"พร้อมพงศ์" อัด "มาร์ค" รอส้มหล่น นายกฯ ม.7 จี้ กกต.เอาผิด "สุเทพ-ปชป." ทำเลือกตั้งโมฆะ ยันพร้อมลงเลือกตั้งใหม่ "องอาจ" แนะ "ปู" ลดอำนาจตัวเอง เปิดทางชาติเดินหน้า เจรจาจัดเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายยอมรับ ย้ำคำวินิจฉัยศาลรธน. มัดรัฐบาล จัดเลือกตั้งไม่มีกรอบต้องทำภายใน 60 วัน ใช้คำวินิจฉัยปี 49 เป็นบรรทัดฐาน กำหนดวันเลือกตั้งใหม่เกือบ 6 เดือน "สุริยะใส" จี้รัฐฯเลิกดื้อ จับประชาชนเป็นตัวประกัน ย้ำต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ชี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบการเลือกตั้งโมฆะ เพราะหลายฝ่ายเตือนแล้ว
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไปร่วมกิจกรรม เวทีกปปส. เพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิตจากการชุมนุม ถือเป็นละครการเมือง แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์ เป็นเนื้อเดียวกับกปปส.หรือไม่ หากนายอภิสิทธิ์ ยังคิดบอยคอตการเลือกตั้งอีก ขอให้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่าคิดรอส้มหล่น เป็นนายกฯ มาตรา 7 การที่นายอภิสิทธิ์ จะไม่ลงเลือกตั้ง เพราะคิดจะเป็นนายกฯ มาตรา 7 หรือไม่ ถ้านายอภิสิทธิ์ บอยคอต จะนำพรรคประชาธิปัตย์ไปสู่หายนะ ซ้ำเติมปัญหาประเทศ
ส่วนกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะจัดประชุมในวันที่ 24 มี.ค. เพื่อพิจารณาการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น ขอให้กกต. นึกถึงหน้าที่ของตัวเองในการจัดการเลือกตั้ง เพราะมีประชาชนสะท้อนมายังพรรคเพื่อไทยว่า ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาต่างๆ ระหว่างการมีรัฐบาลรักษาการ เช่น ภัยแล้ง จำนำข้าว โครงสร้างพื้นฐาน ที่ต้องรอการอนุมัติจากรัฐบาลรักษาการ ดังนั้น กกต.ต้องไม่ปล่อยให้สุญญากาศเกิดขึ้น เรื่องหลักที่อยากให้กกต.ดำเนินการก่อนการจัดเลือกตั้งใหม่คือ การดำเนินการเอาผิดกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และ บรรดาอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ไปร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม กปปส. ที่ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ สูญเสียงบประมาณ 3,865 ล้านบาท ถ้า กกต.ไม่ดำเนินการ ถือว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ พรรคเพื่อไทย จะฟ้อง กกต.ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หาก กกต.ปล่อยให้มีการขัดขวางการเลือกตั้งต่อไป เท่ากับปล่อยให้มีการปล้นอำนาจประชาชน ทั้งนี้ยืนยันว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยพร้อมลงเลือกตั้ง
จี้ "สมชัย"ลาออก ซัด 2 มาตราฐาน
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.โพสต์ภาพกลุ่ม กปปส.ในต่างประเทศสนับสนุนให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ว่า การแสดงออกดังกล่าว น่าจะไม่เป็นกลาง ขอถามกลับว่า เหตุใดนายสมชัย ไม่เคยนำโพสต์ภาพที่คน 25 ล้านคนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2 ก.พ. หรือโพสต์ภาพผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แล้วถูกกลุ่มขัดขวางการเลือกตั้งทำร้ายร่างกาย นายสมชัย ควรเคารพสิทธิคน 20 กว่าล้านคน การเป็นองค์กรอิสระ ต้องเป็นกลางทางการเมือง วันนี้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยพฤติกรรมนายสมชัย หลายเรื่อง
