วันก่อนคุณสุเทพ บอกว่า ค่ากับข้าวในการชุมนุมตกวันละ 1.8 ล้าน เมื่อบวกค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น ไฟฟ้า เครื่องเสียงไปด้วยแล้วก็คงตกวันละ 2 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย 30 วันก็ 60 ล้านบาท และ 5 เดือนก็ 300 ล้านบาท นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลย แต่ผมคิดว่ารวมกับค่าจ้างการ์ด (เบี้ยเลี้ยง) ด้วยแล้ว 5 เดือนนี้ก็คงไม่แคล้ว 500 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ประชาชนเป็นผู้บริจาค
การบริจาคนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม คือการทำของไปขายที่นิยมกันมากก็คือ เสื้อยืด ซึ่งคิดว่าคงขายได้แล้วเกิน 100 ล้านบาท ของที่ทำไปขายกันนั้นมีหลากหลายตั้งแต่ที่คาดผมไปจนถึงกระเป๋า
การชุมนุมแต่ละครั้งต้องมีระบบลอจิสติกที่ดี เพราะจำนวนคนชุมนุมเป็นแสนต้องมีการเตรียมการเป็นอย่างดี นอกจากการรักษาความสงบเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีการจัดสุขาและร้านรวงต่างๆ การทำอาหารแต่ละวัน ก็จำเป็นต้องมีคนช่วยเป็นร้อยคน
การชุมนุมแต่ละครั้งมีการถ่ายทอด ดังนั้นเมื่อรวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการถ่ายทอดไปด้วยแล้ว 5 เดือนนี้คงไม่หนี 1,000 ล้านบาทเป็นแน่ และถ้านับเงินส่วนตัวค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมชุมนุมเข้าไปด้วยแล้ว ตัวเลขก็คงจะออกมามากกว่านี้
สังเกตดูว่าผู้ชุมนุมส่วนมากจะเป็นผู้หญิงอยู่ในวัยต่างๆ กัน ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะผู้หญิงบางส่วนไม่ได้ทำงานเป็นแม่บ้านจึงออกมากันแยะ หรือไม่ก็ประกอบธุรกิจส่วนตัว
ต่อไปนี้การศึกษาการเมืองไทยคงต้องเปลี่ยนไป เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยมีมิติใหม่ ที่อื่นๆ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมของพรรคการเมือง หรือสมัครเข้ารับเลือกตั้ง แต่ของไทยเป็นการเข้าร่วมชุมนุม การดูทีวีรายการที่ถ่ายทอดทุกวัน การฟังคำปราศรัยและความรู้สึกผูกพันกับผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วยกัน น่าแปลกใจว่าแม้จะมีการยิงลูกระเบิดเกือบทุกวัน แต่ก็ไม่มีคนกลัว ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือการชุมนุมนี้กลายเป็นรูปแบบใหม่ของการต่อสู้ทางการเมือง และที่สำคัญก็คือ เป็นการต่อสู้อย่างสงบปราศจากอาวุธ
การเรียนรู้แบบนี้ทำให้คนเกิดความคิด และความรู้สึกต่อต้านการเมือง เพราะได้รับอิทธิพลจากการวิพากษ์วิจารณ์โจมตีนักการเมือง โดยปกติประชาชนในทุกสังคมจะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเมืองอยู่แล้ว สำหรับคนไทยความรู้สึกต่อต้านการเมืองจึงแรงกว่าหลายเท่า
แต่ความรู้สึกต่อต้านการเมืองนี้ ก็แฝงไว้ด้วยความรู้สึกทางบวกเช่นกัน คือ ความปรารถนาที่จะมีการเมืองที่ดีกว่า และมีความหวังอยู่ที่ “การปฏิรูปการเมือง” ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดกันมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีการเรียกร้องกันมากๆ ก็เมื่อเร็วๆ นี้เอง
การปฏิรูปนี้ยากเพราะไม่ใช่เรื่องระบบ หากเป็นเรื่องระบบอย่างเดียวก็คงจะเรียบร้อยไปนานแล้ว แต่การปฏิรูปเป็นเรื่องของคน ทั้งทางจิตใจและพฤติกรรมเรื่องระบบน่าจะเป็นเรื่องรอง
ตอนที่ผมไปช่วยทำการปฏิรูปรัฐสภานั้น ก็เป็นเรื่องของการไปสร้างสมรรถนะของผู้แทนราษฎร ได้แก่การมีข้อมูลข่าวสาร มีการช่วยให้คำปรึกษาต่างๆ และการพาไปดูงานเปิดหูเปิดตาที่รัฐสภาเมืองนอก เรื่องที่ยากก็คือการให้ ส.ส.ไปนั่งฟังการบรรยาย และพบปะพูดจาปรึกษากับผู้แทนเจ้าของบ้านที่มาต้อนรับ ส.ส.ไทยมักนิยมไปชอปปิ้ง และเวลาเขานัดเลี้ยงอาหารก็ไม่ไปเพราะอยากกินอาหารไทยมากกว่า พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีทุกคน แต่ก็ต้องมีการเตือนกันพูดกันแรงๆ
ในที่สุด ส.ส.ก็ต้องรู้จักพัฒนาตนเอง เวลานี้ ส.ส.อาจมีผู้ช่วยมากเกินไป ผมเห็นว่า 3 คนก็มากพออยู่แล้ว ทำให้ ส.ส.จ้างคนที่ไม่จำเป็นเข้ามาช่วย หรือไม่ก็ทำงานรับใช้จิปาถะ ทางที่ดีให้มีเจ้าหน้าที่อยู่ตรงกลางที่ทุกคนสามารถใช้ได้ก็เพียงพอแล้ว
เมื่อการชุมนุมจบลง น่าจะมีการเตรียมการรองรับผู้ชุมนุมซึ่งเป็นผู้มีความตื่นตัวทางการเมือง พรรคการเมืองต่างๆ ควรมีบทบาทในการให้การศึกษาต่อไป โดยจัดเป็นค่ายฝึกอบรมก็ได้ ในต่างประเทศมีกิจกรรมเช่นนี้มาก ของเราแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมให้ แต่ก็ไม่ค่อยจะมีคนทำแบบต่อเนื่อง
ผมเห็นว่าต่อไปโทรทัศน์อาจเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด และสถานีต่างๆ น่าจะมีรายการให้ความรู้ทางการเมืองมากขึ้น เป็นเรื่องแปลกที่ว่าไทยเราสามารถผสมผสานการเมืองกับการบันเทิงได้ การเมืองจึงเป็นเรื่องสนุก หากไม่มีการชุมนุมหลายคนคงจะเหงา
สรุปว่าการเมืองของเราพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะทางด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อไปการเลือกตั้งของเราก็คงจะดีขึ้นตามไปด้วย
การบริจาคนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม คือการทำของไปขายที่นิยมกันมากก็คือ เสื้อยืด ซึ่งคิดว่าคงขายได้แล้วเกิน 100 ล้านบาท ของที่ทำไปขายกันนั้นมีหลากหลายตั้งแต่ที่คาดผมไปจนถึงกระเป๋า
การชุมนุมแต่ละครั้งต้องมีระบบลอจิสติกที่ดี เพราะจำนวนคนชุมนุมเป็นแสนต้องมีการเตรียมการเป็นอย่างดี นอกจากการรักษาความสงบเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีการจัดสุขาและร้านรวงต่างๆ การทำอาหารแต่ละวัน ก็จำเป็นต้องมีคนช่วยเป็นร้อยคน
การชุมนุมแต่ละครั้งมีการถ่ายทอด ดังนั้นเมื่อรวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการถ่ายทอดไปด้วยแล้ว 5 เดือนนี้คงไม่หนี 1,000 ล้านบาทเป็นแน่ และถ้านับเงินส่วนตัวค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมชุมนุมเข้าไปด้วยแล้ว ตัวเลขก็คงจะออกมามากกว่านี้
สังเกตดูว่าผู้ชุมนุมส่วนมากจะเป็นผู้หญิงอยู่ในวัยต่างๆ กัน ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะผู้หญิงบางส่วนไม่ได้ทำงานเป็นแม่บ้านจึงออกมากันแยะ หรือไม่ก็ประกอบธุรกิจส่วนตัว
ต่อไปนี้การศึกษาการเมืองไทยคงต้องเปลี่ยนไป เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยมีมิติใหม่ ที่อื่นๆ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมของพรรคการเมือง หรือสมัครเข้ารับเลือกตั้ง แต่ของไทยเป็นการเข้าร่วมชุมนุม การดูทีวีรายการที่ถ่ายทอดทุกวัน การฟังคำปราศรัยและความรู้สึกผูกพันกับผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วยกัน น่าแปลกใจว่าแม้จะมีการยิงลูกระเบิดเกือบทุกวัน แต่ก็ไม่มีคนกลัว ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือการชุมนุมนี้กลายเป็นรูปแบบใหม่ของการต่อสู้ทางการเมือง และที่สำคัญก็คือ เป็นการต่อสู้อย่างสงบปราศจากอาวุธ
การเรียนรู้แบบนี้ทำให้คนเกิดความคิด และความรู้สึกต่อต้านการเมือง เพราะได้รับอิทธิพลจากการวิพากษ์วิจารณ์โจมตีนักการเมือง โดยปกติประชาชนในทุกสังคมจะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเมืองอยู่แล้ว สำหรับคนไทยความรู้สึกต่อต้านการเมืองจึงแรงกว่าหลายเท่า
แต่ความรู้สึกต่อต้านการเมืองนี้ ก็แฝงไว้ด้วยความรู้สึกทางบวกเช่นกัน คือ ความปรารถนาที่จะมีการเมืองที่ดีกว่า และมีความหวังอยู่ที่ “การปฏิรูปการเมือง” ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดกันมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีการเรียกร้องกันมากๆ ก็เมื่อเร็วๆ นี้เอง
การปฏิรูปนี้ยากเพราะไม่ใช่เรื่องระบบ หากเป็นเรื่องระบบอย่างเดียวก็คงจะเรียบร้อยไปนานแล้ว แต่การปฏิรูปเป็นเรื่องของคน ทั้งทางจิตใจและพฤติกรรมเรื่องระบบน่าจะเป็นเรื่องรอง
ตอนที่ผมไปช่วยทำการปฏิรูปรัฐสภานั้น ก็เป็นเรื่องของการไปสร้างสมรรถนะของผู้แทนราษฎร ได้แก่การมีข้อมูลข่าวสาร มีการช่วยให้คำปรึกษาต่างๆ และการพาไปดูงานเปิดหูเปิดตาที่รัฐสภาเมืองนอก เรื่องที่ยากก็คือการให้ ส.ส.ไปนั่งฟังการบรรยาย และพบปะพูดจาปรึกษากับผู้แทนเจ้าของบ้านที่มาต้อนรับ ส.ส.ไทยมักนิยมไปชอปปิ้ง และเวลาเขานัดเลี้ยงอาหารก็ไม่ไปเพราะอยากกินอาหารไทยมากกว่า พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีทุกคน แต่ก็ต้องมีการเตือนกันพูดกันแรงๆ
ในที่สุด ส.ส.ก็ต้องรู้จักพัฒนาตนเอง เวลานี้ ส.ส.อาจมีผู้ช่วยมากเกินไป ผมเห็นว่า 3 คนก็มากพออยู่แล้ว ทำให้ ส.ส.จ้างคนที่ไม่จำเป็นเข้ามาช่วย หรือไม่ก็ทำงานรับใช้จิปาถะ ทางที่ดีให้มีเจ้าหน้าที่อยู่ตรงกลางที่ทุกคนสามารถใช้ได้ก็เพียงพอแล้ว
เมื่อการชุมนุมจบลง น่าจะมีการเตรียมการรองรับผู้ชุมนุมซึ่งเป็นผู้มีความตื่นตัวทางการเมือง พรรคการเมืองต่างๆ ควรมีบทบาทในการให้การศึกษาต่อไป โดยจัดเป็นค่ายฝึกอบรมก็ได้ ในต่างประเทศมีกิจกรรมเช่นนี้มาก ของเราแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมให้ แต่ก็ไม่ค่อยจะมีคนทำแบบต่อเนื่อง
ผมเห็นว่าต่อไปโทรทัศน์อาจเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด และสถานีต่างๆ น่าจะมีรายการให้ความรู้ทางการเมืองมากขึ้น เป็นเรื่องแปลกที่ว่าไทยเราสามารถผสมผสานการเมืองกับการบันเทิงได้ การเมืองจึงเป็นเรื่องสนุก หากไม่มีการชุมนุมหลายคนคงจะเหงา
สรุปว่าการเมืองของเราพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะทางด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อไปการเลือกตั้งของเราก็คงจะดีขึ้นตามไปด้วย