วานนี้ (2เม.ย.) นายสุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ พร้อมสมาชิกพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อ 2 ก.พ. เป็นตัวแทน 53 พรรคการเมือง ที่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งส.ส.ครั้งที่แล้ว เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.ผ่าน น.ส.สุรณี ผลทวี ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอให้ กกต.เร่งรัดจัดการเลือกตั้งส.ส.ใหม่ภายใน 45-60 วัน นับแต่คำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งขอให้กกต.คืนค่าสมัครให้แก่พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อ และผู้สมัครในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และให้หาผู้รับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง 3,800 ล้านบาท ที่ต้องเสียไป
นายสุรทิน กล่าวว่า กกต.ควรจะมีการเชิญ 73 พรรคการเมือง มาหารือเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว ก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะในช่วงระยะนี้ พรรคการเมืองก็ต้องมีการพูดคุยกันถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศอยู่แล้ว จึงไม่ใช่จะเชิญหารือในวันที่ 22 เม.ย. เพราะจะถือว่าช้าเกินไป รวมทั้งอยากให้กกต. เชิญแกนนำทั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มาพูดคุย เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นด้วยความสงบเรียบร้อย
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึง การกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย กรณีเลือกตั้งส.ส.วันที่ 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่า เบื้องต้นจากศึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกา พบว่า คำวินิจฉัยกลางไม่ได้กำหนดแนวทางเหมือนการเลือกตั้งปี 49 คงต้องรอดูท่าที กกต.ก่อน และรัฐบาลพร้อมที่จะไปหารือกับกกต.
ทั้งนี้ การกำหนดวันเลือกตั้ง มีความเป็นไปได้ 4 แนวทาง คือ 1. นับตั้งแต่มีคำวินิจฉัย 2. นับตั้งแต่ กกต.รับคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ 3. นับตั้งแต่วันที่ประกาศคำวินิจฉัยลงพระราชกิจจา และ 4.วันอื่นๆ ที่มีความเหมาะสม ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับ กกต. ที่สำคัญสุดเจตนารมณ์กฎหมายรัฐธรรมนูญต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่มาบริหารประเทศ รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ต้องการเป็นรัฐบาลรักษาการไปนานๆ ก็ไม่ทราบเหตุผลลึกๆ ของกกต. ว่า ทำไมต้องมากำหนดหารือฝ่ายต่างๆ เป็นช่วงแบบนี้ ทั้งที่ กกต.สามารถหารือระหว่างทางดำเนินการเลือกตั้งได้ ซึ่งตรงนี้กกต.ต้องอธิบายสังคมให้ได้ด้วย
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ กกต. จะนัดหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ในวันที่ 8 เม.ย. และการเชิญพรรคการเมืองร่วมประชุม ในวันที่ 22 เม.ย. ว่า พรรคยังไม่ได้รับการติดต่อ แต่ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่มีเจตนาดีต่อบ้านเมือง แต่ไม่ยินดีที่จะตกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองใด ในการกลับเข้าสู่อำนาจ
ดังนั้น หาก กกต.จะเป็นเจ้าภาพ จะต้องมีความชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย จะไม่สามารถกำหนด กดดัน ให้เกิดการเลือกตั้งโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง และความขัดแย้ง รวมทั้งปัญหาที่ต้องแก้ไขก่อนการเลือกตั้ง อีกทั้งหากยังมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง ก็ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะสงบ จึงต้องหาทางออกให้กับประเทศ เพราะหากรัฐบาลยังมีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็ปิดประตูในการหาทางออกให้กับประเทศ เนื่องจากทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ยังไม่สำนึกที่จะเปิดทางให้เจรจา จึงไม่มีประโยชน์ที่ฝ่ายไหนจะเปิดการเจรจา เพราะเงื่อนไขที่เป็นต้นเหตุ ยังไม่มีการแก้ไข
นายสุรทิน กล่าวว่า กกต.ควรจะมีการเชิญ 73 พรรคการเมือง มาหารือเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว ก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะในช่วงระยะนี้ พรรคการเมืองก็ต้องมีการพูดคุยกันถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศอยู่แล้ว จึงไม่ใช่จะเชิญหารือในวันที่ 22 เม.ย. เพราะจะถือว่าช้าเกินไป รวมทั้งอยากให้กกต. เชิญแกนนำทั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มาพูดคุย เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นด้วยความสงบเรียบร้อย
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึง การกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย กรณีเลือกตั้งส.ส.วันที่ 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่า เบื้องต้นจากศึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกา พบว่า คำวินิจฉัยกลางไม่ได้กำหนดแนวทางเหมือนการเลือกตั้งปี 49 คงต้องรอดูท่าที กกต.ก่อน และรัฐบาลพร้อมที่จะไปหารือกับกกต.
ทั้งนี้ การกำหนดวันเลือกตั้ง มีความเป็นไปได้ 4 แนวทาง คือ 1. นับตั้งแต่มีคำวินิจฉัย 2. นับตั้งแต่ กกต.รับคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ 3. นับตั้งแต่วันที่ประกาศคำวินิจฉัยลงพระราชกิจจา และ 4.วันอื่นๆ ที่มีความเหมาะสม ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับ กกต. ที่สำคัญสุดเจตนารมณ์กฎหมายรัฐธรรมนูญต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่มาบริหารประเทศ รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ต้องการเป็นรัฐบาลรักษาการไปนานๆ ก็ไม่ทราบเหตุผลลึกๆ ของกกต. ว่า ทำไมต้องมากำหนดหารือฝ่ายต่างๆ เป็นช่วงแบบนี้ ทั้งที่ กกต.สามารถหารือระหว่างทางดำเนินการเลือกตั้งได้ ซึ่งตรงนี้กกต.ต้องอธิบายสังคมให้ได้ด้วย
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ กกต. จะนัดหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ในวันที่ 8 เม.ย. และการเชิญพรรคการเมืองร่วมประชุม ในวันที่ 22 เม.ย. ว่า พรรคยังไม่ได้รับการติดต่อ แต่ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่มีเจตนาดีต่อบ้านเมือง แต่ไม่ยินดีที่จะตกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองใด ในการกลับเข้าสู่อำนาจ
ดังนั้น หาก กกต.จะเป็นเจ้าภาพ จะต้องมีความชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย จะไม่สามารถกำหนด กดดัน ให้เกิดการเลือกตั้งโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง และความขัดแย้ง รวมทั้งปัญหาที่ต้องแก้ไขก่อนการเลือกตั้ง อีกทั้งหากยังมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง ก็ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะสงบ จึงต้องหาทางออกให้กับประเทศ เพราะหากรัฐบาลยังมีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็ปิดประตูในการหาทางออกให้กับประเทศ เนื่องจากทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ยังไม่สำนึกที่จะเปิดทางให้เจรจา จึงไม่มีประโยชน์ที่ฝ่ายไหนจะเปิดการเจรจา เพราะเงื่อนไขที่เป็นต้นเหตุ ยังไม่มีการแก้ไข