ส่วนที่นายสมชัย ระบุว่า จะเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีทัวร์นกขมิ้น และอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ไปออกรายการช่อง 11 ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ สองมาตรฐาน ที่บี้เอาผิดนายกฯ และอดีตส.ส.เพื่อไทย แต่กลับเกรงใจไม่เอาผิดกลุ่มที่ขัดขวางการเลือกตั้ง ดังนั้น นายสมชัย ควรลาออกหรือไม่ควรรับผิดชอบงานด้านการจัดการเลือกตั้ง ควรเลิกทำตัวเป็นนักเลงคีย์บอร์ดรายวัน
จี้"ปู"ลดอำนาจเจรจาจัดเลือกตั้ง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะ ว่า จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยทุกฝ่ายในสังคมอยากเห็นการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ล้มเหลวเป็นโมฆะเหมือนที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ดังนั้น เมื่อกกต.ได้รับคำวินิจฉัยฉบับสมบูรณ์ ควรเริ่มดำเนินการให้การเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งที่จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย สามารถก่อให้เกิดผลในการแก้วิกฤติประเทศได้ สิ่งที่ควรดำเนินการคือ
1. ควรมีกระบวนการพูดคุยจากผู้มีส่วนเกี่่ยวข้องในการทำให้การเลือกตั้งสำเร็จลุล่วงได้ดังเป้าหมายที่ทุกคนปรารถนา โดยรูปแบบและวิธีการที่สำคัญคือ รัฐบาลและ กกต.ต้องคุยกันก่อน เพื่อร่วมกันตัดสินใจให้กระบวนการพูดคุยเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายสามารถเกิดขึ้นได้
2. การพูดคุยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การคุยกันระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ผู้ชุมนุมคัดค้านการเลือกตั้งเพราะต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง โดยคิดว่าการพูดคุยดังกล่าว จะทำให้โอกาสในการหาจุดร่วมกัน มีหวังมากขึ้น
3 .รัฐบาลมีอำนาจสูงสุดในบ้านเมือง จำเป็นต้องมีส่วนในการพิจารณาแก้ปมข้อเรียกร้องของกปปส. ถ้าไม่เสียสละอำนาจของตัวเองลงบ้าง การขึงพืดเผชิญหน้าจะไม่สามารถยุติลงได้ ทำให้โอกาสในการเลือกตั้งครั้งใหม่ไม่สามารถเกิดได้โดยง่าย ดังนั้นรัฐบาลต้องแก้ปมโดยเริ่มต้นจากการสละอำนาจบางส่วนด้วยการปรับท่าทีเข้ามาแก้ปมข้อเรียกร้องของ กปปส.
4 .การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรรีบร้อน เร่งรัด เพียงเพื่อให้มีการกำหนดวันเลือกตั้งเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ควรมีเวลาพอสมควร ให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยสามารถดำเนินการได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ระบุถึงกรอบเวลาการกำหนดวันเลือกตั้งให้ยึดบรรทัดฐานศาลรัฐธรรมนูญในปี 2549 ซึ่งไม่ได้อยู่ในกรอบเวลา 45 หรือ 60 วัน แต่อย่างใด แต่มีการกำหนดวันเลือกตั้งหลังจากนั้นประมาณ 6 เดือน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
" หากรัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 4 ข้อ จะทำให้การเลือกตั้งได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และจะต้องเริ่มต้นจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลเสียสละอำนาจบางส่วนให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ ไม่ใช่ยึดอำนาจไว้กับตัวเอง ในขณะที่ปัญหาบ้านเมืองเพิ่มมากขึ้น จะไม่สามารถนำชาติเข้าสู่ภาวะปกติได้ จึงหวังว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะพิจารณาบนพื้นฐานประโยชน์ชาติ ไม่ใช่เอาชนะบนซากปรักหักพังของบ้านเมือง ซึ่งสุดท้ายจะไม่มีใครชนะเลย" นายองอาจ กล่าว
ปชป.ประชุมใหญ่ 28-29 มี.ค.
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า พรรคจะมีการประชุมใหญ่ สมัยวิสามัญ ในวันที่ 28-29 มี.ค. นี้ โดยวันที่ 28 มี.ค. จะเป็นการประชุมสมัชชาเรื่องการปฏิรูปประเทศ 7 ด้าน ส่วนในวันที่ 29 มี.ค. ในภาคเช้า จะเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีของพรรคพร้อมๆ กับประชุมสามัญประจำปีที่กฎหมายพรรคการเมืองกำหนดให้มีกระประชุมสามัญประจำปี ส่วนในภาคบ่าย จะเป็นการประชุมอดีต ส.ส.กับกรรมการบริหาร (กก.บห.) ของพรรค ถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ส่วนจะมีการพูดกันถึงเรื่องการลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม เพราะไม่ได้มีระเบียบวาระการประชุมชัดเจน
ส่วนที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปสง จะนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 29 มี.ค. นั้นก็เป็นส่วนของนายสุเทพ ซึ่ง ทางพรรคได้มีกำหนดการที่จะประชุมใหญ่ประจำปีครั้งนี้อยู่แล้ว พรรคคงไม่ได้นำสองส่วนนี้ มาปะปนกัน และขณะนี้สมาชิกของพรรค ก็มีความชัดเจนเรื่องนี้อยู่แล้ว สมาชิกแต่ละท่านสามารถไปแสดงออกทางการเมืองใดๆได้ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ และไม่ไปดำเนินการอย่างไรที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามใครที่ไปดำเนินการที่ผิดกฎหมาย คนเหล่านั้นก็พร้อมเข้าสุ่กระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่า ท่าทีของสมาชิกพรรค จะมีส่วนในการทำให้พรรคถูกยุบหรือไม่ นายองอาจ กล่าวว่า ไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะตลอดระยะเวลาการชุมนุมที่ผ่านมา สมาชิกพรรคก็ปฏิบัติตามกรอบของรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เพราะการชุมนุมของกลุ่มกปปส. ศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยวินิจฉัยไปแล้วว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน และกรรมการ กปปส. กล่าวว่าสถานการณ์ในขณะนี้ เป็นวิกฤติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นสถานการณ์พิเศษ ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีปกติธรรมดา หรือการเลือกตั้งเท่านั้น ฉะนั้นการกระบวนการแก้ไขวิกฤติการณ์ครั้งนี้ ต้องมีลักษณะพิเศษ แต่ยึดโยงกับเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ และเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง
ทั้งนี้ ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง คือ การลาก และกวาดต้อนวิกฤติที่สลับซับซ้อนไปตัดสินที่คูหาเลือกตั้งทั้งหมด จนทำใหัปัญหามีลักษณะร้าวลึก ขยายตัวซับซ้อนหนักขึ้นไปอีก การตั้งโจทย์ด้วยการเลือกตั้งก่อนปฏิรูป จึงเป็นการตั้งโจทย์ที่ผิด และการเดินหน้าเตรียมเลือกตั้งอย่างเดียว ยิ่งลากสังคมไทยเข้าสู่วิกฤติ และทางตันมากขึ้น
การประเมินว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ ลงเลือกตั้งแล้วปัญหาจะจบ เป็นการประเมินที่ผิดพลาด ไม่เข้าใจสถานการณ์ โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของมวลมหาประชาชน มาไกลเกินกว่าเลือกตั้ง หรือกลับเข้าไปอยู่ในระบบการเมืองที่ล้มเหลว กระแสสังคมจึงอยากเห็นการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง จะเลือกตั้งอีกกี่ครั้งก็ไม่สามารถโน้มนำให้คนจำนวนมากกลับไปเลือกตั้งได้ ถ้าไม่ปฏิรูปให้เป็นรูปธรรมก่อน
