**สุดท้ายที่หลายคนหวั่นเกรง “ระบอบทักษิณ”จะรุกคืบยึดวุฒิสภาชุดใหม่ หลังการลงคะแนนเสียงเลือก ส.ว.เลือกตั้ง 77 คน 77 จังหวัด ในวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม น่าจะเป็นจริง...
หลังดูจากรายชื่อแคนดิเดตผู้สมัครส.ว.หลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน ส่วนมากมีแต่สายสัมพันธ์การเมืองกับพรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลเวลานี้ และแนวโน้ม ล้วนแต่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้ง
ยิ่งกระแสการเลือกตั้งส.ว.ที่เหลือเวลาแค่ไม่ถึง 4 วัน แต่บรรยากาศการเลือกตั้งกลับเงียบเหงา ประชาชนแทบไม่รู้กันเลยว่าจะมีการเลือกตั้งส.ว. ในวันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค.นี้ เห็นได้จากตัวเลขประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งส.ว.ล่วงหน้า ทั้งในและนอกเขตจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค. มีคนออกมาใช้สิทธิบางตา
จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า เป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่ตั้งเป้าว่าจะรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ผลที่ได้อาจห่างไกลเป้าหมายเยอะ ถ้าบรรยากาศการเลือกตั้งส.ว. ยังคงเงียบเหงาเช่นนี้
**การที่ประชาชนไม่ตื่นตัว ไม่รู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่รู้ประวัติผลงานของผู้สมัครแต่ละคน จึงมีโอกาสสูงที่จะนอนหลับทับสิทธิ และเมื่อความตื่นตัวของประชาชนมีน้อย หลายคนอาจไม่ออกไปใช้สิทธิ มันก็ย่อมเปิดช่องให้ผู้สมัครบางคน ที่มีฐานการเมืองในพื้นที่ ทั้งกับพรรคการเมือง- อดีตส.ส.- อดีตรัฐมนตรี-อดีตส.ว.–นักการเมืองท้องถิ่น เข้าวินได้ไม่ยาก
ยิ่งผู้สมัครบางคนก็เป็นระดับอดีตรัฐมนตรี อดีตแกนนำพรรคการเมืองใหญ่บางพรรค ที่คราวนี้มาลงสมัครส.ว. พวกนี้ก็จะมีฐานการเมืองในพื้นที่อยู่แล้ว พอคนไม่ค่อยตื่นตัวจะออกไปใช้สิทธิ์ มันก็เลยง่ายต่อการ “จัดตั้งฐานคะแนนเสียง” ในแต่ละจังหวัด เพื่อเกณฑ์คนออกไปใช้สิทธิ์ได้ง่ายแม้แต่ในกรุงเทพมหานครเอง ก็อาจเป็นเช่นนั้นด้วย !
แม้ก่อนหน้านี้ พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย จะรีบแถลงปฏิเสธกระแสข่าวที่มีมาก่อนหน้านี้ว่า วงหารือนอกรอบของอดีตส.ส.กทม.-อดีตผู้สมัครส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย มีการหารือและตกลงกันภายในว่า การเลือกตั้งส.ว.รอบนี้ ให้เครือข่ายของเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ช่วยกันหาคะแนนเสียงให้ ผู้สมัครส.ว.รายหนึ่ง โดยพร้อมพงศ์ ปฏิเสธว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีการประชุมภาคกทม. พรรคเพื่อไทย และไม่เคยมีมติสนับสนุนผู้สมัครส.ว.บางราย เพราะมติกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ให้สมาชิกพรรควางตัวเป็นกลาง ไม่สนับสนุนผู้สมัคร ส.ว. เพราะเป็นการทำผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม เรื่องการหนุนหลัง ผู้สมัคร ส.ว.คนไหน เป็นใครก็ต้องปฏิเสธ โดยเฉพาะพรรคการเมือง ของแบบนี้ ใครมันจะออกมาพูดกันกลางแจ้ง หรือถึงขั้นมีมติพรรคสนับสนุนผู้สมัครส.ว. เพราะสุ่มเสี่ยงจะทำผิดกฎหมาย และไม่เป็นผลดีต่อผู้สมัครและพรรคการเมืองด้วยกันทั้งสิ้น
ก็ขนาดเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างเช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่กฎหมายเปิดกว้างกว่าในการให้พรรคการเมืองสนับสนุนผู้สมัครได้ แต่ก็น้อยครั้งมากที่จะมีพรรคการเมืองมาเปิดตัวสนับสนุนใครอย่างเป็นทางการ เพราะถึงไม่เปิดตัวแต่คนในพื้นที่ ก็รู้กันว่าผู้สมัครคนไหน มีใครหนุนหลัง
ของแบบนี้ มันก็เหมือนกับการเลือกตั้งส.ว.ครั้งนี้ หลายจังหวัดคนในพื้นที่ก็รู้กันแล้วว่าผู้สมัครคนไหน เป็นคนของใคร มีใครแบ็กอัพ มีอดีตส.ส.-พรรคการเมืองไหนคอยสนับสนุน เป็นสายเสื้อแดงหรือเปล่า คนไหนเปิดตัวชัดว่าอิงสาย กปปส. หรือเป็นคนของพรรคการเมืองใหญ่ในพื้นที่หรือเปล่า ยิ่งกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ข้อมูลข่าวสารมันไปเร็ว การทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง
อย่างวันก่อน ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ไปพูดเชิญชวนให้คนกรุงเทพฯไปลงคะแนนเสียงเลือก ผู้สมัครส.ว.คนหนึ่ง บนเวทีกปปส.ที่สวนลุมพินียังจะโดนพรรคเพื่อไทย ยื่นเรื่องให้กกต.ตรวจสอบ เรียกได้ว่า ทั้งฝ่ายเพื่อไทย และฝ่ายกปปส. ต่างก็จดๆ จ้องๆ กันอยู่ กับสนามเลือกตั้ง ส.ว.
อีกทั้งก็ต้องยอมรับกันว่า คนกทม.การตื่นตัวทางการเมืองสูง การจะให้ใครมาออกตัวว่าหนุนหลังใครมันทำได้ลำบาก แต่พอเห็นชื่อเห็นประวัติการทำงาน มันก็พอรู้ๆ กันว่า หากไม่ชอบระบอบทักษิณ จะต้องเลือกผู้สมัครคนไหน...
**สำหรับความสำคัญของวุฒิสภาชุดใหม่หลังเลือกตั้ง 30 มีนาคม นอกจากหน้าที่ตามปกติ เช่น การให้พิจารณากลั่นกรองกฎหมายต่างๆ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกรรมการองค์กรอิสระทั้งหลาย ที่จะพ้นจากตำแหน่งตามวาระและอายุขัย ที่ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่จะต้องลงมติคัดเลือกและเห็นชอบ
เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) –ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ-กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ–กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น รวมถึงบทบาทด้านอื่นๆ เช่น การตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านการตั้งกระทู้สด หรือผ่านช่องทางคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ เป็นต้น
ดูแนวโน้มแล้ว คดีถอดถอนการเมืองสำคัญสองคดี คือคดีรับจำนำข้าวที่ป.ป.ช.จ่อเอาผิด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภายในไม่เกินเดือนเมษายน และคดี ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหากับ 308 ส.ส.-ส.ว.ในคดีแก้ไขรธน. เรื่องที่มาส.ว. ที่หลังป.ป.ช.ฟัน นิคม ไวยรัชพานิช หลุดจากรักษาการประธานวุฒิสภาไปแล้ว ก็มีข่าวจะทยอยแจ้งข้อกล่าวหากับ อดีตส.ส.-ส.ว.308 คน อีกหลายระลอก โดยมีข่าวว่า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาฯ จะเป็นคิวต่อไป
**เมื่อดูความเป็นไปต่างๆ ของคดีต่างๆแล้ว โดยเฉพาะคดีรับจำนำข้าว มีโอกาสสูงมากที่เรื่องจะถูกส่งไปให้วุฒิสภาชุดใหม่ที่ประกอบด้วย ส.ว.เลือกตั้งหลัง 30 มี.ค. กับส.ว.สรรหาตอนนี้ ร่วมกันลงมติ “ถอดถอน-ไม่ถอดถอน”
ดังนั้น หากเครือข่ายระบอบทักษิณ-พรรคร่วมรัฐบาล สามารถผลักดันคนของตัวเองหรือคนที่พอพูดคุยกันได้ เจรจาความกันได้ ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้สำเร็จ เอาแค่ให้ได้สักอย่างน้อย 40-50 เสียง จากที่เลือกกันมา 77 คน แค่นี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็รอดแล้วในคดีถอดถอน
