จากกรณี นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ (ภตช.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ภตช. กู้ชาติ รักษาแผ่นดิน ขจัดสิ้นคอร์รัปชัน เพื่อแสดงจุดยืนต่อสาธารณะ และเรียกร้องไปยังหน่วยงานต่างๆโดยขอให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชัน และให้ผู้บริหารประเทศ ต้องยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ยึดมั่นผลประโยชน์ชาตินั้น
ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ดังกล่าวได้ระบุถึง กรณี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 55 ที่สำนักงานศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบัง ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พบว่า ผู้นำเข้าสำแดง TOYOTA CKD COMPOMENT PARTS โดยแยกสำแดงชนิดสินค้า และประเภทพิกัดขั้นตอน และใช้สิทธิ์ยกเว้นอากร และอัตราอากร และยกเว้นอากร และลดอัตราอากร สำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ถูกต้อง โดยรถยนต์โตโยต้า รุ่น พรีอูซส์ ไม่สามารถแยกชำระอากรตามรายชนิดสินค้าได้ และพบการนำเข้าสินค้าและเสียภาษีไม่ถูกต้องเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาทนั้น
เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) ทางบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ชี้แจงถึงเรื่องภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ ดังกล่าว ว่า
1. บริษัทฯ ได้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ข้อตกลงทางการค้าไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)ซึ่งชิ้นส่วนยานยนต์เหล่านั้นได้รับอนุมัติ ให้ใช้สิทธิ์ตามข้อตกลงดังกล่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้เสียภาษีถูกต้องครบถ้วน ในขณะนำเข้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายสรรพสามิต ประมวลรัษฎากร และความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
2. สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจดูเอกสาร และมีความเห็นว่า บริษัทฯ ชำระอากรไว้ไม่ครบ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่แตกต่างในเรื่องการตีความกฎหมาย ซึ่งบริษัทฯได้ทำการชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและรายละเอียดต่างๆ ให้กรมศุลกากรแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 56โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างรอผลสรุปตามขั้นตอนของกรมศุลกากร
3. ในกรณีความตกลงการค้าไทย-อินเดียนั้น เป็นกรณีที่บริษัทฯได้นำเข้าชิ้นส่วนชุดส่งกำลัง(Transmission)รถเพื่อการพาณิชย์ โดยตรงจากประเทศอินเดีย และได้เสียภาษีตามอัตราที่กำหนดในข้อตกลงฯ แต่ปัญหาเกิดจากการที่บริษัทฯได้ใช้บัญชีราคาขายสินค้าผ่านประเทศที่สาม (3rd country invoicing)ซึ่งเป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้ในข้อตกลงทางการค้าอื่นๆ เป็นปกติ แต่กรมศุลกากรมีความเห็นว่า ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงฯได้ จึงให้บริษัทฯ ชำระภาษีและค่าปรับเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2555 กรมศุลกากร ได้ออกประกาศอนุญาตให้ผู้นำเข้าสามารถใช้บัญชีราคาขายสินค้าผ่านประเทศที่สาม (3rd country invoicing)โดยได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับความตกลงทางการค้าระหว่างไทย กับประเทศอื่นๆ อาทิ ความตกลงทางการค้าระหว่างอาเซียน, ไทย-นิวซีแลนด์, ไทย-ออสเตรเลีย, ไทย-ญี่ปุ่น เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอยืนยันว่า ระยะเวลากว่า 51 ปีที่ผ่านมาในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทฯได้ดำเนินงานบนพื้นฐานความโปร่งใส ตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาล และดำเนินธุรกิจที่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า รวมถึงตอบสนองนโยบายภาครัฐในด้านส่งเสริมการลงทุนและการส่งออกด้วยดีตลอดมา
ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ดังกล่าวได้ระบุถึง กรณี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 55 ที่สำนักงานศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบัง ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พบว่า ผู้นำเข้าสำแดง TOYOTA CKD COMPOMENT PARTS โดยแยกสำแดงชนิดสินค้า และประเภทพิกัดขั้นตอน และใช้สิทธิ์ยกเว้นอากร และอัตราอากร และยกเว้นอากร และลดอัตราอากร สำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ถูกต้อง โดยรถยนต์โตโยต้า รุ่น พรีอูซส์ ไม่สามารถแยกชำระอากรตามรายชนิดสินค้าได้ และพบการนำเข้าสินค้าและเสียภาษีไม่ถูกต้องเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาทนั้น
เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) ทางบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ชี้แจงถึงเรื่องภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ ดังกล่าว ว่า
1. บริษัทฯ ได้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ข้อตกลงทางการค้าไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)ซึ่งชิ้นส่วนยานยนต์เหล่านั้นได้รับอนุมัติ ให้ใช้สิทธิ์ตามข้อตกลงดังกล่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้เสียภาษีถูกต้องครบถ้วน ในขณะนำเข้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายสรรพสามิต ประมวลรัษฎากร และความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
2. สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจดูเอกสาร และมีความเห็นว่า บริษัทฯ ชำระอากรไว้ไม่ครบ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่แตกต่างในเรื่องการตีความกฎหมาย ซึ่งบริษัทฯได้ทำการชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและรายละเอียดต่างๆ ให้กรมศุลกากรแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 56โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างรอผลสรุปตามขั้นตอนของกรมศุลกากร
3. ในกรณีความตกลงการค้าไทย-อินเดียนั้น เป็นกรณีที่บริษัทฯได้นำเข้าชิ้นส่วนชุดส่งกำลัง(Transmission)รถเพื่อการพาณิชย์ โดยตรงจากประเทศอินเดีย และได้เสียภาษีตามอัตราที่กำหนดในข้อตกลงฯ แต่ปัญหาเกิดจากการที่บริษัทฯได้ใช้บัญชีราคาขายสินค้าผ่านประเทศที่สาม (3rd country invoicing)ซึ่งเป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้ในข้อตกลงทางการค้าอื่นๆ เป็นปกติ แต่กรมศุลกากรมีความเห็นว่า ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงฯได้ จึงให้บริษัทฯ ชำระภาษีและค่าปรับเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2555 กรมศุลกากร ได้ออกประกาศอนุญาตให้ผู้นำเข้าสามารถใช้บัญชีราคาขายสินค้าผ่านประเทศที่สาม (3rd country invoicing)โดยได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับความตกลงทางการค้าระหว่างไทย กับประเทศอื่นๆ อาทิ ความตกลงทางการค้าระหว่างอาเซียน, ไทย-นิวซีแลนด์, ไทย-ออสเตรเลีย, ไทย-ญี่ปุ่น เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอยืนยันว่า ระยะเวลากว่า 51 ปีที่ผ่านมาในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทฯได้ดำเนินงานบนพื้นฐานความโปร่งใส ตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาล และดำเนินธุรกิจที่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า รวมถึงตอบสนองนโยบายภาครัฐในด้านส่งเสริมการลงทุนและการส่งออกด้วยดีตลอดมา