ASTVผู้จัดการรายวัน-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ปรับลดจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 2.5% จากเดิม 4.5% เหตุได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง เผยรายได้หายไป 4.2-4.3 แสนล้านบาท ระบุหากไม่มีรัฐบาลตัวจริงภายในปีนี้ เศรษฐกิจโตติดลบ 1% แน่
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 ใหม่ เหลือขยายตัวเพียง 2.5% จากเดิมตั้งเป้าขยายตัว 4.5% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง การลงทุนชะลอตัว ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และชาวนาจำนวนมากไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ซึ่งการปรับลดดังกล่าว ทำให้มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยลดลงทันที 4.2-4.3 แสนล้านบาท หรือจากเดิมที่คาดไว้ 12.87 ล้านล้านบาท เหลือ 12.44 ล้านล้านบาท
“เคยประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2557 ไว้ในเดือนธ.ค.2556 น่าจะขยายตัวได้ 4.5% แต่พอเจอปัญหาการเมือง ทำให้กระทบต่อเนื่อง ศูนย์ฯ เลยต้องปรับประมาณการณ์ใหม่เหลือ 2-3% แต่ความน่าจะเป็นน่าจะโตได้ 2.5% ภายใต้เงื่อนไข ต้องได้รัฐบาลตัวจริงภายในกลางปีนี้ หากไม่สามารถตั้งรัฐบาลตัวจริงได้ภายในปีนี้ เศรษฐกิจไทยน่าจะติดลบ 1%”
ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ยังได้ปรับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ปรับตัวเลขการบริโภคของเอกชนจากขยายตัว 3% เหลือ 1.5%, การลงทุน จาก 6.9% เหลือ 2.5%, การส่งออก มูลค่า 2.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5% เหลือมูลค่า 2.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4.8%, การนำเข้า มูลค่า 2.72 แสนล้านเหรียญฯ ขยายตัว 8% เหลือ 2.63 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5%, ดุลการค้า จากขาดดุล 27,026 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือขาดดุล 24,450 ล้านเหรียญสหรัฐ , รายได้จากนักท่องเที่ยวจาก 1.29 ล้านล้านบาท เหลือ 1.23 ล้านล้านบาท, ดุลบัญชีเดินสะพัด จากขาดดุล 4,740 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือขาดดุล 3,925 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น
สำหรับการยกเลิกการประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เชื่อว่าจะส่งผลดีทางด้านจิตวิทยาด้านการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศ จะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง และคาดว่าในไตรมาส 2 ของปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในระดับ 1-2% และหากในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อมีรัฐบาลตัวจริง จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในไตรมาสที่ 3-4 ประมาณ 4-5%
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอค้าการไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในส่วนภูมิภาคไตรมาสแรกปี 2557 อยู่ในภาวะติดลบทุกภาค โดยภาคเหนือลบ 1.1% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลบ 2.1% ภาคใต้ลบ 0.8% ภาคกลางลบ 1.3% กรุงเทพฯ และปริมณฑลลบ 0.9% โดยมีสาเหตุมาจากการบริโภคของประชาชนที่ชะลอตัวลง
จากการที่ชาวนาจำนวนมากไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าว ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ส่วนผลสำรวจสถานภาพของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย พบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีประสบปัญหายอดขายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.91% และมีกำไรสุทธิลดลง 14.5% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การเข้ามาแข่งขันของผู้ประกอบการต่างชาติ ปริมาณนักท่องเที่ยวน้อยลง และผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย และยังมีปัญหาขาดสภาพคล่อง 15.3% รวมถึงมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง 10.5% มีการจ้างงานลดลง 6.3% และมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 12.4%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 ใหม่ เหลือขยายตัวเพียง 2.5% จากเดิมตั้งเป้าขยายตัว 4.5% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง การลงทุนชะลอตัว ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และชาวนาจำนวนมากไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ซึ่งการปรับลดดังกล่าว ทำให้มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยลดลงทันที 4.2-4.3 แสนล้านบาท หรือจากเดิมที่คาดไว้ 12.87 ล้านล้านบาท เหลือ 12.44 ล้านล้านบาท
“เคยประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2557 ไว้ในเดือนธ.ค.2556 น่าจะขยายตัวได้ 4.5% แต่พอเจอปัญหาการเมือง ทำให้กระทบต่อเนื่อง ศูนย์ฯ เลยต้องปรับประมาณการณ์ใหม่เหลือ 2-3% แต่ความน่าจะเป็นน่าจะโตได้ 2.5% ภายใต้เงื่อนไข ต้องได้รัฐบาลตัวจริงภายในกลางปีนี้ หากไม่สามารถตั้งรัฐบาลตัวจริงได้ภายในปีนี้ เศรษฐกิจไทยน่าจะติดลบ 1%”
ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ยังได้ปรับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ปรับตัวเลขการบริโภคของเอกชนจากขยายตัว 3% เหลือ 1.5%, การลงทุน จาก 6.9% เหลือ 2.5%, การส่งออก มูลค่า 2.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5% เหลือมูลค่า 2.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4.8%, การนำเข้า มูลค่า 2.72 แสนล้านเหรียญฯ ขยายตัว 8% เหลือ 2.63 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5%, ดุลการค้า จากขาดดุล 27,026 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือขาดดุล 24,450 ล้านเหรียญสหรัฐ , รายได้จากนักท่องเที่ยวจาก 1.29 ล้านล้านบาท เหลือ 1.23 ล้านล้านบาท, ดุลบัญชีเดินสะพัด จากขาดดุล 4,740 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือขาดดุล 3,925 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น
สำหรับการยกเลิกการประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เชื่อว่าจะส่งผลดีทางด้านจิตวิทยาด้านการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศ จะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง และคาดว่าในไตรมาส 2 ของปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในระดับ 1-2% และหากในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อมีรัฐบาลตัวจริง จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในไตรมาสที่ 3-4 ประมาณ 4-5%
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอค้าการไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในส่วนภูมิภาคไตรมาสแรกปี 2557 อยู่ในภาวะติดลบทุกภาค โดยภาคเหนือลบ 1.1% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลบ 2.1% ภาคใต้ลบ 0.8% ภาคกลางลบ 1.3% กรุงเทพฯ และปริมณฑลลบ 0.9% โดยมีสาเหตุมาจากการบริโภคของประชาชนที่ชะลอตัวลง
จากการที่ชาวนาจำนวนมากไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าว ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ส่วนผลสำรวจสถานภาพของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย พบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีประสบปัญหายอดขายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.91% และมีกำไรสุทธิลดลง 14.5% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การเข้ามาแข่งขันของผู้ประกอบการต่างชาติ ปริมาณนักท่องเที่ยวน้อยลง และผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย และยังมีปัญหาขาดสภาพคล่อง 15.3% รวมถึงมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง 10.5% มีการจ้างงานลดลง 6.3% และมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 12.4%