ASTVผู้จัดการรายวัน-ชาวบ้านแพรกษา 162 คน แห่ร้องศาลปกครองกลาง เอาผิด 7 หน่วยงานรัฐ ปล่อยบ่อขยะทำพิษ จนชาวบ้านเดือดร้อน ด้านดีเอสไอลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานลักลอบทิ้งขยะกว่า 200 โรง หาต้นตอทิ้งขยะพิษ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (9เม.ย.) สภาทนายความ นำชาวบ้านชุมชนแพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ และประชาชนที่มีที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จำนวน 162 คน นำโดยนายสุชาติ นาคนก เดินทางมายื่นฟ้องนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แพรกษา , สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ , อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ , ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ , กรมควบคุมมลพิษ , กรมโรงงานอุตสาหกรรม และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวม 7ราย ต่อศาลปกครองกลาง ในข้อหาเป็นหน่วยงานรัฐ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ละเลยปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ในการจัดการบ่อขยะแพรกษา ที่มีการลักลอบดำเนินการทิ้งขยะที่เป็นกากสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ. 2535 จนเป็นเหตุให้เกิดมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนายสุชาติ กับชาวบ้านทั้ง 162 คน ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว
โดยขอให้ศาลสั่งคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อลดและขจัดมลพิษด้านขยะชมชน และขยะอุตสาหกรรม ใน จ.สมุทรปราการอย่างเป็นรูปธรรม และให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบกิจการรับบริการขนขยะ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 รวมกันดำเนินการดับไฟที่บ่อขยะแพรกษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้ไฟในกองขยะดับไปอย่างถาวร ไม่เกิดลุกไหม้ขึ้นได้อีก รวมถึงสั่งให้กรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการฟื้นฟูชะล้างสารพิษต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในดิน และน้ำใต้ดิน บริเวณดังกล่าวจนได้คุณภาพมาตรฐาน
นายสำนวน ประพิณ รองประธานอนุกรรมการสิ่งแวดล้อมฝ่ายคดี สภาทนายความ ผู้รับมอบอำนาจ กล่าวว่า ชาวบ้านทั้ง 162 คน จำเป็นจะต้องใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 , 67 ฟ้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้ง 7 หน่วยงาน ที่ละเลยต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จนบ่อขยะแพรกษา เกิดเป็นก๊าซพิษ และเพลิงไหม้ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน จนถึงขณะนี้ก็ยังดับไม่ได้ ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้านดังกล่าว รวมถึงพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย ปะปนไปด้วยสารพิษ ประกอบกับการแก้ปัญหาเพลิงไหม้และมลพิษ ก็ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ จึงจำเป็นต้องใช้สิทธิตามกฎหมายขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเพื่อระงับความเสียหายและความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป ซึ่งในคดีนี้ได้ขอให้ศาลเรียกไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวชาวบ้านโดยเร็ว
วันเดียวกันนี้ นายภูวิช ยมหา ผู้อำนวยการตรวจบริหารคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ ดร.สุรพล ชามาตย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ร่วมกันนำกำลังเข้าตรวจสอบที่โรงงานฟอกหนังซึ่งตั้งอยู่ภายในซอยเทศบาลบางปู 88 (ซอยโรงหมี่) หมู่ 6 ต.บางปู อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อสุ่มเก็บตัวอย่างเศษหนังสัตว์และสารเคมีที่ใช้ในการฟอกหนัง เพื่อนำมาทำการตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับเศษหนังสัตว์และกากตะกอนอุตสาหกรรมที่พบในบ่อขยะภายในซอยแพรกษา ซึ่งเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นรอบที่สองเมื่อคืนวานนี้ แต่โรงงานฟอกหนังภายในซอยดังกล่าวได้ปิดทำการ คาดว่าว่าเจ้าของน่าจะไหวตัวทันชิงปิดกิจการก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเดินทางไปถึง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจึงประสานตำรวจพื้นที่ให้ออกหมายเรียกตัวเจ้าของโรงงานเข้าพบ เพื่อชี้แจงและรับทราบข้อกล่าวหา
นายภูวิชกล่าวว่า จากการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการลักลอบทิ้งที่บ่อขยะแพรกษา พบว่ามีประมาณ 200 โรง และได้ออกหมายเรียกทางผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ขนส่ง และผู้กำจัด รวมทั้งได้มีการเก็บตัวอย่างกากอุตสาหกรรมจากโรงงานในบัญชีรายชื่อ มาเปรียบเทียบกับกากอุตสาหกรรมที่พบในบ่อขยะแล้ว และยังได้ยกเป็นคดีพิเศษทั้งหมด รวมทั้งยังได้ตรวจสอบรถบ่อขยะของเทศบาลบางปูที่ได้ขนขยะอุตสาหกรรมไปทิ้งว่าเทศบาลอนุญาตได้อย่างไร
สำหรับการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดใน จ.สมุทรปราการกว่า 10 โรง ได้มีการจักกุมดำเนินคดีแล้ว 7 โรง โดยจะทยอยจับกุมเรื่อยๆ เพื่อให้เป็นรูปแบบอย่างและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (9เม.ย.) สภาทนายความ นำชาวบ้านชุมชนแพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ และประชาชนที่มีที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จำนวน 162 คน นำโดยนายสุชาติ นาคนก เดินทางมายื่นฟ้องนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แพรกษา , สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ , อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ , ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ , กรมควบคุมมลพิษ , กรมโรงงานอุตสาหกรรม และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวม 7ราย ต่อศาลปกครองกลาง ในข้อหาเป็นหน่วยงานรัฐ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ละเลยปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ในการจัดการบ่อขยะแพรกษา ที่มีการลักลอบดำเนินการทิ้งขยะที่เป็นกากสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ. 2535 จนเป็นเหตุให้เกิดมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนายสุชาติ กับชาวบ้านทั้ง 162 คน ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว
โดยขอให้ศาลสั่งคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อลดและขจัดมลพิษด้านขยะชมชน และขยะอุตสาหกรรม ใน จ.สมุทรปราการอย่างเป็นรูปธรรม และให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบกิจการรับบริการขนขยะ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 รวมกันดำเนินการดับไฟที่บ่อขยะแพรกษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้ไฟในกองขยะดับไปอย่างถาวร ไม่เกิดลุกไหม้ขึ้นได้อีก รวมถึงสั่งให้กรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการฟื้นฟูชะล้างสารพิษต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในดิน และน้ำใต้ดิน บริเวณดังกล่าวจนได้คุณภาพมาตรฐาน
นายสำนวน ประพิณ รองประธานอนุกรรมการสิ่งแวดล้อมฝ่ายคดี สภาทนายความ ผู้รับมอบอำนาจ กล่าวว่า ชาวบ้านทั้ง 162 คน จำเป็นจะต้องใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 , 67 ฟ้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้ง 7 หน่วยงาน ที่ละเลยต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จนบ่อขยะแพรกษา เกิดเป็นก๊าซพิษ และเพลิงไหม้ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน จนถึงขณะนี้ก็ยังดับไม่ได้ ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้านดังกล่าว รวมถึงพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย ปะปนไปด้วยสารพิษ ประกอบกับการแก้ปัญหาเพลิงไหม้และมลพิษ ก็ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ จึงจำเป็นต้องใช้สิทธิตามกฎหมายขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเพื่อระงับความเสียหายและความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป ซึ่งในคดีนี้ได้ขอให้ศาลเรียกไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวชาวบ้านโดยเร็ว
วันเดียวกันนี้ นายภูวิช ยมหา ผู้อำนวยการตรวจบริหารคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ ดร.สุรพล ชามาตย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ร่วมกันนำกำลังเข้าตรวจสอบที่โรงงานฟอกหนังซึ่งตั้งอยู่ภายในซอยเทศบาลบางปู 88 (ซอยโรงหมี่) หมู่ 6 ต.บางปู อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อสุ่มเก็บตัวอย่างเศษหนังสัตว์และสารเคมีที่ใช้ในการฟอกหนัง เพื่อนำมาทำการตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับเศษหนังสัตว์และกากตะกอนอุตสาหกรรมที่พบในบ่อขยะภายในซอยแพรกษา ซึ่งเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นรอบที่สองเมื่อคืนวานนี้ แต่โรงงานฟอกหนังภายในซอยดังกล่าวได้ปิดทำการ คาดว่าว่าเจ้าของน่าจะไหวตัวทันชิงปิดกิจการก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเดินทางไปถึง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจึงประสานตำรวจพื้นที่ให้ออกหมายเรียกตัวเจ้าของโรงงานเข้าพบ เพื่อชี้แจงและรับทราบข้อกล่าวหา
นายภูวิชกล่าวว่า จากการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการลักลอบทิ้งที่บ่อขยะแพรกษา พบว่ามีประมาณ 200 โรง และได้ออกหมายเรียกทางผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ขนส่ง และผู้กำจัด รวมทั้งได้มีการเก็บตัวอย่างกากอุตสาหกรรมจากโรงงานในบัญชีรายชื่อ มาเปรียบเทียบกับกากอุตสาหกรรมที่พบในบ่อขยะแล้ว และยังได้ยกเป็นคดีพิเศษทั้งหมด รวมทั้งยังได้ตรวจสอบรถบ่อขยะของเทศบาลบางปูที่ได้ขนขยะอุตสาหกรรมไปทิ้งว่าเทศบาลอนุญาตได้อย่างไร
สำหรับการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดใน จ.สมุทรปราการกว่า 10 โรง ได้มีการจักกุมดำเนินคดีแล้ว 7 โรง โดยจะทยอยจับกุมเรื่อยๆ เพื่อให้เป็นรูปแบบอย่างและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง