การจับจ่ายใช้สอยของคนยุคนี้ ต้องยอมรับว่าถูกกระตุ้นให้บริโภคเพราะ “อยาก” มากกว่าเพราะ “จำเป็น” จึงไม่ต้องแปลกใจที่ผู้ใหญ่ยุคนี้ จะต้องประสบปัญหาเด็กยุคใหม่หรือรุ่นลูกหลานของเราใช้จ่ายเงินทองมากกว่ายุคสมัยของพ่อแม่
ทุกวันนี้เวลาไปศูนย์การค้าหรือแหล่งชอปปิ้ง โดยเฉพาะบรรดาร้านอาหาร เรามักจะเห็นผู้คนเข้าคิว ต่อคิวกันเพื่อใช้บริการ หรือเห็นภาพของผู้คนที่แย่งกันซื้อสินค้าลดราคากันมากมาย ประหนึ่งเหมือนเราอยู่ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ดี
ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเราอยู่ในสังคมบริโภคนิยม ที่นับวันจะเน้นบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผนวกเข้ากับโลกแห่งเทคโนโลยีที่เข้ามาตอบสนองความสะดวกสบาย นั่นหมายความว่าเราก็ต้องใช้เงินแลกกับความสะดวกสบาย และนั่นหมายความว่า ลูกก็ได้เสพพฤติกรรมของความช่างบริโภคของคนเป็นพ่อแม่ หรือผู้ใกล้ชิดเด็กอย่างแน่นอน
ยังไม่นับรวมกับบรรดาทัศนคติเรื่องที่เพื่อนลูกมีอะไร ก็ต้องให้ลูกมีสิ่งนั้นด้วย เพราะไม่อยากให้ลูกน้อยหน้า หรือไม่อยากให้ลูกรู้สึกว่าด้อยกว่าคนอื่น ทั้งที่เป็นทัศนคติที่แย่และสร้างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้กับลูกอีกต่างหาก
ในทางตรงกันข้าม เวลาพูดถึงเรื่องเงินออม ดูเหมือนเด็กส่วนใหญ่ของยุคนี้ไม่ค่อยได้ตระหนักในเรื่องนี้ จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เฉพาะเด็กหรอกค่ะ ผู้ใหญ่ยุคนี้ก็ไม่ค่อยได้นึกถึงเรื่องการเก็บออมเท่าใดนัก
นึกย้อนไปถึงวัยเด็ก การมีกระปุกออมสินเป็นเรื่องภาคภูมิใจของเด็กมาก พี่น้องแข่งกันเก็บออมเงินใส่กระปุก เวลาไปทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับเด็ก ส่วนใหญ่ก็มักจะต้องได้รับกระปุกออมสินอยู่เสมอ หรือแม้แต่ไปฝากเงินในธนาคารที่มีชื่อเราปรากฏอยู่ มันช่างโก้เก๋เสียเหลือเกิน มันทำให้เราที่เป็นเด็ก รู้สึกดีและภาคภูมิใจกับตัวเองมาก ถึงขนาดมีภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารแห่งหนึ่งที่มีเด็กนำเงินมาฝาก แล้วมีสโลแกนคำว่า “นี่แหละ ลูกค้ารายใหญ่” มันเท่ากับเป็นการรณรงค์ให้เด็กรู้จักการออมเงินตั้งแต่เด็ก ให้รู้สึกภาคภูมิใจกับการเก็บเล็กผสมน้อย
แต่ปัจจุบันดูเหมือนสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปจากสังคมไทย กระปุกออมสินกลายเป็นเรื่องเชยไปซะแล้ว ค่านิยมของการสอนให้ลูกออมในระดับครอบครัวก็ไม่จริงจัง
เราต้องยอมรับว่าข้าวของยุคนี้ราคาแพงขึ้น สวนทางกับเงินที่หามาได้ที่ยังเท่าเดิม แต่ค่าของเงินกลับน้อยลง ถ้าลูกใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแบบไม่รู้คุณค่า ก็จะตกอยู่ในภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะเงินไม่พอใช้ ถึงเวลาหรือยังที่จะสอนให้ลูกรู้จักเก็บออม ประหยัด อดออมเพื่อให้รายได้ที่มีอยู่สู้กับภาวะข้าวของที่ขึ้นราคาอยู่ทุกวันได้
