ป.ป.ช.มีมติไม่ขยายเวลาแก้ข้อกล่าวหาทุจริตจำนำข้าวให้ “ยิ่งลักษณ์” ออกไปอีก 45 วัน ยันทุกอย่างเดินตามกำหนดเดิม ยกเหตุไม่มารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเอง และได้ขยายเวลาให้ 15 วันครั้งหนึ่งแล้ว
เมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (27มี.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงานป.ป.ช. ได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีร้องขอให้ถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย กรณีโครงการรับจำนำข้าว
โดยในวันเดียวกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 27 มี.ค.57 ถึงกรรมการป.ป.ช. ขอขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาออกไปอีก 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.57 โดยอ้างเหตุผลสรุปได้ว่า การรวบรวมพยานหลักฐานที่อยู่ในหลายหน่วยงาน เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับทนายความผู้รับมอบอำนาจ เพิ่งเข้าตรวจพยานหลักฐานในสำนวนไต่สวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 26 มี.ค.57 ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน จึงไม่สามารถชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ทัน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า กระบวนการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในชั้นชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหาตามระเบียบของป.ป.ชง ว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริง (พ.ศ. 2555) ข้อ 11 ประกอบข้อ 40 กำหนดไว้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาสามารถยื่นคำร้องเป็นหนังสือ พร้อมด้วยเหตุผลต่อคณะกรรมการป.ป.ช. เพื่อขอตรวจพยานหลักฐาน ในสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการป.ป.ช. จะอนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหา ตรวจพยานหลักฐานตามที่ร้องขอก็ได้ เว้นแต่เป็นพยานหลักฐานที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของพยานบุคคลฯ หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการกระทำผิดตามที่กล่าวหา หรือกระทบต่อสาระสำคัญของสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยประการอื่น ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจที่จะปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้มีการตรวจพยานหลักฐานตามที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอ และในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. อนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหาตรวจสอบพยานหลักฐานได้ ให้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ขอจดบันทึก หรือคัดลอกเอกสารในสำนวนได้ตามสมควรเท่าที่จะไม่กระทบต่อรูปคดี หรือการคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ถูกกล่าวหาอาจนำทนายความหรือบุคคลที่ไว้ใจเข้าช่วยเหลือในการตรวจพยานหลักฐานด้วยก็ได้
ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มอบหมายให้ทนายความ เป็นผู้ดำเนินการตรวจพยานหลักฐานในสำนวนแทน โดยมิได้มาดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานด้วยตนเอง ด้วยเหตุผลว่า เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในสภาวะไม่ปกติ และมีกลุ่ม กปปส. ประกาศว่า จะไล่ล่าตัว จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยและความสงบ หากต้องเดินทางมาด้วยตนเอง คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติอนุญาตให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าทำการตรวจพยานหลักฐานแทนได้ ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษ
ทั้งนี้ให้เฉพาะแต่การตรวจพยานหลักฐานเท่านั้น กระบวนการไต่สวนอื่นๆ ทนายความไม่สามารถกระทำการแทนผู้ถูกกล่าวหาได้ ประกอบกับผู้ถูกกล่าวหา เคยขอเลื่อนการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามาแล้วครั้งหนึ่ง โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติอนุญาตให้ขยายเวลาการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 31 มี.ค.57 (รวมเป็นเวลา 32 วัน นับจากวันรับทราบข้อกล่าวหา)
หากผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเอง และสอบถามจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตนเอง ก็สามารถที่จะเข้าใจข้อกล่าวหาได้เป็นอย่างดี เมื่อไม่ได้มารับทราบข้อกล่าวหา และตรวจพยานหลักฐานด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้ทนายความมาดำเนินการแทน จึงไม่สามารถเข้าใจข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในกระบวนการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างครบถ้วนตรงกัน จึงมีมติให้ผู้ถูกกล่าวหา ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตนเอง ไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ภายในกำหนดเดิม (31 มี.ค.57) ทั้งนี้ หากผู้ถูกกล่าวหาประสงค์จะเพิ่มเติมพยานหลักฐานในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก็สามารถกระทำได้ โดยระบุมาในคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ส่วนกรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.หรือไม่ นายสรรเสริญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่ได้พิจารณาลงมติว่าจะชี้มูลความผิด เนื่องจากได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่จะส่งเรื่องกลับมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.อีกครั้ง.
เมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (27มี.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงานป.ป.ช. ได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีร้องขอให้ถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย กรณีโครงการรับจำนำข้าว
โดยในวันเดียวกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 27 มี.ค.57 ถึงกรรมการป.ป.ช. ขอขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาออกไปอีก 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.57 โดยอ้างเหตุผลสรุปได้ว่า การรวบรวมพยานหลักฐานที่อยู่ในหลายหน่วยงาน เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับทนายความผู้รับมอบอำนาจ เพิ่งเข้าตรวจพยานหลักฐานในสำนวนไต่สวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 26 มี.ค.57 ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน จึงไม่สามารถชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ทัน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า กระบวนการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในชั้นชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหาตามระเบียบของป.ป.ชง ว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริง (พ.ศ. 2555) ข้อ 11 ประกอบข้อ 40 กำหนดไว้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาสามารถยื่นคำร้องเป็นหนังสือ พร้อมด้วยเหตุผลต่อคณะกรรมการป.ป.ช. เพื่อขอตรวจพยานหลักฐาน ในสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการป.ป.ช. จะอนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหา ตรวจพยานหลักฐานตามที่ร้องขอก็ได้ เว้นแต่เป็นพยานหลักฐานที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของพยานบุคคลฯ หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการกระทำผิดตามที่กล่าวหา หรือกระทบต่อสาระสำคัญของสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยประการอื่น ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจที่จะปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้มีการตรวจพยานหลักฐานตามที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอ และในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. อนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหาตรวจสอบพยานหลักฐานได้ ให้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ขอจดบันทึก หรือคัดลอกเอกสารในสำนวนได้ตามสมควรเท่าที่จะไม่กระทบต่อรูปคดี หรือการคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ถูกกล่าวหาอาจนำทนายความหรือบุคคลที่ไว้ใจเข้าช่วยเหลือในการตรวจพยานหลักฐานด้วยก็ได้
ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มอบหมายให้ทนายความ เป็นผู้ดำเนินการตรวจพยานหลักฐานในสำนวนแทน โดยมิได้มาดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานด้วยตนเอง ด้วยเหตุผลว่า เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในสภาวะไม่ปกติ และมีกลุ่ม กปปส. ประกาศว่า จะไล่ล่าตัว จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยและความสงบ หากต้องเดินทางมาด้วยตนเอง คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติอนุญาตให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าทำการตรวจพยานหลักฐานแทนได้ ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษ
ทั้งนี้ให้เฉพาะแต่การตรวจพยานหลักฐานเท่านั้น กระบวนการไต่สวนอื่นๆ ทนายความไม่สามารถกระทำการแทนผู้ถูกกล่าวหาได้ ประกอบกับผู้ถูกกล่าวหา เคยขอเลื่อนการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามาแล้วครั้งหนึ่ง โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติอนุญาตให้ขยายเวลาการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 31 มี.ค.57 (รวมเป็นเวลา 32 วัน นับจากวันรับทราบข้อกล่าวหา)
หากผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเอง และสอบถามจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตนเอง ก็สามารถที่จะเข้าใจข้อกล่าวหาได้เป็นอย่างดี เมื่อไม่ได้มารับทราบข้อกล่าวหา และตรวจพยานหลักฐานด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้ทนายความมาดำเนินการแทน จึงไม่สามารถเข้าใจข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในกระบวนการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างครบถ้วนตรงกัน จึงมีมติให้ผู้ถูกกล่าวหา ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตนเอง ไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ภายในกำหนดเดิม (31 มี.ค.57) ทั้งนี้ หากผู้ถูกกล่าวหาประสงค์จะเพิ่มเติมพยานหลักฐานในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก็สามารถกระทำได้ โดยระบุมาในคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ส่วนกรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.หรือไม่ นายสรรเสริญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่ได้พิจารณาลงมติว่าจะชี้มูลความผิด เนื่องจากได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่จะส่งเรื่องกลับมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.อีกครั้ง.