ถ้ารัฐบาลรักษาการ และพรรคเพื่อไทย ยังเอาการเลือกตั้งมาบังหน้าอยู่แบบนี้ สถานการณ์ก็ไม่มีทางออก และในฐานะรัฐบาลรักษาการเมื่อทำอะไรไม่ได้ ความเสียหายก็จะเกิดมากขึ้นกับภาคส่วนต่างๆ และไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆได้ เช่น การเลือกตั้งโมฆะที่ผ่านมา รัฐบาลต้องรับผิดชอบ เพราะหลายฝ่ายเตือนแล้ว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ก็ทักท้วงแล้ว กกต. เองก็เสนอให้เลื่อน แต่รัฐบาลดันทุรังไปเอง
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลยังดึงดันจะเดินหน้าเลือกตั้งอีก ก็เท่ากับจับประชาชนเป็นตัวประกันไม่รู้จบ ปีนี้ทั้งปีก็ยากจะประสบความสำเร็จ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยืนยันชัดเจนไปในตัวว่า หน่วยเลือกตั้งกว่า 9 หมื่นหน่วยทั่วประเทศ หากไม่สามารถเลือกตั้งได้ หรือนับคะแนนไม่ได้แม้แต่หน่วยเดียว ก็ไม่สามารถรับรอง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ทั้ง 125 คนทั่วประเทศได้ การเปิดสภาเลือกนายกฯ ก็ไม่มีทางทำได้เลย
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไปร่วมกิจกรรม เวทีกปปส. เพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิตจากการชุมนุม ถือเป็นละครการเมือง แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์ เป็นเนื้อเดียวกับกปปส.หรือไม่ หากนายอภิสิทธิ์ ยังคิดบอยคอตการเลือกตั้งอีก ขอให้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่าคิดรอส้มหล่น เป็นนายกฯ มาตรา 7 การที่นายอภิสิทธิ์ จะไม่ลงเลือกตั้ง เพราะคิดจะเป็นนายกฯ มาตรา 7 หรือไม่ ถ้านายอภิสิทธิ์ บอยคอต จะนำพรรคประชาธิปัตย์ไปสู่หายนะ ซ้ำเติมปัญหาประเทศ
ส่วนกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะจัดประชุมในวันที่ 24 มี.ค. เพื่อพิจารณาการจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น ขอให้กกต. นึกถึงหน้าที่ของตัวเองในการจัดการเลือกตั้ง เพราะมีประชาชนสะท้อนมายังพรรคเพื่อไทยว่า ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาต่างๆ ระหว่างการมีรัฐบาลรักษาการ เช่น ภัยแล้ง จำนำข้าว โครงสร้างพื้นฐาน ที่ต้องรอการอนุมัติจากรัฐบาลรักษาการ ดังนั้น กกต.ต้องไม่ปล่อยให้สุญญากาศเกิดขึ้น เรื่องหลักที่อยากให้กกต.ดำเนินการก่อนการจัดเลือกตั้งใหม่คือ การดำเนินการเอาผิดกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และ บรรดาอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ไปร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม กปปส. ที่ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ สูญเสียงบประมาณ 3,865 ล้านบาท ถ้า กกต.ไม่ดำเนินการ ถือว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ พรรคเพื่อไทย จะฟ้อง กกต.ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หาก กกต.ปล่อยให้มีการขัดขวางการเลือกตั้งต่อไป เท่ากับปล่อยให้มีการปล้นอำนาจประชาชน ทั้งนี้ยืนยันว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยพร้อมลงเลือกตั้ง
จี้ "สมชัย"ลาออก ซัด 2 มาตราฐาน
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.โพสต์ภาพกลุ่ม กปปส.ในต่างประเทศสนับสนุนให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ว่า การแสดงออกดังกล่าว น่าจะไม่เป็นกลาง ขอถามกลับว่า เหตุใดนายสมชัย ไม่เคยนำโพสต์ภาพที่คน 25 ล้านคนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2 ก.พ. หรือโพสต์ภาพผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แล้วถูกกลุ่มขัดขวางการเลือกตั้งทำร้ายร่างกาย นายสมชัย ควรเคารพสิทธิคน 20 กว่าล้านคน การเป็นองค์กรอิสระ ต้องเป็นกลางทางการเมือง วันนี้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยพฤติกรรมนายสมชัย หลายเรื่อง