รวมถึงแม้แต่พวก 308 ส.ส.-ส.ว.ด้วย เพราะจำนวนเสียงถอดถอนที่ต้องใช้ 3 ใน 5 ของจำนวนส.ว. 150 คน คือ 90 เสียง เสียงลงมติถอดถอนก็จะไม่ถึงแน่นอน เพราะต่อให้จำนวนเสียงถอดถอนมีมากกว่าเสียงที่ไม่ต้องการให้ถอดถอน แต่เสียงก็ไม่น่าจะถึง 90 เสียง เพราะต้องไม่ลืมว่า ในจำนวนส.ว. สรรหา74 คน ก็เสียงแตกกันพอสมควร ไม่ได้มีการรวมกลุ่มกันแน่นหนา
มีส.ว.สรรหาหลายคน ที่มักเทเสียงไปให้กับสายรัฐบาลมาแล้วหลายครั้ง ดูได้จากตอนลงมติ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ก็เห็นชัดที่มีส.ว.สรรหาไปร่วมลงคะแนนเสียงให้จำนวนหนึ่ง
**ด้วยเหตุนี้ ส.ว.หลายคนจึงวิเคราะห์ตรงกันว่า หากผลการเลือกตั้งส.ว.30 มี.ค. ออกมาโดยปรากฏว่า มีเครือข่ายสายพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามากันจำนวนมาก คดีถอดถอน ทั้งคดีจำนำข้าว และคดีเอาผิด 308 ส.ส.-ส.ว. ไม่มีทางถอดถอนได้แน่นอน
ทำให้ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ 77 คน จึงมีบทบาทความสำคัญทางการเมืองอย่างมาก หากได้ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ไม่ดี ได้พวกร่างทรงทางการเมือง นอมินีพรรคการเมือง หรือพวกยอมขายตัวรับใช้ทางการเมืองให้กับนักการเมืองบางกลุ่ม
** ก็มีหวังได้เห็น “สภาทาส” ในวุฒิสภาอีกคำรบ
หลังดูจากรายชื่อแคนดิเดตผู้สมัครส.ว.หลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน ส่วนมากมีแต่สายสัมพันธ์การเมืองกับพรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลเวลานี้ และแนวโน้ม ล้วนแต่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้ง
ยิ่งกระแสการเลือกตั้งส.ว.ที่เหลือเวลาแค่ไม่ถึง 4 วัน แต่บรรยากาศการเลือกตั้งกลับเงียบเหงา ประชาชนแทบไม่รู้กันเลยว่าจะมีการเลือกตั้งส.ว. ในวันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค.นี้ เห็นได้จากตัวเลขประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งส.ว.ล่วงหน้า ทั้งในและนอกเขตจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค. มีคนออกมาใช้สิทธิบางตา
จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า เป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่ตั้งเป้าว่าจะรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ผลที่ได้อาจห่างไกลเป้าหมายเยอะ ถ้าบรรยากาศการเลือกตั้งส.ว. ยังคงเงียบเหงาเช่นนี้
**การที่ประชาชนไม่ตื่นตัว ไม่รู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่รู้ประวัติผลงานของผู้สมัครแต่ละคน จึงมีโอกาสสูงที่จะนอนหลับทับสิทธิ และเมื่อความตื่นตัวของประชาชนมีน้อย หลายคนอาจไม่ออกไปใช้สิทธิ มันก็ย่อมเปิดช่องให้ผู้สมัครบางคน ที่มีฐานการเมืองในพื้นที่ ทั้งกับพรรคการเมือง- อดีตส.ส.- อดีตรัฐมนตรี-อดีตส.ว.–นักการเมืองท้องถิ่น เข้าวินได้ไม่ยาก
ยิ่งผู้สมัครบางคนก็เป็นระดับอดีตรัฐมนตรี อดีตแกนนำพรรคการเมืองใหญ่บางพรรค ที่คราวนี้มาลงสมัครส.ว. พวกนี้ก็จะมีฐานการเมืองในพื้นที่อยู่แล้ว พอคนไม่ค่อยตื่นตัวจะออกไปใช้สิทธิ์ มันก็เลยง่ายต่อการ “จัดตั้งฐานคะแนนเสียง” ในแต่ละจังหวัด เพื่อเกณฑ์คนออกไปใช้สิทธิ์ได้ง่ายแม้แต่ในกรุงเทพมหานครเอง ก็อาจเป็นเช่นนั้นด้วย !
แม้ก่อนหน้านี้ พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย จะรีบแถลงปฏิเสธกระแสข่าวที่มีมาก่อนหน้านี้ว่า วงหารือนอกรอบของอดีตส.ส.กทม.-อดีตผู้สมัครส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย มีการหารือและตกลงกันภายในว่า การเลือกตั้งส.ว.รอบนี้ ให้เครือข่ายของเพื่อไทยในกรุงเทพมหานคร ช่วยกันหาคะแนนเสียงให้ ผู้สมัครส.ว.รายหนึ่ง โดยพร้อมพงศ์ ปฏิเสธว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีการประชุมภาคกทม. พรรคเพื่อไทย และไม่เคยมีมติสนับสนุนผู้สมัครส.ว.บางราย เพราะมติกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ให้สมาชิกพรรควางตัวเป็นกลาง ไม่สนับสนุนผู้สมัคร ส.ว. เพราะเป็นการทำผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม เรื่องการหนุนหลัง ผู้สมัคร ส.ว.คนไหน เป็นใครก็ต้องปฏิเสธ โดยเฉพาะพรรคการเมือง ของแบบนี้ ใครมันจะออกมาพูดกันกลางแจ้ง หรือถึงขั้นมีมติพรรคสนับสนุนผู้สมัครส.ว. เพราะสุ่มเสี่ยงจะทำผิดกฎหมาย และไม่เป็นผลดีต่อผู้สมัครและพรรคการเมืองด้วยกันทั้งสิ้น
ก็ขนาดเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างเช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่กฎหมายเปิดกว้างกว่าในการให้พรรคการเมืองสนับสนุนผู้สมัครได้ แต่ก็น้อยครั้งมากที่จะมีพรรคการเมืองมาเปิดตัวสนับสนุนใครอย่างเป็นทางการ เพราะถึงไม่เปิดตัวแต่คนในพื้นที่ ก็รู้กันว่าผู้สมัครคนไหน มีใครหนุนหลัง
ของแบบนี้ มันก็เหมือนกับการเลือกตั้งส.ว.ครั้งนี้ หลายจังหวัดคนในพื้นที่ก็รู้กันแล้วว่าผู้สมัครคนไหน เป็นคนของใคร มีใครแบ็กอัพ มีอดีตส.ส.-พรรคการเมืองไหนคอยสนับสนุน เป็นสายเสื้อแดงหรือเปล่า คนไหนเปิดตัวชัดว่าอิงสาย กปปส. หรือเป็นคนของพรรคการเมืองใหญ่ในพื้นที่หรือเปล่า ยิ่งกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ข้อมูลข่าวสารมันไปเร็ว การทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง
อย่างวันก่อน ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ไปพูดเชิญชวนให้คนกรุงเทพฯไปลงคะแนนเสียงเลือก ผู้สมัครส.ว.คนหนึ่ง บนเวทีกปปส.ที่สวนลุมพินียังจะโดนพรรคเพื่อไทย ยื่นเรื่องให้กกต.ตรวจสอบ เรียกได้ว่า ทั้งฝ่ายเพื่อไทย และฝ่ายกปปส. ต่างก็จดๆ จ้องๆ กันอยู่ กับสนามเลือกตั้ง ส.ว.
อีกทั้งก็ต้องยอมรับกันว่า คนกทม.การตื่นตัวทางการเมืองสูง การจะให้ใครมาออกตัวว่าหนุนหลังใครมันทำได้ลำบาก แต่พอเห็นชื่อเห็นประวัติการทำงาน มันก็พอรู้ๆ กันว่า หากไม่ชอบระบอบทักษิณ จะต้องเลือกผู้สมัครคนไหน...