ประเด็นสำคัญที่สุดในยุคนี้ก็คือ การสร้างนิสัยเก็บออมให้กับลูกต้องทำตั้งแต่เล็ก
หนึ่ง กลับไปใช้วิธีดั้งเดิมแต่คลาสสิกมาก ก็คือให้กระปุกออมสินแก่ลูก จากนั้นก็สอนให้เขาได้เรียนรู้ว่า เมื่อเขาได้ค่าขนมไปโรงเรียน ถ้ามีเงินเหลือก็นำมาหยอดกระปุก หรือพ่อแม่อาจจะสอนลูกว่า จะหยอดกระปุกก่อนก็ได้ ส่วนที่เหลือค่อยนำไปซื้อขนม วิธีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการใช้เงินของเด็กเล็กที่ได้ผล
สอง หลังจากลูกเก็บออมเงินในกระปุกจนเต็ม หรือได้ระดับที่เขาพึงพอใจ ก็พาลูกไปเปิดบัญชีธนาคาร แม้จำนวนเงินจะไม่มาก แต่สิ่งที่ได้คือทักษะมากมาย ตั้งแต่นำเงินออกจากกระปุก ก็ให้ลูกนับเงิน และพาไปธนาคาร ลูกก็ได้เรียนรู้เรื่องการฝากเงินผ่านธนาคาร ได้เรียนรู้การเข้าคิว เกิดความภาคภูมิใจ และทักษะอื่นๆ อีกมากมาย
แต่เชื่อหรือไม่ เด็กยุคนี้บางคนโตมา ยังไม่เคยเข้าธนาคารเลยด้วยซ้ำ เพราะพ่อแม่จัดการให้หมด หรือไม่เคยฝากเงินเลย
สาม สอนเรื่องการลงทุนเล็กๆ น้อยๆ ที่เหมาะกับวัยของลูก เช่น นำเงินไปซื้อประกันสะสมทรัพย์ จะได้เป็นทุนการศึกษาในอนาคต หรือซื้อสลากออมสินจากธนาคาร ซึ่งถ้าหากถูกรางวัลแล้วนำสมุดไปปรับยอด ลูกก็จะได้เงินเข้าบัญชีเพิ่ม เมื่อลูกได้ดูตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นในสมุดคู่ฝาก ลูกก็จะยิ่งเกิดกำลังใจ อยากจะเก็บเงินให้ยอดเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อีก
สี่ สร้างเงื่อนไขเวลาลูกซื้อของ
ข้อนี้พ่อแม่ต้องใจแข็ง เพราะสิ่งที่ได้มาจะทำให้เขารู้จักค่าของเงินด้วย เช่น ถ้าลูกอยากซื้อของเล่น หรือของสิ่งใดที่ต้องใช้เงินมาก แนะนำให้ลูกเก็บเงินซื้อหรือใช้เงินที่เก็บออมไว้ ลูกจะได้ภูมิใจว่าของชิ้นนั้นลูกซื้อเอง ถ้าเห็นว่าของนั้นราคาสูงมากซื้อไม่ไหว แต่สมควรจะซื้อ เพราะมีประโยชน์ พ่อแม่อาจออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง อย่าใช้วิธีซื้อให้ลูกก่อนแล้วให้ลูกผ่อนทีหลัง เพราะลูกจะมีนิสัยที่ไม่ดีในการใช้จ่ายเงินในอนาคต
ห้า เงินพิเศษถือเป็นเงินออม
เป็นธรรมดาของเด็กที่มีญาติพี่น้อง เวลามีเทศกาลสำคัญประจำปี หรือมีงานพิเศษ เช่น ตรุษจีน ปีใหม่ หรือโอกาสต่างๆ แล้วแต่ประเพณีของครอบครัวนั้นๆ เช่น ได้อั่งเปา ให้ลูกถือเป็นเงินพิเศษสำหรับเก็บออมและนำไปเข้าธนาคาร ถ้าทำแบบนี้มาโดยตลอด เขาจะติดเป็นนิสัยกระทั่งโต
หก อย่าสร้างนิสัยฟุ่มเฟือย
เรื่องนี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่เล็ก ให้ลูกซื้อสิ่งของเฉพาะของจำเป็น เมื่อลูกร้องให้พ่อแม่ซื้อของเล่น อย่าซื้อให้ทุกครั้ง เพราะจะทำให้ลูกไม่รู้จักค่าของเงิน เมื่อโตขึ้นก็จะมีนิสัยฟุ่มเฟือย ต้องกล้าปฏิเสธลูก แล้วอธิบายว่าพ่อแม่ต้องเก็บเงินไว้ซื้อของที่จำเป็น แรกๆ อาจยากหน่อย แต่ถ้าอดทนและสม่ำเสมอ ลูกจะเรียนรู้และปรับตัวได้
หรือแม้แต่พฤติกรรมการซื้อเพราะของแถม ต้องสอนให้ลูกอย่าซื้อขนมเพื่อของแถม เช่น สติกเกอร์ ของเล่น ตุ๊กตาที่ล่อใจ ทำให้ลูกซื้อขนมเกินจำเป็น บางคนถึงขนาดซื้อเพราะของแถม แต่ทิ้งขนมก็มี เหล่านี้เป็นการใช้จ่ายเงินที่สิ้นเปลือง
เจ็ด พูดคุยตรงๆ
ถ้าลูกโตพอ พ่อแม่ควรจะพูดคุยเรื่องการใช้จ่ายเงินภายในครัวเรือนให้ลูกได้รับรู้ด้วย อย่างเช่นในภาวะเศรษฐกิจยุคที่ข้าวของแพง ก็ควรพูดคุยกับลูกตรงไปตรงมาว่า สิ่งของชิ้นนี้เคยซื้อในราคานี้ แต่เดี๋ยวนี้ต้องซื้อในราคาที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้ของครอบครัวเท่าเดิม เพื่อให้เขาได้เห็นภาพ และร้องขอให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันประหยัด เขาก็จะเข้าใจ และรู้สึกดีด้วยว่าพ่อแม่ให้ความสำคัญกับเขาในฐานะสมาชิกในครอบครัว
แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นทั้งปวง ถ้าอยากให้ลูก “ใช้เงินเป็น” และเรียนรู้เรื่อง “ค่า” ของเงิน พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างค่ะ เพราะทุกวันนี้เราต้องใช้เงินอยู่ทุกวี่วัน ลูกก็เห็นพฤติกรรมการใช้เงินของพ่อแม่อยู่ทุกวี่วัน เพียงแต่เขาอาจยังไม่ได้ลองด้วยตัวเอง
เรื่องสอนให้ลูกออม ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่เชื่อไหมพ่อแม่ยุคนี้ว่า ทำได้ยาก!!
ทุกวันนี้เวลาไปศูนย์การค้าหรือแหล่งชอปปิ้ง โดยเฉพาะบรรดาร้านอาหาร เรามักจะเห็นผู้คนเข้าคิว ต่อคิวกันเพื่อใช้บริการ หรือเห็นภาพของผู้คนที่แย่งกันซื้อสินค้าลดราคากันมากมาย ประหนึ่งเหมือนเราอยู่ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ดี
ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเราอยู่ในสังคมบริโภคนิยม ที่นับวันจะเน้นบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผนวกเข้ากับโลกแห่งเทคโนโลยีที่เข้ามาตอบสนองความสะดวกสบาย นั่นหมายความว่าเราก็ต้องใช้เงินแลกกับความสะดวกสบาย และนั่นหมายความว่า ลูกก็ได้เสพพฤติกรรมของความช่างบริโภคของคนเป็นพ่อแม่ หรือผู้ใกล้ชิดเด็กอย่างแน่นอน
ยังไม่นับรวมกับบรรดาทัศนคติเรื่องที่เพื่อนลูกมีอะไร ก็ต้องให้ลูกมีสิ่งนั้นด้วย เพราะไม่อยากให้ลูกน้อยหน้า หรือไม่อยากให้ลูกรู้สึกว่าด้อยกว่าคนอื่น ทั้งที่เป็นทัศนคติที่แย่และสร้างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้กับลูกอีกต่างหาก
ในทางตรงกันข้าม เวลาพูดถึงเรื่องเงินออม ดูเหมือนเด็กส่วนใหญ่ของยุคนี้ไม่ค่อยได้ตระหนักในเรื่องนี้ จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เฉพาะเด็กหรอกค่ะ ผู้ใหญ่ยุคนี้ก็ไม่ค่อยได้นึกถึงเรื่องการเก็บออมเท่าใดนัก
