วานนี้ (1เม.ย.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป.ป.ช. แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงกรณีกล่าวหาพล.ต.ต.สัจจะ คชหิรัญ ผู้บังคับการพลาธิการและสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ในโครงการจัดซื้อรถจักรยานยนต์สายตรวจ ขนาด 200 ซีซี พร้อมอุปกรณ์ ทดแทนจำนวน 19,147 คัน วงเงิน 1,144,550,600 บาท ว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการฯ พบว่าในการจัดซื้อรถจักรยานต์สายตรวจดังกล่าว ได้มีผู้ซื้อซองเสนอราคา 6 ราย แต่ยื่นซองมาเพียง 3 ราย โดยมีบริษัท คาร์ แทรคกิ้ง จำกัดฯ ทีเสนอรถจักรยานยนต์ยี่ห้อไทเกอร์ รุ่นบ็อกเซอร์ 200 เข้ามาเพียงรายเดียว แต่คณะกรรมการประกวดราคา ไม่เสนอให้ยกเลิกการประกวดราคา กลับเสนอให้จัดซื้อรถจักรยานยนต์ตามโครงการดังกล่าว โดยไม่อ้างเหตุผลความจำเป็นในการจัดซื้อ
อีกทั้งคุณสมบัติของผู้เสนอราคานั้น ต้องมีรายการประกอบ คือ มีตัวแทนจำหน่ายที่สามารถให้บริษัทซ่อมได้ครบทุกจังหวัด แต่ข้อเท็จจริงพบว่า บริษัทคาร์ แทรคกิ้ง จำกัดฯ ไม่มีตัวแทนจำหน่ายที่สามารถให้บริการครบทุกจังหวัดแต่อย่างใด จึงเป็นการทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ เนื่องจากไม่สามารถนำจักรยานยนต์ไปใช้งาน และซ่อมบำรุงได้ตามสัญญา และยังพบปัญหาอีกหลายจุด เช่น อัตราเร่งไม่สามารถทำความเร็วได้เท่ากับยี่ห้ออื่น ดังนั้น กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง จึงไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย การกระทำของผู้เกี่ยวข้องจึงมีความผิด ได้แก่ พล.ต.ต.สัจจะ ในฐานะที่ทราบรายละเอียดทุกขั้นตอน และรับผิดชอบโครงการนี้ จึงถือว่ากระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐ กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว หรือกระทำการใดมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคารายใด ให้เป็นผู้มีสิทธิ์ทำ
สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ตามมาตรา 12 และฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฎิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติ ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นความผิดวินัยฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79 (1)
สำหรับผู้ถูกกล่าวหาอื่น คือ พล.ต.ท.ประชิน วารี พล.ต.ต.สมพงษ์ น้าเจริญ พล.ต.ต.อิทธิพล พิริยะภิญโญ นั้นไม่ได้รู้เห็นในการดำเนินการมาตั้งแต่ต้น แต่อยู่ในฐานะคณะกรรมการประกวดราคา แต่กลับไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีการยกเลิกการประกวดราคาเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาในการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง จึงถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดวินัยฐานการรักษาวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติ ครม. เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ ตามพ.ร.บ.ตำรวจมาตรา 78 (1) (9) ซึ่งการกระทำผิดดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรงตาม มาตรา 79 (6) ส่วนพล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนง ในฐานะ กรรมการประกวดราคา เป็นข้าราชการบำนาญ จึงไม่มีความผิดทางวินัย
ส่วนการกระทำของกรรมการผู้จัดการ บริษัทคาร์แทรคกิ้ง จำกัดฯ ที่ได้ยื่นเสนอราคานั้น ถือว่าได้กระทำการอันเป็นความผิด ฐานร่วมกันในการเสนอราคาโดยเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐ อันมิใช่เป็นการประกอบธุรกิจตามปกติ ตาม มาตรา 4 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ ฯ ส่วนกรรมการผู้จัดการบริษัทไทเกอร์ มอเตอร์ จำกัด นั้น มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของกรรมการผู้จัดการบริษัทคาร์แทรคกิ้งจำกัดฯ อันมีมูลความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 4 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
อีกทั้งคุณสมบัติของผู้เสนอราคานั้น ต้องมีรายการประกอบ คือ มีตัวแทนจำหน่ายที่สามารถให้บริษัทซ่อมได้ครบทุกจังหวัด แต่ข้อเท็จจริงพบว่า บริษัทคาร์ แทรคกิ้ง จำกัดฯ ไม่มีตัวแทนจำหน่ายที่สามารถให้บริการครบทุกจังหวัดแต่อย่างใด จึงเป็นการทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ เนื่องจากไม่สามารถนำจักรยานยนต์ไปใช้งาน และซ่อมบำรุงได้ตามสัญญา และยังพบปัญหาอีกหลายจุด เช่น อัตราเร่งไม่สามารถทำความเร็วได้เท่ากับยี่ห้ออื่น ดังนั้น กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง จึงไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย การกระทำของผู้เกี่ยวข้องจึงมีความผิด ได้แก่ พล.ต.ต.สัจจะ ในฐานะที่ทราบรายละเอียดทุกขั้นตอน และรับผิดชอบโครงการนี้ จึงถือว่ากระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐ กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว หรือกระทำการใดมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคารายใด ให้เป็นผู้มีสิทธิ์ทำ
สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ตามมาตรา 12 และฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฎิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติ ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นความผิดวินัยฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79 (1)
สำหรับผู้ถูกกล่าวหาอื่น คือ พล.ต.ท.ประชิน วารี พล.ต.ต.สมพงษ์ น้าเจริญ พล.ต.ต.อิทธิพล พิริยะภิญโญ นั้นไม่ได้รู้เห็นในการดำเนินการมาตั้งแต่ต้น แต่อยู่ในฐานะคณะกรรมการประกวดราคา แต่กลับไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีการยกเลิกการประกวดราคาเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาในการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง จึงถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดวินัยฐานการรักษาวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติ ครม. เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ ตามพ.ร.บ.ตำรวจมาตรา 78 (1) (9) ซึ่งการกระทำผิดดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรงตาม มาตรา 79 (6) ส่วนพล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนง ในฐานะ กรรมการประกวดราคา เป็นข้าราชการบำนาญ จึงไม่มีความผิดทางวินัย
ส่วนการกระทำของกรรมการผู้จัดการ บริษัทคาร์แทรคกิ้ง จำกัดฯ ที่ได้ยื่นเสนอราคานั้น ถือว่าได้กระทำการอันเป็นความผิด ฐานร่วมกันในการเสนอราคาโดยเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐ อันมิใช่เป็นการประกอบธุรกิจตามปกติ ตาม มาตรา 4 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ ฯ ส่วนกรรมการผู้จัดการบริษัทไทเกอร์ มอเตอร์ จำกัด นั้น มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของกรรมการผู้จัดการบริษัทคาร์แทรคกิ้งจำกัดฯ อันมีมูลความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 4 ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา