเป็น 40-45 แห่ง และฟิลิปปินส์ มีปั๊มน้ำมันอยู่ 70 กว่าแห่ง ปีนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 15 แห่ง สำหรับการขยายปั๊มน้ำมันในเวียดนาม อินโดนีเซียและมาเลเซียนั้นยังติดเงื่อนไขข้อกฎระเบียบที่ยังไม่เปิดให้เข้าไปลงทุนได้
สำหรับปริมาณการขายน้ำมันผ่านปั๊มปตท.ในอาเซียนนั้น ปัจจุบันมียอดขายอยู่ที่ 1.6 พันล้านลิตร/ปี คิดเป็นมูลค่ารวม 6 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายการเติบโตปริมาณการขายน้ำมันเฉลี่ยปีละ 10-15%ตลอด 5ปีข้างหน้านี้ซึ่งที่ผ่านมา ปั๊มน้ำมันแบรนด์ปตท. เป็นที่ยอมรับจากลาวและกัมพูชามาก ส่วนที่ฟิลิปปินส์ยังต้องทำประชาสัมพันธ์เนื่องจากธุรกิจนี้มีการแข่งขันสูง