นึกย้อนไปถึงวัยเด็ก การมีกระปุกออมสินเป็นเรื่องภาคภูมิใจของเด็กมาก พี่น้องแข่งกันเก็บออมเงินใส่กระปุก เวลาไปทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับเด็ก ส่วนใหญ่ก็มักจะต้องได้รับกระปุกออมสินอยู่เสมอ หรือแม้แต่ไปฝากเงินในธนาคารที่มีชื่อเราปรากฏอยู่ มันช่างโก้เก๋เสียเหลือเกิน มันทำให้เราที่เป็นเด็ก รู้สึกดีและภาคภูมิใจกับตัวเองมาก ถึงขนาดมีภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารแห่งหนึ่งที่มีเด็กนำเงินมาฝาก แล้วมีสโลแกนคำว่า “นี่แหละ ลูกค้ารายใหญ่” มันเท่ากับเป็นการรณรงค์ให้เด็กรู้จักการออมเงินตั้งแต่เด็ก ให้รู้สึกภาคภูมิใจกับการเก็บเล็กผสมน้อย
แต่ปัจจุบันดูเหมือนสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปจากสังคมไทย กระปุกออมสินกลายเป็นเรื่องเชยไปซะแล้ว ค่านิยมของการสอนให้ลูกออมในระดับครอบครัวก็ไม่จริงจัง
เราต้องยอมรับว่าข้าวของยุคนี้ราคาแพงขึ้น สวนทางกับเงินที่หามาได้ที่ยังเท่าเดิม แต่ค่าของเงินกลับน้อยลง ถ้าลูกใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแบบไม่รู้คุณค่า ก็จะตกอยู่ในภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะเงินไม่พอใช้ ถึงเวลาหรือยังที่จะสอนให้ลูกรู้จักเก็บออม ประหยัด อดออมเพื่อให้รายได้ที่มีอยู่สู้กับภาวะข้าวของที่ขึ้นราคาอยู่ทุกวันได้
ประเด็นสำคัญที่สุดในยุคนี้ก็คือ การสร้างนิสัยเก็บออมให้กับลูกต้องทำตั้งแต่เล็ก
หนึ่ง กลับไปใช้วิธีดั้งเดิมแต่คลาสสิกมาก ก็คือให้กระปุกออมสินแก่ลูก จากนั้นก็สอนให้เขาได้เรียนรู้ว่า เมื่อเขาได้ค่าขนมไปโรงเรียน ถ้ามีเงินเหลือก็นำมาหยอดกระปุก หรือพ่อแม่อาจจะสอนลูกว่า จะหยอดกระปุกก่อนก็ได้ ส่วนที่เหลือค่อยนำไปซื้อขนม วิธีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการใช้เงินของเด็กเล็กที่ได้ผล
สอง หลังจากลูกเก็บออมเงินในกระปุกจนเต็ม หรือได้ระดับที่เขาพึงพอใจ ก็พาลูกไปเปิดบัญชีธนาคาร แม้จำนวนเงินจะไม่มาก แต่สิ่งที่ได้คือทักษะมากมาย ตั้งแต่นำเงินออกจากกระปุก ก็ให้ลูกนับเงิน และพาไปธนาคาร ลูกก็ได้เรียนรู้เรื่องการฝากเงินผ่านธนาคาร ได้เรียนรู้การเข้าคิว เกิดความภาคภูมิใจ และทักษะอื่นๆ อีกมากมาย
แต่เชื่อหรือไม่ เด็กยุคนี้บางคนโตมา ยังไม่เคยเข้าธนาคารเลยด้วยซ้ำ เพราะพ่อแม่จัดการให้หมด หรือไม่เคยฝากเงินเลย
สาม สอนเรื่องการลงทุนเล็กๆ น้อยๆ ที่เหมาะกับวัยของลูก เช่น นำเงินไปซื้อประกันสะสมทรัพย์ จะได้เป็นทุนการศึกษาในอนาคต หรือซื้อสลากออมสินจากธนาคาร ซึ่งถ้าหากถูกรางวัลแล้วนำสมุดไปปรับยอด ลูกก็จะได้เงินเข้าบัญชีเพิ่ม เมื่อลูกได้ดูตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นในสมุดคู่ฝาก ลูกก็จะยิ่งเกิดกำลังใจ อยากจะเก็บเงินให้ยอดเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อีก