**สำหรับความสำคัญของวุฒิสภาชุดใหม่หลังเลือกตั้ง 30 มีนาคม นอกจากหน้าที่ตามปกติ เช่น การให้พิจารณากลั่นกรองกฎหมายต่างๆ รวมถึงการให้ความเห็นชอบกรรมการองค์กรอิสระทั้งหลาย ที่จะพ้นจากตำแหน่งตามวาระและอายุขัย ที่ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่จะต้องลงมติคัดเลือกและเห็นชอบ
เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) –ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ-กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ–กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น รวมถึงบทบาทด้านอื่นๆ เช่น การตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านการตั้งกระทู้สด หรือผ่านช่องทางคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ เป็นต้น
ดูแนวโน้มแล้ว คดีถอดถอนการเมืองสำคัญสองคดี คือคดีรับจำนำข้าวที่ป.ป.ช.จ่อเอาผิด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภายในไม่เกินเดือนเมษายน และคดี ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหากับ 308 ส.ส.-ส.ว.ในคดีแก้ไขรธน. เรื่องที่มาส.ว. ที่หลังป.ป.ช.ฟัน นิคม ไวยรัชพานิช หลุดจากรักษาการประธานวุฒิสภาไปแล้ว ก็มีข่าวจะทยอยแจ้งข้อกล่าวหากับ อดีตส.ส.-ส.ว.308 คน อีกหลายระลอก โดยมีข่าวว่า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาฯ จะเป็นคิวต่อไป
**เมื่อดูความเป็นไปต่างๆ ของคดีต่างๆแล้ว โดยเฉพาะคดีรับจำนำข้าว มีโอกาสสูงมากที่เรื่องจะถูกส่งไปให้วุฒิสภาชุดใหม่ที่ประกอบด้วย ส.ว.เลือกตั้งหลัง 30 มี.ค. กับส.ว.สรรหาตอนนี้ ร่วมกันลงมติ “ถอดถอน-ไม่ถอดถอน”
ดังนั้น หากเครือข่ายระบอบทักษิณ-พรรคร่วมรัฐบาล สามารถผลักดันคนของตัวเองหรือคนที่พอพูดคุยกันได้ เจรจาความกันได้ ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ว.ได้สำเร็จ เอาแค่ให้ได้สักอย่างน้อย 40-50 เสียง จากที่เลือกกันมา 77 คน แค่นี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็รอดแล้วในคดีถอดถอน
รวมถึงแม้แต่พวก 308 ส.ส.-ส.ว.ด้วย เพราะจำนวนเสียงถอดถอนที่ต้องใช้ 3 ใน 5 ของจำนวนส.ว. 150 คน คือ 90 เสียง เสียงลงมติถอดถอนก็จะไม่ถึงแน่นอน เพราะต่อให้จำนวนเสียงถอดถอนมีมากกว่าเสียงที่ไม่ต้องการให้ถอดถอน แต่เสียงก็ไม่น่าจะถึง 90 เสียง เพราะต้องไม่ลืมว่า ในจำนวนส.ว. สรรหา74 คน ก็เสียงแตกกันพอสมควร ไม่ได้มีการรวมกลุ่มกันแน่นหนา
มีส.ว.สรรหาหลายคน ที่มักเทเสียงไปให้กับสายรัฐบาลมาแล้วหลายครั้ง ดูได้จากตอนลงมติ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ก็เห็นชัดที่มีส.ว.สรรหาไปร่วมลงคะแนนเสียงให้จำนวนหนึ่ง
**ด้วยเหตุนี้ ส.ว.หลายคนจึงวิเคราะห์ตรงกันว่า หากผลการเลือกตั้งส.ว.30 มี.ค. ออกมาโดยปรากฏว่า มีเครือข่ายสายพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามากันจำนวนมาก คดีถอดถอน ทั้งคดีจำนำข้าว และคดีเอาผิด 308 ส.ส.-ส.ว. ไม่มีทางถอดถอนได้แน่นอน
ทำให้ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ 77 คน จึงมีบทบาทความสำคัญทางการเมืองอย่างมาก หากได้ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ไม่ดี ได้พวกร่างทรงทางการเมือง นอมินีพรรคการเมือง หรือพวกยอมขายตัวรับใช้ทางการเมืองให้กับนักการเมืองบางกลุ่ม
** ก็มีหวังได้เห็น “สภาทาส” ในวุฒิสภาอีกคำรบ