ส่วนที่นายสมชัย ระบุว่า จะเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีทัวร์นกขมิ้น และอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ไปออกรายการช่อง 11 ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ สองมาตรฐาน ที่บี้เอาผิดนายกฯ และอดีตส.ส.เพื่อไทย แต่กลับเกรงใจไม่เอาผิดกลุ่มที่ขัดขวางการเลือกตั้ง ดังนั้น นายสมชัย ควรลาออกหรือไม่ควรรับผิดชอบงานด้านการจัดการเลือกตั้ง ควรเลิกทำตัวเป็นนักเลงคีย์บอร์ดรายวัน
จี้"ปู"ลดอำนาจเจรจาจัดเลือกตั้ง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะ ว่า จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยทุกฝ่ายในสังคมอยากเห็นการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ล้มเหลวเป็นโมฆะเหมือนที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ดังนั้น เมื่อกกต.ได้รับคำวินิจฉัยฉบับสมบูรณ์ ควรเริ่มดำเนินการให้การเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งที่จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย สามารถก่อให้เกิดผลในการแก้วิกฤติประเทศได้ สิ่งที่ควรดำเนินการคือ
1. ควรมีกระบวนการพูดคุยจากผู้มีส่วนเกี่่ยวข้องในการทำให้การเลือกตั้งสำเร็จลุล่วงได้ดังเป้าหมายที่ทุกคนปรารถนา โดยรูปแบบและวิธีการที่สำคัญคือ รัฐบาลและ กกต.ต้องคุยกันก่อน เพื่อร่วมกันตัดสินใจให้กระบวนการพูดคุยเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายสามารถเกิดขึ้นได้
2. การพูดคุยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การคุยกันระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ผู้ชุมนุมคัดค้านการเลือกตั้งเพราะต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง โดยคิดว่าการพูดคุยดังกล่าว จะทำให้โอกาสในการหาจุดร่วมกัน มีหวังมากขึ้น
3 .รัฐบาลมีอำนาจสูงสุดในบ้านเมือง จำเป็นต้องมีส่วนในการพิจารณาแก้ปมข้อเรียกร้องของกปปส. ถ้าไม่เสียสละอำนาจของตัวเองลงบ้าง การขึงพืดเผชิญหน้าจะไม่สามารถยุติลงได้ ทำให้โอกาสในการเลือกตั้งครั้งใหม่ไม่สามารถเกิดได้โดยง่าย ดังนั้นรัฐบาลต้องแก้ปมโดยเริ่มต้นจากการสละอำนาจบางส่วนด้วยการปรับท่าทีเข้ามาแก้ปมข้อเรียกร้องของ กปปส.
4 .การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรรีบร้อน เร่งรัด เพียงเพื่อให้มีการกำหนดวันเลือกตั้งเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ควรมีเวลาพอสมควร ให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยสามารถดำเนินการได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ระบุถึงกรอบเวลาการกำหนดวันเลือกตั้งให้ยึดบรรทัดฐานศาลรัฐธรรมนูญในปี 2549 ซึ่งไม่ได้อยู่ในกรอบเวลา 45 หรือ 60 วัน แต่อย่างใด แต่มีการกำหนดวันเลือกตั้งหลังจากนั้นประมาณ 6 เดือน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
" หากรัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 4 ข้อ จะทำให้การเลือกตั้งได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และจะต้องเริ่มต้นจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลเสียสละอำนาจบางส่วนให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ ไม่ใช่ยึดอำนาจไว้กับตัวเอง ในขณะที่ปัญหาบ้านเมืองเพิ่มมากขึ้น จะไม่สามารถนำชาติเข้าสู่ภาวะปกติได้ จึงหวังว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะพิจารณาบนพื้นฐานประโยชน์ชาติ ไม่ใช่เอาชนะบนซากปรักหักพังของบ้านเมือง ซึ่งสุดท้ายจะไม่มีใครชนะเลย" นายองอาจ กล่าว
ปชป.ประชุมใหญ่ 28-29 มี.ค.
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า พรรคจะมีการประชุมใหญ่ สมัยวิสามัญ ในวันที่ 28-29 มี.ค. นี้ โดยวันที่ 28 มี.ค. จะเป็นการประชุมสมัชชาเรื่องการปฏิรูปประเทศ 7 ด้าน ส่วนในวันที่ 29 มี.ค. ในภาคเช้า จะเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีของพรรคพร้อมๆ กับประชุมสามัญประจำปีที่กฎหมายพรรคการเมืองกำหนดให้มีกระประชุมสามัญประจำปี ส่วนในภาคบ่าย จะเป็นการประชุมอดีต ส.ส.กับกรรมการบริหาร (กก.บห.) ของพรรค ถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ส่วนจะมีการพูดกันถึงเรื่องการลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม เพราะไม่ได้มีระเบียบวาระการประชุมชัดเจน
ส่วนที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปสง จะนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 29 มี.ค. นั้นก็เป็นส่วนของนายสุเทพ ซึ่ง ทางพรรคได้มีกำหนดการที่จะประชุมใหญ่ประจำปีครั้งนี้อยู่แล้ว พรรคคงไม่ได้นำสองส่วนนี้ มาปะปนกัน และขณะนี้สมาชิกของพรรค ก็มีความชัดเจนเรื่องนี้อยู่แล้ว สมาชิกแต่ละท่านสามารถไปแสดงออกทางการเมืองใดๆได้ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ และไม่ไปดำเนินการอย่างไรที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามใครที่ไปดำเนินการที่ผิดกฎหมาย คนเหล่านั้นก็พร้อมเข้าสุ่กระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่า ท่าทีของสมาชิกพรรค จะมีส่วนในการทำให้พรรคถูกยุบหรือไม่ นายองอาจ กล่าวว่า ไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะตลอดระยะเวลาการชุมนุมที่ผ่านมา สมาชิกพรรคก็ปฏิบัติตามกรอบของรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เพราะการชุมนุมของกลุ่มกปปส. ศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยวินิจฉัยไปแล้วว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน และกรรมการ กปปส. กล่าวว่าสถานการณ์ในขณะนี้ เป็นวิกฤติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นสถานการณ์พิเศษ ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีปกติธรรมดา หรือการเลือกตั้งเท่านั้น ฉะนั้นการกระบวนการแก้ไขวิกฤติการณ์ครั้งนี้ ต้องมีลักษณะพิเศษ แต่ยึดโยงกับเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ และเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง
ทั้งนี้ ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง คือ การลาก และกวาดต้อนวิกฤติที่สลับซับซ้อนไปตัดสินที่คูหาเลือกตั้งทั้งหมด จนทำใหัปัญหามีลักษณะร้าวลึก ขยายตัวซับซ้อนหนักขึ้นไปอีก การตั้งโจทย์ด้วยการเลือกตั้งก่อนปฏิรูป จึงเป็นการตั้งโจทย์ที่ผิด และการเดินหน้าเตรียมเลือกตั้งอย่างเดียว ยิ่งลากสังคมไทยเข้าสู่วิกฤติ และทางตันมากขึ้น
การประเมินว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ ลงเลือกตั้งแล้วปัญหาจะจบ เป็นการประเมินที่ผิดพลาด ไม่เข้าใจสถานการณ์ โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของมวลมหาประชาชน มาไกลเกินกว่าเลือกตั้ง หรือกลับเข้าไปอยู่ในระบบการเมืองที่ล้มเหลว กระแสสังคมจึงอยากเห็นการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง จะเลือกตั้งอีกกี่ครั้งก็ไม่สามารถโน้มนำให้คนจำนวนมากกลับไปเลือกตั้งได้ ถ้าไม่ปฏิรูปให้เป็นรูปธรรมก่อน
ถ้ารัฐบาลรักษาการ และพรรคเพื่อไทย ยังเอาการเลือกตั้งมาบังหน้าอยู่แบบนี้ สถานการณ์ก็ไม่มีทางออก และในฐานะรัฐบาลรักษาการเมื่อทำอะไรไม่ได้ ความเสียหายก็จะเกิดมากขึ้นกับภาคส่วนต่างๆ และไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆได้ เช่น การเลือกตั้งโมฆะที่ผ่านมา รัฐบาลต้องรับผิดชอบ เพราะหลายฝ่ายเตือนแล้ว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ก็ทักท้วงแล้ว กกต. เองก็เสนอให้เลื่อน แต่รัฐบาลดันทุรังไปเอง
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลยังดึงดันจะเดินหน้าเลือกตั้งอีก ก็เท่ากับจับประชาชนเป็นตัวประกันไม่รู้จบ ปีนี้ทั้งปีก็ยากจะประสบความสำเร็จ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยืนยันชัดเจนไปในตัวว่า หน่วยเลือกตั้งกว่า 9 หมื่นหน่วยทั่วประเทศ หากไม่สามารถเลือกตั้งได้ หรือนับคะแนนไม่ได้แม้แต่หน่วยเดียว ก็ไม่สามารถรับรอง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ทั้ง 125 คนทั่วประเทศได้ การเปิดสภาเลือกนายกฯ ก็ไม่มีทางทำได้เลย