สี่ สร้างเงื่อนไขเวลาลูกซื้อของ
ข้อนี้พ่อแม่ต้องใจแข็ง เพราะสิ่งที่ได้มาจะทำให้เขารู้จักค่าของเงินด้วย เช่น ถ้าลูกอยากซื้อของเล่น หรือของสิ่งใดที่ต้องใช้เงินมาก แนะนำให้ลูกเก็บเงินซื้อหรือใช้เงินที่เก็บออมไว้ ลูกจะได้ภูมิใจว่าของชิ้นนั้นลูกซื้อเอง ถ้าเห็นว่าของนั้นราคาสูงมากซื้อไม่ไหว แต่สมควรจะซื้อ เพราะมีประโยชน์ พ่อแม่อาจออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง อย่าใช้วิธีซื้อให้ลูกก่อนแล้วให้ลูกผ่อนทีหลัง เพราะลูกจะมีนิสัยที่ไม่ดีในการใช้จ่ายเงินในอนาคต
ห้า เงินพิเศษถือเป็นเงินออม
เป็นธรรมดาของเด็กที่มีญาติพี่น้อง เวลามีเทศกาลสำคัญประจำปี หรือมีงานพิเศษ เช่น ตรุษจีน ปีใหม่ หรือโอกาสต่างๆ แล้วแต่ประเพณีของครอบครัวนั้นๆ เช่น ได้อั่งเปา ให้ลูกถือเป็นเงินพิเศษสำหรับเก็บออมและนำไปเข้าธนาคาร ถ้าทำแบบนี้มาโดยตลอด เขาจะติดเป็นนิสัยกระทั่งโต
หก อย่าสร้างนิสัยฟุ่มเฟือย
เรื่องนี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่เล็ก ให้ลูกซื้อสิ่งของเฉพาะของจำเป็น เมื่อลูกร้องให้พ่อแม่ซื้อของเล่น อย่าซื้อให้ทุกครั้ง เพราะจะทำให้ลูกไม่รู้จักค่าของเงิน เมื่อโตขึ้นก็จะมีนิสัยฟุ่มเฟือย ต้องกล้าปฏิเสธลูก แล้วอธิบายว่าพ่อแม่ต้องเก็บเงินไว้ซื้อของที่จำเป็น แรกๆ อาจยากหน่อย แต่ถ้าอดทนและสม่ำเสมอ ลูกจะเรียนรู้และปรับตัวได้
หรือแม้แต่พฤติกรรมการซื้อเพราะของแถม ต้องสอนให้ลูกอย่าซื้อขนมเพื่อของแถม เช่น สติกเกอร์ ของเล่น ตุ๊กตาที่ล่อใจ ทำให้ลูกซื้อขนมเกินจำเป็น บางคนถึงขนาดซื้อเพราะของแถม แต่ทิ้งขนมก็มี เหล่านี้เป็นการใช้จ่ายเงินที่สิ้นเปลือง
เจ็ด พูดคุยตรงๆ
ถ้าลูกโตพอ พ่อแม่ควรจะพูดคุยเรื่องการใช้จ่ายเงินภายในครัวเรือนให้ลูกได้รับรู้ด้วย อย่างเช่นในภาวะเศรษฐกิจยุคที่ข้าวของแพง ก็ควรพูดคุยกับลูกตรงไปตรงมาว่า สิ่งของชิ้นนี้เคยซื้อในราคานี้ แต่เดี๋ยวนี้ต้องซื้อในราคาที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้ของครอบครัวเท่าเดิม เพื่อให้เขาได้เห็นภาพ และร้องขอให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันประหยัด เขาก็จะเข้าใจ และรู้สึกดีด้วยว่าพ่อแม่ให้ความสำคัญกับเขาในฐานะสมาชิกในครอบครัว
แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นทั้งปวง ถ้าอยากให้ลูก “ใช้เงินเป็น” และเรียนรู้เรื่อง “ค่า” ของเงิน พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างค่ะ เพราะทุกวันนี้เราต้องใช้เงินอยู่ทุกวี่วัน ลูกก็เห็นพฤติกรรมการใช้เงินของพ่อแม่อยู่ทุกวี่วัน เพียงแต่เขาอาจยังไม่ได้ลองด้วยตัวเอง
เรื่องสอนให้ลูกออม ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่เชื่อไหมพ่อแม่ยุคนี้ว่า ทำได้ยาก!!