ASTVผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการคลังเผยผลจัดเก็บรายได้ 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2557 อยู่ที่ 8 แสนล้านบาท ประเด็นการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษียังคงจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3.89 หมื่นล้าน ปัญหาเดิมนำเข้าทรุดตัวเช่นเดียวกับภาษีน้ำมัน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 (ต.ค.56-ก.พ.57) สามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิทั้งสิ้น 802,873 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยที่สนับสนุนให้ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังใกล้เคียงกับเป้าหมาย ได้แก่ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นที่สูงกว่าประมาณการ 16,536 และ 11,695 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษีสังกัดกระทรวงการคลัง จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 38,943 ล้านบาท โดยการจัดเก็บภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ นอกจากนี้ ภาษีจากฐานการอุปโภคบริโภคที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีน้ำมัน เนื่องจากการขยายระยะเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ อย่างไรก็ดี ภาวะอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศและภาษีธุรกิจเฉพาะยังจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย
สำหรับในเดือนก.พ.57 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 147,551 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,846 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4(ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.4) โดยรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษี สังกัดกระทรวงการคลัง จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 14,484 ล้านบาท ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 7,343 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.5 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,452 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.6 เนื่องจากมูลค่านำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 891 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 แต่ยังคงขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน บ่งชี้อุปสงค์ภายในประเทศยังคงมีการขยายตัว
2) ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,562 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.4 เนื่องจากมีการส่งมอบรถในโครงการรถยนต์คันแรกได้เกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณ 2556 3) ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,642 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 สาเหตุมาจากการขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และ 4) อากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,403 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.0 สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 4,181 ล้านบาท หรือร้อยละ 115.5 โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรต่ำกว่าประมาณการ 4,170 ล้านบาท
"แม้ว่าเสถียรภาพของการเมืองในปัจจุบันอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ และต่อเนื่องถึงการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล แต่เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลง ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังที่คาดว่าจะดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 57" นายสมชัยกล่าว.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 (ต.ค.56-ก.พ.57) สามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิทั้งสิ้น 802,873 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยที่สนับสนุนให้ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังใกล้เคียงกับเป้าหมาย ได้แก่ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นที่สูงกว่าประมาณการ 16,536 และ 11,695 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษีสังกัดกระทรวงการคลัง จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 38,943 ล้านบาท โดยการจัดเก็บภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ นอกจากนี้ ภาษีจากฐานการอุปโภคบริโภคที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีน้ำมัน เนื่องจากการขยายระยะเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ อย่างไรก็ดี ภาวะอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศและภาษีธุรกิจเฉพาะยังจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย
สำหรับในเดือนก.พ.57 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 147,551 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,846 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4(ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.4) โดยรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษี สังกัดกระทรวงการคลัง จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 14,484 ล้านบาท ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 7,343 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.5 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,452 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.6 เนื่องจากมูลค่านำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 891 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 แต่ยังคงขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน บ่งชี้อุปสงค์ภายในประเทศยังคงมีการขยายตัว
2) ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,562 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.4 เนื่องจากมีการส่งมอบรถในโครงการรถยนต์คันแรกได้เกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณ 2556 3) ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,642 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 สาเหตุมาจากการขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และ 4) อากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,403 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.0 สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 4,181 ล้านบาท หรือร้อยละ 115.5 โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรต่ำกว่าประมาณการ 4,170 ล้านบาท
"แม้ว่าเสถียรภาพของการเมืองในปัจจุบันอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ และต่อเนื่องถึงการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล แต่เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลง ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังที่คาดว่าจะดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 57" นายสมชัยกล่าว.